Advance search

ชุมชนบวรรังษี ปัจจุบันขึ้นชื่อว่าเป็นย่านผลิตทองคำเปลว แต่ในอดีตถือเป็นชุมชนที่อุดมด้วยช่างตีทองสุดยอดฝีมือ

ซอยดำเนินกลาง ถนนราชดำเนิน
บวรนิเวศ
พระนคร
กรุงเทพมหานคร
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
10 ก.ค. 2023
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
ตรอกบวรรังษี


ชุมชนบวรรังษี ปัจจุบันขึ้นชื่อว่าเป็นย่านผลิตทองคำเปลว แต่ในอดีตถือเป็นชุมชนที่อุดมด้วยช่างตีทองสุดยอดฝีมือ

ซอยดำเนินกลาง ถนนราชดำเนิน
บวรนิเวศ
พระนคร
กรุงเทพมหานคร
10200
13.7587910149055
100.500790830708
กรุงเทพมหานคร
ชุมชนบวรรังษี เป็นชุมชนเก่าแก่กว่า 100 ปี ก่อตั้งมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บนที่ดินกว่า 6 ไร่ ของวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ในอดีตเป็นแหล่งช่างฝีมือที่ได้รับการถ่ายทอดทักษะการตีทองจากในวัง และเป็นแหล่งผลิตทองคำเปลวที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเกิดเพลิงใหม้ครั้งใหญ่ในชุมชนใน ปี พ.ศ. 2526 ช่างตีทองในชุมชนแห่งนี้ย้ายไปอยู่บริเวณอื่นเป็นจำนวนมาก จากการศึกษาของศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่าเหลือช่างทองเพียง 2 บ้าน คือบ้านป้าแจ่มและหลานป้าแจ่ม ที่ยังคงสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของการตีทองคำเปลวนี้ไว้ 

สภาพทั่วไปของ "ชมชนบวรรังษี" มีลักษณะบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้สองชั้น มีทางเดินเท้าหลักกว้างประมาณ 2 เมตร อยู่ในสภาพที่ดี และมีทางเดินเท้าแยกเข้าซอยเล็กกว้างประมาณ 1 เมตร ในขณะนี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงบ้านให้เป็นเกสต์เฮาส์มากขึ้น เพราะด้านหนึ่งของชุมชนบวรรังษีตั้งอยู่ตรงข้ามกับตรอกข้าวสาร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ จึงจะทำเป็นเกสต์เฮาส์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

ทว่า ชุมชนบวรรังษีนั้นมีเนื้อที่น้อยกว่าชุมชนบ้านพานถม อีกทั้งเป็นชุมชนซ้อนกันอยู่หรือมีอาณาเขตเหลื่อมกับชุมชนบางลำพู แทบแยกไม่ออก

  • ฝั่งเหนือ มีวัดบวรนิเวศวิหารคั่น
  • ฝั่งตะวันตก มีถนนตะนาวคั่น
  • ฝั่งตะวันออก มีถนนประชาธิปไตยกั้นเขตแดนกับชุมชนบ้านพานถม

จำนวนประชากรในชุมชนบวรรังสี ไม่สามารถระบุจำนวนแบบแยกเพศได้อย่างเด่นชัด จากการสำรวจและสอบถามประธานชุมชนพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบวรรังสีเป็นแรงงานต่างด้าวประมาณร้อยละ 90 ที่เข้ามาหางานทำ เนื่องจากชุมชนบวรรังสีนั้นใกล้กับบางลำพู ตรอกข้าวสาร ซึ่งประกอบอาชีพค้าขายได้สะดวก จึงทำให้ปัจจุบันมีคนจากต่างถิ่นย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนบวรรังษีจำนวนมาก โดยส่วนมากเป็นแรงงานต่างด้าว รองลงมาคือ คนที่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจากภาคอื่น ๆ ในต่างจังหวัด ส่วนเจ้าของที่แท้จริงจึงอยู่เพียงแค่ชื่อที่เป็นเจ้าของบ้านเช่า ไม่ได้อาศัยอยู่ภายในชุมชน และอสังหาริมทรัพย์ภายในพื้นที่มีการซื้อขายตลอดเวลา จึงไม่สามารถจำแนกประชากรแบบแยกเพศ และระบุจำนวนประชากรได้อย่างเด่นชัด

