Advance search

วัดหิรัญรูจี

ชุมชนวัดหิรัญรูจี เป็นชุมชนที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีวัดเก่าแก่นับร้อยปี อย่าง "วัดหิรัญรูจีวรวิหาร" และเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เส้นทางท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ของย่านหิรัญรูจี เขตกรุงธนบุรี 

หิรัญรูจี
ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
10 ก.ค. 2023
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
วัดหิรัญรูจี

วัดหิรัญรูจี สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2321 ในสมัยกรุงธนบุรี สร้างโดย เจ้าขรัวเงิน พระชนกของกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ต่อมาในสมัยของรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอุโบสถใหม่ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง จึงได้รับพระราชทานนามว่า วัดหิรัญรูจี ซึ่งมีความหมายว่า “เงิน” ตามนามของเจ้าขรัวเงิน พระอัยกา และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยด้วยเงินทั้งองค์ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำวัดสันนิษฐานว่า ภายหลังทางวัดได้ทำการพอกปูนปั้นทับองค์พระพุทธรูปเงินและลงรักปิดทองดังที่ปรากฏในปัจจุบัน


ชุมชนวัดหิรัญรูจี เป็นชุมชนที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีวัดเก่าแก่นับร้อยปี อย่าง "วัดหิรัญรูจีวรวิหาร" และเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เส้นทางท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ของย่านหิรัญรูจี เขตกรุงธนบุรี 

หิรัญรูจี
ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
10600
วัดหิรัญรูจี โทร. 0-2465-6220
13.7287886011234
100.490766708169
กรุงเทพมหานคร

พื้นที่ในเขตธนบุรีเป็นส่วนหนึ่งของกรุงธนบุรีมาแต่อดีต ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองท้องที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 พื้นที่เขตนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบงกอกใหญ่ ซึ่งจัดเป็นอำเภอชั้นในของพระนคร จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2458 มีการแบ่งเขตการปกครองใหม่ จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอราชคฤห์ ขึ้นกับจังหวัดธนบุรี ณ ที่ว่าการอำเภออยู่ในพื้นที่ของวัดราชคฤห์วรวิหาร ได้เรียกชื่ออำเภอตามชื่อวัด ครั้นถึงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอยี่เรือ ตามชื่อตำบลที่ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ นอกจากนี้ ในชื่อดังกล่าวในสมัยธนบุรี ประเทศไทยมีการติดต่อการค้ากับประเทศจีน โดยใช้เรือสำเภารับส่งสินค้าในบริเวณวัดราชคฤห์ มีพระญาติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธน 2 คนนำเรือสำเภาอยู่เป็นประจำ จึงเรียกแถบนั้นว่า "บางยี่เรือ" ซึ่ง "ยี่" แปลว่าสอง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดธนบุรีถูกรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2515 อำเภอต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนเป็นเขต อำเภอธนบุรี จึงเปลี่ยนเป็น "เขตธนบุรี" ขึ้นกับกรุงเทพมหานครที่แบ้งเขตการปกครองออกเป็น 5 คือ แขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจี แขวงบางยี่เรือ แขวงตลาดพลู และแขวงบุคคโล ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 กรุงเทพมหานครมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ แขวงตลาดพลู แล้วตั้ง แขวงสำเหร่ และแขวงดาวคนอง เพิ่มรวมเป็น 7 แขวง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป

จากการศึกษาภาพรวมของเขตธนบุรีเห็นได้ว่า พื้นที่แขวงหิรัญรูจีเป็นแขวงหนึ่งในเขตธนบุรี มีสภาพความเป็นพื้นที่เชิงเกษตรกรรม ในอดีตได้มีการพัฒนาจนกลายสภาพมาเป็นสภาพอาคาร และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยจนก่อให้เกิดเป็นชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ ตลอดจนมีความสำคัญในฐานะเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเชิงศาสนาที่มีความหลากหลาย โดยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่มีผู้คนมาจากหลายเชื้อชาติจนเกิดการตั้งรกรากและสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในเวลาต่อมา

