Advance search

บ้านหม้อ ตั้งถัดมาจากบ้านลาว เป็นชุมชนชาวญวนที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบอาชีพทำหม้อและภาชนะหุงต้มต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีภาชนะสมัยใหม่เข้ามาแทนจึงได้เลิกอาชีพนี้ไป ภายหลังกลายเป็นย่านขายเครื่องเพชร อัญมณี และเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงของพระนคร ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเสียงจำนวนมาก

ถนนบ้านหม้อ
วังบูรพาภิรมย์
พระนคร
กรุงเทพมหานคร
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
12 ก.ค. 2023
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
บ้านหม้อ

ที่มาของชื่อ "บ้านหม้อ" เกิดจากอาชีพทำหม้อของชาวมอญ ต่อมาเกิดการตัดถนนพาหุรัด ทำให้บ้านหม้อเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กลายเป็นพื้นที่ขายเครื่องเพชร เครื่องทอง โดยชาวจีนที่อพยพเข้ามา ผ่านคำบอกเล่าของอดีตช่างทำทองที่เคยอยู่ในช่วงกิจการทำทองรุ่งเรือง และปัจจุบันพื้นที่บ้านหม้อแห่งนี้ได้กลายเป็นศูนย์รวมร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ


บ้านหม้อ ตั้งถัดมาจากบ้านลาว เป็นชุมชนชาวญวนที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบอาชีพทำหม้อและภาชนะหุงต้มต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีภาชนะสมัยใหม่เข้ามาแทนจึงได้เลิกอาชีพนี้ไป ภายหลังกลายเป็นย่านขายเครื่องเพชร อัญมณี และเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงของพระนคร ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเสียงจำนวนมาก

ถนนบ้านหม้อ
วังบูรพาภิรมย์
พระนคร
กรุงเทพมหานคร
10170
13.744872608081844
100.49729882107516
กรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างกรุงฯ บริเวณ “บ้านหม้อ” ซึ่งผู้คนที่อยู่อาศัยในย่านนี้เป็นชาวมอญเดิมจากกรุงศรีอยุธยาตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถัดจากชุมชนชาวจีนเข้ามาภายในใกล้กับแนวคลองคูเมืองเดิมที่ขุดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ซึ่งคนมอญดังกล่าวตั้งถิ่นฐานปั้นหม้อและทำเครื่องปั้นดินเผาขาย เป็นชุมชนเก่าตั้งแต่ก่อนการสร้างกรุงฯ มี “พระยาศรีสหเทพ” (ทองเพ็ง) ผู้เป็นต้นสกุลศรีเพ็ญ และเป็นเสนาบดีกระทรวงคลัง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และนอกจากมีเชื้อสายชาวมอญทางฝ่ายมารดาแล้วยังเป็นเขยชาวมอญที่บ้านหม้อ จึงตั้งนิวาสถานใกล้กับปากคลองหลอดวัดราชบพิธฯ ต่อมารวบรวมชาวมอญก่อสร้างสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมเยื้องกับวัดราชบพิธฯ เรียกกันว่า “สะพานมอญ” ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังคงมีชุมชนมอญอยู่จนถึงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สภาพบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปอย่างสำคัญ เนื่องจากมีการตัดถนนต่าง ๆ สร้างตึกแถวริมถนนจนกลายเป็นย่านการค้าสำคัญของพระนคร จึงเหลือไว้เพียงชื่อ “ถนนบ้านหม้อ” ที่เริ่มจากถนนเจริญกรุงตั้งแต่สี่กั๊กพระยาศรีไปจนถึงถนนจักรเพชรบริเวณ “บ้านหม้อ” นั้นต่อเนื่องกับ “บ้านญวน” ซึ่งคงเป็นชุมชนดั้งเดิมมาตั้งแต่สมัยสร้างกรุงฯ เช่นเดียวกับชุมชนมอญที่อยู่บริเวณบ้านหม้อ มีหลักฐานว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2441 เกิดไฟไหม้ใหญ่ที่ “บ้านญวน” ติดกันถึงสองครั้ง จนมีที่ว่างกว้างขวาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ของ “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์” พระราชธิดา ซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา 10 ปี ตัดถนนสายใหม่จากตำบลบ้านลาวไปถึงสะพานหันเรียกว่า “ถนนพาหุรัด” และเพราะตัดผ่านบ้านญวนจึงเรียกว่า “ถนนบ้านญวน” ในระยะแรก ๆ เพื่อให้เป็นย่านเศรษฐกิจการค้าที่ต่อเนื่องกับทางถนนเจริญกรุง แต่ต้องใช้เวลาพอสมควร จึงมีกลายเป็นตลาดการค้าของชุมชนเชื้อสายอินเดีย ซึ่งปลายถนนพาหุรัดช่วงที่ข้ามคลองเมือง หรือคลองโอ่งอ่างนั้น ต่อกับสะพานหันและตลาดสำเพ็งที่เป็นย่านการค้าของคนจีน ถนนพาหุรัดจึงกลายเป็นย่านการค้าอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อสยามเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยใหม่และทำให้พื้นที่ริมถนนกลายเป็นตึกแถวและย่านการค้าต่าง ๆ ดังนั้นจึงไม่พบว่ามีชุมชนชาวมอญ ชาวญวน หรือชาวลาวอยู่อาศัยกันอย่างชัดเจนตามชื่อตำบลบ้านที่มีมาตั้งแต่ครั้งต้นกรุงฯ