จากบทสัมภาษณ์ของลุงและในศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์ เล่าว่า “สมัยก่อนคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพตีทองคำเปลว แต่เมื่อไฟไหม้ใหญ่ ทำให้ช่างทองมีการอพยพไปอยู่ที่อื่นกันมาก ที่กลับมาอยู่ที่ชุมชนบวรรังษีน้อยนัก ปัจจุบันมีอยู่ 2 บ้านที่ยังทำอยู่คือ บ้านป้าแจ่ม และบ้านพี่น้องของป้าแจ่ม สาเหตุที่เหลือช่างทำทองเพียง 2 บ้านนั้น เนื่องจากรุ่นลูกหลานไม่สืบต่อ เพราะตีทองเป็นงานที่เหนื่อยมาก เขาไปทำอย่างอื่นสบายกว่ากันมาก”

  • ปัจจุบันคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ซึ่งส่วนมากจะเป็นคนที่ย้ายเข้ามาเช่าบ้านในชุมชน
  • รองลงมาคือประกอบอาชีพส่วนตัว
  • มีส่วนน้อยที่เป็นข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ

ในอดีตคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมในย่านนี้อยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่ในปี พ.ศ. 2526 ทำให้ชาวบ้านกลุ่มนี้กระจัดกระจายกันไปอยู่ที่อื่น ส่วนมากจะย้ายไปแถบตลิ่งชัน เพราะรัฐให้ความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย และในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนสร้างซ่อมแซมบ้านขึ้นใหม่ โดยเช่าที่ดินของวัดบวรนิเวศ เมื่อบ้านเสร็จได้ย้ายกลับมาอยู่ที่ชุมชนนี้เหมือนเดิม

ปัจจุบันชาวบ้านยังคงเช่าที่ดินจากวัดบวรนิเวศอยู่ แต่ส่วนใหญ่จะทำเป็นบ้านให้เช่าอีกต่อหนึ่ง กล่าวคือมีคนในชุมชนที่อยู่มาก่อนทำสัญญาเช่าที่ดินจากวัดเป็นรายเดือนเพื่อสร้างบ้านอยู่อาศัย แล้วต่อมาให้คนที่ย้ายมาอยู่ใหม่เช่าบ้านเป็นรายเดือน ประมาณเดือนละ 800 - 1500 บาทตามขนาดห้อง ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีคนที่ย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชนบวรรังษีกันมาก เพราะใกล้กับบางลำพู ตรอกข้าวสาร ซึ่งประกอบอาชีพค้าขายได้สะดวก โดยส่วนมากจะเป็นคนที่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทองคำเปลว

ชุมชนนี้มีพื้นที่ตรอกเล็ก ๆ ที่ในอดีตเต็มไปด้วยบ้านข้าราชการเหล่าพ่อค้าแม่ขาย และช่างแขนงต่าง ๆ จนได้รับการถ่ายทอดฝีมือจากช่างในวัง เป็นแหล่งผลิต "ทองคำเปลว" ปัจจุบันอาชีพช่างตีทองลดน้อยลงเรื่อย ๆ แต่ยังคงรักษาไว้ และยังคงทำหน้าที่ช่างที่ตีทอง ตัดทองด้วยความประณีตและตั้งใจ ซึ่งแสดงถึงความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนบำรุงศาสนาและงานหัตถศิลป์ไทยให้คงอยู่

โดยการตีทองคำเปลวให้มีคุณภาพดีนั้นต้องเลือกซื้อทองคำบริสุทธิ์ ตั้งแต่ 96.5%, 99.00% และ 99.99% ช่างตีทองต้องทำงานด้วยความประณีตชำนาญและตั้งใจ การตีทองต้องใช้กำลังคนในการผลิตเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการรีดทอง ลอนทอง ใส่กุบ ตีกุบ ใส่ผัก ตีฝัก เททอง ตัดทอง และมัดทอง โดยเฉพาะการตีทองให้เป็นแผ่นบาง ๆ ตามขนาดที่ต้องการต้องใช้ค้อนทองเหลืองหนักกว่า 10 กิโลกรัม เพื่อตีทองคำบริสุทธิ์ที่ได้ผ่านกรรมวิธีการรีดแล้ว ให้เป็นแผ่นเพื่อให้ได้ความเบาบางตามขนาด

ทองคำเปลว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 
  1. ทองจิ้มเป็นทองแผ่นเล็ก ขนาด1.5 X 1.5 - 2.5 x 2.5 ซม. เพื่อใช้ติดองค์พระพุทธรูป
  2. ทองเต็มเป็นทองเต็มแผ่นขนาด 3.4 x 3.5 - 3.4 x 3.5 ซม.

