Advance search

บ้านตีทอง ข้างวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นชุมชนลาวจากเวียงจันทน์และหลวงพระบาง อพยพมาแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่างตีทองคำเปลวสำหรับปิดพระพุทธรูป รวมทั้งใช้ในการตกแต่งงานศิลปกรรมต่าง ๆ  

ถนนตีทอง
วัดราชบพิธ
พระนคร
กรุงเทพมหานคร
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
17 ก.ค. 2023
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
บ้านตีทอง


บ้านตีทอง ข้างวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นชุมชนลาวจากเวียงจันทน์และหลวงพระบาง อพยพมาแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่างตีทองคำเปลวสำหรับปิดพระพุทธรูป รวมทั้งใช้ในการตกแต่งงานศิลปกรรมต่าง ๆ  

ถนนตีทอง
วัดราชบพิธ
พระนคร
กรุงเทพมหานคร
10200
13.757332880806844
100.49866198788186
กรุงเทพมหานคร

ถนนตีทองนี้แต่เดิมเป็น "ชุมชนบ้านช่างทอง" คือบริเวณตั้งแต่สี่แยกคอกวัวถึงถนนตีทอง ในอดีตเป็นแหล่งผลิตทองคำเปลวซึ่งเป็นทองคำแผ่นบางๆ ที่ใช้ในการปิดเคารพสักการบูชาพระพุทธรูป หรือสิ่งเคารพตามความเชื่อถือ นอกจากนี้ทองคำเปลวยังใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในงานศิลปะและงานช่างฝีมือต่าง ๆ ซึ่งชุมชนบ้านตีทองหรือถนนตีทองนี้เคยเป็นแหล่งผลิตทองคำเปลวที่มีชื่อเสียงมาแต่ในอดีต

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ระบุว่า “ ย่านเป่าทองขายทองคำเปลว ทองนากเงิน มีตลาดขายของสดเช้าเย็น “ ซึ่งเชื่อกันว่า ทองคำเปลวรวมถึงอาชีพผลิต และค้าทองคำเปลวนั้น คงเกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างน้อยก็แต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา  ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้ปรากกฎชุมชนที่ผลิตและค้าทองคำเปลว บริเวณข้างวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร บริเวณถนนตีทองในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เล่ากันว่าชุมชนแห่งนี้ เป็นย่านที่พวกช่างทองหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยร่วมกัน ต่อมาในปลายรัชกาลที่ 5 เมื่อราษฎรมีเสรีภาพในการทำทอง บรรดาช่างทองจึงได้พากันประกอบอาชีพช่างตีทองคำเปลวในย่านนี้เป็นแห่งแรก ซึ่งกลุ่มช่างทองหลวงจากในพระบรมมหาราชวังได้ออกมาตั้งชุมชนผลิตทองคำเปลว ขายให้แก่ชาวบ้านทั่วไปในบริเวณนี้ ถนนที่ตัดผ่านบริเวณนี้จึงถูกเรียกว่าถนนตีทอง

ปัจจุบัน “ บ้านตีทอง “ เหลือปรากฏเป็นเพียงชื่อถนนตีทอง ไม่มีกิจกรรมใดเกี่ยวกับทองคำเปลวเหลืออยู่ แต่อาชีพการผลิตและค้าทองคำเปลวยังคงหลงเหลืออยู่ในย่านแถบอื่นที่เกิดขึ้นร่วมสมัยหรือในยุคหลังต่อมา เช่น บริเวณหลังวัดบวร บ้านพานถม ถนนพระสุเมรุ ถนนตะนาว

"ถนนตีทอง" สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เล่ากันว่าชุมชนแห่งนี้ เป็นย่านที่พวก ช่างทองหลวง มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยร่วมกัน จนถึงช่วงปลายรัชสมัย มีการเปิดเสรีให้ราษฎรสามารถทำทองได้ ไม่จำกัดอยู่แต่ในราชสำนักเท่านั้น บรรดาช่างทองหลวงจึงได้พากันประกอบอาชีพเป็นช่างตีทองคำเปลวในย่านนี้เป็นแห่งแรก ถนนที่ตัดผ่านบริเวณนี้จึงถูกเรียกว่า ถนนตีทอง (แต่เดิมเป็นชุมชนบ้านช่างทอง คือบริเวณตั้งแต่สี่แยกคอกวัวถึงถนนตีทอง)

