
หมู่บ้านได้รับคัดเลือกและได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชนให้เป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว พ.ศ. 2560 อีกทั้งบ้านยายดายังเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีสวนผลไม้นับหลายสิบสวน โดยในหนึ่งปีจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมสวนผลไม้จำนวนมาก ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้รับน่าสนใจ
การทะเลาะกับระหว่างตาและยายทุกวัน ซึ่งเป็นที่มาของการทะเลาะ ภาษาพื้นที่บ้าน เรียกว่า "ด่ากัน" จนเป็นที่มาของ "เขายายด่า" ซึ่งต่อมาได้เรียกว่า "เขายายด่า" แล้วเสียงมาเพี้ยนเป็น "เขายายดา" ในทุกวันนี้
หมู่บ้านได้รับคัดเลือกและได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชนให้เป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว พ.ศ. 2560 อีกทั้งบ้านยายดายังเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีสวนผลไม้นับหลายสิบสวน โดยในหนึ่งปีจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมสวนผลไม้จำนวนมาก ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้รับน่าสนใจ
หมู่บ้านยายดาเป็นเกาะเล็ก ๆ มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่กี่ครัวเรือน มีครอบครัวหนึ่งชื่อ ตาหม่องไร่ และยายรำพึง มีบุตรสาวหนึ่งคนชื่อ มะยม โดยเป็นสาวสวยในพื้นบ้านแห่งนี้ ตาหม่องไร่ ออกไปค้าขายทางเรือตามหัวเมืองต่าง ๆ จนพบกับพ่อค้าชาวจีน จึงยกลูกสาวให้กับพ่อค้าชาวจีน และได้นัดหมายให้จัดขบวนขันหมากตามมา แต่พอตาหม่องไร่กลับมาถึงบ้านได้พบว่า ยายรำพึงได้ยกลูกสาวให้กับเจ้าหัวเมืองที่อยู่ใกล้บ้าน จึงเกิดการทะเลาะกับระหว่างตาและยายทุกวัน ซึ่งเป็นที่มาของการทะเลาะ ภาษาพื้นที่บ้าน เรียกว่า "ด่ากัน" จนเป็นที่มาของ "เขายายด่า" ส่วนพ่อค้าชาวจีนได้จัดขบวนขันหมากมากับเรือสำเภา แต่เกิดอุบัติเหตุเรือสำเภาชนก้อนหินทำให้เรือพลิกคว่ำ ตาหม่องไร่ได้นำช้างมาฉุดเรือ แต่ไม่สามารถจะฉุดขึ้นมาได้ ซึ่งต่อมาได้เรียกว่า "เขาตะเภาคว่ำ" หรือ "เขาท่าฉุน" หรือ "เขายายด่า" แล้วเสียงมาเพี้ยนเป็น "เขายายดา" อย่างปัจจุบัน
ตำบลตะพงตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีเนื้อที่ประมาณ 55.93 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 34,955 ไร่ โดยมีพื้นที่การเกษตร 15,850 ไร่
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ อาณาเขตติดต่อกับ ตำบลบ้านแลง
- ทิศใต้ อาณาเขตติดต่อกับ ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
- ทิศตะวันออก อาณาเขตติดต่อกับ ตำบลเพ และตำบลกะเฉด
- ทิศตะวันตก อาณาเขตติดต่อกับ ตำบลเชิงเนิน
โดยตำบลตะพงมีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มสลับกับที่ดอนลูกฟูก มีภูเขาอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของตำบล มีชื่อเรียกว่า "เขายายดา" และ "เขาพระบาท" ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคลองหลายสาย อาทิ คลองตะพง คลองยายดา คลองตะเคียน เป็นต้น คลองเหล่านี้ไหลมาจากภูเขาผ่านตำบลตะพงสู่ทิศใต้ติดกับทะเลอ่าวไทย เป็นชายหาดที่สวยงาม อย่าง หาดแม่รำพึง นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดระยอง และของภาคตะวันออก
ตำบลตะพงมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 17,746 คน แยกเป็นชาย 8,860 คน และหญิง 8,886 คน ซึ่งมีจำนวนครัวเรือน 7,879 ครัวเรือน ความหนาแน่นเฉลี่ย 315.43 คน/ตารางกิโลเมตร
กลุ่มองค์กร สถานที่สำคัญ และแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มเห็ดฟาง พิพิธภัณฑ์ของเก่าวัดยายดา และสลิงเขายายดา
วัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้าน
สงกรานต์บ้านยายดา เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ของทุกปี เป็นการจัดขึ้นในหมู่บ้านของแต่ละหมู่ สถานที่จัดงานใช้ศาลาภายในหมู่บ้าน โดยมีการละเล่นพื้นบ้านชาวบ้านจะช่วยคิดว่ามีอะไรให้นำมาเล่นกัน แต่ในสมัยโบราณจะเล่นกัน 7 วัน 7 คืน แต่สมัยนี้เล่น 3-4 วัน เพราะว่ามีการแยกชุมชนออกมาหลายหมู่ ซึ่งการเล่นสงกรานต์ 3-4 วัน เนื่องจากเจ้าอาวาสเป็นผู้กำหนดวันทำบุญพระทรายน้ำไหล อาทิ วันที่ 18 เมษายน จะมีการสวดมนต์เย็น เช้าวันที่ 19 เมษายน ทำบุญใส่บาตรเป็นเสร็จงานสงกรานต์ของศาลานั้น การทำแบบนี้เนื่องจากมีหลายศาลา ส่วนในวันสุดท้ายของสงกรานต์จะเป็นการรวมกันที่วัดยายดา เป็นวันที่ 30 เมษายน ทุก ๆ ศาลาจะนำเงินที่จัดงานไปทอดผ้าป่าร่วมกัน ส่วนในสมัยจะมีเตรียมการไว้ล่วงหน้า อาทิ สีข้าว ซ้อมข้าว หาบน้ำใส่ตุ่ม ทำความสะอาดบ้าน อีกทั้งในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีการละเล่นจำนวนมากในสมัยก่อน ดังนี้
- สะบ้า จะเป็นการเล่นเป็นคู่ โดยมีท่าเล่นต่าง ๆ ได้แก่ อีล้อ อีจับปลา อีไหว้ อีวัว อีคอ อีอก อีถก ฯลฯ ซึ่งท่าการเล่นสะบ้าแต่ละท่ามีเป้าหมายคือ ให้ลูกสะบ้าล้อไปถึงลูกสะบ้าที่ตั้งอยู่ของฝ่ายตรงข้าม ระหว่างที่เล่นท่าต่าง ๆ จะมีกติกาที่แตกต่างกันไป
- ลูกช่วงรำวง การเล่นลูกช่วงรำวงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นชายข้างหนึ่ง และกลุ่มสองเป็นหญิงยืนอีกข้างหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเล่าคร่าว ๆ คือเป็นการเล่นโดยใช้ผ้าขาวม้า 2 ผืน ผืนแรกปั้นผ้าขาวม้าให้กลมแข็ง แล้วใช้ผ้าขาวม้าอีกผืนมาห่อมัดให้แข็งและมีหางจะสะดวกในการเล่น โดยการเล่นคือการขว้างผ้าให้ถูกอีกฝั่งมารำวงด้วยกัน
- ตีตูมซ้อน การเล่นตีตูมซ้อนจะเป็นการชวนกันมานั่งล้อมวง แล้วใช้ผ้าขาวม้า 1 ผืนบิดให้เป็นเกลียวแข็งพอประมาณ เมื่อเริ่มการเล่นจะให้ฝ่ายชายหรือหญิง 1 คนเดินถือผ้ามาแอบไว้ข้างหลังผู้ที่เราอยากจะตี ซึ่งห้ามให้คนที่นั่งล้อมวงหันมามองข้างหลัง พอวางผ้าแล้วให้เดินครบรอบจนถึงแล้วหยิบผ้าตี ถ้าผู้ถูกตีไม่รับแล้วลุกขึ้นก็จะตีจนกว่าจะลุก พอลุกแล้วให้วิ่งไปรอบวง ขณะที่วิ่งไปรอบวง ขณะที่วิ่งผู้วิ่งจะต้องมองดูว่าเราจะนั่งซ้อนใคร ถ้าเราวิ่งมาซ้อนผู้หญิง โดยผู้หญิงไม่รู้ตัว ผู้หญิงจะถูกตีจนกว่าจะลุกขึ้นวิ่งไปซ้อนคน
