Advance search

มัสยิดบ้านตึกดิน

ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน นับว่าเป็นชุมชนอิสลามเก่าแก่หลังหมู่ตึกราชดำเนิน จะเห็นได้จากสถาปัตยกรรม อย่าง "มัสยิดบ้านตึกดิน" สีขาวสะอาดตาตั้งอยู่ในชุมชนที่ถูกล้อมรอบไปด้วยบ้านเรือนจนอาจจะบดบังความสวยงามที่เคยมี

139 ซอยดำเนินกลางเหนือ
บวรนิเวศ
พระนคร
กรุงเทพมหานคร
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
17 ก.ค. 2023
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
มัสยิดตึกดิน
มัสยิดบ้านตึกดิน


ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน นับว่าเป็นชุมชนอิสลามเก่าแก่หลังหมู่ตึกราชดำเนิน จะเห็นได้จากสถาปัตยกรรม อย่าง "มัสยิดบ้านตึกดิน" สีขาวสะอาดตาตั้งอยู่ในชุมชนที่ถูกล้อมรอบไปด้วยบ้านเรือนจนอาจจะบดบังความสวยงามที่เคยมี

139 ซอยดำเนินกลางเหนือ
บวรนิเวศ
พระนคร
กรุงเทพมหานคร
10200
13.7583676691633
100.500355103422
กรุงเทพมหานคร

ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน เป็นชุมชนดั้งเดิม แต่เดิมมีเพียงชาวมุสลิมเท่านั้นที่อาศัยอยู่ภายในชุมชน ซึ่งชุมชนมัสยิดบ้านตึกดินแห่งนี้เป็นเชื้อสายของมุสลิมจากไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปัตตานี 

โดยพื้นที่ของชุมชนมีเนื้อที่ประมาณ 4.3 ไร่ ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของเอกชน ส่วนมากเป็นของชาวมุสลิมที่ย้ายมาจากจังหวัดปัตตานี แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ ในปี พ.ศ. 2525 แต่เดิมลักษณะของบ้านเรือนในชุมชนแห่งนี้เป็นบ้านเรือนที่เป็นไม้สองชั้นเดียว บางหลังมีสองชั้นปะปนกัน แต่ทุกคนภายในบ้านจะรวมกันอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ ทว่าเมื่อบ้านถูกเพลิงไหม้ในเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ได้อพยพออกไปอยู่กับญาติตามสถานที่อื่น ๆ และในบางส่วนที่บ้านเรือนได้รับการซ่อมแซมแล้วจะทำการปล่อยเช่า โดยคนเช่าส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ 

จากข้างต้นพบว่า ชาวมุสลิมได้ย้ายออกไปอาศัยในพื้นที่อื่นเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้สภาพความเป็นอยู่แบบเดิมที่กระจายกันออกไป และชาวมุสลิมที่เหลืออยู่ภายในชุมชนแห่งนี้มีไม่มากเช่นอดีต ส่วนชาวมุสลิมที่ได้ย้ายออกไปในครั้นที่เกิดเพลิงไหม้ส่วนใหญ่จะไปอยู่กับญาติที่เป็นชาวมุสลิมด้วยกัน อาทิ มัสยิดบริเวณแยกมหานาค มัสยิดบางอ้อ และที่อื่น ๆ อีก ส่วนชาวไทยพุทธที่เข้ามาอยู่ภายหลังเหตุการณ์เพลิงไหม้จะเข้ามาอาศัยอยู่รวมกันกับชาวมุสลิมเดิม แต่จะไม่มีการแบ่งบริเวณกันโดยเขตหลักชัดเจน ทั้งหมดจะอยู่ปะปนกันไป โดยชาวมุสลิมจะอยู่ภายในบริเวณของตน อาจจะมีขนาดพื้นที่ที่เล็กลงกว่าเดิม แต่สมาชิกครอบครัวยังคงอยู่รวมกันเช่นเคย ทว่าบริเวณอาจจะคับแคบลง ส่วนชาวไทยพุทธนั้นจะอยู่เป็นบ้านเช่า เป็นบ้านไม้ ลักษณะเป็นห้องแถวเล็ก ๆ ถัดกันไป แต่เจ้าของนั้นก็ยังถือว่าเป็นชาวมุสลิมที่เป็นเจ้าของเดิมอยู่ ซึ่งญาติชาวมุสลิมที่ยังคงอยู่ในชุมชนนี้จะเป็นผู้เก็บค่าเช่าให้

