
ชุมชนบ้านปางปู เป็นหมู่บ้านชาวประมงริมฝั่งทะเลอ่าวไทย ภายในชุมชนมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่ หาดบางปู หาดแหลมศาลา ถ้ำแก้ว และถ้ำพระยานครซึ่งเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ซึ่งเป็นพลับพลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อคราวเสด็จประพาสแหลมมลายู
ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทำให้มีปลาขนาดเล็กและปูมาอาศัยอยู่จำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อ บางปู
ชุมชนบ้านปางปู เป็นหมู่บ้านชาวประมงริมฝั่งทะเลอ่าวไทย ภายในชุมชนมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่ หาดบางปู หาดแหลมศาลา ถ้ำแก้ว และถ้ำพระยานครซึ่งเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ซึ่งเป็นพลับพลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อคราวเสด็จประพาสแหลมมลายู
บ้านบางปู เป็นหมู่บ้านชาวประมงตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 ตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหมู่บ้านชาวประมงตั้งอยู่บนที่ราบชายฝั่งทะเล ในเขตอุทยานแห่งชาติสามร้อยยอด มีภูเขาล้อมรอบทั้งสามด้าน มีคลองตามธรรมชาติ บริเวณปากคลองมีลักษณะเป็นตะกาดดินเลนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสารหารและแพลงตอนทะเล จึงมีปลาขนาดเล็ดและปูทะเลมาอาศัยอยู่ในคลองและชายหาดเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ปูม้า ปูทะเล ปูฤาษี ปูก้ามดาบ ปูแสม ปูเปรี้ยว ปูก้ามแข็ง และปูหิน ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า บางปู
บ้านบางปูห่างจากที่ว่าการอำเภอสามร้อยยอด ประมาณ 35 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 43 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 249 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังชุมชนบางปู สามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และรถโยสารประจำทางปรับอากาศ
หมู่บ้านบางปู เป็นทางผ่านไปถ้ำพระยานคร มีวิถีชีวิตของชาวประมงริมทะเลฝั่งอ่าวไทย เรียบง่าย คลองบางปูมีการนำเรือประมงมาจอดไว้ยังท่าจอดเรือหน้าบ้าน และในคลองบางปูยังเป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์ทะเลอีกหลายชนิด บริเวณพื้นที่หมู่บ้านบางปูมีโฮมสเตย์ริมน้ำ ร้านอาหาร
สภาพพื้นที่ทางกายภาพ
ตั้งอยู่บนที่ราบชายฝั่งทะเล ในเขตอุทยานแห่งชาติสามร้อยยอด ซึ่งมีลักษณะสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนยุคเพอร์เมียน มีอายุประมาณ 280 – 230 ล้านปีมาแล้ว ที่มีความสูงชันริมฝั่งทะเลผสมกับที่ราบริมฝั่งทะเลที่เป็นหาดเลนและห้วงน้ำทะเลตื้น ภายในชุมชนมีคลองตามธรรมชาติ บริเวณปากคลองมีลักษณะเป็นตะกาดดินเลนที่อุดมสมบูรณ์อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารและแพลงตอนทะเล
ทรัพยากรทางธรรมชาติ
1. ป่าชายเลน พบตามแนวชายคลองบางปู คลองเขาแดง และลำรางสาขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ แสมทะเล โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตาตุ่มทะเล ตะบูนดำ โปรงแดง ถั่วขาว ฝาดดอกแดง สำมะง่า จาก เถาถอบอถบ เป็นต้น
2. ป่าชายหาด พบตามชายหาดบริเวณที่น้ำไม่ท่วมถึงจนถึงบริเวณเชิงเขาพื้นดินเป็นทราย กรวด และโขดหิน พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ สนทะเล โพทะเล กระทิง เม่า หูกวาง เกด มะนาวผี เตยทะเล ผักบุ้งทะเล เป็นต้น
3. สัตว์ จากการสำรวข้อมูลของอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด พบปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชนิด ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุกด้าน ปลานิล ปลาซิว ปลาตะเพียนขาว ปลาไหล ปลาทู ปลาลัง ปลากระบอก ปลากระเบน ปลาตีน กุ้งแชบ๊วย หมึกกล้วย ปูแป้น ปูม้า หอยโข่ง หอยขม หอยแมลงภู่ เป็นต้น
จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรบ้านบางปู จำนวน 303 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 944 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 574 คน หญิง 470 คน
ด้านกลุ่มอาชีพ ส่วนใหญ่ผู้คนในชุมชนประกอบอาชีพการประมง ส่วนอาชีพรองคือ ทำการเกษตร การค้าขายและบริการ และรับจ้างทั่วไป ตามลำดับ
ทุนกายภาพ
1. สัตว์ทะเล เนื่องจากพื้นที่สภาพแวดล้อมชุมชน มีคลองตามธรรมชาติ บริเวณปากคลองมีลักษณะเป็นตะกาดดินเลนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสารหารและแพลงตอนทะเล จึงมีปลาขนาดเล็ดและปูทะเลมาอาศัยอยู่ในคลองและชายหาดเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ปูม้า ปูทะเล ปูฤาษี ปูก้ามดาบ ปูแสม ปูเปรี้ยว ปูก้ามแข็ง และปูหิน จึงมีทรัพยากรในทะเล มากเพียงพอสำหรับเลี้ยงประชากรในพื้นที่และเหลือส่งจำหน่ายเป็นสินค้าสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประชากรเป็นอาชีพหลัก
