Advance search

หมู่บ้านสบลานมีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณป่าต้นน้ำ ซึ่งยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรแหล่งน้ำ

บ้านสบลาน
สะเมิงใต้
สะเมิง
เชียงใหม่
สุพิชญา สุขเสมอ
16 มิ.ย. 2023
สุพิชญา สุขเสมอ
16 มิ.ย. 2023
บ้านสบลาน

ต้นกำเนิดของชื่อหมู่บ้านนี้เกิดจากหมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณที่น้ำ แม่ลานคำและน้ำแม่ลานมาเจอกันก่อนที่จะลงไปเป็นน้ำแม่ขาน ทั้งสองเส้นแม่น้ำนี้มาเจอกันตรงช่วงต้นทางเข้าหมู่บ้าน ทำให้ได้ชื่อหมู่บ้านว่า "สบลาน" (สบ มาจากคำว่า เจอ, ลาน มาจาก น้ำแม่ลาน)


หมู่บ้านสบลานมีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณป่าต้นน้ำ ซึ่งยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรแหล่งน้ำ

บ้านสบลาน
สะเมิงใต้
สะเมิง
เชียงใหม่
50360
18.765330
98.737010
เทศบาลตำบลสะเมิงใต้

ชุมชนปกาเกอะญอบ้านสบลาน มีต้นตระกูลคือ พ่ออุ๊ยนะนู นะโน ได้แต่งงานกับภรรยาซึ่งย้ายถิ่นฐานมาจากที่อื่น ได้เดินทางหาพื้นที่ทำมาหากิน และได้เดินทางมาเจอช่องเขาตรงที่สร้างหมู่บ้านสบลานในปัจจุบัน ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2400 ชาวบ้านแถวนั้นมีชาติพันธุ์เป็นปกาเกอะญอ ใช้ชีวิตเรียบง่ายตามป่าตามลำห้วย เก็บของป่ามาทานเป็นอาหาร หรือจับปลาตามลำห้วย โดยไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ชาวบ้านมีชีวิตที่ผูกพันกับป่าไม้และลำห้วย จนมีคำพูดที่เป็นประโยคติดปากของคนในหมู่บ้านสบลานนี้ว่า “ป่าคือชีวิตและจิตใจ” อีกทั้งในหมู่บ้านนี้ยังมีป่าที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ป่าจิตวิญญาณ” ในช่วงการปกครองบ้านสบลานของนะนู ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามายุ่งวุ่นวายกับชาวบ้านเนื่องจาก ชาวบ้านติดป่าติดเขาความสะดวกสบายจึงเข้าไม่ถึง จนช่วง พ.ศ. 2426 ฝรั่งได้เข้ามาทำสัมปทานป่าและตัดไม้มีค่าไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการนำช้างมาลากไม้จำนวนมากเช่นกัน ระหว่างช่วงสัมปทานป่าไม้ ช้างได้เข้าไปเหยียบพืชผักของชาวบ้าน จึงได้มีการเจรจากับฝรั่งผู้นำสัมปทานอยู่หลายครั้ง แต่คำตอบสุดท้ายที่ได้กลับมาคือการขู่ฆ่าชาวบ้านกลัวจนต้องย้ายจากที่อยู่อาศัยเดิมไปอยู่ที่หนองปลาระแวงใกล้ ๆ เพื่อหนีจากปัญหาที่เกิดจากการสัมปทานป่าไม้

