Advance search

การอยู่รวมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบน ไทยลาว และไทยโคราช ซึ่งมีความต่างกันด้านภาษา การแต่งกาย คติความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ทำให้บ้านน้ำลาดเกิดการแบ่งแยกคุ้มบ้านออกเป็น 3 คุ้มคือ คุ้มน้ำลาด คุ้มซับหงส์ และคุ้มซับเจริญ

หมู่ที่ 4
บ้านน้ำลาด
นายางกลัก
เทพสถิต
ชัยภูมิ
อบต.นายางกลัก โทร. 0-4405-3033
ปวีณา สุริยา
27 ก.พ. 2023
ปวีณา สุริยา
14 มี.ค. 2023
บ้านน้ำลาด

บ้านน้ำลาดเป็นชื่อที่ตั้งตามสภาพภูมิศาสตร์ของที่ตั้งหมู่บ้าน เดิมบริเวณนี้เรียกว่า โคกน้ำลาดจากลักษณะที่ตั้งมีลักษณะพื้นที่เป็นเนินสูงทางตะวันตกค่อย ๆ ลาดต่ำด้านตะวันออกลงสู่บริเวณ ลานหินลาดช่วงฤดูฝนเมื่อฝนตกหนักน้ำฝนจะไหลจากด้านตะวันตกมายังตะวันออกสู่บริเวณหินลาดแล้วไหลมารวมกับน้ำในลำห้วยน้ำลาด ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกันจากลักษณะของการไหลลาดของน้ำนี้ทำให้ชาวบ้านเรียกว่า บ้านน้ำลาด


การอยู่รวมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบน ไทยลาว และไทยโคราช ซึ่งมีความต่างกันด้านภาษา การแต่งกาย คติความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ทำให้บ้านน้ำลาดเกิดการแบ่งแยกคุ้มบ้านออกเป็น 3 คุ้มคือ คุ้มน้ำลาด คุ้มซับหงส์ และคุ้มซับเจริญ

บ้านน้ำลาด
หมู่ที่ 4
นายางกลัก
เทพสถิต
ชัยภูมิ
36230
15.71559
101.45339
องค์การบริหารส่วนตำบลนายางกลัก

บ้านน้ำลาดเป็นชื่อที่ตั้งตามสภาพภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านซึ่งแต่เดิมนั้นบริเวณนี้ เรียกว่า โคกน้ำลาด จากลักษณะที่ตั้งมีลักษณะพื้นที่เป็นเนินสูงทางตะวันตกแล้วค่อย ๆ ลาดต่ำด้านตะวันออกลงสู่บริเวณ ลานหินลาด ช่วงฤดูฝน เมื่อมีฝนตกหนักน้ำฝนจะไหลจากด้านตะวันตกมายังทางตะวันออกสู่บริเวณหินลาดแล้วไหลมารวมกับน้ำในลำห้วยน้ำลาด ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกันจากลักษณะของการไหลลาดของน้ำนี้เองทำให้ชาวบ้านเรียกบ้านตนเองว่า บ้านน้ำลาด

จากคำบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าบ้านน้ำลาดตั้งมาประมาณ 63 ปีแล้ว กลุ่มคนที่อพยพมาตั้งหมู่บ้านครั้งแรกเป็นกลุ่มชาวบนซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เดิมบ้านเรือนอยู่ที่บ้านวังขอน ซึ่งเป็นหุบเขาห่างจากบ้านน้ำลาดประมาณ 5 ครัวเรือน แต่ส่วนใหญ่จะไปตั้งหลักแหล่งบ้านหนองใหญ่บริเวณเชิงเขาปรกอยู่ได้ประมาณ 1 ปี 8 เดือน เนื่องจากผู้คนล้มตายจำนวนมาก เฉลี่ย 2-3 คน จึงย้ายไปอยู่ที่ใหม่ โดยอพยพจากเชิงเขาปรกมาบริเวณห้วยเพ็ก อยู่ได้ 2 เดือน มีเสือเข้ามากัดคนในหมู่บ้านไปกินทั้งหมดก็เลยย้ายมาตั้งหลักแหล่งรวมกับกลุ่มเดิมที่บ้านน้ำลาด ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2520  ก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวกลุ่มแรกอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานีเข้ามาในบ้านน้ำลาดประมาณ 5 ครอบครัว ส่วนกลุ่มคนไทยโคราชมาจากจังหวัดนครราชสีมาส่วนใหญ่จะเข้ามาทำไร่และเผาถ่านขาย ทำให้ชาวบ้านน้ำลาดเริ่มมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ไทยโคราชเข้ามาอาศัยอยู่รวมกันจึงเกิดข้อแตกต่างทั้งภาษา การแต่งกาย คติความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ทำให้เกิดการแบ่งแยกคุ้มบ้านออกเป็น 3 คุ้ม คือ คุ้มน้ำลาด คุ้มซับหงส์ คุ้มซับเจริญ ส่วนคุ้มที่มีชาวบนอาศัยอยู่มากคือ คุ้มน้ำลาดเพราะเป็นคุ้มดั้งเดิมที่ตั้งแหล่งชุมชนของชาวบนมาก่อน

ลักษณะภูมิประเทศ

บ้านน้ำลาดเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ในช่วงที่ตัดผ่านจังหวัดชัยภูมิลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่สูงประมาณว่ามีระดับความสูงเฉลี่ยสูงกว่า 1,000 เมตร จากระดับทะเลสำหรับบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณหุบเขาแคบ ๆ มีภูเขาล้อมรอบทุกด้านสภาพพื้นที่เป็นที่สูงทางด้านตะวันตกแล้วค่อยๆ ลาดต่ำลงมาทางตะวันออก โดยมีลำห้วยน้ำลาดไหลผ่านทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลำห้วยแห้งในฤดูแล้งมีปริมาณน้ำเหลืออยู่บ้างเป็นช่วงๆ

สภาพภูมิศาสตร์เป็นภูมิประเทศเบื้องต้นที่ชาวบ้านจะเลือกเป็นที่ตั้งบ้านเรือน คือ ชาวบนจะเลือกทำเลที่ตั้งหมู่บ้าน โดยยึดดบริเวณที่มีลำน้ำตัดผ่านและมีภูเขาล้อมรอบเป็นที่ตั้งหมู่บ้าน

สภาพภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของหมู่บ้านน้ำลาด เนื่องจากบ้านน้ำลาดตั้งอยู่บริเวณหุบเขา ส่วนฤดูฝนนั้นปริมาณน้ำฝนที่ตกไม่มากนักเนื่องจากบริเวณดังกล่าวตั้งอยู่เขตเงาฝนของเทือกเขาเพชรบูรณ์ เหตุนี้มักพบปัญหาจากการขาดแคลนน้ำใช้อุปโภค บริโภคในช่วงฤดูแล้ง

ทรัพยากรธรรมชาติ

1.น้ำ น้ำเป็นแหล่งกำเนิดของสัตว์และพืช มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การทำการเกษตร ดื่ม ชำระร่างกาย เลี้ยงสัตว์ หรืออุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น แหล่งน้ำธรรมชาติบ้านน้ำลาดมีลำน้ำธรรมชาติที่ไหลมาจากภูเขาพังเหย นับเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชชาวบนบ้านน้ำลาด เมื่อถึงฤดูแล้งน้ำแห้งนี้จะมีปริมาณน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวบ้านน้ำลาด ต่อมาทางราชการจึงเข้ามาเก็บกักน้ำในรูปแบบฝายน้ำล้นให้ชาวบ้านน้ำลาด ปัจจุบันน้ำที่มีอยู่ในบ้านน้ำลาดเพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากมีการขุดบ่อน้ำขนาดใหญ่เพิ่มอีก 1 บ่อ