ส่วนที่ดินสาธารณะภายในบริเวณมัสยิดบ้านตึกดินเป็นที่ดินของรัฐที่จะมีโครงการทำถนนตามโครงการเชื่อมต่อถนนตะนาวกับถนนประชาธิปไตย

ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน ตั้งอยู่ในแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนดั้งเดิมมีอายุมากกว่า 80 ปี โดยมีพื้นที่และขอบเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับชุมชนตรอกบวรรังษี
  • ทิศใต้ ติดกับซอยไปรษณีย์ราชดำเนิน
  • ทิศตะวันออก ติดกับโรงเรียนสตรีวิทยา
  • ทิศตะวันตก ติดกับถนนตะนาว

เอกสารการศึกษาในปี พ.ศ. 2540 เป็นข้อมูลจากสำนักงานเขตพระนครแสดงจำนวนหลังคาเรือน 62 หลังคาเรือน ครอบครัวประมาณ 148 ครอบครัว และจำนวนประชากร 397 คน แยกออกเป็นหญิง 220 คน และชาย 177 คน

เมื่อมาเทียบกับข้อมูลจากสำนักงานเขตพระนครในปี พ.ศ. 2557 พบว่าจำนวนประชากรมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น มาเป็น 886 คน ส่วนข้อมูลจำนวนหลังคาเรือนมี 63 หลังคาเรือน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจำนวนของประชากรที่มากขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ได้ส่งผลกระทบในชุมชนในหลาย ๆ อย่าง อาทิ ปัญหาเรื่องความสะอาด เป็นต้น

อาชีพของชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน

ในอดีตชุมชนนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำทอง สืบเนื่องจากในสมัยก่อนที่มีการทำทองอยู่แถวถนนตีทองถึงสี่แยกคอกวัวเรียกว่า "บ้านช่างทอง" ทำทองรูปพรรณและทองคำเปลว ซึ่งเป็นแผ่นทองคำที่ตีจนบางที่สุด และมีช่างแกะสลักกรอบพระเป็นลวดลายต่าง ๆ อาทิ กรอบพระนาคปรกแกะสลักเป็นรูปพญานาคมีเจ็ดเศียร ชาวบ้านจะรับงานจากร้านทองมาทำที่บ้าน แต่การทำทองนั้นมีความยากลำบาก และเป็นงานที่ละเอียดประณีต คนที่จะทำได้ต้องใจเย็น รักที่จะทำงานประเภทนี้ เมื่อกาลเวลาผ่านไป คนที่ทำทองรุ่นก่อนค่อย ๆ เลิกทำกัน ลูกหลานที่ได้เรียนหนังสือมีความรู้มักประกอบอาชีพรับราชการ ทำงานบริษัท ไม่รับมรดกตกทอดความรู้เรื่องนี้ จึงทำให้อาชีพทำทองในย่านนี้ลดน้อยลง ปัจจุบันในชุมชนแห่งนี้เหลือบ้านที่ทำทองคำเปลวเพียง 2 หลังเท่านั้น

การทำทองในแต่ละครั้งจะใช้เวลานานหลายชั่วโมงกว่าจะได้ทองคำเปลวแผ่นบาง ๆ เริ่มจากการเอาทองคำมาตีด้วยเครื่องมือที่ทำไว้โดยเฉพาะ ตีแผ่ออกไปจนบางจากนั้นนำมาตัดริมให้ได้ขนาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วนำมาใส่กระดาษบางอย่างที่เขานำไปขายให้ปิดทองพระพุทธรูป ทองคำเปลวมีหลายชนิด ชนิดใหญ่ค่อนข้างหนาเรียกว่า "ทองประทาศรี" และ "ทองประทากล้อง" กับชนิดบางธรรมดา ซึ่งมีลักษณะที่บางมาก และอาจถูกลมพัดไปได้ง่าย จึงต้องอาศัยความอดทนเป็นอย่างมากในการทำทองคำเปลวรูปแบบนี้ ปัจจุบันคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขาย มีส่วนน้อยที่ประกอบอาชีพรับราชการและรัฐวิสาหกิจ    

ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดินนี้นิยมปฏิบัติกัน คือประเพณีการถือศีลอดในเดือนรอมดอน กล่าวคือประมาณช่วงเดือนมกราคมของไทยแต่ละปีวันจะไม่ถูกระบุแน่ชัด ซึ่งชาวมุสลิมทุกคนต้องคอนฟังคำประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี หลังจากการถือศีลอด 100 วัน จะมีการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ แต่ในพิธีดังกล่าวไม่ได้บังคับว่าทุกคนต้องไป เพราะมันต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การเงิน เป็นต้น ซึ่งสมาชิกชาวมุสลิมในชุมชนมัสยิดตึกดำที่ยังไม่ได้ไปร่วมประกอบพิธีฮัจญ์นี้อยู่จำนวนหนึ่ง (เป็นการศึกษาในปี พ.ศ. 2542) นอกจากนี้ยังมีพิธีเมาลิด อยู่ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมของไทย โดยวันเมาลิด คือวันสรรเสริญศาสดา ที่ชาวชุมชนได้เข้าร่วมงาน โดยบางบ้านจะมีการทำอาหาร หรือขนมไปขาย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

มัสยิดบ้านตึกดิน สร้างขึ้นบนพื้นที่ที่เป็นบาแลเดิม โดยได้รวบรวมเงินมาซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมได้สำเร็จ และเริ่มก่อสร้างตัวมัสยิดในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งในการก่อสร้างทางชุมชนได้หาทุนจากการจัดงานการกุศลมุสลิมบ้านตึกดิน โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 4-5 ธันวาคมของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 จนกระทั่งมัสยิดได้ทำการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน เนื่องจาก ในปัจจุบันมีพื้นที่ที่จำกัดและมีการสร้างบ้านเรือนโดยรอบเพิ่ม ทำให้ไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดของตัวสถาปัตยกรรมมากนัก อย่างไรก็ตามทางมัสยิดได้เปิดพื้นที่ให้ผู้คนที่สนใจ ทั้งบุคคลนอกชุมชนและบุคคลที่นับถือศาสนาอื่นสามารถเดินทางเข้ามาเก็บข้อมูลได้

ปัญหาภายในชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน ซี่งเป็นปัญหาจากสภาพแวดล้อมที่น่าจะเป็นปัญหาสำคัญมากที่สุด เนื่องจากสภาพพื้นที่ภายในชุมชนมีจำนวนน้อย แต่มีประชากรอาศัยอยู่มาก บ้านแต่ละหลักมีขนาดเล็กเพราะหลังคาเกยกันอยู่ เป็นผลให้เกิดเป็นชุมชนแออัดคล้ายชุมชนอื่น ๆ ภายในเมืองหลวง นอกจากสภาพพื้นที่ที่น้อยสวนทางกับจำนวนคนที่มากแล้ว ความสกปรกของชุมชนก็มีมากขึ้นตามจำนวนคนที่อยู่อาศัย และยิ่งจะเพิ่มมากขึ้นในทุกวันเช่นกัน ซึ่งปัญหาเรื่องการทำความสะอาดนั้นเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข เพราะไม่สามารถจะบังคับคนใดคนกนึ่งภายในชุมชนในเรื่องนี้ได้

ดังที่กล่าวไปในข้างต้น จะเห็นว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชนมัสยิดบ้านตึกดินนั้นเป็นประเด็นที่เห็นได้ชัดว่าทางการไม่ได้มีนโยบายที่จะเข้ามาช่วยหรือมาปรับปรุงให้ชาวมุสลิมภายในชุมชนมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่สุขสบายมากขึ้นกว่าในอดีต ทั้งชาวมุสลิมและชาวไทยพุทธนั้น ต้องอยู่รวมกันภายในชุมชนแห่งนี้ในพื้นที่ที่คับแคบ เหมือนกับชุมชนสังคมเมืองอื่น ๆ ทั่วไป คือคนที่อยู่ภายในบริเวณเดียวกัน หรือละแวดใกล้เคียงกันจะเป็นรูปแบบที่ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน มีเพียงแค่ความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยตามที่รู้จักมักคุ้นกัน