เวลาผ่านไปประมาณ 20 ปี พ.ศ. 2446 ชาวบ้านได้ย้ายจากหนองปลากลับไปอยู่ที่เดิม เนื่องจากตรงบริเวณหนองปลาที่ชาวบ้านได้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่นั้น ปลูกพืชผักไม่ค่อยขึ้น ทำมาหากินไม่ได้เนื่องจาก เป็นที่ดินแห้ง จนกระทั่ง พ.ศ. 2484 พะตี่ตะแยะเกิดได้ไม่นานได้มีการยกเลิกสัมปทานฝรั่งเปิดสัมปทานป่าให้คนไทยทำแทน ทำให้ป่าเสื่อมโทรมมากขึ้นไปอีก พ.ศ. 2507 รัฐบาลได้ประกาศ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติซึ่งไม่อนุญาตให้คนเข้าไปอาศัยอยู่ในบริเวณป่าอีกต่อไป ยกเว้นว่าอาศัยอยู่มาก่อนที่ พ.ร.บ.จะถูกประกาศ พ.ศ. 2515 รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกสัมปทานป่าในไทย พ.ศ. 2516 บริเวณบ้านสบลานถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติสะเมิง รัฐบาล ต้องการฟื้นฟูสภาพป่าที่ทรุดโทรมลงมากทั้งจากการสัมปทานป่าไม้และการทำไร่รัฐบาล พ.ศ. 2532 กรมชลประทานเริ่มวางแผนการสร้างเขื่อนแม่ขานเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง แต่เมื่อ พ.. 2545 เขื่อนถูกระงับเพราะตรวจสอบพบว่าเขื่อนไม่คุ้มที่จะสร้าง ต่อมา พ.ศ. 2533 ชาวบ้านร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชนเพื่อเรียงร้องสิทธิในการอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากป่า ชาวบ้านเคลื่อนไหวเรื่องที่ทำกิน พื้นที่ป่าอย่างจริงจัง รวมตัวกันสร้างเครือข่าย มีองค์กรสำคัญคือกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือลงไปเดิน ประท้วงในตัวเมืองเชียงใหม่ไม่ให้ประกาศอุทยานทับที่อยู่อาศัย พ.. 2540 ชาวบ้านต้องเปลี่ยนนามสกุลเป็นนามสกุลไทยทั้งตระกูล พ.. 2543 น้ำประปาเริ่มเข้าสู่หมู่บ้าน พ.. 2544 ชาวบ้านเริ่มเลี้ยงผีน้ำเป็นครั้งแรก พ.. 2557 ชาวบ้านกำลังยื่นเรื่องโฉนดชุมชนให้ คสช. พิจารณา .. 2558 ชาวบ้านมีบ้านเลขที่แต่ไม่มีโฉนด พ.. 2560 รัฐบาลได้ทำการเดินไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้าน ในปัจจุบันชาวบ้านได้มี บ้านเลขที่เป็นของตัวเองแต่ละครอบครัว แต่ยังไม่มีโฉนดที่ดินของตัวเอง

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ฟากตะวันตกของถนนไปตำบลสะเมิงเหนือ ตรงที่อยู่ห่างจากวัดกองขากหลวงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 500 เมตร หลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงถนนสายสะเมิง - แม่ริม ตรงหลักกิโลเมตรที่ 9.500 ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 2
  • ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงฝั่งตะวันตกของห้วยหมื่นตรงที่อยู่ห่างจากปากน้ำแม่ลานคำตอนที่จบกับห้วยหมื่น
  • ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามฝั่งตะวันตกของห้วยหมื่น และฝั่งของน้ำแม่ขาน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงฝั่งใต้ของแม่น้ำแม่ขาน ตอนที่อยู่ห่างจากทางไปบ้านแม่สาบ ตรงที่บรรจบกับแม่น้ำแม่ขาน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นระยะ 400 เมตร
  • ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงฝั่งเหนือของห้วยยาว ตอนที่ตัดกับถนนไปบ้านแม่สาบ ตรงที่บรรจุกับห้วยยาว ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 5 จากเขตที่ 5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนบรรจบกับหลักเขตที่ 1

ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน

หมู่บ้านจะตั้งอยู่บนเนินเขาใกล้แหล่งน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ สำคัญในพื้นที่ คือ น้ำแม่ลาน ซึ่งเกิดจากป่าต้นน้ำบนเขาของแต่ละหมู่บ้านไหลเป็นลำธารทางน้ำรวมกันไหลลงสู่น้ำแม่ลานและน้ำแม่ลาซึ่งหล่อเลี้ยงหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ บ้านป่าคานอก ป่าคาใน ห้วย หญ้าไซ บ้านใหม่แม่ลานคำ และไหลไปบรรจบกับน้ำแม่ขานที่มีต้นน้ำมาจากขุนขานในเขตอุทยานแห่งชาติออบขาน

จากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ป่าเขาสลับซับซ้อน หมู่บ้านต่าง ๆ จะตั้งอยู่บนดอย สันดอย และลาดไหล่เขา เริ่มจากบ้านใหม่แม่ลาคำที่ความสูงประมาณ 600-700 เมตรเหนือ ระดับน้ำทะเลปานกลาง และไต่ระดับต่อเนื่องไปทางทิศตะวันตก ที่ความสูงประมาณ 700-800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ได้แก่ บ้านห้วยหญ้าไซ บ้านป่าคานอก บ้านป่าคาใน ตามลำดับ พื้นที่จะลาดชันขึ้นไปยังยอดดอยทางด้านทิศตะวันตกไปจนถึงระดับ 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง เช่นเดียวกับทางด้านทิศใต้ ได้แก่ หมู่บ้านห้วยเหี้ยะ และบ้านแม่ลาคำใน

ส่วนบ้านสบลานนั้นมีลำน้ำย่อยไหลลงสู่น้ำแม่ลานโดยไหลผ่านทางตอนเหนือของหมู่บ้านและไปบรรจบกันน้ำแม่ขานทางด้านทิศ ตะวันออก (บ้านสบลาน) เส้นทางหลักเข้าสู่พื้นที่ศึกษา คือ หมายเลข 1269 จากเชียงใหม่ถึงอำเภอสะเมิง แล้วใช้เส้นทางนบทผ่านที่ทำการพิทักษ์อุทยานแห่งชาติออบชาติที่ 1 จากที่ทำการฯ ราว 1.7 เลี้ยวขวาข้ามลำน้ำแม่ ขานเริ่มจากสะพานข้ามน้ำแม่ขานวิ่งไปทางทิศตะวันตกมาถึงทางแยกเข้าบ้านใหม่แม่ลานคำ ระยะทาง 1.6 หากใช้ทางแยกวิ่งลงทิศใต้จะไปสู่บ้านสบลาน ระยะทาง 4.2 กิโลเมตร

หากใช้บ้านใหม่แม่ลานคำเป็นที่ตั้งหลัก จะประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือ เส้นทางลงใต้ไปยังบ้าน ห้วยเหี้ยะ ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วิ่งต่อไปอีก 2.1 กิโลเมตร จะถึงบ้านแม่ลาคำใน อีกเส้นทาง คือ เส้นทางไปทางทิศตะวันตก ซึ่งหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดคือ บ้านห้วยหญ้าไซ ระยะทาง1.8 กิโลเมตร ก่อนถึง ทางเข้าสู่บ้านห้วยหญ้าไซจะพบทางแยก หากใช้เส้นทางซ้ายวิ่งต่อเนื่องไปทางทิศตะวันตก ระยะทาง 4.2 กิโลเมตร ถึงบ้านป่าคานอก และหากวิ่งต่อเนื่องขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือระยะทาง 1.7 กิโลเมตร จะถึงบ้านป่าคาใน จากบ้านป่าคาในวิ่งไปหมู่บ้านสุดท้าย คือ บ้านอมก๋น ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 4.1 กิโลเมตร ในทางกลับกันหากใช้เส้นทางจากทางแยกก่อนถึงบ้านห้วยหญ้าไซวิ่งทางขวาระยะทาง 4 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านเช่นกัน 