2.ดิน ดินเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในทุกด้าน เช่น การเกษตร การเลี้ยงสัตว์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และกักเก็บน้ำ เป็นต้น สภาพดินบ้านน้ำลาดในปัจจุบันจะถูกใช้เพื่อการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทำไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย เป็นต้น ทำให้สภาพดินทรุดโทรมลงไปมากเพราะไม่มีการพักดิน และถูกทำลายความอุดมสมบูรณ์จากมนุษย์และจากธรรมชาติเอง ทั้งนี้จากการเผาทำลาย ทำไร่เลื่อนลอย การใส่ปุ๋ยเคมีทำให้สภาพดินบ้านน้ำลาดทรุดโทรมทุกวัน

3.ป่าไม้ ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อมนุษย์และสัตว์ เพราะป่าไม้เป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค 

บ้านน้ำลาดประกอบด้วยครัวเรือนทั้งหมด 152 ครัวเรือน จำนวนประชากร 172 คน แยกเป็นชาย 371 คน หญิง 349 คน แยกตามกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนี้

  • ชาวบน ชาย 42 คน หญิง 48 คน รวม 90 คน
  • กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ชาย 181 คน หญิง 220 คน รวม 401 คน
  • กลุ่มชาติพันธุ์ไทยโคราช ชาย 92 คน หญิง 129 คน รวม 221 คน 

ญัฮกุร, ไทโคราช

สภาพทางสังคมของชาวบน

อดีตการอพยพย้ายถิ่นฐานจะเก็บสิ่งของจำเป็น เช่น พวกเสื้อผ้า โอ่งดินเล็ก ๆ สำหรับใส่น้ำเดินตามกันเป็นกลุ่ม โดยผู้อาวุโสสูงสุดจะเดินนำ เมื่อพบแหล่งที่มีทำเลดีทุกคนเห็นว่าเหมาะสมที่จะตั้งหลักแหล่งได้  ก็จะหยุดพักนอนเพื่อดูว่าจะฝันดีไหม เจ้าที่เจ้าทางจะให้อยู่ไหม โดยก่อนนอนจะทำพิธีโดยเอาข้าวสารกองกับดินแล้วเอากะลาครอบแล้วเสี่ยงทายว่า เจ้าที่เจ้าทางนางธรณี ถ้าให้อยู่เย็นเป็นสุข ก็ขอให้ฝันดีอย่าให้ข้าวสารแตกจากกันให้อยู่เป็นกลุ่มถ้านอนไม่ฝันหรือฝันดีและเปิดกะลาดูตอนเช้าถ้าข้าวสารไม่แตกจากกันก็ถือว่าเป็นทำเลดี

ลักษณะการตั้งบ้านเรือนจะอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ลักษณะบ้านเป็นใต้ถุนสูง เสาบ้านจะเลือกไม้ที่มีง่าม เพื่อรองรับคานหรือรอด เหตุที่ต้องใช้ไม้ง่ามเป็นเสาเพราะชานไม่มีเครื่องมือเจาะรูเสา พื้นและฝาบ้านด้วยไม้ไผ่ ไม้บง ผ่าซีกเป็นฝาก หลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ใต้ถุนบ้านจะก่อเป็นกองไฟเพื่อป้องกันความหนาวเย็น และป้องกันสัตว์ร้ายเนื่องจากสมัยโบราณการก่อไฟแต่ละครั้งต้องใช้เวลานานเพราะใช้หินหรือไม้ไผ่สีกระทบกัน ภายในบ้านไม่มีการแบ่งห้องเป็นห้องรวม ชาวบนบ้านลาดมีการอพยพถิ่นที่ทำกินบ่อย การสร้างบ้านจึงไม่จำเป็นต้องสร้างแบบถาวรเพราะง่ายต่อการรื้อถอน อีกอย่างคือหลังจากที่หน่วยงานราชการได้ประกาศพื้นที่หมู่บ้านน้ำลาดเป็นเขตป่าสงวนจึงไม่สามารถอพยพเคลื่อนย้ายไปไหนได้อีกจึงเป็นเหตุให้ชาวบนบ้านน้ำลาดสร้างบ้านเรือนถาวร นับตั้งแต่นั้นมาชาวบนบ้านน้ำลาดรู้จักใช้เลื่อยแทนมีดและพร้าจากคำบอกเล่าของผู้รู้ทราบว่าบ้านหลังแรกที่สร้างด้วยไม้กระดานจากการเลื่อยไม้เป็นบ้านของนายเณร ยกจัตุรัส จากตรงนี้ทำให้ชาวบนบ้านน้ำลาดหันมาสร้างบ้านเรือนแบบใหม่ตามกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ไทยโคราชมากขึ้น

รูปแบบและกรรมวิธีการผลิต

อดีตวิธีการผลิตและการทำไร่ จะใช้แรงงานคนเป็นหลัก โดยช่วยกันทำทั้งบ้านไม่มีการใช้แรงงานสัตว์หรือเครื่องจักรเข้าช่วย ประมาณเดือน 3 หรือเดือน 4 เป็นช่วงเวลาถางป่าแล้วจุดไฟเผาเพื่อทำไร่ ย่างเข้าเดือน 5 ก็เริ่มสับกิ่งไม้ตอเล็กๆ ที่เผาแล้ว โดยใช้เสียบแล้วนำมากองรวมกันแล้วจุดไฟเผาอีกครั้ง จากนั้นใช้ไม้ขัดทา ซึ่งเป็นไม้แผ่นกระดานเจาะรู ตรงกลางที่ด้ามเสียบไถกองเถ้าถ่านไปทั่วบริเวณที่จะทำการเพาะปลูก เป็นการช่วยบำรุงดิน พอถึงเดือน 6 ฝนเริ่มตกลง ภรรยาจะเอาข้าวเปลือกที่สำหรับไว้ทำพันธุ์ใส่กระบุงหาบไปไร่ ส่วนสามีจะใช้ตัลชะนวน ซึ่งมีลักษณะคล้ายเสียมอันเล็ก ๆ มีด้ามทำด้วยไม้รวกขุดหลุมเล็ก ๆ สำหรับหยอดข้าวให้แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 1 ศอก แล้วผู้หญิงก็หยดข้าวลงไปในหลุม ๆ ลงประมาณ 3-4 เมล็ด แล้วลูก ๆ ก็จะสะบัดดินกลบหลุม โดยใช้ไม้ปัด ในการปลูกทำไร่ไม่ต้องรดน้ำ ใช้น้ำฝนตามธรรมชาติ

