ชุมชนบ้านปากยามมีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรและสัตว์น้ำ ชาวบ้านจึงมีความเชี่ยวชาญในการจับปลาและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ
ชุมชนบ้านปากยามมีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรและสัตว์น้ำ ชาวบ้านจึงมีความเชี่ยวชาญในการจับปลาและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ
ความเป็นมาบ้านปากยาม แต่ก่อนเรียกว่า บ้านดอนหลักดิน เป็นหมู่บ้านระหว่างเขตเมืองสกลนครและนครพนม ซึ่งทั้งสองเมืองต่างอ้างสิทธิ์ในการปกครอง บ้านดอนหลักดิน จึงมีการเสี่ยงทายเผาหลักไม้ที่ปลักดิน โดยทำเป็นเสาไม้ปักดิน 2 เสา กำหนดให้ลักหนึ่งเป็นของเจ้าเมืองสกลนคร อีกหลักหนึ่งเป็นของเจ้าเมืองนครพนม หากเผาไปแล้วไม้หลักดินของเจ้าเมืองใดไม่ไหม้ สิทธิ์การปกครองบ้านดอนดินหลักก็จะเป็นของเจ้าเมืองนั้น ผลเสี่ยงทายออกมาว่าหลักไม้ของเจ้าเมืองสกลนครได้สิทธิ์ในการปกครอง จึงให้ชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านเสาหลักดิน และมีเขตการปกครองของเมืองสกลนคร
การเกิดขึ้นของบ้านเสาหลักดินไม่ปรากฎหลักฐานอย่างชัดเจนว่าเกิดในช่วงใด จากการสันนิษฐานคาดว่าน่าจะเกิดในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองนครพนมและพระประเทศธานี ไปเกลี่ยกล่อมผู้ที่อาศัยตามฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้อพยพมาตั้งบ้านเรือนฝั่งขวา การอพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาหาที่ทำมาหากินเป็นจำนวนมาก คนไทโย้ยพยายามหาหลักแหล่งใกล้ลำน้ำสงครามเพื่อทำมาหากินบางกลุมก็ตั้งที่บ้านเดื่อ บางกลุ่มอพยพไปทางทิศตะวันตก พบลำน้ำยามซึ่งเป็นบ้านดอนหลักดิน เพราะอยู่ไม่ห่างจากบ้านม่วงริมยาม แม้การตั้งบ้านม่วงริมยามและบ้านหลักดินจะเป็นเขตการปกครองเมืองสกลนคร แต่ในเวลาต่อมากลุ่มไทโย้ยบ้านมม่วงริมยาม ภายใต้การปกครองของท้าวศรีสุราชที่ขึ้นกับพระยาประเทศธานีไม่สมัครใจที่จะอยู่กับเมืองสกลนคร กลับขอไปขึ้นกับเมืองนครพนม จึงไปร้องเรียนในราชสำนักและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการแยกตัวออกจากเมืองสกลนคร พร้อมทั้งมีอาณาเขตปกครอง โดยแบ่งจากเมืองสกลนคร เมืองหนองหาร เมืองไชยบุรี ให้เป็นเขตของเมืองอากาศอำนวย การตั้งเมืองอากาศอำนวยที่บ้านริมยาม เป็นการแย่งผู้คนของเมืองนครพนมและเมืองสกลนคร และแม้เมืองอากาศอำนวยที่ทางราชสำนักให้ขึ้นเป็นเมืองอิสระขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ แต่ยังมีหมู่บ้านอื่น ๆ ยังมีปัญหา การเสี่ยงทายโดยเงาไม้หลักเขตดิน จึงน่าจะเกิดขึ้นในช่วงหลัง พ.ศ.2396 ซึ่งเป็นช่วงตั้งเมืองอากาศอำนวย
หมู่บ้านปากยามคงร้างไปช่วงหนึ่งประมาณ 50 ปี จึงได้มีผู้คนอพยพาตั้งบ้านเรือนใน พ.ศ.2447 โดยครอบครัวของนายบุญมีและนางลอง เป็นชาวบ้านท่าขาม เมืองเซ แขวงสุวรรณเขต เนื่องจากความรายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัว จึงอพยพเข้ามาทำมาหากินในที่ใหม่ ต่อมาก็มีการอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน
พื้นที่ของหมู่บ้านปากยามมีประมาณ 1,000 ไร่ แต่ระหว่าช่วงฤดูฝนพื้นที่ประมาณ 80 % จะถูกน้ำท่วม จะมีพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือยประมาณ 200 ไร่ สภาพแวดล้อมของบ้านปากยาม เป็นหมู่บ้านที่ตั้งริมลำน้ำสงครามที่มีความยาว 420 ก.ม. เป็นลำน้ำที่เกิดจากการรวามตัวของลำน้ำที่มาจากเทือกเขาที่หลายแห่ง เช่น ภูผาหัก ภูผาเพลิน ภูผาเหล็ก ผาดงก่อ ผาน้ำโจก ฯลฯ ไหลมาบรรจบกับลำน้ำยามเป็นแหล่งที่มีปลานานชนิดที่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้ชาวบ้านหลายกลุ่มอพยพเข้ามาตั้งหมู่บ้าน โดยยึดอาชีพจับปลาเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะพื้นที่รอบหมู่บ้านจะเกิดน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากจนไม่สามารถจะปลูกข้าวหรือทำการเกษตรได้ ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านจึงชำนาญในการจับปลาด้วยเครื่องมือชนิดต่าง ๆ
หมู่บ้านปากยาม ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำยามไหลมาบรรจบกับแม่น้ำสงคราม มีพื้นที่ประมาณ 4,450 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัย 400 ไร่ พื้นที่ของป่าบุ่งป่าทาม 3,500 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่หนองน้ำสาธารณะ หมู่บ้านปากยามตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลกลางประมาณ 147 เมตร
อาณาเขตที่ติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับ แม่น้ำสงคราม ป่าบุ่งป่าทามและหนองน้ำ 3 แห่งคือหนองเหนือ หนองใต้ และหนองแอก (ทะเลสาบรูปแอกวัว) ซึ่งทอดยาวขนานกับแม่น้ำสงคราม อาณาเขตทางทิศเหนือนี้จดบ้านดอนเตย อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดกับ ลำน้ำฮ่องเอี่ยน ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำยาม สายฮ่องเอี่ยนเป็นสายน้ำขนาดเล็กมีตวามกว้างประมาร 30 เมตร ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ปัจจุบันมีทำบนกั้นบริเวณปากลำน้ำ จึงทำให้ลำน้ำสายฮ่องเอี่ยน มีสภาพกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน
ทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำยาม และมีอาณาเขตจดบ้านดอนมงคล เดิมชื่อว่า “บ้านดอนซ้น” ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ปัจจุบันมีสะพานคอนกรีตเชื่อมระหว่างบ้านปากยาม กับบ้านดอนมงคล
ทิศตะวันตก ติดกับ “ดงมันแกง” ซึ่งเป็นป่าโคกติดกับพื้นที่บ้านนาดอกไม้ แต่เดิมบ้านนาดอกไม้มีชื่อว่า “บ้านดงหมี” ตำบลสามัคคีพัฒนา อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
ระบบเครือญาติ โครงสร้างครอบครัวของหมู่บ้านปากยาม มีลักษณะเหมือนกันกับครอบครัวของชุมชนบททั่วไปในภาคอีสาน คือ มีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย โดยครอบครัวเดี่ยวมี พ่อ แม่ และลูก ๆ ส่วนครอบครัวขยายมีคนรุ่น ปู่ย่า ตายาย อยู่อาศัยในบ้านหลังเดียวกันกับคนรุ่นลูก หลาน
ความสัมพันธ์ในครอบครัวของชาวบ้านปากยาม ยังมีความแน่นแฟ้นกันอย่างเหนียวแน่นเหมือนสมัยก่อน ที่มีพ่อและแม่ให้ความรักและความอบอุ่นแก่ลูกหลาน ครอบครัวของชาวปากยามมีหน้าที่เกือบทุกอย่าง เช่น การอบรมเลี้ยงดู ให้การศึกษา ตลอดจนฝึกอาชีพให้แก่ สมาชิกในครอบครัว เห็นได้อย่างชัดเจนว่า รุ่นลูกหลานในหมู่บ้านยังมีความสามารถในหาปลา ที่มีความเชี่ยวชาญและมีภูมิปัญญาเหมือน บรรพบุรุษของตน ครอบครัวของชาวบ้านมีการผูกพันทางเครือญาติอย่างใกล้ชิด เมื่อลูกหลานแต่งงานออกเรือนไป แม้จะอาศัยอยู่กับญาติฝ่ายใดก็ตาม ญาติมิตรของทั้งสองฝ่ายก็ให้ความเคารพนับถือซึ่งกันและกันเพราะถือว่า “เป็นดองกัน” จึงไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ถ้าหากว่ามีโอกาสต่างก็จะให้ความช่วยเหลือกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะญาติคนใดได้ทำงานที่เจริญก้าวหน้า หรือมีที่พักอาศัยอยู่ในตัวเมืองใหญ่ ก็มักเอาลูกหลานไปเรียนหนังสือหรือทำงานอาชีพดี ๆ