การตั้งบ้านเรือน

บ้านเรือนโดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่สองข้างทางของถนนเส้นหลักที่ผ่านกลางหมู่บ้าน จากหัวบ้านไปสู่ท้ายบ้าน มีทางแยกเป็นเส้นรองออกจากทางหลัก เส้นทางหลักของหมู่บ้านมักก่อสร้างเป็นคอนกรีต หมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่มักมีพื้นที่ส่วนรวมและก่อสร้างเป็นอาคารต่าง ๆ เช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก วัด โบสถ์นอกจากนี้ยังมีร้านขายของชำ พื้นที่โดยรอบของแต่ละหมู่บ้านเป็นพื้นที่ทำกิน ได้แก่ พื้นที่นา ไร่ สวน ซึ่งเป็นของกลุ่มผู้คนที่ตั้งรกรากแต่แรกเริ่ม ส่วนรอบนอกออกไปเป็นส่วนขยายของการใช้พื้นที่ทำกินซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของหมู่บ้าน กล่าวคือ ครอบครัวที่แยกออกจากบ้านหลักต้องไปหักร้างถางพงทำพื้นที่ทำกินของตนเอง ทำให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่ทำกิน เช่น ไร่เลื่อนลอยหรือนาข้าวของหมู่บ้านบ้านหนึ่งอาจมีอาณาเขต ไปเกือบถึงอีกหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียง ลักษณะบ้านที่พบเห็นในปัจจุบัน เป็นบ้านแบบใหม่และแบบประยุกต์ ส่วนบ้านแบบดั้งเดิม (แบบประเพณี) หลงเหลือให้เห็นน้อยมาก กล่าวคือ เป็นเรือนไม้ยกพื้นเล็กน้อยมีบันไดขึ้นเรือนจากพื้นดิน สร้างจากไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยไม้ไผ่และใบหญ้าคา ผนังเป็นฟากไม้ไผ่ที่ถูกตีเป็นแผ่น มีชานเรือน ด้านหน้าและประตูเข้าสู่ตัวเรือนด้านในซึ่งเป็นห้องเดี่ยวใช้งานทุกหน้าที่โดยมีเตาไฟอยู่ภายในเพื่อใช้ในการประกอบอาหารและให้ความอบอุ่น แยกห้องส้วมออกจากบ้าน จากการลงพื้นที่บ้านแม่ลานคำใน ยังคงมีบ้านแบบดั้งเดิมลักษณะเดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น แต่มีข้อพิเศษ คือ หลังคามุงด้วยใบก้อหรือใบหวาย

บ้านสบลาน มีบ้านเรือนทั้งหมด 28 หลังคาเรือน และประชากรทั้งหมดเป็นชาวปกาเกอะญอ 120 คน แต่เดิมชาวบ้านสบลานมีตระกูลของนะนูมีเพียงนามสกุลเดียวคือ นะโน ในช่วงของพะตี่ตาแยะภายหลังจากที่ ชาวบ้านเริ่มมีบ้านมากขึ้นจึงไปขอเลขที่บ้านจากอำเภอ แต่นายอำเภอแนะนำให้เปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากอ่านยาก จึงเสนอนามสกุลภาษาไทยให้เลือก ในบ้านสบลานจึงมีตระกูล 4 นามสกุลหลักคือ ยอดฉัตรมิ่งบุญ พิชิตสิงขร บำเพ็ญจิตรบวร และสบลานสวัสดิ์

ปกาเกอะญอ
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวปกาเกอะญอ ในพื้นที่สะเมิงใต้นั้นมีความผูกพันกับธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่ธรรมชาติแวดล้อมเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยในพื้นที่ซึ่งเป็นป่า (พ่อ) และ ต้นน้ำลำธาร (แม่) ตลอดจน สัตว์และทรัพยากรอื่น ๆ โดยเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีเจ้าของ คือ ผี และกลุ่มชนนี้ได้ปรับตัวและพฤติกรรมให้เข้ากับธรรมชาติได้เป็นอย่างดีจนเกิดเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดและถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง กลายเป็นวิถีชีวิต ขนมธรรมเนียม แบบแผนที่ต้องปฏิบัติ หรือที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นปฏิทินของชุมชน

เนื่องด้วยวิถีชีวิตของปกาเกอะญอในอดีตผูกพันอย่างมากกับการทำไร่ ดังนั้นปฏิทินชุมชน หลักๆ จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่จะต้องใช้พื้นที่ไร่โดยสามารถแบ่งการใช้พื้นที่ไร่ได้ 3 ช่วงใหญ่ ๆ ได้แก่

  1. ช่วงการเตรียมไร่สำหรับปลูกข้าว ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การ ถางไร่ เผาไร่ ดูแลไฟป่า
  2. ช่วงของการดูแลข้าว ตั้งแต่ มิถุนายน ถึง ตุลาคม กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การเลี้ยงผีไฟ
  3. ช่วงของการเก็บเกี่ยวและฤดูเฉลิมฉลอง ตั้งแต่ พฤศจิกายน ถึง มกราคม โดยในแต่ละช่วงจะมีพิธีกรรมเลี้ยงผีและไหว้ผีตลอดจนการเส้นสังเวยแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ

เดือนวิถีชีวิตพิธีกรรม/ความเชื่อ
มกราคมสำรวจพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน, รับจ้างทั่วไป, ทอผ้า, เลี้ยงสัตว์, งานหัตถกรรม, ค้าขาย, เลี้ยงสัตว์, ปลูกฟักข้าว มะเขือพวงในไร่ฉลองกินข้าวใหม่, ห้ามแต่งงานและสร้างบ้านในช่วงนี้, พิธีมัดมือสู่วัญ, หิงไฟพระเจ้า, ตานข้าวใหม่, วันหยุดสำคัญของศาสนาคริสต์
กุมภาพันธ์สำรวจไร่หมุนเวียน, ต้มสุรา, เริ่มถางเตรียมพื้นที่ทำไร่ ทำนา, ทำแนวกันไฟผูกข้อมือ, ขึ้นปีใหม่
มีนาคมเผาไร่, เลี้ยงวัว ควาย, ทำแนวกันไฟ, ล้อมรั้ว, ถางป่าเตรียมทำไร่ เตรียมพื้นที่เกษตร, กำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงผีป่าผีนา
เมษายนทำแนวกันไฟ, ปลูกพืชไร่, หาพืชในป่า, เผาไร่, ปลูกกล้วย ข้าวดอย เผือก มัน ข้าวสาลี ข้าวโพดรดน้ำดำหัว, สงกรานต์, พิธีหยอดข้าวเจ็ดหลุม, พิธีเลี้ยงผีฝาย
พฤษภาคมหยอดข้าวไร่, ทำรั้วไร่หมุนเวียน, เพาะกล้าพันธุ์ไม้, หว่านข้าวในไร่, เก็บของป่า, ล่าสัตว์ไหว้ขวัญข้าว, หยอดข้าวไร่เจ็ดหลุม (แม่ข้าว), เลี้ยงผีต้นน้ำ
มิถุนายนดูไร่นากำจัดวัชพืช, ปลอกมีด, เครื่องจักสานไม้ไผ่ ทอผ้า, หาพืชในป่า, ปลูกข้าวโพด, หยอดข้าวไร่, ทำแนวกันไฟ, ดำนาเลี้ยงผีไฟ, เลี้ยงผีนา,หยอดข้าวไร่เจ็ดหลุม
กรกฎาคม

