Advance search

ตรอกเฮงโกย

พื้นที่ชุมชนเจริญไชย มีอาคารเก่าที่มีคุณค่าจำนวนมาก และเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรมประเพณีแบบจีนแหล่งสำคัญในกรุงเทพมหานคร 

ถนนพลับพลาไชย
ป้อมปราบ
ป้อมปราบศัตรูพ่าย
กรุงเทพมหานคร
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
17 ก.ค. 2023
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
เจริญไชย
ตรอกเฮงโกย

"เจริญไชย" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "เจริญกรุง" กับ "พลับพลาไชย" ที่นำมาใช้เป็นชื่อตรอกเรียกว่า "ตรอกเจริญไชย" ซึ่งในอดีตตรอกแห่งนี้เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวจีนว่า "ตงเฮงโกย"


พื้นที่ชุมชนเจริญไชย มีอาคารเก่าที่มีคุณค่าจำนวนมาก และเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรมประเพณีแบบจีนแหล่งสำคัญในกรุงเทพมหานคร 

ถนนพลับพลาไชย
ป้อมปราบ
ป้อมปราบศัตรูพ่าย
กรุงเทพมหานคร
10100
13.7426573567786
100.509952098827
กรุงเทพมหานคร

เจริญไชย หรือชุมชนเจริญไชย

ในอดีตเป็นหนึ่งในย่านที่มีปู้ประกอบการและแรงงานชาวจีนอาศัยจำนวนมาก โดยคำว่า "เจริญไชย" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "เจริญกรุง" กับ "พลับพลาไชย" ที่นำมาใช้เป็นชื่อตรอกเรียกว่า "ตรอกเจริญไชย" ซึ่งในอดีตตรอกแห่งนี้เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวจีนว่า "ตงเฮงโกย" ซึ่งตึกแถวด้านในตรอกนั้นสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีประมาณ 60 ห้อง เรียกว่า เต็กกอหั่ง แปลว่า ไม้ไผ่ยาว โดยตึกแถวบริเวณด้านในซอยใช้สำหรับเป็นผู้อาศัย ส่วนตึกแถวบริเวณที่ติดกับถนนใหญ่จะใช้สำหรับประกอบการค้าต่าง ๆ  อาทิ ร้านยาจีน สุราต่างประเทศ ร้านการแพทย์ ร้านขายกระดาษไหว้เจ้า ฯลฯ

จุดประสงค์หนึ่งของการเข้ามาขายแรงงานของชาวจีนในย่านนี้เพื่อหาเงินเลี้ยงชีพและส่งให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บริเวณชุมชนเจริญไชยรวมไปถึงย่านเยาวราชและสำเพ็ง เกิดการโพยก๊วนกันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นแหล่งโพยก๊วนขนาดใหญ่ ซึ่งโพยก๊วนในที่นี้มีลักษณะคล้ายกับการส่งธนาณัติที่ชาวจีน ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นส่งเงินหรือจดหมายกลับไปที่บ้าน นอกจากนี้สำหรับบางคนได้ใช้ติดต่อกับทางประเทศจีนเพื่อนำสินค้าเข้ามาทำการค้าขายในประเทศไทย

อย่างที่กล่าวในข้างต้นว่าย่านเจริญไชยในอดีตนั้น นอกจากเป็นย่านที่อยู่อาศัยของแรงงาน ย่านการค้าขายที่มีเอกลักษณ์และย่านโพยก๊วนยังเป็นแหล่งความบันเทิงอย่างหนึ่ง ซึ่งกิจการความบันเทิงที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมในย่านแห่งนี้อย่างมาก ได้แก่ โรงโสเภณี หรือซ่อง โดยในอดีตนั้นจะมีการแขวนโคมไฟสีเขียวไว้เป็นสัญลักษณ์ที่หน้าร้านทำให้ผู้หญิงขายบริการถูกเรียกว่า "หญิงโคมเขียว" ในช่วงปี พ.ศ. 2540 ยังไม่มีกิจการสถานเริงรมย์ต่าง ๆ อาทิ บาร์ สถานลีลาศ หรือไนต์คลับ 