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวล้นพื้นที่ ทางคนในชุมชนไม่อยากให้ชาวต่างด้าวอยู่ที่นี่เพราะมักจะก่อปัญหาต่างๆเช่นปัญหาด้านสุขอนามัยและความสะอาด แต่ปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวนั้นแก้ได้ยาก เพราะด้วยค่าแรงที่ค่อนข้างถูกและทนงาน ผู้ว่าจ้างจึงนิยมจ้างแรงงานเหล่านี้ปัญหาเรื่องที่ดิน ตึก หรือค่าเช่าที่มีราคาแพงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวจึงมีผู้ประกอบการร้านค้ามากมาย แต่ร้านค้าเหล่านั้นก้เป็นเพียงแค่ตัวโชว์เท่านั้น การซื้อขายจริงๆนั้นคือการซื้อขายตึก มีการเปลี่ยนเวียนเจ้าของและตัวเลขของราคาตึกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ค่าเช่าอะไรต่างๆก้แพงตามไปด้วยจนส่งผลถึงค่าครองชีพที่ต้องเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาเหล่านี้ก็แก้ได้ยากเพราะเจ้าของตึกเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ อำนาจการต่อรองค่อนข้างสูง
เรื่องปัญหาด้านอื่นเช่นปัญหาการจราจรไม่พบว่ามี ชุมชนบวรรังสีเป็นพื้นที่ที่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวก มีรถโดยสารสารธารณะจำนวนมาก ส่วนปัญหาเรื่องความสะอาดนั้นมีน้อยจนแทบไม่มี ด้วยเพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวจึงมีคนดูแลเรื่องความสะอาดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีปัญหาเรื่องขยะ แต่จากคำบอกเล่าของชาวบ้านได้ทราบว่าช่วงกลางคืนจะมานักท่องเที่ยวที่เมามาปัสสาวะรดกำแพงวัด
ปัญหาเรื่องชุมชนแออัดในเรื่องนี้ประธานชุมชนไม่ได้พูดถึง แต่จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่าในซอยตรอกบวรรังสีนั้นมีความแออัด บ้านทุกหลังอยู่ติดกัน มีซอยเล็กซอยน้อยเชื่อมถึงกันปัญหาชาวต่างชาติเสพยาเสพติดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวจึทำให้มีชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก มีเกสเฮาส์และโรงแรมรองรับ และพื้นที่เหล่านั้นก็กลายเป็นแหล่งมั่วสุมชั่วคราวของชาวต่างชาติพวกนั้น
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภราดร ศักดา. (2557). ชุมชน 100 ปี ในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : แสงดาว.

ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. (ม.ป.ป.). ชุมชนตรอกบวรรังษี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.resource.lib.su.ac.th/rattanakosin/index.php/2014-10-27-08-52-32/2015-10-20-07-33-23

ชุมชนบวรรังษี. (2562). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://bwrsbykhonsuai.blogspot.com/.

พิพิธภัณฑ์บางลำพู. (2561). ชุมชนบวรรังษี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก http://banglamphumuseum.treasury.go.th/news_view.php?nid=61.

จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์. (2560). “พระนคร๑๐๑” ครั้งที่ ๓ : ความสำคัญของป้อมค่ายคูประตูเมือง และชุมชนชานพระนครจากป้อมมหากาฬ ประตูผี ถึงชุมชนชาวตรอกศิลป์ ตรอกตึกดิน ตรอกบวรรังษี และมัสยิดบ้านตึกดิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://lek-prapai.org/home/slide.php?id=24&fbclid=IwAR1h0k6is5uRZUVRHAzGAxwIS-jyg2-G21CI6nQq10AsPMbQDPcUlglv3g4.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2559). มัสยิดตึกดิน (๒). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566, จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=5164.

MGR Online. (2550). ความทรงจำที่บางลำพู. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566, จาก https://mgronline.com/live/detail/9500000098054.

พิพิธธนารักษ์. (2561). บ้านช่างตีทองชุมชนบวรรังษี The Goldsmith of Bawon Rangsri Community. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566, จาก http://bawonrangsricommunity.blogspot.com/.

บางลำพูและห้างนิวเวิลด์. (2563). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566, จาก https://www.shuttergolf.com/content/8209/บางลำพูและห้างนิวเวิลด์.