ดูไร่นา, ปลอกมีด, เครื่องจักสานไม้ไผ่และทอผ้า, หาพืชในป่า, ปลูกข้าวในนาปี

พิธีตาแสะ ขับไล่สิ่งชั่วร้าย (ในบ้าน), พิธีตาเดอเมาะ (ในสวน), เลี้ยงผีฝายน้ำและนา, เข้าพรรษา
สิงหาคมดูไร่นา, ปลอกมีด, เครื่องจักสานไม้ไผ่และทอผ้า, กำจัดวัชพืช, ดักสัตว์ป่า, เก็บของป่าเลี้ยงผีฝาย, เชื่อว่าข้าวตั้งท้องไม่ควรเข้าไปในแปลง, เลี้ยงผีไฟ, เลี้ยงผีตาแซะ
กันยายนดูไร่นา, ปลอกมีด, เครื่องจักสานไม้ไผ่และทอผ้า, เก็บของป่า, ขุดหน่อไม้เชื่อว่าข้าวตั้งท้องไม่ควรเข้าไปในแปลง, เลี้ยงผีฝาย, ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย
ตุลาคมเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวไร่ ข้าวโพด, ล่าสัตว์, ทอผ้าพิธีมัดมือในไร่, พิธีเรียกขวัญข้าว, สลากภัตร, ทอดผ้าป่ากฐิน, ทำบุญออกพรรษา
พฤศจิกายนเกี่ยวข้าว, ตีข้าว, เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวไร่ ข้าวนาปีเลี้ยงผีข้าว,พิธีมัดมือในไร่, พิธีเรียกขวัญข้าว, ตัดไม้หน่อดูขั้ว
ธันวาคมเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ข้าวไร่, ลงแขกฉลองปีใหม่, เลี้ยงผีต่าง ๆ, ห้ามแต่งงานและสรเางบ้านในช่วงนี้, พิธีกรรมเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง, ตานข้าวใหม่และกินข้าวใหม่, ตั้งศาลในไร่, วันหยุดสำคัญของศาสนาคริสต์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านสบลาน จัดเป็นชุมชนปกาเกอะญอขนาดเล็ก นับถือศาสนาพุทธ ใช้ชีวิตกลมกลืนกับธรรมชาติ และผสมผสานความรู้อันเป็นภูมิปัญญาเดิมกับความรู้ใหม่ เกิดเป็นนวัตกรรมเพื่ออยู่ร่วมกับป่า อันเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการจัดการความรู้ไปสู่การสร้างเครือข่าย และการพัฒนาคนรุ่นใหม่ในชุมชนให้เป็นนักคิดเพื่อพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม เริ่มจากผลกระทบของการทำสัมปทานป่าสองยุคและนโยบายย้ายคนออกจากป่า รวมถึงโครงการเขื่อนแม่ขาน จึงรวมตัวกับชาวบ้านใกล้เคียงเป็น “เครือข่ายลุ่มน้ำขาน” เคลื่อนไหวกับเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.) เรื่อง พ.ร.บ.ป่าชุมชน โดยมีการทำกฎกติกาขึ้นกันเองภายในชุมชนเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดโซนพื้นที่รักษาระบบการทำไร่หมุนเวียนแบบดั้งเดิม เว้นระยะเพื่อพักฟื้นดิน บ่มเพาะความหลากหลายทางชีวภาพให้สัตว์เล็กสัตว์น้อยได้อยู่กิน นอกจากนี้ภายหลังเกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศเมื่อปี 2554 รัฐบาลได้มีรื้อฟื้นโครงการเขื่อนแม่ขานอีกครั้ง ชาวบ้านเกรงว่าจะเกิดน้ำท่วมถึงบริเวณที่ทำกินจึงเคลื่อนไหว จึงร่วมกับเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคเหนือ (คปน.) เสนอแนวทางการจัดการน้ำแบบบูรณาการ และการจัดทำโฉนดชุมชนเพื่อแสดงสิทธิในการรักษาป่าและที่ทำกิน ทำให้ชุมชนขนาด 28 ครัวเรือนแห่งนี้ สามารถรักษาป่ากว่า 1 หมื่นไร่ ให้ยังคงสภาพสมบูรณ์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ในหมู่บ้านสบลานมีโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้นอกระบบและศูนย์เรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง การจัดการเรียนการสอนนอกระบบหรือ กศน. จะมีคุณครูที่เวียนเข้าไปสอนแต่ละหมู่บ้านเข้ามา สอนในหมู่บ้านสบลานซึ่งในการเข้ามาสอนจะไม่มีการนัดผู้เรียนไว้ล่วงหน้า พอมาถึงคุณครูจะไปตาม นักเรียนจากที่บ้านให้มาเรียนและถ้านักเรียนไม่ได้อยู่บ้านก็จะไม่ได้เรียนหนังสือ การตัดการเรียนการ สอนแบบนี้เป็นการสอนให้สอดคล้องกับระบบทางการศึกษา ถ้าโรงเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่าไม่มีคุณครู อาสามาสอนนักเรียนก็จะไม่ได้เรียนหนังสือต้องอาศัยคุณครูจาก กศน. เข้ามาสอนในหมู่บ้าน

โรงเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่า โรงเรียนเพื่อการเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรม (“โจ๊ะ”แปลว่า โรงเรียน “มาโล” แปลว่าเรียนรู้ลือหล่า” แปลว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรม) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2553 เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ ชุมชนปกาเกอะญอ บ้านสบลาน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและสถาบันอาศรมศิลป์ เพื่อสร้างการเข้าถึงสิทธิและโอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชนห่างไกล ต่างวัฒนธรรมในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 2 โดยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นในชุมชนปกาเกอะญอ บ้านสบลาน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เด็กแล้วเยาวชนได้มีโอกาสทางการศึกษาโดยไม่แยกห่างจากหลักฐานวัฒนธรรมของตนอันมีวิถีการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่า สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในระยะยาวต่อไป

โรงเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่าเป็นโรงเรียนทางเลือกที่มีการสอนชุดความรู้สามัญควบคู่ไปกับการสืบทอดวิถีชีวิตในแบบของชาวปกาเกอะญอ โดยมีจุดประสงค์ให้นักเรียนเห็นคุณค่าในภูมิปัญญาและเห็นคุณค่าในตนเอง รวมถึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง โดยมีความเข้าใจทั้งในแนวคิดแบบปกาเกอะญอและเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมภายนอก นอกจากนี้ยังฝึกให้นักเรียนเป็นคนที่เข้มแข็งที่ความคิดหรือคำพูดของคนอื่นไม่สามารถทำให้จุดยืนของพวกเขาสั่นคลอนได้ รวมทั้งฝึกให้เด็กสามารถทำงานเพื่อชุมชน เพื่อรักษาและดำรงวิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเขาให้อยู่ได้สืบต่อไป


ในปี พ.ศ. 2516 บริเวณบ้านสบลานถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติสะเมิง เพราะรัฐบาลต้องการฟื้นฟูสภาพป่าที่ทรุดโทรมลงมากทั้งจากการสัมปทานป่าไม้และการทำไร่ หลังนั้นได้เกิดภัยแล้ง ทำให้น้ำตามห้วยต่าง ๆ ได้แห้งลง พ.ศ. 2532 กรมชลประทานเริ่มวางแผนการสร้างเขื่อนแม่ขานโดย ชี้แจงว่าได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในอำเภอสันป่าตอง กว่า 5,000 รายชื่อให้แก้ปัญหาภัยแล้ง แต่ชาวบ้านสบลานไม่เห็นด้วยเนื่องจากจุดที่จะสร้างสันเขื่อนจะอยู่ห่างจากบ้านพะตี่ตาแยะ 23 กิโลเมตร เลาะขึ้นไปตามแม่น้ำแม่ขาน ตรงนั้นมีภูเขาสูงสองลูกและมีช่องว่าง เขาจะสร้างเขื่อนกั้นน้ำตรงนั้น ทั้ง ๆ ที่ด้านล่างมีคนอยู่อาศัย อย่างห้วยโท้งมีคนอยู่ชิด มีสวนมีป่า แล้วผลกระทบมันมาถึงชาวสบลาน ทั้งที่นา ป่าเขา พื้นที่ทำไร่หมุนเวียน เลี้ยงสัตว์ ที่จับปลา ทรัพยากรต้นไม้ป่าไม้ที่ชาวบ้านดูแลมานานจะถูกน้ำท่วม ถึงไม่ท่วมตัวบ้านพะตีตาแยะแต่ท่วมที่ทำกินที่เลี้ยงสัตว์ทั้งหมดมันไม่คุ้ม

ต่อมา พ.ศ. 2533 ชาวบ้าน ร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชน เพื่อเรียกร้องสิทธิในการอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากป่า ชาวบ้านเคลื่อนไหวเรื่องที่ทำกิน พื้นที่ป่าอย่างจริงจัง รวมตัวกันสร้างเครือข่าย มีองค์กรสำคัญ คือ กลุ่มเกษตรกรภาคเหนือลงไปเดินประท้วงในตัวเมืองเชียงใหม่ไม่ให้ประกาศอุทยานทับที่อยู่อาศัย สบลานเป็นชุมชนเล็ก ๆ ภาษาก็ไม่ค่อยเก่ง ใช้วิธีเดินรณรงค์ให้สังคมรู้ว่าเราไม่อยากได้เขื่อน เดินจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปแม่ทา เรียกร้องให้รัฐมนตรีมาเจรจา มีรัฐมนตรีเกษตรลงมาเจรจาบอกว่าจะตั้งกรรมการขึ้นหนึ่งชุด ส่งนักวิชาการมาสำรวจว่าชาวบ้านสบลานอาศัยอยู่ก่อนหรือหลังเกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศ เมื่อปี 2554 รัฐบาลได้มีรื้อฟื้นโครงการเขื่อนแม่ขานอีกครั้ง ชาวบ้านเกรงว่าจะเกิดน้ำท่วมถึงบริเวณที่ทำกินจึงเคลื่อนไหว จึงร่วมกับเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคเหนือ (คปน.) เสนอแนวทางการจัดการน้ำแบบบูรณาการ และการจัดทำโฉนดชุมชนเพื่อแสดงสิทธิในการรักษาป่าและที่ทำกิน


สะเมิง
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จักรินรัฐ นิยมค้า และคณะ. (2564). โครงการศึกษาสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อสื่อความหมายทางวัฒนธรรม ชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ (โครงการวิจัย). เชียงใหม่ : ม.ป.พ..