จะเห็นได้ว่า ย่านเจริญไชย ในอดีตเป็นทั้งย่านการค้าและย่านที่พักอาศัยของแรงงานต่าง ๆ ที่เป็นกลุ่มชาวจีนโดยส่วนใหญ่ ดังนั้นเศรษฐกิจของชุมชนโดยรวมจึงแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ที่อยู่บนพื้นฐานของวิถีชีวิต ประเพณี และความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นโพยก๊วย โรงโสเภณี โรงน้ำชา ร้านขายกระดาษไหว้เจ้า เป็นต้น

ชุมชนเจริญไชย มีที่ตั้งอยู่บริเวณซอยเจริญกรุง 23 แขวงป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ซึ่งติดกับถนนเจริญกรุง ถนนพลับพลาไชย และตรอกอิสรานุภาพ

มีลักษณะเป็นอาคารปูน 2 ชั้น ตึกแถวด้านนอกติดกับถนนเจริญกรุงและถนนพลับพลาไชย และตึกแถวด้านข้างในซอยมีลักษณะหันหน้าเข้าหากันซ้ายขวาและมีทางเดินตรงกลาง โดยตึกแถวด้านนอกเป็นที่ตั้งของร้านค้าหลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นร้านขายกระดาษไหว้เจ้า ร้านยาจีน ร้านขายอุปกรณ์ถ่ายภาพ และร้านขายขนม ผลไม้สำหรับใช้ไหว้เจ้า 

ส่วนตึกแถวข้างในซอยมีลักษณะเป็นกึ่งกลางตลาดที่มีทั้งที่อยู่อาศัย และร้านค้าต่าง ๆ อาทิ ร้านขายกระดาษไหว้เจ้า ร้านอาหารเล็ก ๆ รวมทั้งมีแผงลอยขายของสด อาทิ อาหารทะเลในบริเวณใกล้เคียง

ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยส่วยใญ่อพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีน แบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม

  1. ชาวจีนแต้จิ๋ว อพยพมาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง
  2. ชาวจีนแคะ อพยพมาจากทางตอนเหนือมณพลกวางตุ้ง
  3. ชาวจีนไหหลำ อพยพมาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไหหลำ
  4. ชาวจีนฮกเกี้ยน อพยพมาจากทางตอนใต้ของมณฑลฮกเกี้ยน
  5. ชาวจีนกวางตุ้ง อพยพมาจากทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง

กลุ่มชาวไทยเชื้อสายชชีนส่วนมากบรรพบุรุษจะเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว รองลงคือชาวจีนแคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน และไหหลำ ตามลำดับ ซึ่งเชื้อสายแต้จิ๋วในประเทศไทยมีประมาณร้อยละ 56 ชาวจีนแคะร้อยละ 16 ชาวจีนไหหลำร้อยละ 11 ชาวจีนกวางตุ้งร้อยละ 7 ชาวจีนฮกเกี้ยนร้อยละ 7 และอื่น ๆ ร้อยละ 12 โดยส่วนมากอาศุยอยู่ในเมือง และประกอบอาชีพค้าขาย ประกอบกับทำงานในทุกวงการทั้งยังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมากมาย

ในชุมชนเจริญไชย กลุ่มชาวจีนที่เข้ามาอยู่อาศัยในอดีตโดยส่วนใหญ่ แรกเริ่มเป็นชาวจีนกวางตุ้ง ต่อมาเป็นชาวจีนแต้จิ๋วและชาวจีนแคะ โดยหลักฐานที่สามารถนำมาใช้ยืนยันได้คือ "ศาลเจ้าจีน"

จีน

วิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชนเจริญไชยโดยส่วนใหญ่ผูกติดกับการค้าขายมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่และอาคารตึกแถวที่ถูกสร้างและพัฒนาให้เหมาะแก่การค้า ด้านล่างใช้สำหรับประกอบอาชีพค้าขาย ด้านบนสามารถใช้เป็นที่พักอาศัย 