ระบบเศรษฐกิจในช่วงแรก ยังเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างปลากับข้าวเปลือก ทั้งนี้เพราะหมู่บ้านใกล้เคียงสามารถทำนาปลูกข้าวได้ ซึ่งตรงข้ามกับหมู่บ้านปากยามที่มีพื้นที่น้อย ในฤดูน้ำหลาก มีการผลิตเครื่องมือจับปลาเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพช่วงแรก ๆ การผสมผสานกับชาวจีนและชาวภูไท ซึ่งมีความสนใจในด้านการทำค้าขายทำให้พ่อค้าหรือนายฮ้อย ซึ่งมีทั้งชาวไทย ชาวจีน ประกอบอาชีพด้านข้าวเปลือก ปลาร้า ปลาแห้ง สินค้าเหล้ารี้ถูกนำไปขายในเมืองห่างไกล เช่น หนองคาย นครพนม และเมืองทางฝั่งซ้ายในประเทศลาว มีเรือบรรทุกสินค้าข้าวเปลือและปลาร้า เป็นช่วงที่มีการใช้เครื่องยนต์ติดเรือหาปลาเพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทางไปจับปลา พ.ศ.2482 เป็นช่วงการเกิดสงครามมหาเอเชียบรูพา ทำให้ความต้องการสะสมอาหาร ปลาร้าจึงขายดี มีพ่อค้าจากต่างจังหวัด เช่น จังหวัดเลย ขอนแก่น เดินทางมาซื้อปลาร้าถึงหมู่บ้าน
การเมืองการปกครอง นับตั้งแต่ก่อตั้งหมู่บ้านในปี พ.ส.2457 การเมืองการปกครองของหมู่บ้านในช่วงแรกอาศัยสถาบันอาวุโสเป็นผู้นำในการปกครองหมู่บ้าน โดยทำหน้าทีในด้านต่าง ๆ บุคคลที่เป็นผู้นำท้องถิ่น เพราะนอกจากจะทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองของท้องถิ่นแล้ว ยังทำหน้าที่เป็น “จ้ำ” ของหมู่บ้านอีกด้วย ซึ่งเป็นผู้นำในเรื่องกิจกรรมประเพณี และพีกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้หมู่บ้านปากยามยังอาศัยผู้อาวุโสของตระกูลต่าง ๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านช่วยเหลือในการปกครอง ผู้อาวุโสต่างค่อยดูแลลูกหลานในตระกูลของตนเอง คอยควบคุม และสั่งสอนลูกบ้านให้อยู่ในขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงามตลอดมา บ้านปากยามเป็นหมู่บ้านที่ผู้คนอพยพมาจากหลายที่ ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นง่าย เนื่องจากความแตกต่างในเรื่องของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งพื้นฐานความเป็นอยู่ที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยอยู่ก่อนและกลุ่มที่อพยพมาในรุ่นหลัง ซึ่งลูกหลานมักขัดแย้งกันอยู่เสมอ ดังนั้นผู้อาวุโสจึงมีส่วนสำคัญในการอบรม สั่งสอน
ศาสนา
ชาวบ้านปากยามส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีการตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นพร้อม ๆ กับการตั้งหมู่บ้านในราวปี พ.ศ.2459 ต่อมาในปี พ.ศ.2473 จึงได้ตั้งวัดขึ้นอย่างเป้นทางการ ครั้งแรกวัดบ้านปากยามตั้งอยู่ทางตอนเหนือของหมู่บ้าน แต่ต่อมาเมื่อผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านมากขึ้นทำให้พื้นที่ของวัดแคบลง ชาวบ้านจึงพากันย้ายวัดลงมาตั้งอยู่ทางใต้ของหมู่บ้านในปี พ.ศ.2479 และอยู่ห่างจากที่ตั้งวัดเดิมประมาณ70 เมตร มีชื่อเรียดว่า “วัดกัลยารามบ้านปากยาม”
ชาวพุทธบ้านปายามมักยืนรอตักบาตร อยู่บริเวณหน้าบ้านของตนเองทุกวัน โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ที่ยึดเป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้เมื่อถึงวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา ชาวบ้านจะนำเอาอาหารทั้งคาวและหวานไปถวายพระที่วัด เมื่อมีงานบุญหรือประเพณีต่าง ๆ และการประชุมหมู่บ้านก็ได้อาศัยศาลาวัดเป็นที่ประชุมของชาวบ้าน วัดบ้านปากยามจึงเป็นศูนย์กลางของชุมชน