บ้านหม้อในอดีตพื้นที่นี้เคยเป็นชุมชนดั้งเดิม ที่ผู้คนในย่านนี้ประกอบอาชีพปั้นหม้อและเครื่องปั้นดินเผาขาย เป็นชุมชนเก่าแก่พอ ๆ กับกรุงรัตนโกสินทร์ อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ของพระบรมมหาราชวัง

กล่าวคือการตั้งบ้านเรือนเรียงรายตามสองฝั่งคลองคูเมืองเดิม จนกระทั่งถึงถนนเจริญกรุง บรรจบกับหัวมุมวังสราญรมย์ ภายหลังเกิดเพลิงไหม้ใหญ่ติดต่อกันเส้นตรงยาว 525 เมตร กว้าง 20 เมตร ตั้งแต่บ้านหม้อถึงถนนจักรเพชร ชื่อว่า "ถนนพาหุรัด" อาชีพปั้นหม้อขายของชุมชนบ้านหม้อยังคงสืบต่อกันมา จนถึงปลายรัชกาลที่ 5 ต้นรัชกาลที่ 6 คงเหลือไว้เพียงชื่อถนนบ้านหม้อ ที่เริ่มจากถนนเจริญกรุงตรงถนน สี่กั๊กพระยาศรี ตรงไปทางปากคลองตลาดตัดถนนพาหุรัด

พื้นที่ย่านบ้านหม้อ ตั้งอยู่บนพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณทางทิศใต้ของกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก โดยมีบทบาทของการเป็นเขตประวัติศาสตร์ และย่านการค้าเก่าแก่ที่สำคัญ พื้นที่มีความเชื่อมโนงกับย่านการค้าเก่าแก่ที่สำคัญอื่น ๆ ตั้งแต่ระดับเมืองจนถึงระดับประเทศ อาทิ ย่านพากุรัด ย่านสำเพ็ง เป็นต้น 

ขอบเขตของพื้นที่มีการกำหนดจากความต่อเนื่องของกิจกรรมที่ครอบคลุมในทุกยุคสมัย ดังนี้

  • ทิศเหนือ จรดคลองหลอดวัดราชบพิตร
  • ทิศตะวันออก จรดถนนตีทอง และถนนตรีเพชร
  • ทิศใต้ ตลาดพาหุรัด และตึกแถวริมถนนพาหุรัด
  • ทิศตะวันตก จรดถนนอัษฎางค์ ถัดไปเป็นคลองคูเมืองเดิม

พื้นที่ "บ้านหม้อ" ในอดีต ที่เป็นศูนย์รวมของชาติพันธุ์ ทั้งมอญ ลาว ญวน และจีน ซึ่งจากการศึกษาภาพรวมจำนวนประชากร ปี พ.ศ. 2552 ในแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร ซึ่งเป็นแขวงที่ตั้งของ ชุมชนบ้านหม้อ รวมทั้งสิ้น 13,659 คน เป็นเพศชาย 6,957 คน และเพศหญิง 6,702 คน และล่าสุดในปี พ.ศ. 2563 แสดงจำนวนประชากรในแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร มีรวมทั้งสิ้น 9,650 คน เป็นเพศชาย 4,880 คน และเพศหญิง 4,770 คน

จากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นถึงจำนวนประชากรในแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากเป็นเขตเศรษฐกิจ มีกิจกรรมการค้าขายเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความแออัดยัดเยียด ดังนั้นประชากรจึงย้ายไปอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง หรือชานเมืองที่มีอากาศดี และจะเข้ามาทำงานในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ด้านศาสนา

ประชาชนในย่านบ้านหม้อ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ปัจจุบันย่านนี้มีคนนับถือศาสนาพุทธเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งวัดที่มีผู้คนทั้งในย่านและนอกย่านมาลสักการะบูชาใหความเคารพนับถือ คือ วัดทิพยาวารี ซึ่งเป็นวัดจีนที่เก่าแก่ประจำย่านบ้านหม้อมาเวลายาวนาน โดยในอดีตจะเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีดรรม อาทิ งานปีใหม่ งานสงกรานต์ ตรุษจีน และงานสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น ทว่าในปัจจุบันย่านได้ลดบทบาทลงไปมาก เนื่องจากการดำรงชีวิตแบบคนเมือง คือลักษณะต่างคนต่างอยู่ การแข่งขันสู่ง ทำให้ไม่มีเวลาที่จะประกอบกิจกรรมทางศาสนาเหมือนในอดีต คนในย่านจึงมีความสัมพันธ์เหินห่างกัน นอกจากนี้วัดยังมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในย่าน อาทิ ให้พ่อค้าแม่ค้าสามาถค้าขายหน้าบริเวณวัดได้ 

นอกจากนี้ในพื้นที่ย่านบ้านหม้อไม่ได้มีแค่วัดพุทธ แต่มี "ศาลเจ้า" ซึ่งจากประวัติความเป็นมาทำให้ทราบว่าพื้นที่นี้เป็นที่ที่ค่อนข้างมีชาวจีนอาศัยอยู่สูงตั้งแต่ครั้งอดีต จึงทำให้มีการสร้างศาลเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือจำนวนมาก เพื่อเป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจและใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญต่าง ๆ อาทิ วันตรุษจีน วันสาทรจีน ฯลฯ ส่วนใหญ่ศาลเจ้าในย่านนี้จะมีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เพราะเป็นย่านที่มีพื้นที่เล็กและแคบ ราคาที่ดินแพง จึงต้องใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการค้าจะเห็นถึงความคุ้มค่า และภายในจะมีเทพเจ้าที่คนในย่านเคารพไว้เป็นที่เคารพสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับครอบครัวและการค้าของตนเอง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

 ย่านบ้านหม้อ เป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่สำคัญของประเทศไทยมานาน สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเหล้าฯ ให้มีการตัดถนนขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อจากถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นถนนสายสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นบ้านหม้อจึงได้มีการขยายตัวอย่างมากทั้งในด้านพื้นที่และการค้า โดยเฉพาะในด้านการค้าในย่านได้มีการสืบทอดธุรกิจการค้าจากรุ่นบรรพบุรุษ มาจนถึงรุ่นลูกหลานในปัจจุบัน จนกระทั่งร้านค้าในย่านบ้านหม้อเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากบุคคลนอกพื้นที่เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ภายในย่านประกอบไปด้วยกิจกรรมการค้าเป็นจำนวนมากและมีสินค้าหลากหลายชนิด เพื่อรองรับและดึงดูดให้คนต่าง ๆ เข้ามาสู่ย่านแห่งนี้ โดยจากงานศึกษาได้มีการพิจารณาถึงกิจกรรมทางการค้าภายในย่านบ้านหม้อว่าสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

ช่วงที่ 1 ช่วงถนนบำรุงเมือง เฟื่องนคร ตั้งอยู่ในหัวมุมถนนบำรุงเมืองตัดกับช่วงสี่กั๊กพระยาศรี

การใช้สอยในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของแหล่งค้าเครื่องประดับอัญมณี ช่างทำทอง ค้าปืน แหล่งค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และร้านค้าปลีกทั่วไป