ทรัพยากรบุคคลของชุมชน ที่เป็นบุคคลสำคัญ ณ หมู่ที่ 3 บ้านยายดา
ด้านนวดแผนไทย
- นางทองหล่อ อ่างศิลา อายุ 67 ปี (อบรมนวดแผนไทยจากบ้านดอน)
- นายชวลิต มหาเขตต์ อายุ 44 ปี (อบรมนวดแผนไทยจากบ้านดอน)
- นางสมพร มหาเขตต์ อายุ 44 ปี (อบรมนวดแผนไทยจากบ้านดอน)
- นางสีเทา เดชอุดม อายุ 54 ปี
ด้านจักสาร
- นางโกสุม เชื้อบำรุง อายุ 54 ปี (สานสาแหรก 4 มุม)
การทำมุงคุดลอยแก้ว
- นางเฉลียว จิตต์ตรง (อบรมทำมังคุดลอยแก้วจกกลุ่มแม่บ้านยายดาพัฒนา)
อาหารพื้นบ้าน ได้แก่ แกงหมูชะมวง, น้ำพริกกะปิ ผักพื้นบ้าน, ต้มส้มผัก, แกงไก่มะเขือเม็ด และแกงเลียงผักพื้นบ้าน
- นางสมควร พิทักษ์คีรี
- นางสมร พิทักษ์คีรี
- นางวิรัตน์ ถนอมวงค์
- นางปทุม มณีรัตน์
ขนมพื้นบ้าน ได้แก่ ขนมมัดใต้, ขนมเล็บมือ, ข้าวเหนียวหัวหงอก และตำข้าวเม่า
- นางสุรินทรื โฉมศิริ
- นางสาววิภา นิยมการ
- นางวารี เจริญแสง
สวนยายดา
ผู้เข้าชมสวนสามารถเดินชมวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชิมบุฟเฟ่ต์ผลไม้นานาชนิดที่สดอร่อยจากต้น ชิมกันได้อิ่มโดยไม่จำกัดเวลา หรือการลองอาหารพื้นบ้าได้ อาทิ หมูชะมวง น้ำพริกผักจิ้ม อีกทั้งมีการซื้อของฝากที่เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจำหน่าย อาทิ ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด กะปิระยองแท้ ๆ น้ำพริกผักจิ้ม
ซึ่งบรรยากาศภายในสวนยายดา มีความร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีซุ้มและศาลาไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้พักผ่อน หย่อนใจ อีกทั้งยังมีอาหารพื้นบ้าน อาทิ แกงหมูชะมวงรสเด็ด และก่อนเดินทางกลับซื้อผลไม้สดๆ จากสวนยายดา ติดไม้ติดมือกลับบ้าน หรือจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร เช่น ทุเรียนกวน ทุเรียนทอดกรอบ เป็นต้นการเดินทางมายังสวนยายดา สามารถเดินทางมาได้ตลอดทั้งปี เพื่อศึกษาวิถีชีวิตแบบเกษตร หรือวิธีการบำรุงและแต่งกิ่งไม้ผล แต่หากต้องการมาให้ตรงกับช่วงที่มีการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ควรเดินทางมาในช่วงกลางเดือนเมษายน จนถึงปลายเดือนมิถุนายนของทุกปี เพราะเป็นช่วงฤดูผลไม้ที่ออกเต็มที่
โดย "ป้าชื่น" มีสวนที่ดูแลทั้งหมด 5 แปลง เนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ โดยมีแปลงสวนไม้ผลที่ปลูกทุเรียน และมังคุด 2 แปลง เนื้อที่รวมประมาณ 15 ไร่ มีแปลงที่ปลูกยางพาราอีกประมาณ 16 ไร่ แปลงที่ดินว่างเปล่าอีกประมาณ 2 ไร่ และแปลงสุดท้ายมีเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ เป็นสวนที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษปลูกไม้ผลแบบผสมผสานทั่วไป โดยปลูกทุเรียนและเงาะเป็นหลัก และเป็นแปลงเดียวที่นำมาเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม เนื่องจากเป็นสวนที่อยู่ภายในบริเวณบ้านพัก มีความสะดวกในการจัดการและการบริการนักท่องเที่ยว