ทำนุ เหล็งขยัน ผู้นำชุมชนตึกดิน กล่าวว่า พื้นที่ชุมชนนี้เคยใช้เก็บดินปืน ต่อมาชุมชนได้ถูกเวนคืน แล้วนำมาสร้างถนนราชดำเนิน ชุมชนเลยถูกแบ่งเป็นสองฝั่งด้านหลังของถนนราชดำเนิน คือตรอกสิน และ ตรอกตึกดิน ซึ่งตอนนี้อยู่หลังโรงเรียนสตรีวิทยา ชุมชนตึกดินนั้นมีชื่อเสียงในฐานะชุมชนช่างฝีมือทำงานโลหะ โดยเฉพาะการแกะพิมพ์เหล็ก แกะเครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง ๆ เหรียญพระดัง ๆ ล้วนเป็นฝีมือของชาวมุสลิมที่ชุมชนตึกดิน ทั้งนี้จากภาพแผนที่ราว ๆ พ.ศ. 2440 จะเห็นว่าตึกดินที่เป็นตรอกต่อเนื่องกับตรอกบวรรังษี ในอีกสองปีต่อมาจึงเริ่มสร้างถนนราชดำเนิน 

ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. (ม.ป.ป.). ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.resource.lib.su.ac.th/rattanakosin/index.php/2014-10-27-08-52-32/2015-10-21-07-30-04

navanurak. (ม.ป.ป.). มัสยิดบ้านตึกดิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.navanurak.in.th/masjidbantuekdin/site/theme/index.php.

เกสรบัว อุบลสรรค์. (2559). ทองคำเปลว ย่านมัสยิดบ้านตึกดิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=5165.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2559). มัสยิดตึกดิน (๒). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=5164.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2560). ชุมชนมุสลิมร่วมสร้างพระนคร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://walailaksongsiri.com/2017/05/01/ชุมชนมุสลิมร่วมสร้างพร/

Thai PBS. (2566). "แกงบาราน๊อ" อาหารคู่ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/clip/175122.

อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี. (2557). มัสยิดในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: มติชน.

หนึ่งฤทัย หงษ์พงษ์. (2541). อาหารกับเอกลักษณ์ของชาวมุสลิม กรณีศึกษา : ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ห้องสมุดมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). มัสยิดบ้านตึกดิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://bangkoklibrary.go.th/web20/page/sub/728/บทความน่ารู้/0/info/6792/แนะนำมัสยิด.

ทวีพร คุ้มเมธา. (2558). ชุมชนมุสลิมเก่าแก่ในกรุงเทพฯ กำลังเผชิญภาวะไล่รื้อ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://prachatai.com/journal/2015/11/62220.

ชมวิถีชุมชนมุสลิมบ้านตึกดิน. [วีดิทัศน์]. (2563, 23 พฤศจิกายน). กรุงเทพฯ: Thai PBS.

อาลี เสือสมิง. (2554). ชุมชนมุสลิมคลองบางลำภู, บ้านตึกดิน และคลองมหานาค. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://alisuasaming.org/main/mlayubangkok18151/.

อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี. (ม.ป.ป.). มัสยิดในประเทศไทย ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ (เล่มที่ 36). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=36&chap=1&page=t36-1-infodetail07.html.

Trawell Thailand. (2561). ‘ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน’ ชุมชนอิสลามเก่าแก่หลังหมู่ตึกราชดำเนิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/profile/100069274424484/search/?q=ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน.

มานิตา สุนทรพจน์. (2566). บ้านตึกดิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://readthecloud.co/baan-tuk-din-hotel/.

ภัทร ด่านอุตรา. (ม.ป.ป.). บางลำพู ย่านเก่าก่อนรัตนโกสินทร์ที่คุ้นตา แต่แท้จริงแล้วอาจไม่เคยรู้จัก. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566, จาก https://www.sarakadeelite.com/lite/things-to-do-in-banglamphu-bangkok/.