Advance search

ริมคลองหนองบัว, หนองบัว, ตลาดหนองบัว

ชุมชนเล็ก ๆ ริมคลองที่มีดีเรื่องของกิน และงานฝีมือที่ถูกสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เพราะแต่เดิมในยุคพลอยเฟื่องฟูชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลักคือ เจียระไนพลอย แต่เมื่อพลอยดิบเริ่มหายากงานเจียระไนค่อย ๆ เลือนหายไป ทว่าเรื่องอาหารและขนมของที่นี่กลับมีชื่อเสียงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขนมพื้นบ้าน ขนมชื่อแปลกอย่าง "ขนมควยลิง" ขนมโบราณที่ส่งต่อความอร่อยกับแบบรุ่นต่อรุ่น

ถนนกมลวาปี
หนองบัว
เมืองจันทบุรี
จันทบุรี
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
17 ส.ค. 2023
จุฬาลักษณ์ วงค์สวัสดิ์โสต
16 มิ.ย. 2023
บ้านหนองบัว
ริมคลองหนองบัว, หนองบัว, ตลาดหนองบัว


ชุมชนชนบท

ชุมชนเล็ก ๆ ริมคลองที่มีดีเรื่องของกิน และงานฝีมือที่ถูกสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เพราะแต่เดิมในยุคพลอยเฟื่องฟูชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลักคือ เจียระไนพลอย แต่เมื่อพลอยดิบเริ่มหายากงานเจียระไนค่อย ๆ เลือนหายไป ทว่าเรื่องอาหารและขนมของที่นี่กลับมีชื่อเสียงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขนมพื้นบ้าน ขนมชื่อแปลกอย่าง "ขนมควยลิง" ขนมโบราณที่ส่งต่อความอร่อยกับแบบรุ่นต่อรุ่น

ถนนกมลวาปี
หนองบัว
เมืองจันทบุรี
จันทบุรี
22000
12.5424258424622
102.11320862174
เทศบาลตำบลหนองบัว

ชุมชนหนองบัวเป็นชุมชนเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี โดยตั้งอยู่ริมคลองหนองบัว ซึ่งเป็นคลองสาขาของแม่น้ำจันทบุรี ภายในชุมชนหนองบัว จะเห็นเรือนแถวไม้อายุร่วม 100 ปีอยู่หลายสิบหลัเรียงรายอยู่สองฝากถนน

นอกจากนี้ ภายในชุมชนหนองบัว ยังคงมีภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การทำอาหารและขนม อาทิ การทำขนมควยลิง ขนมล่าเตียง ขนมตะไล การทำน้ำตาลอ้อย น้ำปลา ฯลฯ ซึ่งขนมและอาหารที่กล่าวถึงนั้นล้วนเป็นขนมโบราณของชุมชนหนองบัว ที่คงความเป็นเอกลักษณ์และมีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน รวมถึงงานฝีมือหัตถกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อาทิ ไม้กวาดดอกอ้อ การแกะสลักไม้ บ้านไม้โบราณ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชนหนองบัวและยังสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน

อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการนักท่องเที่ยว อาทิ รถรับส่งนักท่องเที่ยว ที่พักของชุมชนหนองบัวโฮมสเตย์ ห้องน้ำบริเวณแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น ถือว่าชุมชนหนองบัวมีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาศึกษาวัฒนธรรม วิถีชีวิตขอวผู้คนในชุมชนแห่งนี้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

แต่เดิมชาวบ้านมีอาชีพทำพลอยและชาวประมงพื้นบ้าน แต่เมื่อปริมาณพลอยเริ่มน้อยลง ชาวบ้านจึงมีความคิดหารายได้เสริม โดยมีทีมงานกลุ่มเล็ก ๆ เป็นแกนนำหลัก ก่อเกิดขึ้นช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยชาวบ้านตำบลหนองบัว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานเปิดตัวชุมชนครั้งแรก เป็นผลให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมากในการจัดช่วงสามวัน ต่อจากนั้นชาวบ้านจึงได้เกิดแนวคิดที่จะทำตลาดอย่างตอเนื่อง จึงเกิดมาเป็นชุมชนขนมแปลกฯ ตลาดหนองบัว โดยมีขนมและอาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อมากมาย อาทิ ขนมติดคอ ขนมควยลิง ขนมตะไล ขนมตะลุ่ม ขนมหัวล้าน ขนมน้ำเยี่ยววัว ขนมหอบพอกย่าง เป็นต้น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของชุมชนหนองบัว มีคำขวัญที่ว่า "ชมวิถีริมคลอง ลิ้มลองอาหารถิ่น หอมกลิ่นน้ำอ้อยหวาน สืบสานฝีมือพลอย" นับว่าเป็นคำขวัญของชุมชนหนองบัวที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะ "ของดี" ของชุมชนโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของชุมชนหนองบัว 