จากการสำรวจพบว่า ชุมชนในแขวงหิรัฐรูจี ในเขตธนบุรี ดังภาพประกอบ มีจำนวนพื้นที่ 169 ไร่ ประกอบด้วย 9 ชุมชน คือ ชุมชนวัดประดิษฐาราม ชุมชนบางไส้ไก่บ้านสมเด็จ ชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ ชุมชนสี่แยกบ้านแขก ชุมชนวัดหิรัญรูจี ชุมชนศรีภูมิ ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ ชุมชนสามัคคีศรีสุพรรณ และชุมชนประสานมิตร ซึ่งเป็นย่านเมืองแห่งประวัติศาสตร์ประเพณีวัฒนธรรมมีความเกี่ยวเนื่องกันมาแต่อดีตจนปัจจุบัน มีความหลากหลายในกลุ่มชนที่ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกัน อาทิ กลุ่มมุสลิม กลุ่มชาวลาว กลุ่มชาวมอญ และกลุ่มชาวจีน นับเป็นการผสมผสานความเชื่อความศรัทธา และวิถีชีวิต โดยมีวัด โบสถ์ มัสยิด และศาลเจ้า เป็นศูนย์ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 

อาณาเขตของแขวงหิรัฐรูจี ดังนี้

  • พื้นที่ทางทิศเหนือ จรดถนนอิสรภาพ
  • พื้นที่ทางทิศใต้ จรดถนนอินทรพิทักษ์ 
  • พื้นที่ทางทิศตะวันออก จรดถนนประชาธิปก 
  • พื้นที่ทางทิศตะวันตก จรดคลองบางกอกใหญ่

จากการศึกษาจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานครและเขตธนบุรี ณ เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2555 โดยจะกล่าวถึงแค่เพียง "แขวงหิรัญรูจี" เท่านั้น พบว่าจำนวนประชากร 13,441 คน แยกเป็นชาย 6,311 คน และหญิง 7,130 คน  

ประชากร ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวมุสลิม ชาวฮินดู ชาวลาว ชาวมอญ และชาวคริสต์ เป็นต้น ซึ่งจำนวนประชากรอาศัยอยู่อย่างแออัด อาชีพส่วนใหญ่เป็นการค้าขาย รับจ้างอุตสาหกรรมในครัวเรือน และรับราชการ อาทิ ในกระทรวงมหาดไทย สำนักงานเขต สำนักงานเทศกิจ เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประเพณีและภูมิปัญญาที่สำคัญในชุมชนต่าง ๆ ของผู้คนในแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ดังนี้

  • ประเพณี ได้แก่ พิธีเทศน์โล้สำเภอ การละเล่นสะบ้าของชาวไทยเชื้อสายมอญของชุมชนวัดประดิษฐาราม
  • ภูมิปัญญา ได้แก่ หัวโขนบ้านศิลปะไทย การทำแคนและขลุ่ยลาว ของชุมชนวัดบางไส้ไก่ และโรงหล่อกระทะ ของชุมชนวัดหิรัญรูจี จะเห็นพื้นที่ตามภาพประกอบ

นอกจากนี้ เรื่องศาสนาในพื้นที่แขวงหิรัญรูจี ซึ่งมีชุมชนวัดหิรัญรูจีวรวิหารตั้งในพื้นที่ พบหลักฐานทางประวัติว่าคนในชุมชนเหล่านี้อยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้านโบราณสถานและโบราณวัตถุ อาทิ อุโบสถ ในวัดหิรัญรูจีวรวิหาร พระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ หรือพระนอน ในวัดประดิษฐาราม หลวงพ่อดำ ในวัดใหญ่ศรีสุพรรณ ศาลเจ้ากวนอู ในคลองบางหลวง ฯลฯ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตธนบุรี

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชุมชนใน "แขวงหิรัญรูจี" เป็นย่านเมืองแห่งประวัติศาสตร์ประเพณีวัฒนธรรมมีความเกี่ยวเนื่องกันมาแต่อดีตจนปัจจุบัน มีความหลากหลายในกลุ่มชนที่ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มมุสลิม กลุ่มชาวลาว กลุ่มชาวมอญ และกลุ่มชาวจีน ผสมผสานความเชื่อความศรัทธา และวิถีชีวิต โดยมีวัด โบสถ์ มัสยิด และศาลเจ้า เป็นศูนย์ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เกิดความปรองดองรวมความแตกต่างที่หลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากเหง้าอยู่ในชุมชน สามารถนำไปพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ถือเป็นการสร้างฐานเศรษฐกิจเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

ในเขตธนบุรีมีภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการรวบรวมข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2557 สามารถเผยแพร่ได้ทั้งหมด 44 ชุมชน ใน 7 แขวง คือแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจี แขวงบางยี่เรือ แขวงตลาดพลู แขวงบุคคโล แขวงสำเหร่ และแขวงดาวคะนอง ซึ่งแขวงหิรัญรูจีที่เป็นที่ตั้งของ "ชุมชนวัดหิรัญรูจี" คือหนึ่งในพื้นที่ที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภูมิปัญญาจำแนกตามสาขาได้ดังนี้

1. ภูมิปัญญาสาขาศิลปกรรม

  • ด้านงานประดิษฐ์ ได้แก่ (1) การทำกระเช้าสบู่ โดยผู้ทรงภูมิปัญญา คุณดารณี เสนะวัต (2) งานสานจากพลาสติก โดยผู้ทรงภูมิปัญญา คุณศิริวรรณ สมนีย์ และ (3) เหรียญโปรยทาน โดยผู้ทรงภูมิปัญญา คุณนาตยา จันทร์จิรานนท์ และ (4) การทำดอกไม้จากผ้าใยบัว โดยผู้ทรงภูมิปัญญา คุณรัชดา ชัชวาลย์ปรีชา คุณพัชนี อานามนารถ และคุณเอี้ยวเซี้ยม แซ่เจ็ง

2. ภูมิปัญญาสาขาสาธารณสุข

  • ด้านการสืบสานตำราสมุนไพร และด้านการนวด ได้แก่ การนวดแผนไทย โดยผู้ทรงภูมิปัญญา คุณสัมฤทธิ์ แก้วบังเกิด

วัดหิรัญรูจีวรวิหาร

วัดหิรัญรูจีวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ในแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อ วัดน้อย หรือ วัดน้อยบางไส้ไก่

สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2321 ในสมัยกรุงธนบุรี สร้างโดย เจ้าขรัวเงิน พระชนกของกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระยาอนุชิต (สันนิษฐานว่าคือพระยาอนุชิตชาญไชย (อุ่น)) ได้บูรณปฏิสังขรณ์ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า วัดหิรัญรูจี ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อของผู้สร้างวัด และยังโปรดให้หล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยด้วยเงินทั้งองค์

โดยเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมไทยผสมจีน พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หน้าบันปูนปั้นลายรูปดอกไม้และนก หลังคาไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ภายในมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยปิดทองทั้งองค์เป็นพระประธาน มีพระเจดีย์ใหญ่ทรงกลม และเจดีย์ 6 องค์ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สถานที่สำคัญในแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

  1. วัดใหญ่ศรีสุพรรณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ. 2290 เดิมชื่อ "วัดใหญ่"
  2. วัดประดิษฐาราม สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2293 เดิมชื่อ "วัดบ้านหลวง" ปูชานียวัตถุสำคัญ คือพระพุทธรูปปาสีหไสหาสน์
  3. วัดหิรัญรูจี เดิมชื่อ "วัดน้อย" สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน พ.ศ. 2321
  4. วัดบางไส้ไก่ สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณ พ.ศ. 2320 โดยชาวลาว เดิมชื่อ "วัดลาว"
  5. มัสยิดนู้รูลมู่บิน (บ้านสมเด็จ) เป็นมัสยิดที่เคยได้รับความเสียหายจากสงครามมหาเอเชียบูรพา

watthai. (ม.ป.ป.). วัดหิรัญรูจีวรวิหาร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566, จาก http://watthaiapp.6te.net/wathirunruje.html.

ธรรมะไทย. (ม.ป.ป.). วัดหิรัญรูจีวรวิหาร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2566, จาก http://www.dhammathai.org/watthai/dbview.php?No=118.

ชฎากาญจน์ เจริญรบ และคณะ. (2559). การถ่ายทอดภูมิปัญญาชุมชน สาขาศิลปกรรม ในเขตธนบุรี ด้วยระบบสารสนเทศภูมิปัญญาชุมชน. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สำนักงานเขตธนบุรี. (2562). พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนย่านหิรัญรูจี. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตธนบุรี.

สำนักงานเขตธนบุรี. (2548). 90 ปี เขตธนบุรี. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

พงษ์พันธ์ นารีน้อย และคณะ. (2566). ภาพลักษณ์องค์การและภาพลักษณ์ของ้าราชการตำรวจไทยในบริบทของประชาชนในพื้นที่แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(3), 212-227.