2. ถ้ำพระยานคร อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านบางปู เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ภายในมีหินงอก หินย้อยเป็นเชิงชั้นเหมือนม่าน บางส่วนก็หยดย้อยลงมาเป็นรูปร่างต่างๆ งามแปลกตา โดยสองคูหามีปล่องด้านบน ส่วนด้านล่างในถ้ำเป็นป่าต้นไม้ค่อนข้างสูงชะลูด
3. ถ้ำแก้ว ตั้งอยู่ในบริเวณหุบเขาจันทร์ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดไปทางบ้านบางปูประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามถนนประมาณ 2.5 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าไปยังปากถ้ำซึ่งต้องไต่ขึ้นเขาไป 128 เมตร ถ้ำแก้วเป็นถ้ำที่มีความสวยงาม มีลักษณะเด่น คือ หินงอก หินย้อยที่มีแสงประกายระยิบระยับจำนวนมากหลายจุด บางจุดใสมีลักษณะโปร่งแสง ภายในถ้ำมืดมากและขรุขระ เต็มไปด้วยหินใหญ่น้อย
4. หาดบางปู อยู่ในเขตหมู่บ้านบางปู เป็นท่าเรือไปยังหาดแหลมศาลาและถ้ำพระยานคร เป็นหาดริมทะเลฝั่งอ่าวไทยมีความกว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ที่มีหินปูนล้อมรอบด้านข้าง ริมหาดเป็นบริเวณที่ตั้งของชุมชนชาวประมงบ้านบางปู
5. หาดแหลมศาลา เป็นหาดสนที่มีทรายขาว ล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นรูปตัวยู ด้านหน้าเป็นชายทะเล มีเกาะสัตกูดบังคลื่นอยู่ด้านหน้า ทำให้เกิดบรรยากาศอันเงียบสงบเหมาะสำหรับการพักผ่อน
ทุนวัฒนธรรม
1. พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ตั้งอยู่ภายในถ้ำพระยานคร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ มีพระราชประสงค์เสด็จประพาส จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาชลยุทธิโยธินเป็นนายช่างสร้างพลับพลาแบบจตุรมุขขนาดย่อมตั้งไว้บนเนินดินกลางถ้ำ พระองค์เสด็จประภาสเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2433 คราวเสด็จประพาสแหลมมลายู และพระราชทานนามพลับพลานี้ว่า “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์”
กรมการปกครอง. (2565). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php.
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2560). หาดเจ้าพระยาบางปู. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก: https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=4849.
ธนภัทร สีสดใส, บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ, กาญจนา พันธุ์เอี่ยม, สุภาพร เพชรัตน์กูล, สุริยา คีรีนิล, และนรินทร์ สีงาม. (2566). รายงานวิจัยการบูรณาการภูมิปัญญาพื้นที่ถิ่นเพื่อส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
บริษัท ไทยทัวร์ อินโฟ จำกัด. หาดบางปู ประจวบคีรีขันธ์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก: https://www.thai-tour.com/place/1816.
ฝ่ายสารสนเทศ ศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามพื้นที่อุทยานแห่งชาติ. (2558). อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด (Khao Sam Roi Yot). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก: https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=1016.
ฝ่ายสารสนเทศ ศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามพื้นที่อุทยานแห่งชาติ. (2558). ถ้ำแก้ว. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก: https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=1683.
ฝ่ายสารสนเทศ ศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามพื้นที่อุทยานแห่งชาติ. (2558). ถ้ำพระยานคร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก: https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=1681.
ฝ่ายสารสนเทศ ศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามพื้นที่อุทยานแห่งชาติ. (2558). หาดแหลมศาลา. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก: https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=4849.
พระครูโสภณธำรงกิตติ์ (กิติศักดิ์สุทฺธจิตฺโต). (2560). การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อําเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
องค์การบริหารส่วนตำบลสามร้อยยอด. ข้อมูลทั่วไป. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก: https://samroiyot.go.th/.