ในช่วงถนนบำรุงเมือง เฟื่องนครจะมีความยาวของถนนน้อยกว่าช่วงอื่น ๆ จึงทำให้มีกิจกรรมการค้ากระจุกตัวไม่มากทั่วช่วงอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการกระจุกตัวของสินค้าประเภทเครื่องประดับอัญมณี และช่างทำทอง โดยส่วนมากจะเป็นร้านค้าเพชรและร้านทองที่เปิดกิจการมานานจนมีชื่อเสียงในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการกระจายตัวของสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่างกายอีกจำนวนหนึ่งในย่านนี้

ช่วงที่ 2 ช่วงถนนตรีเพชร จักรเพชร 

การใช้สอยในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของแหล่งค้าเครื่องประดับอัญมณี ช่างทำทอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีหน้าร้าน และมีบริเวณหลังร้านเพื่อเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่เกี่ยวกับการทำทอง และบริเวณโซนด้านล่างจะเป็นการค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และซีดีประเภทต่าง ๆ 

ในช่วงถนนตรีเพชร จักรเพชร อุตสาหกรรมช่างทำทอง ฝัง ชุบ เชื่อม กระจุกตัวอยู่เป็นจำนวนมาก อาจเป็นเพราะการค้าที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษและได้รับความนิยมมาโดยตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน บ้านหม้อได้ชื่อว่าเป็นแหล่งค้าเครื่องประดับอัญมณีที่สำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศไทย รวมทั้งเป็นย่านที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายนับเป็นที่ต้องการของผู้คนทั้งในและนอกพื้นที่เป็นอย่างมาก ไม่ว่าใครต้องการหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องมาที่บ้านหม้อแห่งนี้ ซึ่งย่านบ้านหม้อมีเส้นทางคมนาคมที่เป็นทางผ่านสู่ย่านเยาวราช และเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในที่ง่ายต่อการเข้าถึงพื้นที่ จึงอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาจับจ่ายกันมาก ส่งผลให้ถนนไม่สามารถรองรับต่อความต้องการได้ เป็นผลให้เกิดปัญหาการจราจรในพื้นที่เป็นอย่างมากในปัจจุบัน

ช่วงที่ 3 ช่วงถนนพระพิทักษ์ และริมคลองรอบกรุง

ส่วนใหญ่จะมีอุตสหาหกรรมช่างทำทอง ร้านเสื้อผ้า ร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ร้านอาคาร ร้านค้าจิปาถะ และที่สำคัญคือ ร้านขนาดเล็กที่เกี่ยวกับรับซื้อ เงิน ทอง นาก เพื่อมาใช้ในการเชื่อม ต่อ ฝั่ง ทอง

ในช่วงนี้จะเห็นได้ว่าสินค้าในการอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตของคนค่อนข้างเด่นชัดไม่ว่าจะเครื่องแต่งกาย อาหาร และเครื่องใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน คือช่วงที่ 1 จะมีการกระจุกตัของสินค้าประเภทเครื่องประดับอัญมณีจำนวนมากและกระจายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนช่วงที่ 2 จะมีการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมช่างทำทอง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เฉลี่ยแล้วใกล้เคียงกันมาก สุดท้ายช่วงที่ 3 จะเป็นสินค้าประเภทเสื้อผ้ากระจุกตัวรวมอยู่ด้วย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. (ม.ป.ป.). ตลาดบ้านหม้อ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.resource.lib.su.ac.th/rattanakosin/index.php?option=com_content&view=article&id=84.

พชรวรรณ แก้วขาว. (2556). การศึกษาปัญหาและปัจจัยที่มีความสำคัญต่อศักยภาพพื้นที่ย่านบ้านหม้อ วังบูรพาภิรมย์. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จากรากสู่เรา ซีซัน 2 บ้านหม้อ : เชื้อชาติ ร่องรอย หลากหลาย. [วีดิทัศน์]. (2565, 24 มกราคม). กรุงเทพฯ: Thai PBS.

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. (2562). บ้านหม้อ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2566, จาก https://www.facebook.com/Vlekprapaifoundation/posts/3144604688945333/.