มรดกภูมิปัญญา
พื้นที่และสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านปากยามที่มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรและสัตว์น้ำ ชาวบ้านจึงมีความเชี่ยวชาญในการจับปลาและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการจับปลาที่ได้ผ่านกระบวนการคิดสั่งสมและถ่ายทอดกันมาในการผลิตเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ
เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการจับปลา
เบ็ด เป็นเครื่องมือที่ทำมาจากตะปูงอบปลาย ใช้ผลไม้ต่าง ๆ และสัตว์เล็ก ๆ เช่น ลูกกบ ลูกปลา ไส้เดือน ตะขาบ จิ้งหรีด มาใช้เป็นเหยื่อล่อปลา
โทง เป็นเครื่องมือที่มีขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายขวดปากบาน สูง 7-8 เมตร การวางฏทนจะผูกหลักไว้ในน้ำผูกติดกับหลักให้ปากโทงอยู่สูงจากน้ำ นิยมวางโทงในตอนกลางคืน เหยื่อทีใช้ในการปัก เช่น มดแดงข้าวเหนียวย่างไฟนำมาคลุกกับส่าเหล้าปั่นจนเหนียวแล้วใส่ในโทงล่อให้ปลาเข้าโทง
เผือก เป็นเครื่องมือที่ใช้ล้อมปลา ดักปลา ทำด้วยไม้ไผ่ ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยเถาเครือไม้ การใช้เผือกมีหลายวิธี เช่น กั้นขวางตามลำห้วย ลำน้ำ หรือใช้ล้อมห้วย เป็นระยะ ๆ เพื่อสะดวกในการขว้างแหจับปลา
มอง หรือตะข่าย เป็นเครื่องมือจับปลามีลักษณะเป็นตะข่าย ผืนตาข่วยเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างยาว มีตั้งแต่ 80 -100 ใตร กว้าง 2-6 เมตร ใช้ในจับปลาขนาดใหญ่
แนบ คือ เรือสองลำแล้วนำมาติดกัน โดยลำที่แนบติดเรือ กราบเรือหลักจะติดแผ่นไม้ปูด้วยกาบกล้วย ซึ่งกราบเรือถึงพื้นน้ำผู้ที่ใช้เรือแนบ ส่วนใหญ่จะใช้หาปลาในเวบากลางคืน โดยลัดเลาะไปตามชายฝั่ง เมื่อปลาตกใจจะกระโดขึ้นจากน้ำมาบนแผ่นกาลกล้วยแล้วไหลเข้ามาบนเรือ ในภาคใต้เรียกเรือชนิดนี้ว่า เรือผีหลอก
ช้อน เป็นเครื่องมือจับปลา ประกอบไปด้วยผืนตาข่าย ขนาด 2-4 ซ.ม. ปากช้อนเป็นรูปสามเหลี่ยม ก้นลุกลึก 4 เมตร ด้ามถือใช้ไม้ไผ่ 2 อัน ส่วนใหญ่จะใช้ช้อนกับเรือพาย การใช้ช้อนจะใช้ในเวลากลางคืนในช่วงน้ำลด
สะดุ้ง หรือยอใหญ่ เป็นเครื่องมือที่ใช้ที่ลงทุนสูง ซึ่งชาวบ้านนิยมซื้อดางหรือตาข่ายมาใช้ทำแผ่นสะดุ้งแทนการซื้อผืนสะดุ้งซึ่งมีราคาแพง
มองกวาด รืออวนลาก เป็นเครื่องมืออวนชนิดหนึ่งใช้ลากหรือติดเรือยนต์ ใช้จับปลาในช่วงฤดูน้ำลด
โต่ง หรือโพงพางเป้นเครื่องมือจับปลาที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องจับปลาชนิดอื่น ๆ สะดวกและสามมารถจับปลาได้มาก ใช้เวลาสั้น
บ้านปากยามมีการติดต่อสื่อสารกับคนในชุมชน และเมื่อมีการเปลี่ยนในชุมชนก็มีการติดต่อกับคนนอกหมู่บ้านมากขึ้นมีการรับเอาวัฒนธรรมมาใช้โดยใช้ภาษาไทยอีสานในการสื่อสาร
ภาษาที่ใช้สื่อสาร
ภาษาที่ใช้พูด ภาษาไทย(อีสาน) ใช้ในการติดต่อกับคนภายนอก
ภาษาที่ใช้เขียน ตัวอักษรไทย
สุรัตน์ วรางรัตน์. (2538). วัฒนธรรมการประกอบอาชีพประมง ลำนำ้สงครามขงกลุ่มชาติพันธ์ุไทโซ่ บ้านปากอูน ไทลาวบ้านปากยาม อำเภอศรีสงครา จังหวัดนครพนม. เอกสารายงานการวิจัย โครงการชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย สำนักงานราชภัฏ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สพสันติ์ เพชรคำ. (2540). ปากยาม : หมู่บ้านประมงในลุ่มแม่น้ำสงครามกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.