พิธีกรรมในการเลือกพื้นที่ในการเพาะปลูกพืชไร่ในอดีต มีพิธีกรรมต่าง ๆ ก่อนที่จะลงมือทำการเพาะปลูก เช่น ก่อนที่จะเลือกพืชเพาะปลูกก็จะมีการเสี่ยงทายขอนางธรนี โดยดัดไม้ยาวประมาณ 1 วา ฟาดปลายลงพื้นดิน 3 ครั้ง พร้อมอธิษฐานว่า ถ้ายอมให้ทำไร่บริเวณนี้ก็ขอให้ไม้ยาวเท่าเดิม หรือยาวกว่าเดิมที่วัดไว้ แต่ถ้าไม่ยอมให้ทำไร่บริเวณนี้ก็ขอให้ไม้ที่ตีลงพื้นนั้นหดสั้นลง ถ้าตีลงพื้นแล้วไม้ที่ตีเท่าเดิมหรือยาวขึ้น ก็จะเลือกบริเวณนั้นทำไร่ แต่ถ้าไม้ที่ตีลงพื้นสั้นกว่าเดิมก็จะหาแหล่งใหม่เพื่อเสี่ยงทายที่ใหม่ไปเรื่อย ๆ บางครั้งก็จะใช้วิธีเสี่ยงทายถากถางต้นไม้เป็นบริเวณแคบ ๆ ที่คิดว่าจะเลือกบริเวณนั้นทำการเพาะปลูกแล้วกลับบ้าน ถ้ากลางคืนไม่ฝันหรือฝันว่าจับปูจับปลาได้ หรือฝันว่าได้เงินทองหรือฝันดี ก็จะกลับไปถางต่อและเลือกที่นั้นทำการเพาะปลูกต่อไป แต่ถ้าฝันร้าย ฝันว่าไฟไหม้ก็จะเลือกเสี่ยงทายที่อื่น ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งกรรมวิธีในการเสี่ยงทาย เพื่อเลือกพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองแบบนี้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ชาวบนบ้านน้ำลาด เมื่อได้พื้นที่เพาะปลูกแล้วชาวบ้านจะถากถางบริเวณและเตรียมดินที่จะปลูกพืชไร่ต่าง ๆ ได้ เมื่อถึงช่วงนี้ชาวบนก็จะถือฤกษ์เลือกวันที่จะปลูกพืชอีกครั้ง โดยแต่ละครัวเรือนจะเลือกวันเพาะปลูกไม่เหมือนกัน บางครั้งครัวเรือนเลือกวันอาทิตย์ บางครั้งเลือกวันพฤหัส เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเดิมทำไร่วันไหนแล้วได้ผลผลิตดีก็จะเลือกวันนั้นตลอดไป หลังจากเพาะปลูกไว้ ทำที่ดักสัตว์ป้องกันสัตว์ป่ามารบกวน เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็ใช้แรงงานคนเป็นหลักในการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวข้าวไร่ จะใช้มือที่พันด้วยผ้าที่นิ้วมือรูดข้าว เป็นเมล็ด ๆ ใส่ตะกร้าเล็ก ๆ ที่ผูกติดไว้ข้างหน้า โดยมีเชือกร้อยหูตระกร้าผูกไว้ที่เอวลาวบนเรียกตะกร้านั้นว่า ครายปัจจุบันยังพอมีให้เห็นอยู่บ้าง หลังจากนั้นจะนำไปเทรวมลงในกระบุงก่อนที่จะหาบไปเก็บไว้ที่ยุ้งข้าว ลักษณะยุ้งเป็นห้องที่ต่อชายคายาวออกมาด้านใดด้านหนึ่งของบ้าน ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1 ศอก ปูด้วยฟากไม้ไผ่ มีเสื่อลำแพนสานด้วยไม้ไผ่ปูทับอีกชั้นหนึ่ง ฝาทั้ง 4 ด้าน จะกั้นด้วยตับหญ้าคา มีไม้กั้นตับหญ้าด้านนอกห่างประมาณ 1 คีบ หลายๆอันตามความสูงของยุ้งข้าวสำหรับพื้นที่เพาะปลูกนั้น โดยปกติจะปลูกพืชซ้ำในที่เดิมไม่เกิน 3 ครงั้ หลังจากนั้นจะย้ายที่ทำไร่ไปเรื่อย ๆ

ปัจจุบันที่ผ่านมาชาวบนบ้านน้ำลาดได้รับอิทธิพลจากคนไทยคนลาว ชาวบนบ้านน้ำลาดเริ่มรู้จักการทำนา นาหว่านมากขึ้นเริ่มรู้จักแรงสัตว์พวกวัวควายเข้าช่วย เริ่มเลี้ยงวัวควายไว้ใช้แรงงาน อย่างไรก็ตามชาวบนบ้านน้ำลาดก็ไม่นิยมทำนาที่ทำเพียงส่วนน้อยเพื่อไว้กินเท่านั้น ส่วนใหญ่ยังนิยมทำไร่กันอยู่ แต่กรรมวิธีในการทำไร่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากวิธีที่ใช้แรงงานสัตว์เข้าช่วยแล้วปัจจุบันการทำไร่เริ่มใช้รถไถสำหรับเตรียมดินเพาะปลูก การทำไร่นิยมการทำไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง ไร่ปอไว้ขาย นอกจากจะใช้เครื่องจักรเข้าช่วยแล้วยังมีการว่าจ้างแรงงานเข้าไปช่วยในการเพาะปลูกและการเก็บผลผลิตอีกด้วย

ส่วนความเชื่อพิธีกรรมในการเลือกที่ทำกินก็เริ่มหมดไป เนื่องจากที่ดินทำกินถูกคนอื่นจับจองมากขึ้น ถ้าไม่รีบจองคนอื่นก็จะจองทำไร่ทำนาต่อไป สำหรับการถือฤกษ์ยามในการเพาะปลูกนั้น ส่วนใหญ่ยังยึดถือฤกษ์ยามอยู่ มักจะยืดเอาวันที่เคยทำการเพาะปลูกได้ผลมาก่อน ซึ่งอาจจะเป็นวันอาทิตย์หรือวันพฤหัสบดี เป็นต้น อีกอาชีพหนึ่งที่ชาวบนบ้านน้ำลาดมีรายได้เข้ามาคือ อาชีพรับจ้างทั่วไป ชาวบนบ้านน้ำลาดนิยมรับจ้างไปตัดอ้อยที่จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดสุพรรณบุรีในระยะว่างจากการทำงานหลังจากเข้าหน้าทำไร่ก็กลับมาทำไร่ของตน

การแลกเปลี่ยนและการซื้อขาย

อดีตชาวบนจะไม่มีการซื้อขายในหมู่บ้านด้วยกันมีแต่การแลกเปลี่ยน เช่น ถ้าปีไหนครัวเรือนไหนขาดแคลนข้าวก็จะยืมครัวเรือนอื่นก่อน เมื่อปีต่อไปได้ผลผลิตก็จะชดใช้คืน การแลกเปลี่ยน และการซื้อขาย ที่ทำระหว่างชาวบนกับชาวลาวหรือชาวไทยที่อยู่พื้นราบ หรือที่ชาวบนเรียกว่าชาวทุ่ง สินค้าที่ชาวบนที่นำไปแลกเปลี่ยนและซื้อขาย ได้แก่ พริก ฝ้าย ไต้ สินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนกันคือ บ้านเพชร บ้านชวน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ มีระยะทางห่างจากบ้านน้ำลาด ประมาณ 41 กิโลเมตร

ในอดีตวิธีการชนส่งสินค้าไปแลกเปลี่ยนนั้นจะใส่กระบุงเทินศีรษะหาบไปเป็นกลุ่มๆ ต่อมาก็พัฒนาเป็นการใช้ล้อเลื่อนและมีวัวหรือควายลากจูงไป การไปแต่ละครั้งจะใช้เวลาไปกลับประมาณ 2 คืน มักจะนิยมเดินทางในช่วงเดือน 11 และเดือน 12 ปีหนึ่งๆจะเดินทางไปแลกเปลี่ยนและซื้อของกับคนไทยและคนลาว ประมาณ 3-4 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ได้ ถ้าปีใดได้ผลผลิตมากก็จะเดินทางมาก แต่ถ้าได้ผลผลิตน้อยการเดินทางแลกเปลี่ยนซื้อขายจะน้อยครั้ง ต่อมาพ่อค้าคนไทย คนลาว เริ่มเข้ามาค้าขายและแลกเปลี่ยนในหมู่บ้านชาวบน โดยนำเอาเสื้อผ้าเครื่องใช้ต่างๆ ถ้ามาแลกเปลี่ยนกับมัน ฝ้าย ไต้ของชาวบนหรือบางครั้งก็พาคนไทย คนลาวเหล่านี้จะเข้ามาซื้อของดังกล่าวจากชาสบนโดยตรง ซึ่งจะเข้ามาเป็นกลุ่มประมาณ 2-3 คน เมื่อได้สิ่งของพอเพียงแล้วก็จะสานตะกร้าหาบของเหล่านั้นออกไปจากหมู่บ้าน พ่อค้าเหล่านี้จะมาในหมู่บ้านเกือบทุกเดือน การแลกเปลี่ยนและการซื้อขายระหว่างชาวบนกับคนไทยและคนลาวดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่ชาวบนถูจะถูกเอารัดเอาเปรียบเนื่องจากไม่รู้ทัน นอกจากนั้นจากการที่ชาวบนถูกคนกลุ่มนี้รุกรานที่ทำมาหากินด้วย ชาวบนจึงเรียกกลุ่มคนลาวคนไทยว่า ชะมวดหมายถึง มด หรือ ปลวก หรือผู้รุกราน

ปัจจุบันการแลกเปลี่ยนสินค้าและการซื้อขายเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างมาก คือ ในหมู่บ้านที่ชาวบนอาศัยอยู่จะมีร้านขายของชำ ร้านขายของชำประจำหมู่บ้านแม้แต่บ้านน้ำลาด ซึ่งเป็นชุมชนที่ห่างไกลความเจริญอย่างมากก็ยังมีร้านขายของในหมู่บ้าน 4 ร้าน เป็นร้านขายของชาวบน 3 ร้าน ในจำนวนนี้เป็นของอดีตผู้ใหญ่บ้าน 1 ร้าน และเป็นของคนลาวอีก 1 ร้าน ร้านขายของเหล่านี้จะขายของแห้งซึ่งเป็นอาหารประจำวัน นอกจากนั้นก็มีร้านสุราและบุหรี่ เป็นต้น บางครั้งก็มีรถจักรยานยนต์นำสินค้าประเภทเนื้อหรืออาหารทะเลเข้าไปขายเป็นครั้งคราว แต่ขายไม่ค่อยดี ระบบการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของกับสิ่งของหมดไป ระบบเงินตราได้เข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นพืชไร่เศรษฐกิจจำพวก ปอ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ก็มีพวกนายทุนจากตำบลนายางกลัก และอำเภอมารับซื้อถึงในไร่ ในระบบเหมาไร่ และขนส่งพืชไร่เหล่านั้นด้วยรถบรรทุกของตนเอง โดยการว่าจ้างชาวบนเป็นคนขุดหรือเก็บผลผลิตเท่านั้น จึงเกิดอาชีพในหมู่บ้านชาวบน คือ อาชีพรับจ้าง เดิมอาชีพนี้ไม่มีเงินออมและภาวะหนี้สิน

ชาวบนส่วนมากไม่มีเงินออม ผลผลิตที่ได้จะแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของจำพวกเสื้อผ้า เพราะชาวบนไม่มีการทอเสื้อผ้าใช้เอง นอกจากนั้นก็จะเป็นพวกเครื่องเงิน กำไลแขน กำไลขา เพราะฉะนั้นเงินออมจึงเป็นรูปของสิ่งของจำพวกเครื่องเงินดังกล่าว แต่ชาวบนมักจะถูกผู้ร้ายคนไทย คนลาว ปล้นสะดมภ์สิ่งของเหล่านี้บ่อยๆ จากการบอกเล่าของผู้รู้ในหมู่บ้านบอกเล่าว่าโจรที่ขึ้นมาปล้นจะมาเป็นกลุ่มๆ และปล้นหมู่บ้าน โดยระหว่างการปล้นนั้นชาวบนจะหลบหนีเข้าไปในป่า ไม่มีการต่อสู้ เนื่องจากอาวุธของชาวบนไม่สามารถสู้ได้

จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันชาวบนในหมู่บ้านน้ำลาดเกือบทุกครัวเรือนไม่มีเงินออม แต่พบว่ามีทรัพย์สินถือครองมากขึ้น เช่น วิทยุ โทรทัศน์ จักรยานยนต์ รถไถนาเดินตาม รถอีแต๋น รถยนต์ เป็นต้น สำหรับสถาวะหนี้สินพบว่ามากกว่าร้อยละ 80 ของครัวเรือนชาวบนในบ้านน้ำลาดมีหนี้สิน ซึ่งมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ 5,000-10,000 บาท หนี้สินเหล่านี้เกิดจากการกู้ยืมเพื่อทำไร่ เป็นค่าจ้างรถไถ ค่าพันธุ์พืช และเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆ ระบบการกู้ยืม จะไปกู้ยืมจากนายทุนที่ตำบลนายางกลัก หรือจากนายทุนบำเหน็จณรงค์ อำเภอเทพสถิต โดยเฉลี่ยค่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6-10 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์พืช ขายผลผลิตที่ได้แล้วซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆ จากนายทุนคนเดียวกันนี้ในอัตราที่แล้วแต่นายทุนจะกำหนด ถ้าผลผลิตที่ได้นำไปขายให้คนอื่นจะไม่ไ ด้การให้กู้ยืมเงินอีก จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ชาวบนจะเป็นหนี้มักจะไม่สามารถส่งเงินต้นคืนได้ในแต่ละปี เมื่อเป็นหนี้มากขึ้นนายทุนก็ยึดที่อยู่ ปัจจุบันพบว่าชาวบนหลายครัวเรือนไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง ต้องเช่าที่ดินเดิมของตัวเองจากนายทุนตลอดไป และยังมีหนี้สินผูกพันอยู่ทุกปี พบในหมู่ชาวบนเกือบทุกหมู่บ้านในอำเภอเทพสถิต  ส่วนครัวเรือนชาวบนร้อยละ 20 ที่ไม่เป็นหนี้สินนั้น จากการศึกษาพบว่าเป็นครัวเรือนที่ทำรูปแบบการผลิตพืชไร่แบบดั้งเดิมอยู่ทำเป็นไร่ขนาดเล็ก ใช้แรงงานคนเข้าช่วยเป็นหลัก ผลผลิตส่วนใหญ่ทำเพื่อพอกินพอใช้ในครัวเรือนเท่านั้น

หนี้สินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ที่กู้ยืมมาในอัตราดอกเบี้ยต่ำทำให้ชาวบนบ้านน้ำลาดมีหนี้สินทั้งสองจากนายทุนและรัฐบาล จากการศึกษาพบว่าภาระหนี้สินนอกจากนำมาใช้ในรูปแบบการลงทุนทำการเกษตรและซื้อเครื่องอุปโภค บริโภค และถือเป็นปัจจัยสำคัญคือการกู้ยืมมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะชาวบนบ้านน้ำลาดเชื่อว่าการได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายแล้วจะได้เกิดใหม่ หลุดพ้นและมีความสุขในโลกหน้า

วัฒนธรรมของชาวบนบ้านน้ำลาด

สงกรานต์ ชาวบนจะเล่นสงกรานต์ตั้งแต่แรม 15 ค่ำ เดือน ไปจนเดือน สถานที่เล่นอาจเป็นลานบ้านใครสักคนที่ราบโล่งเตียน หรืออาจเล่นที่ถ้ำเก็บหม้อธาตุ ชาวบนจะเล่นสงกรานต์ที่ถ้ำที่เก็บกระดูก มีเครื่องประดับของโบราณที่เขาฝากไว้กับผีปู่ย่าตายาย พวกชาวบนจะเอามาแต่งเล่นสงกรานต์ เช่นที่ถ้ำเขานางรักษ์ เวลาเล่นสงกรานต์มีการเล่นสะบ้า ลูกข่าง เล่นกระแจ๊ะ หรือป๊ะเรเร เล่นเข้าทรงผี เช่น ผีนางดัง ผีนางสาก ผีนางช้าง ผีนางไทร วันสงกรานต์มีการแห่ดอกไม้ แห่หอดอกผึ้ง หอดอกผึ้งจะใช้กาบกล้วยทำโครงเป็นรูปเรือน จั่ว ใช้ขี้ผึ้งบริสุทธิ์หล่อเป็นรูปดอกไม้ประดับตามโครง ในหอดอกผึ้งจะมีหมากกับพลูอยู่ด้วย การเล่นสงกรานต์ของชาวบนที่ต่างจากคนไทยลาวในหมู่บ้านข้างเคียงนอกจากการเล่นกระแจ๊ะ หรือป๊ะเรเร ยังมีการเล่นสะบ้า การเล่นกระแจ๊ะของชาวบนเป็นการเล่นเพลงร้องโต้ตอบระหว่างชายและหญิง การเล่นและคนดูจะนั่งล้อมวง ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายตีโทนคุมจังหวะ เนื้อเพลงที่ร้องส่วนใหญ่จะเป็นการเกี้ยวพาราสี ใช้ธรรมชาติมาเป็นตัวเปรียบให้เห็นอารมณ์รัก อารมณ์เศร้าของผู้ร้อง นอกจากนี้ยังมีการเล่นเป็นเรื่อง โดยนำนิทานพื้นบ้านของไทยไปเล่น ผู้ชายจะเป็นคนเล่า เช่น เรื่องศุภนิมิตร เกศินี ลิ้นทอง นางประทุม พระรถเมรี 

ศาสนา

อดีตบ้านน้ำลาดไม่มีวัด ถ้าจะทำบุญต้องเดินทางด้วยเท้าไปทำบุญที่วักโคกสะอาดห่างจากบ้านน้ำลาด กิโลเมตร ปัจจุบันหมู่บ้านน้ำลาดมีวัดอยู่ แห่ง ก่อสร้างเมื่อ 2501 โดยมีพระภิกษุเดินทางมาจากอุดรธานี ชื่อพระอาจารย์อุย ได้ชักชวนชาวบ้านน้ำลาดสร้างศาลาวัดขึ้น ต่อมาหลังจากพระอาจารย์อุยได้มรณะภาพมีพระภิกษุสงฆ์มีฉายาว่าพระอาจารย์บุญเลี้ยงธรรมะชีโร ในปี 2526 เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านน้ำลาด ปัจจุบันรวมพระภิกษุวัดบ้านน้ำลาด รูป และการเดินทางไปวัดสะดวกมากขึ้น

สิ่งที่ก่อสร้างภายในวัดประกอบไปด้วยศาลา แห่ง หอระฆัง แห่ง กุฎี หลัง และชาวบ้านกำลังสร้างสิมน้ำ ลักษณะของสิมจะใช้ไม้ทำทั้งหมดและไม้ที่หามาได้ก็ได้มาจากไม้ที่ถูกโค่นทิ้งตามไร่นาของชาวบ้านน้ำลาดนั่นเอง พระและชาวบ้านต่างนำรถไปลากไม้มาจากภูเขา ช่วยกันสร้างสิม ลักษณะเด่นคือ สิมจะสร้างอยู่กลางบ่อน้ำเรียกว่า สิมน้ำ

ภายในวัดร่มรื่น ด้านหลังวัดเป็นน้ำที่ไหลจากอ่างเก็บน้ำ ทิศตะวันตกของวัดจะเป็นป่าช้าสำหรับเผาคนตาย จากการสัมภาษณ์พระมหาประถม ปริสาสโพธิ์ พบว่าอดีตชาวบนบ้านน้ำลาดจะฝังคนตายไว้ใกล้บริเวณบ้านจองตน แล้วอพยพหนีไปจากบริเวณที่มีคนตาย ต่อมาเมื่อมีกลุ่มคนไทยลาวเข้ามา เริ่มมีวัดและมีที่สาธารณะที่ต้องใช้ร่วมกัน จากคำบอกเล่าของนายสัมฤทธิ์ สิริสาขา ว่าอดีตในอดีตนั้นที่ฝังศพ เผาศพของชาวบนบ้านน้ำลาดจะแยกจากกลุ่มคนไทยลาว เนื่องจากชาวบ้านบนบ้านน้ำลาดเชื่อว่าเป็นคนละกลุ่มชาติพันธุ์กัน นับถือผีไม่เหมือนกัน แต่ปัจจุบันชาวบนบ้านน้ำลาดยอมเผาและฝังคนตายบริเวณเดียวกัน โดยไม่แยกกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้เริ่มมีการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ และอีกประการหนึ่งวัฒนธรรมได้ผสมผสานปรับเปลี่ยนเข้าด้วยกันจนแยกไม่ออกจากกัน วัดจึงกลายเป็นศูนย์รวมจิตใจและแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนดั้งเดิมและกลุ่มชนที่เข้ามาอยู่ใหม่ให้อยู่ร่วมกันและเป็นที่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ของแต่ละฝ่ายให้ผสมผสานกัน

ป่าช้าของชาวบ้านน้ำลาดในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นป่าทึบ มีต้นไม้ใหญ่ มีสัตว์อาศัยอยู่มาก ต่อมาชาวบ้านน้ำลาดบุกรุกเข้าไปถกถางเพื่อทำไร่ ทำให้พื้นที่ป่าเหลือน้อยลง ความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากร ป่าไม้ สัตว์ หรือแหล่งอาหารบางอย่างลดลง เพราะคนบางกลุ่มที่ไม่เกรงงกลัวต่ออำนาจเหนือธรรมชาติที่เป็นกฎเกณฑ์ของชุมชนได้ตั้งไว้ตามคติความเชื่อของชุมชน

ปัจจุบันป่าช้ามีส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ และแหล่งอาหาร ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากชาวบ้านได้ปลูกต้นไม้ทดแทน หลังจากที่มีการเผาศพทุกครั้ง ดังนั้นแสดงให้เห็นถึงปัญญาของชาวบ้านที่หากุศโลบายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ต้องหาสิ่งใหสิ่งหนึ่งมาทดแทนสิ่งที่หายไป ต้นไม้ที่นิยมปลูกทดแทน เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้พยุง เป็นต้น 

การเลี้ยงผีปู่ตา

ชาวบนจะทำพิธีเลี้ยงผีปู่ตาประมาณเดือน และเดือน ก่อนจะทำพิธีจะซ่อมศาลเจ้าผีบ้าน  เอาไม้ทำเป็นรูปช้าง ม้า หอก ดาบ ปืนไว้ที่ศาล ผู้ใหญ่บ้านจะนัดลูกบ้านทุกคนว่าจะเลี้ยงผี เครื่องดนตรีที่ใช้ โทน ปี่แก้ว แคน เครื่องเซ่นมี ข้าวดำ (ย้อมดินหม้อข้าวแดง (ย้อมน้ำหมากไข่ต้ม ดอกไม้ ธูป เทียน ยาสูบ ไก่ต้ม ผ้าแพร ผ้าไหม ชาวบ้านจะไปรวมกันที่ศาล หมอโทนจะเริ่มพิธีโดยตีโทน ชาวบ้านจะเริ่มเชิญคนทรงว่า ถ้าผีเข้าแล้วให้แสดงฝีไม้ลายมือ” การฟ้อนรำ และบอกให้กินของที่นำมาเซ่น ถ้าผีดงเข้า คนทรงจะร้องภาษาชาวบ้าน ถ้าผีลาวจะร้องภาษาลาว ถ้าผีไทยจะร้องเป็นภาษาไทย ขณะที่ร้องชาวบ้านจะตีโทน เป่าปี่ เป่าแคน ชาวบ้านจะถามว่าผีมาจากไหน ผีบอกว่ามาจากเขาอะไร อยากกินอะไร บางทีก็ถามถึงญาติที่ตายไปว่าอยู่สุขสบายไหม แล้วเชิญผีกินเครื่องเซ่น เสร็จแล้วผีจะออกไป ผีตัวใหม่ก็จะเข้ามาเรื่อย ๆ ตลอดวัน เช่น ผีป่า ผีดง ผีลาว ผีไทย งูเหลือม ผีเจ้าพ่อพระยาแล เป็นต้น ระหว่างไหว้ผีจะมีการเสี่ยงทายคางไก่ ถ้าคางไก่ตรงแปลว่าจะดี การทำมาหากินดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ถ้าคางไก่เอียงหรือคดถือว่าไม่ดี การเลี้ยงผีปู่ตาได้รับวัฒนธรรมจากกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาว

การเกิด การคลอดลูกของชาวบนจะพึ่งหมอตำแย เวลาทำคลอด หมอจะใช้น้ำมันงาทามือคลำท้อง เมื่อทารกคลอดก็จะใช้ผิวไม้ลนไฟตัดสายรก ส่วนมากจะฝังรกที่ข้างบันได และก่อไฟบนหลุมที่ฝังรกเด็ก ถ้ารกไม่ออกจะใช้หมอหนุนหลังแม่ แล้วตีหมอน 3 ครั้ง เพื่อให้รกออก ถ้าไม่ออกก็ถือว่าผีทำ ต้องบนบานผีปู่ย่าตายาย หาหมอมาเสกให้รกออก

เด็กที่คลอดจะนอนในกระด้งที่มีใบตองปูรองอยู่ มีเครื่องเซ่นผีทำขวัญเด็ก เช่น  กระจกข้าวสาร 1 ขัน กรวยก้นแหลมใส่หมากพลู 1 คำ เงิน 10 สลึง เต้าปูน 1 ลูก ด้ายขาว 1 ม้วน กำไลทองเหลือง 1 วง การตั้งชื่อเด็กจะให้ผู้อาวุโสที่อายุมากที่สุดตั้งให้ เพื่อเด็กจะได้อายุยืน ผู้ชายจะชื่อคล้องแม่ ผู้หญิงจะชื่อคล้องพ่อ ปัจจุบันมีชื่อเป็นภาษาชาวบนน้อย (บางครอบครัวตั้งตามศิลปินหมอเพลงที่คนชอบ) แม่คลอดจะอยู่ไฟ 7 วัน จะกินข้าวต้มกับเกลือ ปัจจุบันจะมีเฉพาะคนที่คลอดในหมู่บ้าน ส่วนอีกกลุ่มจะไปคลอดที่สถานีอนามัยประจำตำบล

การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมของชาวบ้านที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ  อย่างเด่นชัด คือ การแต่งกาย เดิมชาวบนไม่รู้วิธีการทอผ้าขึ้นใช้เอง ในอดีตต้องหาของป่าหรือนำผลผลิตในไร่ที่เหลือกินไปแลกผ้ามาจากคนไทยคนลาวในที่ราบ แล้วนำเอาผ้ามาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม แต่ก่อนผู้ชายชาวบนจะนุ่งกางเกงแบบไทยหรือโจงกระเบนแบบเขมร ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงชาวบนจะแต่งกายแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น คือ นุ่งผ้าผืนสีสด เช่น สีแดง แดงเข้ม หรือน้ำเงินเข้ม ผ้าเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พันอ้อมร่างแล้วเหน็บชายไว้ ด้านข้างทำเป็นหัวพกโต ๆ สวมเสื้อที่ เรียกว่า เสื้อเก๊าะ สีน้ำเงินเข้มหรือสีดำ แขนสั้นกุดปักกุ๊นรอบแขนและรอบคอเสื้อด้วยด้ายสีแดงหรือสีอื่น คอเสื้อด้านหลังจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ปล่อยสายด้ายเส้นยาว ๆ ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 เส้น ทั้งยังรู้จักใช้เปลือกไม้ในป่ามาทำรองเท้า คือ เปลือกกระโดน เพื่อป้องกันหนามหรือของมีคมในเวลาเดินทาง แต่ปัจจุบันไม่มีการทำรองเท้าจากเปลือกไม้อีก รองเท้าที่ใส่อยู่เป็นรองเท้าที่ซื้อจากตลาด  ใส่เฉพาะในงานพิธี ปัจจุบันมีแต่ชาวบนที่เป็นผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไปที่ยังแต่งกายด้วยผ้าผืนและเสื้อเก๊าะอยู่ ชาวบนวัยรุ่นและเด็กจะซื้อเสื้อผ้ามาจากตลาดและแต่งเหมือนคนไทยคนลาวในบริเวณใกล้เคียง

เครื่องประดับของชาวบน นิยมเครื่องเงิน เช่น สายสร้อย กำไล และต่างหู ต่างหูของชาวบนมีทั้งที่ทำด้วยเงินและต่างหูกระจก แต่ก่อนหญิงชายชาวบนนิยมเจาะใบหูเป็นรูกว้าง ๆ ใช้ใบลานกลม ๆ ใส่รูหูไว้แล้วเอากระจกอุดรูใบลาน เพื่อให้มีแสงแวววาว มักใช้แต่งในงานบุญ คนแต่งหันหน้าไปทางไหนแสงกระจกก็จะสะท้อนไปทางนั้นเป็นสัญญาณให้ชายหญิงที่ถูกมองบ่อยๆ รู้ว่ากำลังมีคนสนใจอยู่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบนตั้งบ้านเรือนเป็นขนาดหย่อม ๆ กระจายกันอยู่ทั่วไปในแถบเนินเขาเตี้ย ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในป่าลึกเข้าไป ห่างไกลจากความเจริญ อดีตชาวบนต้องย้ายถิ่นฐานอยู่บ่อย ๆ นอกเหนือจากการย้ายเพื่อหาแหล่งที่ทำกินใหม่แล้ว อีกสาเหตุหนึ่งคือย้ายเพราะมีคนตายหรือย้ายหนีโรคระบาด แสดงให้เห็นว่าชีวิตของพวกเขานอกจากจะต้องหนีภัยที่เกิดจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น สัตว์ร้ายและโรคร้ายต่าง ๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคและวิธีการรับมือของชาวบน มีดังนี้

1.น้ำดื่ม อดีตชาวบนไม่นิยมดื่มน้ำฝน เนื่องจากสภาพบ้านของชาวบนเป็นกระท่อม หลังคามุงแฝกหรือหญ้าคา เวลาฝนตกทำให้น้ำมีสีเหลือง ใช้ดื่มไม่ได้ ในฤดูฝน ชาวบนดื่มน้ำจากห้วย โดยตักน้ำจากห้วยมาใส่โอ่งดินรอจน หลอง” คือตะกอนนอนก้น แล้วจะดื่มจนขอดโอ่งแล้วเททิ้ง ตักน้ำจากห้วยมาเติมใหม่ ในฤดูแล้งเขาจะดื่มน้ำซับที่ไหลออกจากในดิน ปัจจุบันชาวบนที่บ้านน้ำลาดบางนบ้านที่ปลูกบ้านตามแบบคนไทยคนลาว คือ บ้านไม้กระดานหลังคามุงสังกะสีก็จะรองน้ำฝนไว้เก็บไว้ดื่ม ในฤดูแล้งก็จะดื่มน้ำจากน้ำซับ

2.อาหารการกิน

ข้าว อดีตชาวบนกินข้าววันละ มื้อ คือ มื้อเช้ากินข้าวเหนียว มื้อเย็นกินข้าวเจ้า ปัจจุบันชาวบนรู้จักกินข้าว มื้อ คือ เช้า กลางวัน เย็น ข้าวเหนียวของชาวบนมีอยู่ ชนิด คือ ข้าวตำแยหรือโชรกแย เป็นพันธุ์ที่มีเปลือกและใบ ถ้าไปโดนจะคันเหมือนตำแย ข้าวชนิดนี้ชาวบนนิยมกินเนื่องจากมีรสอร่อย ข้าวหนักหรือโชรกอโฮเป็นพันธุ์ที่ปลูกนานกว่าจะออกรวงมีเมล็ดสีแดง ข้าวเบาหรือโชรกเพน มีข้าวเหนียวอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า โชรกค่า เป็นชนิดที่มีเมล็ดเล็กสีน้ำตาลออกแดง โชรกค่านี้ ห้ามคนป่วยหรือคนคลอดลูกใหม่ ๆ กิน เชื่อว่ากินแล้วจะตาย ข้าวที่กินเป็นข้าวซ้อมมือแต่ละบ้านจะตำไว้พอกินประมาณ 3 – 7 วัน คนที่มีหน้าที่ตำข้าวส่วนมากเป็นลูกสาว และจะตำข้าวตอนเย็นหลังเลิกงานจากไร่หรือไม่ก็ตอนเช้ามืด

กับข้าวที่ชาวบนกินบ่อยๆ คือ น้ำพริกผักจิ้ม แม้ว่าในหมู่ชาวบนจะมีการเลี้ยงไก่ เป็ดอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เลี้ยงไว้กิน เขาเลี้ยงไก่ไว้เพื่อพิธีเซ่นผี และเอาไข่ไว้ทำพิธีรักษาโรค เขานิยมกินสัตว์ที่ได้จากการล่ามากกว่า ในกรณีที่ล่าสัตว์ได้มาก จะมีวิถีถนอมการเก็บรักษาไว้กินนาน ๆ คือ เอามาคั่วหรือย่างเก็บไว้หรือทำปลาร้าเนื้อ อดีตถ้าชาวบนไม่มีข้าวกิน จะกินเผือกจิ้มน้ำผึ้งแทนหรือไม่ก็กินกลอยกับฟักทองนึ่ง ใส่เกลือแทน อาหารสำหรับคนป่วยนั้นจะให้กินกับเกลือเท่านั้น ปัจจุบันชาวบนบ้านน้ำลาดไม่ขาดแคลนกับข้าวเหมือนในอดีต เพราะมีร้านค้าในหมู่บ้าน ร้าน ส่วนใหญ่ขายอาหารกระป๋อง และจะมีพ่อค้าจากบ้านนายางกลักเอาสินค้าพวกเนื้อสัตว์และผักสดบรรทุกรถมอเตอร์ไซค์เข้ามาขายในหมู่บ้านทุกวันเช้าและเย็น

3.น้ำใช้ ไฟฟ้า ปัจจุบันมีน้ำประปาประจำหมู่บ้าน แห่ง จำนวนผู้ใช้น้ำ 152 หลังคาเรือน มีไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้านและใช้ทุกหลังคาเรือนบ้านน้ำลาด ไม่มีสถานที่รักษาประจำหมู่บ้าน ถ้าเกิดมีอาการเจ็บป่วยก็จะไปหาหมอที่สถานีอนามัยบ้านนายางกลัก ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านไป 14 กิโลเมตร


ชาวบนบ้านน้ำลาดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง การถ่ายทอดวัฒนธรรมให้กับสมาชิก คือ ครอบครัวและเครือญาติตลอดจนเพื่อนบ้าน โดยการถ่ายทอดความรู้จากอดีตสู่ปัจจุบันของชาวบนบ้านน้ำลาด มีดังต่อไปนี้

1.การศึกษาในอดีตของชาวบนบ้านน้ำลาด ครอบครัว เครือญาติและเพื่อนบ้าน มีหน้าที่ให้การศึกษากับสมาชิกใหม่ในสังคมผ่านการสอนทางตรงหรือทางอ้อมจากสุภาษิต คำอวยพร คำตักเตือน นิทาน เพลง การละเล่น และขนบธรรมเนียมของสังคม เนื้อหาของคำสอนจะเน้นให้ลูกหลานยึดถือตามประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา หรือวิธีการทำไร่ เด็กๆจะทำหน้าที่กวาดดินกลบหลุมที่ใช้หยอดข้าว เมื่อโตขึ้นเด็กหญิงจะรู้วิธีการหยอด เด็กผู้ชายจะรู้วิธีการซุยดิน และการล่าสัตว์

2.การศึกษาในปัจจุบันบ้านน้ำลาดมีโรงเรียนประถมศึกษา แห่ง คือ โรงเรียนบ้านน้ำลาด ตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2516 เดิมเป็นอาคารไม้ห้องเดียว แต่ไม่สามารถหาครูมาสอนได้ กระทั่งพุทธศักราช 2519 มีครูมาบรรจุ ขณะมีครูคนเดียว รับนักเรียนไม่จำกัดอายุ

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านน้ำลาดเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึง มัธยมศึกษาตอนต้น เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พ.. 2540 จึงเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วยจำนวนครูทั้งหมด 11 คน ผู้บริหาร คน ครูสายผู้สอน คน ครูอัตราจ้าง คน นักการภารโรง คน จำนวนนักเรียน 22 คน (ข้อมูลเมื่อมิถุนายน 2542)

ขณะเดียวกันโรงเรียนบ้านน้ำลาดกำหนดให้นักเรียนสวมเสื้อเก๊าะ นักเรียนชายสวมเสื้อหม้อฮ้อมทุกวันศุกร์เพื่อเป็นการอนุรักษ์รูปแบบ และสร้างจิตสำนึกที่ดีกับการแต่งกายแบบดั่งเดิม

บทบาทผีที่มีต่อชีวิตของชาวบนบ้านน้ำลาด

ชาวบนบ้านน้ำลาดนอกจากจะมีคติความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา ยังมีคติความเชื่อเรื่องผีก็มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวบนบ้านน้ำลาดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะอดีตชาวบนบ้านน้ำลาดไม่ได้มีศาสนาประจำกลุ่มชาติพันธุ์ แต่จะมีกฎในการอยู่ร่วมในสังคม คือการนับถือผี ส่วนผีที่ชาวบนบ้านน้ำลาดนับถือและกลัว มีทั้งผีดีและผีร้าย ผีที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของชาวบนบ้านน้ำลาดได้รับถือศาสนาพุทธจึงทำให้คติความเชื่อเรื่องผีบางอย่างในชีวิตหายไป เพราะไม่มีใครถูกผีรบกวนเหมือนในอดีต ชาวบนบ้านน้ำลาดรับเอาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่รอบข้างและความทันสมัยของยุคปัจจุบัน ทำให้คติความเชื่อเรื่องผีเป็นเรื่องงมงาย การนับถือผีดีและผีร้ายของชาวบนบ้านน้ำลาดมีดังนี้

1. ผีดี ได้แก่ ท็อกนางเดิ้ม (ผีเรือน ผีเชื้อ) ท็อกยอง ท็อกเป้น (ผีปู่ย่าตายาย)

2. ผีร้าย ได้แก่ ท็อกหนอก (ผีตีนเดียว) ท็อกยากูล (ผีป่า ผีดง) ท็อกปอบ (ผีปอบ)

อดีตชาวบนบ้านน้ำลาดเมื่อมีอาการเจ็บป่วยชาวบนบ้านน้ำลาดเชื่อว่าโรคที่เกิดจากผีมารบกวน แต่ไม่รู้ว่าเป็นผีประเภทใดจึงต้องอาศัยหมอขมุก (หมอดู) ผู้ป่วยหรือญาติจะนำเครื่องเซ่น คือ หมาก 1 คำ เทียน 1 เล่ม เงิน 10 บาท ใส่ขันไปให้หมอขมุกในตอนกลางคืน หมอขมุกจะเสี่ยงทายโดยการหยดเทียนไปในขันแล้วดูลักษณะจากเทียน ตอนเช้าผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยจะมานำผลการเสี่ยงทายไปปฏิบัติต่อไป