  1. การประมงพื้นบ้าน ของชาวชุมชนหนองบัว คือการเป็นประมงพื้นบ้าน "หลักรอ" ที่คล้ายโพงพาง เพื่อดักกุ้ง หอย ปู ปลา ซึงที่นี่ยังเป็นแหล่งกุ้งแห้งคุณภาพที่ดีที่สุด และขายได้ราคาดีที่สุดในประเทศเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,000 บาท โดยแปรรูปจาก "กุ้งนา" ที่พบได้มากในชุมชนแห่งนี้ โดยในตอนเช้าที่ตลาดบ้านหนองนอกจากผักนานาชนิด กุ้ง หอย ยังมีจัดจำหน่ายอาหารทะเลสด ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำประมงพื้นบ้าน อาทิ ปลาควยถอก ปลาหลังส้ม ปลาแป๊ะ ปลากด ปลาจวด ปลาใบขนุน ปลากระทะ ฯลฯ โดยวิถีชีวิตชาวประมงจะออกเรือในช่วงน้ำดี หรือน้ำไหลเชี่ยว ตั้งแต่บ่ายสามโมงเป็นต้นไป และกลับมาถึงตอนเช้ามืด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตลาดเปิดทำการพอดีราวตี 4 จนถึง 8 โมงเช้า หรือถึงเวลา 10 โมงเช้า 
  2. น้ำตาลอ้อย หรือที่ชาวบ้านเรียกน้ำอ้อย วัตถุดิบคือ ต้นอ้อย ที่มีการเพาะปลูกในท้องถิ่น มีความหอมเป็นเอกลักษณ์ นิยมนำมาผสมในอาหารและขนมหลากหลายชนิด อาทิ ถั่วเขียวต้มน้ำตาฃ เต้าฮวย และเฉาก๊วย โดยชุมชนหนองบัวมี "โรงหีบอ้อยหนองบัว" เป็นการทำผลิตน้ำอ้อย สำหรับการจัดจำหน่ายให้กับชาวบ้านในชุมชนและผู้มาเยือน ในปัจจุบันที่นี่มีโรงหีบอ้อยอยู่ 2 โรงหีบ ที่คอยผลิตน้ำอ้อยให้คนในชุมชนไว้กินและขายกันตลอดทั้งปี สามารถใช้ทำขนมและอาหารพื้นถิ่นบางเมนู อาทิ หมึกต้มน้ำอ้อย และแกงหมูใบชะมวง
  3. น้ำปลาแท้ ในชุมชนหนองบัวมีแหล่งทำน้ำปลาแท้ คือ "บ้านทำน้ำปลายุพดี" กลิ่นหอม รสชาติเข้มข้น ใช้ปลาหัวอ่อนหมักกับเกลือนาน 5 - 6 เดือน
  4. กุ้งแห้ง เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ขายดี โดยนำกุ้งนาจากท่าเรือริมคลองหนองบัว ที่เปลือกแข็งกว่ากุ้งขาว เมื่อนำมาตาดแดดให้แห้งแล้วจะมีเนื้อสัมผัสที่กรอบ
  5. อาหารและขนมหลากหลาย อาทิ ขนมควยลิง และขนมบ่าว-สาว เป็นต้น
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ขนมควยลิง

ชื่อขนมนี้มาจากในสมัยโบราณ ไม่มีขนมขายมากมายอย่างปัจจุบัน ชางบ้านมักทำขนมให้ลูกหลานในครอบครัวทานกันเอง เวลาที่ทำขนมนี้จะมีลิงมานั่งยอง ๆ เฝ้าจนเห็นอวัยวะเพศลิง จึงเป็นที่มาของชื่อขนม "ควยลิง" จนถึงปัจจุบัน