เป็ยที่น่าเสียดายว่าปัจจุบัน "บ้านตีทอง" คงเหลือปรากฏเป็นเพียงชื่อถนนตีทองเท่านั้น ไม่มีกิจกรรมใดเกี่ยวกับการทำทองคำเปลวเหลืออยู่แล้ว แต่อาชีพการผลิตและค้าทองคำเปลวยังคงมีอยู่ในย่านอื่น ที่เกิดขึ้นมาในช่วงหลัง อาทิ บริเวณหลังวัดบวร บ้านพานถม ถนนพระสุเมรุ ถนนตะนาวเป็นต้น

กลุ่มชุมชนชาติพันธุ์ ที่ถูกอพยพเคลื่อนย้ายจากถิ่นฐานเดิมมา เพราะความขัดแย้งระหว่างบ้านเมืองในช่วงต้นกรุงฯ เมื่อเลือกผู้คนจำนวนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชำนาญ หรือมีฝีมือทางงานช่างต่าง ๆ อาทิ ช่างทอง ช่างเงิน ช่างไม้ ช่างเรือ ช่างก่อสร้าง ฯลฯ จึงให้ตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชนอยู่ภายในกำแพงพระนคร อาทิ ชุมชนชาวมุสลิมจากปาตานี น่าจะเป็นผู้มีความรู้หรือมีฝีมือทางช่างทองต่าง ๆ ที่อาจเคยอยู่ในราชสำนักเป็นข้าหลวงมาแต่เดิม ถูกกวาดต้อนมาครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เข้าสังกัดที่อาสาจาม ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แถบคลองมหานาคต่อคลองบางกะปิ และโรงไหมหลวงที่ใกล้กับวัดตองปุหรือวัดชนะสงครามฯ สืบต่อกันมาเป็นชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ และกระจายกลายเป็นผู้คนในชุมชนมัสยิดตึกดินในปัจจุบัน

โดยช่างทองเชื้อสายมลายูนี้สร้างผลงานเครื่องทองแบบเก่าสำหรับราชสำนัก บางท่านเป็นขุนนางและทำงานให้กรมช่างสิบหมู่ และเป็นช่างทองของราชสำนักสยาม ซึ่งช่างทองเหล่านี้เป็นช่างแกะลายฝีมือดี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ถนนตีทอง กล่าวกันว่าถนนสายนี้ตัดผ่านย่านชุมชนที่มีอาชีพทำทองคำเปลวจึงเรียกว่า “ถนนตีทอง” และกลุ่มบ้านที่เคยตีทองคำเปลวอยู่ใน “ตรอกเฟื่องทอง” ที่อยู่ฟากตะวันตกของถนนตีทองติดกับคลองหลอดวัดราชบพิธที่มีเส้นทางเดินเชื่อมกับทั้งถนนตีทองและถนนราชบพิธ ในช่วงราว พ.ศ. 2440 เคยมีบ้านเรือนหลายหลังที่ตีทองทำทองคำเปลว แต่ปัจจุบันเลิกทำไปหมดแล้ว ดังนี้

  1. อำแดงเอี่ยม บุตรนายควร สังกัดทูลกรพหม่อทแก้วช่างทองคำเปลว เรือนฝากระดาน
  2. นายตงบุตรจีนติน ขึ้นพระยาสุรเสนา ช่างทองคำเปลวเรือนฝากระดาน
  3. นายนิล มหาดเล็ก บุตรนายสุก ขึ้นพระยาภาศกรวงษ ช่างทองคำเปลว เรือนฝากระดาน
  4. นายเนย บุตรนานอ่วม ขึ้นเจ้าคุณกรมท่า ช่างตัดทองคำเปลว เรือนฝาแตะ
  5. อำแดงซุ่น บุตเที่ยงขึ้นพระยารัตนโกษา ช่างทองคำเปลว เรือนฝากระดาน

ทว่ายังพบว่าบริเวณ ตรอกรังษี หรือที่เรียกว่า ตรอกวัดรังษี ในคราวเดียวกันนั้น มีบ้านที่ตีแผ่นทองคำเปลวอยู่หลายบ้าน ได้แก่

  1. นายพันบุตรราชศรีนาคาขึ้นจ่ายง ตีทองตำเปลวขายเรือนฝากระดาน
  2. นายทิม พระมลตรีนวร ขึ้นกรมมหาดไทย ตีทองคำเปลวขายเรือนฝากระดาน
  3. อำแดงพลับ ภรรยาพระครูประโรหิต ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน
  4. นายขาว บุตรนายเพง ขึ้นกรมหลวงจักรพรรดิพงษ์ ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน
  5. นายถม ซายันมหาดเล็ก ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน
  6. นายดิษ บุตรนายสน ขึ้นพระยาพลเทพ ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน
  7. นายเสม บุตรชาติโอสถขึ้นกรมหมอ ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน
  8. อำแดงเกิด บุตรราชจินดาหุ้มแพร ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน
  9. นายจรเป็นขุนจินดาพิรมลา ตีทองคำเปลวขายเรือนฝากระดาน 

จะเห็นว่าบ้านที่ตีทองคำเปลวขายทางตรอกวัดรังษีมีเป็นจำนวนมากกว่าทางแถบถนนตีทองและทำกันเกือบทุกหลังคาเรือนทีเดียว แต่ไม่ใช่หนึ่งงานช่างหลวงแต่อย่างใด 

ปัจจุบัน “ บ้านตีทอง “ เหลือปรากฏเป็นเพียงชื่อ ถนนตีทอง ไม่มีกิจกรรมใดเกี่ยวกับทองคำเปลวเหลืออยู่ แต่อาชีพการผลิตและค้าทองคำเปลวยังคงหลงเหลืออยู่ในย่านแถบอื่นที่เกิดขึ้นร่วมสมัยหรือในยุคหลังต่อมา เช่น บริเวณหลังวัดบวร บ้านพานถม ถนนพระสุเมรุ ถนนตะนาว ทว่าสิ่งที่ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน คือ ตึกแถว หรือสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ของย่านบ้านตีทอง บริเวณถนนตีทอง

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

อาคารเป็น ตึกแถว ก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น ตั้งอยู่ด้านข้างวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร อาคารแต่ละคูหากว้างประมาณ 3.00 เมตร สูง 10.00 เมตร หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องว่าว ผนังก่ออิฐฉาบปูนเรียบ หน้าต่างเป็นบานแฝดไม้ลูกฟักกระดานดุน ด้านบนของหน้าต่างมีกันสาดยื่นออกมามุงด้วยสังกะสีและมีลายฉลุไม้โดยรอบ ส่วนบนของผนังมีลวดลายบัวหงายเป็นแนวยาวตลอดช่วงอาคารขึ้นไปรับชายหลังคา มีการประดับผนังด้วยแนวเสายื่นออกมาจากผนังมีการเซาะร่องตามแนวนอน  

รูปแบบอาคารตึกแถวถนนตีทอง มีลักษณะที่แตกต่างจากอาคารตึกแถวในบริเวณใกล้เคียง คืออาคารตึกแถวถนนตีทองนี้จะมีลักษณะอาคารที่เรียบง่าย มีการประดับตกแต่งลวดลายน้อย ไม่มีการปั้นปูนประดับตกแต่งอาคารตามสถาปัตยกรรมตะวันตกเหมือนอาคารตึกแถวอื่น ๆ ที่สร้างในยุคสมัยเดียวกัน สภาพอาคารปัจจุบันในชั้นล่างได้มีการปรับเปลี่ยนการใช้งานไปมากทั้งประตูอาคารในชั้นล่างและการติดป้ายโฆษณาร้านค้าต่าง ๆ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จากการศึกษางานวิจัยเพื่อหาผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานศิลปหัตถกรรมโลหะที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวคือ ชุมชนบ้านตีทอง ผลิตทองคำเปลว มีผลการศึกษา พบว่าการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง มอก.18001 ก่อนและหลังใช้รูปแบบ อย่าง "ชุมชนบ้านตีทอง" มีขั้นตอนการตีทองใส่กุบ ก่อนใช้รูปแบบระดับความเสี่ยงสูง คิดเป็นร้อยละ 86.42 ของการประเมิน หลังจากใช้รูปแบบ พบว่าเป็นระดับความเสี่ยงยอมรับได้ คิดเป็นร้อยละ 64.19 ของการประเมิน