1.ผีดี

1.1 ท็อกนางเดิ้ม สืบเชื้อสายมาจากแม่ มีหน้าที่ให้ความร่มเย็นแก่ลูกหลาน และทำโทษลูกหลานที่ทำผิด มีอำนาจคุ้มครองและทำโทษแม่กับลุกๆ แต่ไม่มีอำนาจคุ้มครองพ่อ ท็อกนางเดิ้มไม่สามารถทำโทษพ่อได้นอกจากท็อกนางเดิ้มของฝ่ายพ่อเอง อาการเจ็บป่วยของชาวบนบ้านน้ำลาดที่ถูกท็อกนางเดิ้มมารบกวนนั้นจะทำให้ป่วยและมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลังหรือปวดตามร่างกาย โดยผู้ป่วยไม่ได้มีอาการจากอุบัติเหตุจากการทำงานในชีวิตประจำวัน วิธีการรักษาคือคนไข้หรือญาติไปให้หมอขมุกนำมาทำเทียน 1 เล่ม ใส่ขันให้หมอขมุก สาเหตุมาจากท็อกนางเดิ้มอดอยากจึงมาเตือนลูกหลานให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลและเพิ่มเติมความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและญาติพี่น้อง เวลา สถานที่ ในการรักษาเวลาชาวบนบ้านน้ำลาดจะทำการรักษาคนไข้ โดยจะไปทำพิธีที่ต้นไม้ใหญ่ในหมู่บ้านทางทิศตะวันตก เพราะเชื่อว่าเป็นทิศของผีที่อาศัยอยู่โดยจะเตรียมเครื่องเซ่นที่เตรียมไว้ คือ หมาก 1 คำ เหล้า 1 ก๊ง ใส่ขันน้ำไปวางไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ แล้วให้ผู้ป่วยพูดขอขมาต่อท็อกนางเดิ้มและขอให้รักษาตนเองให้มีสุขภาพดีขึ้น

1.2 ท็อกยอง ท็อกเป้น ทำหน้าที่ปกป้องรักษาชาวบนบ้านน้ำลาด ถือว่าเป็นผีประจำหมู่บ้าน ท็อกยาง ท็อกเป้นเป็นผีที่ให้คุณประโยชน์มากกว่าโทษ จึงไม่มีสาเหตุที่ทำให้ชาวบนบ้านน้ำลาดมีอาการเจ็บป่วยจากการกระทำโดยท็อกยาง ท็อกเป้น เวลา สถานที่ และวิธีในการเลี้ยงท็อกยาง ท็อกเป้นจะคล้ายกับประเพณีปู่ตา

2.ผีร้าย

2.1 ท็อกหนอก เป็นผีที่ชาวบนบ้านน้ำลาดกลัวมากที่สุด เพราะจะทำให้เจ็บป่วยอยู่เสมอๆ ประวัติท็อกหนอกมีที่มา 2 ที่ ได้แก่

2.1.1 ท็อกหนอก (ผีตีนเดียว) เป็นผีผู้ชายหนีจากการเป็นทหารของเจ้าอนุวงศ์ขึ้นไปบนต้นไม้ที่สูงแต่เวลาลงจากต้นไม้ทำให้ขาหักต้องใช้กระบอกไม้ไผ่แทนขาที่หักไป

2.1.2  ท็อกหนอก (ผีตีนเดียว) อาศัยอยู่ต้นไทร ถ้ามีใครเดินผ่านจะทำให้ปวดศีรษะ ปวดท้อง สาเหตุที่มีตีนเดียวเพราะว่าไปหลอกชาวบ้านบ่อย จึงถูกชาวบ้านตัดขาไปข้างหนึ่ง ผีโกรธมาก จึงทำให้ชาวบนบ้านน้ำลาดเจ็บป่วยอยู่เสมอ ซึ่งคนป่วยจะมีอาการปวกท้อง ปวดศีรษะ หรือนอนซตลอดเวลา ไม่สามารถลุกไปทำงานได้ปกติ เครื่องเซ่นไหว้ ผู้ป่วยหรือญาติจะต้องนำเครื่องเซ่นท็อกหนอกคือ แป้งตี๊บกะมัด คือ แป้งข้าวเหนียวที่ทำเป็นแผ่นเล็กๆ กลมๆ ความยาวประมาณ 2 นิ้ว จำนวน 2 แผ่น เหล้า (คือนำน้ำมาซาวกับแกล้มข้าว) ใส่ถ้วยเซ่นแทนเหล้า ไก่ 1 ตัว เวลาชาวบ้านจะรักษา ต้องอาศัยสะกดท็อก คือหมดสะกดวิญญาณเพราะชาวบนบ้านน้ำลาดต้องเจอกับท็อกหนอกอยู่เป็นประจำเพราะไม่มีพิธีอะไรมากนัก ส่วนสถานที่จะใช้ใต้ถุนบ้าน เป็นส่วนไหนของใต้้ถุนบ้านก็ได้ เครื่องเซ่นทุกอย่างจะนำมาวางไว้ข้างๆ ผู้ป่วย ต่อมาผู้ป่วยจะเป็นผู้ขอขมาและพูดว่า ได้นำเครื่องเซ่นต่อท็อกหนอกแล้วขอให้ตนหายป่วย จากนั้นนำเครื่องเซ่นไหว้ไปวางไว้ใต้ต้นไทรที่ชาวบนบ้านน้ำลาดเชื่อว่าท็อกหนอกสิงสถิตย์อยู่ที่ต้นไทร

2.2 ท็อกยากูล เป็นผีที่ทำให้ชาวบนบ้านน้ำลาดได้รับการเจ็บป่วยอยู่บ้าง ส่วนมากผู้ป่วยที่ป่วยจากท็อกยากูล คือ ไปตัดไม้มาสร้างบ้านเผาถ่านหรือการล่าสัตว์ใหญ่ โดยไม่บอกล่าวท็อกยากูลก่อน อาการเจ็บป่วยของชาวบนบ้านน้ำลาดที่มารบกวนนั้นจะมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัวหรือเป็นไข้จับสั่น เครื่องเซ่นไหว้คือข้าวต้มห่อใบตอง 7 กลีบ ข้าวต้มที่ใช้เซ่นต้องทำมาจากข้าวเหนียวไม่ต้องใส่ใส้อะไรลงไปเลย

2.3 ท็อกปอบ เป็นผีที่ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เพ้ออยู่ตลอดเวลา ท็อกปอบเกิดจากชาวบ้านที่เรียนวิชาอาคมที่ละเมิดข้อห้ามหรือกลุ่มคนไทยลาว ไทยโคราช เรียกว่าคะลำจึงทำให้คนนั้นกลายเป็นท็อกปอบ อาการเจ็บป่วยยทำให้ผู้ป่วยพูดจาเพ้อไม่รู้เรื่องราว ตาขวาง รู้สึกอยากกินอาหารแปลกๆ ไปจากที่กินอยู่เป็นประจำ เครื่องเซ่นรักษาจะใช้ว่านไพลตีผู้ป่วย โดยจะนำว่านไพลมาเฆี่ยนตีผู้ป่วยจนกว่าท็อกปอบจะออกจากร่างผู้ป่วย หมอขมุกจะเป็นคนทำพิธีนี้เอง

กัณฑิมา เรไร. (2543). พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายของชาวบนบ้านน้ำลาด ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิตจังหวัดชัยภูมิ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาสารคาม.

พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. กลุ่มชาติพันธุ์ : ญัฮกุร. ค้นจาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/9

อบต.นายางกลัก โทร. 0-4405-3033