โดยสูตรขนมของคุณยายมะลิ ได้รับการสืบทอดมาจากครอบครัว ส่วนผสมหาได้ง่ายในท้องถิ่น มีข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวขาว มะพร้าวห้าว เกลือ น้ำตาล และงา 

ส่วนวิธีทำนั้น คือการนำข้าวเหนียวมมาโม่เป็นแป้งผสมน้ำจะได้สีออกม่วงอย่างที่เห็น แล้วปั้นเป็นแท่งเล็ก ๆ ขนาดเท่านิ้วก้อยใส่ลงไปต้มในน้ำเดือด เมื่อแป้งสุกจะลอยขึ้นมาให้ตักมาคลุกกับมะพร้าว งา และน้ำตาล ก็จะออกมาเป็นขนมของคุณยายมะลิที่ขายดีมากทั้งรสชาติ และชื่อที่แปลกสะดุดหู

ขนมบ่าว - สาว

เป็นขนมวัฒนธรรมที่ผูกพันกับพิธีแต่งงานของชาวจันทบุรี โดยเจ้าบ่าวจะชักชวนเพื่อนฝูงมากวนขนม "บ่าว-สาว" เพื่อสื่อถึงความรักที่เหนียวแน่น โดยขนมบ่าวเป็นตัวแทน เจ้าบ่าว หรือข้าวเหนียวแดง ที่นำข้าวเหนียวเคี่ยวกับน้ำตาล และกะทิ ส่วนขนมสาวเป็นตัวแทน เจ้าสาว หรือกะละแม ที่นำแป้งมาเคี่ยวกับน้ำตาล และกะทิ ซึ่งปัจจุบันหาเจ้าบ่าวทำตามธรรมเนียมดั้งเดิมได้ยาก ทว่ายังมีครัวเรือนที่รับทำขนมชนิดนี้ อีกทั้งยังคงทำขายในตลาด

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบ้านตำบลหนองบัว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานเปิดตัวชุมชนครั้งแรกจาก ชัยชาญ พูนพล นายอำเภอเมืองจันทบุรี และกนกกฤติกา กฤตย์วุฒิกร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง - จันทบุรี (ตำแหน่ง ณ ขณะนั้น) โดยได้รับการเอื้อเฟื้อสถานที่จัดงานจากลุงบัว และครอบครัวโถรัตน์, เทศบาลตำบลหนองบัว ให้ความร่วมมือกันด้วยดี ส่งผลให้ในช่วงสามวันของการจัดงานมีนักท่องเที่ยวมาจำนวนมากกว่าสามหมื่นคน ต่อจากนั้นชาวบ้านจึงเกิดแนวคิดที่จำทำตลาดอย่างต่อเนื่อง จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งคณะทำงานจนเกิดเป็นวิสาหกิจชุมชนขนมแปลกฯ เป็นผลให้ "ตลาดหนองบัว" กลับมามีชีวิตอีกครั้ง จากการร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนอย่างแท้จริง 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

tripgether. (2561). หลงเสน่ห์ชุมชนคลาสสิค!! แวะเที่ยว 18 ชุมชนเล็กๆ ที่ไม่ธรรมดาจาก 6 จังหวัดน่าเที่ยวภาคตะวันออก. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.tripgether.com/อัปเดตเรื่องเที่ยว/หลงเสน่ห์ชุมชนคลาสสิค-แวะเที่ยว-18-ชุมชนเล็กๆ-ที่ไม่ธรรมดาจาก-6-จังหวัดน่าเที่ยวภาคตะวันออก.

ระพินทร์ รังสีเสนีย์พิทักษ์. (2558). แนวทางการปรับเปลี่ยนการใช้สอยมรดกสถาปัตยกรรมเพื่อส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมและการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนตลาดหนองบัว จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เปรมฤดี ทองลา. (2562). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 "สังคมสูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา (หน้า 299-305). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าระดับจังหวัด ระยะ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เชษฐ์ณรัช อรชุน และคณะ. (2564). ขนมควยลิง: อัตลักษณ์ชุมชนขนมแปลกรอมคลองหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี, 2(2), 24-31.