ถนนตีทอง เริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุงถึงถนนบำรุงเมืองในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนสายนี้ตัดผ่านย่านของชุมชนที่มีอาชีพทำทองคำเปลว จึงเรียกชื่อถนนนี้ว่า “ถนนตีทอง” ปัจจุบันนี้ถนนตีทองเป็นถนนยาว 525 เมตร ต้นถนนจดถนนบำรุงเมืองก่อนถึงลานเสาชิงช้า หัวมุมถนนด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวราราม ด้านตะวันตกของถนนมีซอยซึ่งยังเหลือชื่อว่าเป็นแหล่งทำทองคือ ซอยเฟื่องทอง

ถนนอีกสายหนึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากถนนตีทอง มีชื่อว่า ถนนตะนาว เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ถนนสายนี้เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมืองที่สี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงไปตัดข้ามถนนราชดำเนินกลางที่สี่แยกคอกวัว ไปจดแยกที่ถนนบวรนิเวศ ถนนสิบสามห้าง และถนนตานีบรรจบกัน เมื่อแรกสร้างถนนตะนาวเป็นส่วนหนึ่งของถนนเฟื่องนคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2406 – 2407 ชื่อถนนสายนี้ตั้งตามชื่อบ้านตะนาวที่ถนนตัดผ่าน จึงเรียกกันว่า ถนนบ้านตะนาว หรือ ถนนตะนาวมีผู้สันนิษฐานถึงที่มาของชื่อถนนสายนี้ไว้ 2 ทาง ทางหนึ่งสันนิษฐานว่า บ้านตะนาว เป็นบริเวณที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้ชาวตะนาวศรีที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งถิ่นฐานในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นแต่อีกทางหนึ่งมีผู้สันนิษฐานว่า ถนนสายนี้คงตัดผ่านบริเวณที่ขายเครื่องหอมเนื่องจากคำว่า “ตะนาว” หมายถึง กระแจะเครื่องหอมชนิดหนึ่ง

ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. (ม.ป.ป.). ตึกแถวถนนตีทอง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.resource.lib.su.ac.th/rattanakosin/index.php/2014-10-27-08-52-05/2014-11-19-04-46-50/2015-10-15-03-53-04

อารยา ถิรมงคลจิต. (2557). ถนนตีทอง-ถนนตะนาว. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566, จาก https://d.dailynews.co.th/article/284835/.

วิทยา เมฆขำ และคณะ. (2551). ผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานงานศิลปหัตถกรรมโลหะที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงรัตนโกสินทร์. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 48(1), 137-156.

วิทยา เมฆขำ และสมศักดิ์ มีนคร. (2550). ผลกระทบการถ่ายทอดเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานศิลปหัตถกรรมโลหะการผลิตแผ่นทองคำเปลว ชุมชนบ้านตีทอง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สยามเทศะ โดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. (2565). ถนนตีทอง จากย่านตีทองคำเปลวจนถึงทำทองรูปพรรณ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.blockdit.com/posts/621bb0d1d3badefa5198c9bf.

จิราพร แซ่เตียว และจารุวรรณ ด้วงคำจันทร์. (2561). หัตถกรรมทองคำเปลวย่านวัดบวร..ศิริทองคำเปลว. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566, จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=5342.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2561). "เมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ" และการเดินทางย้อนรอยการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ (๒). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566, จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=5370.

ช่างตีทอง อาชีพของคน ๆ ไทยที่หายไป. (2561). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2566, จาก https://www.aagold-th.com/article/193/.

อรุณอินสยาม. (2559). สร้างประวัติศาสตร์สังคมย่านเมืองเก่ากรุงเทพฯ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2566, จาก https://www.facebook.com/1583765708572164/posts/1758810421067691/.

กรมศิลปากร กองโบราณคดี. (2535). รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทหิรัญพัฒน์จำกัด.