ป้าชื่นเป็นประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรยายดาพัฒนา เป็นการรวมกลุ่มกันของแม่บ้านบ้านยายดา เมื่อปี พ.ศ. 2539 และใช้สถานที่บ้านป้าชื่นเป็นที่ตั้งกลุ่มในการทำกิจกรรม การตั้งกลุ่มครั้งนี้เป็นการพัฒนาอาชีพ เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม และเพิ่มรายได้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการนำเอาผลผลิตในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีทุเรียนทอดกรอบ และทุเรียนกวนเป็นสินค้าหลัก ปัจจุบันมีสินค้าหลากหลายชนิด มีสินค้าจำหน่ายตลอดทั้งปี ได้แก่ แกงหมูชะมวงบรรจุซอง
ภัยปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่
ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2531 เขายายดาถูกภัยคุกคามจากไฟป่าเผาอย่างต่อเนื่อง จากการปรับเปลี่ยนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่ทำเกษตร ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ค่อย ๆ หายไปและถูกแทนที่ด้วยพื้นดินที่ถูกเปิดโล่ง ทำให้ความสามารถในการดูดซับน้ำของดินลดลง ก่อให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเมื่อฝนตกหนักฉับพลัน และในภาวะหน้าแล้งได้ขาดน้ำหล่อเลี้ยงในดิน ส่งผลให้เกษตรกรโดยรอบได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากการขาดน้ำเพื่อสร้างผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือน และภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง เนื่องจากภาคการเกษตรเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจหลักของจังหวัด
ระยะเวลากว่า 20 ปี ที่ชุมชนรอบเขายายดา ต้องเผชิญหน้ากับภาวะน้ำแล้ง รับมือกันทุกรูปแบบ จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2550 ผู้ใหญ่วันดี อินทรพรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง ในฐานะผู้นำชุมชน ผู้แบกรับความทุกข์ยากทั้งของตนเองและลูกบ้าน ได้ลุกขึ้นท้าทายกับสภาวะน้ำแล้งตามแนวคิดการจัดการน้ำชุมชนอย่างเป็นระบบจาก SCGC เพื่ออนาคตที่ดียิ่งกว่าของชาวมาบจันทร์ ผ่านมากว่า 10 ปีที่ได้เรียนผิด เรียนถูก จนเกิดเป็น “องค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนฉบับชุมชน” ภายใต้แนวคิด ‘เก็บน้ำดี มีน้ำใช้’ ด้วยโมเดล “2 สร้าง 2 เก็บ”
thailand tourismdirectory. (ม.ป.ป.). ชุมชนท่องเที่ยวบ้านยายดา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, จาก https://thailandtourismdirectory.go.th/
NGThai. (2565). ชุมชนรอบเขายายดา จ.ระยอง – พลิกวิกฤตแล้ง สู่แหล่งท่องเที่ยวที่มีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก https://ngthai.com/
OPT NEWS ONLINE. (2562). บ้านยายดา แหล่งเที่ยวเกษตรสมัยใหม่ กินผลไม้กระหน่ำกับผลไม้บุฟเฟ่ต์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก https://www.opt-news.com/
อันน์วิดา ปัฐฐมานันท์ และคณะ. (2553). โครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลของเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดระยอง. (รายงานวิจัย). ม.ป.ท. : ม.ป.พ.