โดยในช่วงแรกลักษณะการประกอบอาชีพของคนในชุมชนมีความหลากหลายมากกว่าปัจจุบัน อาทิ อาชีพลากรถ (คนไทยในอดีตเรียกว่า รถเจ๊ก) รับจ้าง ช่างไม้ ช่างเสริมสวย ช่างตัดเสื้อผ้าสำหรับชาวจีนลากรถ ช่างทำมุ้งสำหรับรถลาก และอาชีพค้าขาย อย่าง สินค้าประเภทอาหาร หรือสินค้าที่ใช้สำหรับประกอบในงานพิธีกรรม ซึ่งในช่วงแรกการค้าขายสินค้าที่ใช้สำหรับประกอบในงานพิธีกรรมยังจำนวนไม่มาก ทว่าภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงมาค้าขายสินค้าสำหรับใช้ในงานพิธีกรรมมากขึ้น เนื่องจากบริเวณชุมชนเจริญไชยรายล้อมไปด้วยศาสนสถานที่สำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีนถึง 5 แห่ง จนกระทั่งในปัจจุบันได้กลายมาเป็นแหล่งซื้อขายกระดาษไหว้เจ้าและสินค้ที่ใช้ในงานพิธีกกรรมต่าง ๆ สำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

การตั้งชุมชนของชาวจีนตามกลุ่มภาษาของตนเองนั้น สามารถสันนิษฐานการตั้งชุมชนของชาวจีนจากกลุ่มที่ตั้งศาลเจ้าได้เนื่องจากศาลเจ้าโดยทั่วไปมักสร้างขึ้นด้วยชาวจีนกลุ่มภาษาใดภาษาหนึ่งที่ตั้งชุมชนบริเวณนั้น ซึ่งพื้นที่บริเวณชุมชนเจริญไชยมีศาลเจ้าและวัดถึง 5 แห่ง ที่ล้วนมีความเชื่อมโยงกับชาวจีนทั้งสามเชื้อสายนี้

  1. ศาลเจ้าของชาวจีนกวางตุ้ง คือ ศาลเจ้ากวางตุ้ง
  2. ศาลเจ้าและวัดจีนของชวจีนแต้จิ๋ว คือ ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ วัดมังกรกมลาวาส หรือเล่งเน่ยยรา และศาลเจ้าไต้ฮงกง
  3. ศาลเจ้าของชาวจีนแคะ คือ ศาลเจ้าหลี่ตีเบี้ยว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนเจริญไชยเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของจีนมาอย่างต่อเนื่อง เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่ยังมีชีวิต ทำให้ผู้คนในชุมชนเจริญไชยหันมาร่วมมือกันในการ่วมมือกันในการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ทุกคนได้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญ ดังนี้

คุณค่าทางประวัติศาสตร์

ชุมชนเจริญไชยแห่งนี้ถือว่าเป็นชุมชนของชาวจีนที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่ถูกรายล้อมด้วยศาสนสถานที่สำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน 5 แห่ง ได้แก่ วัดมังกรกมลาวาว (เล่งเน่ยยี่) ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ศาลเจ้ากวางตุ้ง ศาลเจ้าหลีตีเบี้ยว และศาลเจ้าไต้ฮงกง ซึ่งชาวจีนในอดีตที่อพยพเข้ามาในบริเวณนี้ได้นำความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ มาประกอบอาชีพ ผลิตกระดาษไหว้เจ้า และสินค้าที่เกี่ยวกับความเชื่อจนทำให้ชุมชนเจริญไชย กลายมาเป็นแหล่งผลิตกระดาษสำหรับใช้งานพิธีกรรมของชาวจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในไทย

คุณค่าทางสถาปัตยกรรม

จากหลักฐานจาก แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 และจากสำเนาพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 เป็นหลักฐานยืนยันว่าตึกเก่าทั้งหมดในบริเวณชุมชนเจริญไชยถูกสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ดังนั้นหากนับอายุตึกแถวในบริเวณชุมชนเจริญไชยน่าจะอายุมากกว่าหนึ่งร้อยปี และตึกแถวในบริเวณชุมชนแห่งนี้นับว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการวางผังชุมชนทางการค้ายุคแรกของสยาม ซึ่งการออกแบบชุมชนตามลักษณะเช่นนี้ต้องคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยทางการค้าอย่างสูงสุด คือลักษณะอาคารที่อยู่อาศัยที่พออยู่ได้และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งยังคงมีตึกแถวที่มีลักษณะตามแบบก่อสร้างเช่นนี้หลงเหลือให้เห็นอยู่ในชุมชนเจริญไชยเป็นจำนวนมาก

ตึกแถวในชุมชนเจริญไชย สามารถแบ่งเป็นยุคได้ดังนี้

  • ตึกแถที่สร้างขึ้นก่อน พ.ศ. 2435 อาคารเป็นแบบอิฐและปูน 2 ชั้น มีกันสาดหน้าบ้าน เป็นพื้นไม้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ (1) มีขนาด 3.50 x 7.00 เมตร มีบันไดทางขึ้นเป็นโครงสร้างไม้ (2) มีขนาด 3.50 x 1.50 เมตร เป็นลานเปิดโล่ง หรือเรียกอีกชื่อว่า ชานกลางบ้าน และ (3) เป็นอาคารส่วนที่อยู่ท้ายสุดมีชั้นเดียว ซึ่งเดิมทำหน้าที่เป็นครัว มีลวดลายปูนปั้นระดับแนวเสา และรอบหน้าต่าง
  • ตึกแถวที่สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2435 - 2459 เป็นอาคารแบบ 2 ชั้น มีระเบียงอาคารตึกแถวที่เป็นโครงสร้างอิฐและปูนที่เริ่มมีการใช้คอนกรีตเสริมเหล็กเข้ามาใช้ในโครงสร้างบางส่วน ราวระเบียงเป็นลักษณะของชิ้นงานที่ทำขึ้นนอกพื้นที่แล้วนำเข้ามาประกอบในสถานที่ก่อสร้าง และพื้นที่บางส่วนของตัวอาคารยังเป็นโครงสร้างไม้ อาทิ พื้น และหลังคา เป็นต้น
  • ตึกแถวที่สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2460 - 2465 เป็นแบบอาคาร 3 ชั้น ในส่วนของเสา คาน และระเบียง เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นที่ยังเป็นไม้ และโครงสร้างหลังคาเป็นไม้และกระเบื้องว่าวดินเผาขนาด 12 นิ้ว
  • ตึกแถวที่สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2465 - 2475 อาคารเป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ลักษณะภายนอกมีความคล้ายคลึงตึกแถวในช่วงปี พ.ศ. 2450 ทว่าไม่มีการจัดผังเป็นชานกลางบ้าน กล่าวคือเป็นอาคาร 2 ชั้นที่มีขนาด 4.00 x 12.00 เมตรทั้งหลัง และมีโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง รวมทั้งพื้นเป็นแบบคอนกรีจเสริมเหล็กปูด้วยกระเบื้อง ตึกแถวที่สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 2475 เป็นแบบอาคาร 3 ชั้น มีดาดฟ้า โครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง ปูพื้นด้วยกระเบื้องซีเมนต์เขียนลายสีสัน บันไดเป็นโครงสร้างไม้ และโครงสร้างหลังคามีความแตกต่างจากชุมชนอื่น คือเป็นหลังคาแบบคอนกรีตเสริมเหล็กที่สามารถขึ้นไปใช้พื้นที่บนดาดฟ้าได้

ปัจจุบันตึกแถวในบริเวณเจริญไชยอยู่ในสภายที่เสี่ยงต่อการถูกรื้อถอน หรือปล่อยทิ้งให้เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ถึงแม้เป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีอายุเก่าแก่แต่ก็ถูกมองข้ามโดยนักวิชาการด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มองตึกอาคารเหล่านี้เป็นเพียงตึกเก่าที่มีคุณค่าต่ำกว่าอาคารรูปแบบอื่น อีกทั้งไม่มีแนวทางการพัฒนาในเชิงอนุรักษ์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณชุมชนเจริญไชย

เดิมเป็นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ทรงได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2435 ต่อมากรรมสิทธิ์ที่ดินได้ตกทอดมายังพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ทว่าเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ ทรัพย์สินรวมถึงที่ดินบริเวณ เจริญไชย จังได้ตกทอดมายังพระชายา คือ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์บริพัตร ผู้ก่อตั้งมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ในปี พ.ศ. 2511 ทำให้ปัจจุบันตึกแถวบริเวณเจริญไชยอยู่ในกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เกษศิรินทร์ ผลธรรมปาลิต. (ม.ป.ป.). เจริญไชย ชุมชนจีนเก่าแก่ในเยาวราช ที่กำลังถูกท้าทายด้วยการเติบโตของเมือง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/charoenchai-chinatown/.

นรุตม์ คุปต์ธนโรจน์. (2558). ย่านไชน่าทาวน์เยาวราช: พื้นที่การนำเสนออัตลักษณ์เชิงซ้อนของวัฒนธรรมความเป็นจีนในสังคมไทยร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://www.thailibrary.in.th/2022/04/06/baankao-lao-reung/.

worldexplorer. (2564). ชุมชนเจริญไชย ชุมชนเก่าแต่เก๋า. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก http://www.worldexplorer.co.th/journal/charoenchai-2/.

SUPAKARN PHADUNGJAI. (2564). ชุมชนเจริญไชย ในวันที่การอนุรักษ์ไม่ทันต่อการพัฒนา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://nisitjournal.press/2021/04/15/charoenchai_urban_development/.

MGR Online. (2558). เดินเล่น “ชุมชนเจริญไชย” ชมของไหว้พระจันทร์อลังการ ในย่านขายเก่าแก่ที่สุดของเมืองกรุง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://mgronline.com/travel/detail/9580000103097.

ศุภกิจ พิทักษ์บ้านโจด. (2563). วิถีชีวิตและพหุวัฒนธรรมในตรอกเล็กๆ ชื่อ ‘เจริญไชย’ ชุมชนเก่าแก่ย่านเยาวราช. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://becommon.co/culture/charoenchai/.

ปณัสย์ พุ่มริ้ว. (ม.ป.ป.). ชุมชนเจริญไชย : เที่ยวตลาดเครื่องกระดาษ และของไหว้เจ้า. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://www.nairobroo.com/travel/ชุมชนเจริญไชย-เยาวราช/.

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล. (2555). บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเมืองเจริญไชย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/38.

Lek-Farmfunbook. (2563). บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเมืองเจริญไชย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://news.trueid.net/detail/d0zmO34jjVlA.

ไกด์เตยหอม. (2562). บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย Unseen เยาวราช. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/75413/-blog-blo-tratha-tra-cul-.

ปิ่นอนงค์ ปานชื่น. (2563). บ้านเก่าเล่าเรื่อง บ้านเมืองมีชีวิต. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/862695.

Thai PBS. (2566). ส่อง GEN ใหม่เยาวราช จีนเก่าย้าย-ทุนจีนใหม่รุกคืบ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/324843.

กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านเจริญไชย. (2556). บันทึกเจริญไชย คนจีนสยาม. นครปฐม : พริ้นเทอรี่.

เสกสรร โรจนเมธากุล. (2556). ชุมชนรอบสถานีรถไฟฟ้าจี้ ชะลอใช้ผังเมืองรวมกทม. ฉบับล่าสุด. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://www.isranews.org/content-page/item/19671--ชุมชนรอบสถานีรถไฟฟ้าจี้-ชะลอใช้ผังเมืองรวมกทม-ฉบับล่าสุด-sp-1677689477.html.

ศศิธร โคมกระโทก. (2563). การเปลี่ยนแปลงของชุมชนจีน "เจริญไชย" พ.ศ.2411-2563. (รายงานวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร