Advance search

บ้านปูน บางยี่ขัน เป็นชุมชนที่มีอาชีพเผาปูนขาว เพื่อใช้ทำปูนแดงกินกับหมากพลู ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนสมัยก่อน

บางยี่ขัน
บางพลัด
กรุงเทพมหานคร
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
10 ก.ค. 2023
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
บ้านปูน

ชุมชนบ้านปูน (บางยี่ขัน) เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ช่วงบริเวณบางยี่ขัน ซึ่งในอดีตชื่อ "บ้านปูน" มักหมายถึงชุมชนที่มีอาชีพหลักประกอบอาชีพทำปูนแดงที่ใช้รับประทานกับหมากพลูตามความนิยมของคนในสมัยก่อน 


บ้านปูน บางยี่ขัน เป็นชุมชนที่มีอาชีพเผาปูนขาว เพื่อใช้ทำปูนแดงกินกับหมากพลู ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนสมัยก่อน

บางยี่ขัน
บางพลัด
กรุงเทพมหานคร
10700
13.7707787702313
100.496268197578
กรุงเทพมหานคร

ชุมชนแห่งนี้เริ่มตั้งถิ่นฐานในสมัยกรุงธนบุรี และมีชื่อเสียงจากการทำปูนกินหมาก ซึ่งบรรพบุรุษของชุมชนอพยพมามาจากพระนครศรีอยุธยามาตั้งชุมชนอยู่ในบริเวณนี้ในช่วงเวลาที่พระเจ้าตากได้อพยพไพร่พลลงมาครั้งที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2310 ตามคำบอกเล่าของจอมพลประพาส จารุเสถียร จากหนังสือฝากเรื่องราวไว้ให้ลูกหลาน โดยเล่าไว้ว่าต้นตระกูลของท่านได้อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา ล่องลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยามาขึ้นฝั่งที่แห่งนี้ และได้ตั้งชื่อว่า "บางพลัด" มีที่มาจาก "บางพลัดถิ่น" ซึ่งคนกลุ่มมีภูมิปัญญาอาชีพดั้งเดิมด้านการทำปูนกินหมาก และรักษาการประกอบอาชีพนี้

เมื่อย้ายถิ่นฐานมาที่บ้านปูน แต่ในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ออกประกาศชัดชวนให้เลิกรับประทานหมากในหมู่ข้ารายการ เนื่องจากต้องการให้ประเทศไทยมีความเป็นอารยชนเทียบเท่านานาประเทศ เพราะคนเคี้ยวหมากจะมีฟันที่ดำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เจริญตา จนถึงช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลได้สั่งให้เลิกเผาปูน เพราะเวลาทำปูนจะต้องเผาปูนต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ เป็นผลให้เห็นแสงไฟจากทางอากาศทำให้ไม่ปลอดภัยจากเครื่องบินทิ้งระเบิด จึงได้เลิกการทำปูนไปในที่สุด แต่ชุมชนยังคงจดจำตำแหน่งของโรงปูนได้เป็นอย่างดี 

ชุมชนบ้านปูน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีอาณาเขตที่ตั้ง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ตามแนวทางรถไฟสายเก่าสายเจ้าพระยาวรพงษ์ ตั้งแต่ท่ารถไฟริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกไปจดแนวสวนวัดรวก ตำบลบางบำหรุ ริมถนนจรัลสนิทวงศ์ (ในปัจจุบันอาณาเขตถึงวัดคฤหบดี)
  • ทิศใต้ ตามแนวคลองวัดดาวดึงส์ แต่เดิมเป็นทางเดินไม้กระดานพาดตอม่อเตี้ย ๆ คล้ายสะพานจึงเรียกกันว่าสะพานยาว ขนานกับคลองวัดดาวดึงส์ไปตลอดทางถึงถนนจรัลสนิทวงศ์ (ปัจจุบันอาณาเขตถึงเชิงสะพานพระรามแปด)
  • ทิศตะวันออก แม่น้ำเจ้าพระยา
  • ทิศตะวันตก จากคลองวัดดาวดึงส์ด้านทิศใต้ไปจนจดแนวทางรถไฟสายเก่าสายเจ้าพระยาวรพงษ์ (ปัจจุบันเป็นชุมชนบ้านจัดสรร และตลาดใหม่)

โดยพื้นที่ชุมชนบ้านปูน มีการแบ่งพื้นที่การอยู่อาศัยตามเชื้อชาติเป็น "บ้านบน" (ท่าบน) และ "บ้านล่าง" (ท่าล่าง) ซึ่งมีการแบ่งแบบสังเขปที่กำแพงวังเก่าหน้าทางเข้าชุมชนบริเวณใต้สะพานพระรามแปดในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. บ้านบน จะเป็นที่อยู่ของคนไทย เป็นที่ตั้งของชุมชนในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ โดยมีสถานที่สำคัญ อันได้แก่ ศาลเจ้า, ท่าเรือบ้านปูน, ท่าน้ำ (ท่าหิน), โรงทำปูน, โรงทำขนมจีน และโรงยาฝิ่น
  2. บ้านล่าง จะเป็นที่อยู่ของคนจีน ซึ่งจะอยู่กันหนาแน่นกว่าบ้านบน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือใต้ โดยมีอาณาเขตตั้งกำแพงวังไล่ลงมาทางทิศใต้จนถึงบริเวณโรงสุราบางยี่ขัน ทว่าในปัจจุบันพื้นที่บริเวณท่าล่างได้ถูกเวนคืนสำหรับก่อสร้างเป็นสะพานพระรามแปด

ปัจจุบันประชากรดั้งเดิมในบ้านปูนน้อยลงจากการที่ถูกเวนคืนที่ไปทำสะพานและการสร้างบ้านจัดสรร เป็นผลให้คนข้างนอกเข้ามาอยู่แทน อาทิ คนอีสานที่เข้ามาหางาน หรือค้าขายรถเข็นในกรุงเทพฯ โดยมาอาศัยเช่าบ้านอยู่ และเตรียมของ เช่น ต้มถั่วเพื่อออกไปขายในบริเวณรอบ ๆ แต่เมื่อถึงฤดูทำนาจะกลับไปบ้านเกิดเพื่อทำนาก่อนจนหมดหน้านาถึงจะกลับมาอีกครั้ง

ชุมชนในย่านบางยี่ขัน อยู่ในมีทำเลที่ตั้งที่ดีเหมาะสมต่อการคมนาคม ขนส่ง ค้าขาย และเพาะปลูก เนื่องจากอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และมีคลองเชื่อมไปยังพื้นที่ด้านใน ทำให้เกิดสวนผลไม้ บ้านเรือน โรงงาน และการค้าริมน้ำอย่างหนาแน่น เป็นผลให้ชาวบ้านในชุมชนมีวิถีชีวิตสัมพันธ์กับแม่น้ำ ทั้งทางด้านการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ นอกจากนี้ ยังมีแหล่งงำนซึ่งเคยตั้งอยู่ในชุมชนเป็นจำนวนมาก ได้แก่ โรงสุรา โรงขนมจีน โรงเตาอั้งโล่ โรงทำข้าวตอก โรงทำไตปลาดองหอยดอง โรงทำข้าวเหนียวมูน เป็นต้น เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำ เนื่องจากต้องใช้น้ำจากแม่น้ำในการผลิตและขนส่ง โดยชาวชุมชนทุกครัวเรือนมักจะมีอาชีพมากกว่าหนึ่งอาชีพตามความถนัด ซึ่งชุมชนกลุ่มอาชีพที่สำคัญของชุมชน มีดังนี้

  1. ชาวสวน
  2. ลูกจ้างโรงงานสุรา
  3. ขนมไทย
  4. ประมง
  5. การถักกก
  6. ทำดอกไม้

การตั้งถิ่นฐานของชุมชนจะเริ่มจากริมฝั่งแม่น้ำเจาพระยา เป็นชุมชนที่อาศัยอยู่ตามตลิ่งแม่น้ำ จะมีทั้งบ้านเรือนอยู่บนฝั่งและเรือนแพ สัมพันธ์กับการสัญจรหลักของคนสมัยนั้นที่ใช้เรือ โดยท่าน้ำสำคัญของชุมชนจะอยู่บริเวณหน้าศาลเจ้า ชาวบ้านเรียกชื่อว่า "ท่าหิน" ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใช้เดินทางมาที่บ้านปูนรวมถึงเป็นท่าที่ชาวบ้านใช้ตักน้ำ หรืออาบน้ำ เนื่องจากที่ตรงจุดนี้มีลักษณะตลิ่งจะเป็นหาดทราบ เวลาน้ำลงจะมีโขเหินผุดขึ้นมา และเด็ก ๆ จะไปเดินเล่น จากข้อมูลได้มีผู้ใหญ่ในชุมชนกล่าวว่า ท่าน้ำแห่งนี้จะเป็นเหมือนที่ผู้คนมาพบปะกันทุกวันเพราะต้องมาอาบน้ำที่ท่าหิน โดยจะเดินผ่านทางเดินในชุมชน ศาลเจ้า และป้อมตำรวจเพื่อมาอาบน้ำ

นอกจากนี้ ในบริเวณนี้มีเรือขายของแวะเวียนกันมาตามช่วงเวลาในทุกวัน ได้แก่ เนื้อต้ม หอยแมลงภู่ หอยแครง ก๋วยเตี๋ยว กับข้าว ฯลฯ แต่เมื่อมีการตัดถนนเข้ามาในพื้นที่ สิ่งต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาได้เลือนหายไป หลงเหลือเพียงเรือขายของที่จำนวนน้อยกว่าในอดีตมาก ได้แก่ เต้าหู้ทอด หมึกย่าง เป็นต้น ถ้าหากชาวบ้านในพื้นที่ต้องการสินค้าอื่น ๆ ต้องอาศัยออกมาเพื่อจ่ายตลาดที่ ตลาดเทเวศ (ตลาดยอด) ของที่ขายมีราคาที่ไม่แพง

บุคคลสำคัญในย่านชุมชนบ้านปูนที่มีชื่อเสียง ที่ชาวบ้านให้ความเคารพยำเกรง เช่นเดียวกับการนับถือผู้ใหญ่ผู้อาวุโสและคนเก่าแก่ในชุมชน 

  1. จอมพลประพาส 
  2. ตระกูลพลเอกพรธนะภูมิ สนิทวงศ์

ศาลาโรงธรรม

ชุมชนบ้านปูน เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย อายุกว่า 200 ปี มีศาลาโรงธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร โดย "ศาลาโรงธรรม" บ้านปูน มีลักษณะเป็นศาลาทรงไทย ทำด้วยไม้ หน้าบันมีลวดลายสวยงาม แต่อยู่ในสภาพที่เก่าแก่ไปตามกาลเวลา และไม่มีบริเวณโดยรอบ อยู่ติดกับบ้านเรือนของชุมชน ซึ่งจะใช้พื้นที่เป็นที่ทำบุญทุกวันโกณและวันพระ และในปัจจุบันศาลาโรงธรรมยังคงใช้ประโยชน์ในการทำบุญ เดือนละ 1 ครั้ง ดังนั้นศาลาโรงธรรม นับเป็นโรงธรรมแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ เพราะเมื่อครั้งที่ชุมชนบ้านปูนอพยพมานั้น ชุมชนกรุงเทพฯ ยังไม่มีการสร้างวัดใด ๆ

ศาลเจ้าพ่อปึงเถ่ากง

เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่อยู่คู่ชุมชนและชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ รวมทั้งอยู่ติดกับกำแพงวังเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองลาวในประวัติศาสตร์ที่เคยมาประทับอยู่บริเวณนี้ และยังเคยเป็นที่ตั้งของโรงยาฝิ่นซึ่งเป็นวัฒนธรรมในอดีตอีกด้วย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การก่อสร้างเขื่อนหลังจาก ปี พ.ศ. 2538 

เขื่อนที่สร้างขึ้นมานับเป็นการปิดกั้น ทำให้น้ำเข้ามาขังบริเวณในบ้านที่อยู่ริมน้ำ ทำให้น้ำในนั้น เป็นน้ำเน่าเสีย วิถีชีวิตได้หายไป จากแต่เดิมใช้การเดินทางโดยน้ำได้หันมาใช้ถนน หรืออย่างปลาบางพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไป

อีกทั้ง ในปี พ.ศ. 2554 น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ เข้ามาดำเนินการสร้างทางเลียบแม่น้ำที่ปิดสูงขึ้นไปอีกเป็นผลให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ อย่าง ลมที่จะพัดเข้าไปในบ้านไม่มี จึงนับว่าเป็นการผลักให้ชาวบ้านตายจากวิถีชีวิตริมน้ำอย่างแท้จริง



นางสาวรวีวรรณ สมิตะมาน คณะกรรมการชุมชนบ้านปูน กล่าวว่า ในช่วงปีแรกจะทำให้ชุมชนบ้านปูนเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ส่วนด้านหน้าศาลเจ้าจะทำเป็นร้านค้าขายสินค้าของชุมชน กำหนดไว้ว่าจะมีเพียง 12 ร้าน ที่จัดจำหน่ายสินค้าประเภทของบริโภค และของที่ระลึกที่เป็นสินค้าโอท็อปของชุมชนที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี เช่น บายศรี และดอกไม้ แต่จะทำในลักษณะของแห้ง และมีขนาดเล็ก เนื่องจากนักท่องเที่ยวจะสามารถซื้อได้และเก็บไว้ได้นาน ดังนั้น ชุมชนบ้านปูนมีการเปิดตัวเป็นชุมชนต้นแบบในการพัฒนาชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากการเพิ่งเปิดตัว ทำให้ยังมีนักท่องเที่ยวไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาที่สนใจเข้ามาศึกษาประวัติของชุมชน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

Thai PBS. (2559). บ้านปูนเดินหน้าสู่การเป็นชุมชนต้นแบบพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/251568.

พณิช ตั้งวิชิตฤกษ์. (2565). ฟังเรื่องเล่าจากชาว 'บ้านปูน' แหล่งผลิตสรรพสินค้าเมดอินฝั่งธนบุรี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://urbancreature.co/neighboroot-ban-poon/.

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย. (2562). ชั่วชีวิตคนลุ่มน้ำบางกอก เมื่อเวลาไม่อยู่ข้างเรา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.the101.world/life-on-the-chao-phraya-river/.

ตลาด ชุมชนโบราณ. (2553). ศาลาโรงธรรม บ้านปูน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/media/set/?set=a.149337591757636.23229.119272868097442&type=1%22.

ตลาด ชุมชนโบราณ. (ม.ป.ป.). ศาลาโรงธรรม บ้านปูน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2566, จาก https://m.facebook.com/media/set/?set=a.149337591757636.23229.119272868097442&type=3.

Thaireform. (2560). ปกป้อง “ประวัติศาสตร์ชุมชน” ริมฝั่งเจ้าพระยา ที่ใกล้เลือนหาย จากโครงการถนนบนแม่น้ำ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2566, จาก https://www.isranews.org/content-page/item/58591-river-58591.html.

กลุ่มปั้นเมือง และคณะ. (2561). โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพมหานคร. (รายงานวิจัย). ม.ป.ท. : ม.ป.พ.