Advance search

ชุมชนหนองปรือ เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยมีการอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาของกลุ่มชนชาวลาว และชนเผ่ากะเหรี่ยง มีวัดหนองปรือเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชน และมีประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีสำคัญที่กระทำสืบทอดต่อกันมาในชุมชน

หนองปรือ
หนองปรือ
หนองปรือ
กาญจนบุรี
มนิสรา นันทะยานา
13 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
5 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
24 มิ.ย. 2023
หนองปรือ

ในพื้นที่ชุมชนมีหนองน้ำขนาดใหญ่ มีต้นปรือขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเรียกชื่อว่า หนองปรือ


ชุมชนหนองปรือ เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยมีการอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาของกลุ่มชนชาวลาว และชนเผ่ากะเหรี่ยง มีวัดหนองปรือเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชน และมีประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีสำคัญที่กระทำสืบทอดต่อกันมาในชุมชน

หนองปรือ
หนองปรือ
หนองปรือ
กาญจนบุรี
71220
14.606072
99.458639
เทศบาลตำบลหนองปรือ

เทศบาลตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เดิมเป็นสุขาภิบาลหนองปรือ อยู่ในความรับผิดชอบของ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลหนองปรือ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลหนองปรือ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 36 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2526 ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลหนองปรือ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542

บ้านหนองปรือห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองปรือ ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 66 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 183 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังชุมชนหนองปรือ สามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 บ้านหนองสาหร่าย
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ลำกระพร้อย
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 บ้านหนองปรือ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 บ้านหนองปรือ

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบสูงต่ำ คล้ายลูกคลื่นในหุบเขา กล่าวคือมีภูเขาล้อมรอบทั้งหมด และมีลำน้ำโบราณหลายสายไหลลงมาจากภูเขา ลงสู่ใจกลางพื้นที่จนเกิดลำห้วย ลำห้วยสายหลักคือ ลำตะเพิน ลำห้วยส่วนใหญ่มีลักษณะตื้นเขินด้วยตะกอนดิน พื้นที่ลำห้วยไม่มีประสิทธิภาพในการรองรับและกักเก็บน้ำ โดยเฉพาะในฤดูฝนที่จะเกิดกระแสน้ำไหลบ่าจากภูเขารอบข้างอย่างรวดเร็วและรุนแรง สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ยกเว้นทางตะวันตกของพื้นที่ จะมีลูกรังปะปนอยู่จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจ จำพวก อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดฯ ได้ตามฤดูกาล

ทรัพยากรทางธรรมชาติ

1. แหล่งน้ำ แหล่งน้ำทางการเกษตรเป็นแหล่งน้ำสาธารณะ ได้แก่ ลำห้วย สายหลักคือลำตะเพิน สำหรับแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นบาดาล มีหินปูนปะปน

2. ป่าไม้ ลักษณะของป่าไม้ในพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณ มีต้นไม้ขนาดกลางและขนาดเล็กขึ้นกระจายทั่วพื้นที่ และไม้คลุมดินขึ้นปกคลุมปานกลาง ชนิดพันธุ์ไม้ ได้แก่ ประดู่ มะค่าแต้ งิ้วป่า เต็ง รัง ซาก บริเวณที่ราบชายป่าพบไผ่ป่าขึ้นอยู่จำนวนมาก ไม้ไผ่ป่า ไผ่รวก ไผ่นวล ขี้แรด เล็บเหนี่ยว เป็นต้น

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรชุมชนบ้านหนองปรือ จำนวน 281 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 355 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 176 คน หญิง 179 คน

เดิมประชากรที่อยู่ในตำบลหนองปรือส่วนใหญ่เป็นชนชาวลาวและมีชนเผ่ากระเหรี่ยงอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย สำหรับชนชาวลาวที่อาศัยอยู่ในอำเภอหนองปรือจะสืบเชื้อสายมาจากนครเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว สมัยนั้นมีข่าวเล่ากันว่านครเวียงจันทน์แตก เพราะถูกข้าศึกรุกราน ผู้คนจึงอพยพหนีไปคนละทิศละทาง ส่วนหนึ่งของชนชาวลาวที่หนีข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาทางฝั่งไทยและพากันอพยพลงมาเรื่อยๆ และปักหลักสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ส่วนหนึ่งได้พากันมาตั้งบ้านเรือนขึ้นที่บ้านหนองปรือ ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2400 หรือประมาณ 136 ปีมาแล้ว

ด้านกลุ่มอาชีพ มีการทำการเกษตร โดยปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด และข้าวโพด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขาย

ในรอบปีของผู้คนชุมชนบ้านหนองขาว มีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น ดังต่อไปนี้

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่โบราณด้วยเหตุผลหรือคติที่ว่าเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อตั้งความปรารถนาไว้ หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอให้มีปราสาทอันสวยงามมีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารจำนวนมาก และเพื่อรวมพลังสามัคคีทำบุญทำกุศลร่วมกันพบปะสนทนากันฉันท์พี่น้อง และเพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรมทางบุญทางกุศลให้ปรากฏ

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งเป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการก่อตั้งวัดหนองปรือซึ่งก่อตั้งมาประมาณ 60 ปีเศษชาวบ้านหนองปรือ ดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นชนชาวลาวและมีชนชาวเผ่ากระเหรี่ยงอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย สำหรับชนชาวลาวที่อาศัยอยู่ในอำเภอหนองปรือจะสืบเชื้อสายมาจากนครเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาวสมัยนั้นมีข่าวเล่ากันว่า นครเวียงจันทน์แตก เพราะถูกข้าศึกรุกรานผู้คนจึงอพยพหนีไปคนละทิศละทาง ส่วนหนึ่งของชนชาวลาวที่หนีข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาทางฝั่งไทยและพากันอพยพลงมาเรื่อยๆ และปักหลักสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนหนึ่งได้พากันมาตั้งบ้านเรือนขึ้นที่บ้านหนองปรือ ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2400 หรือประมาณ 136 ปีมาแล้ว

การจัดทำและแห่ปราสาทผึ้งเกิดจากเมื่อสมัยก่อนนั้น ประชาชนคงยังไม่มีไต้ หรือน้ำมันตะเกียงใช้ เพื่อให้แสงสว่างในยามค่ำคืน คงต้องอาศัยการไปเที่ยวเก็บหาขี้ชันก้อนบ้าง ขี้ชันโพรงบ้างตามต้นไม้ในป่า หรือได้จากน้ำมันพืชบ้าง เช่น น้ำมันมะพร้าวเอามาทำเป็นประทีปตามไฟเพื่อแสงสว่าง ฉะนั้น พอถึงปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน หรือนับเดือนทางจันทรคติก็คือเดือน 5 ของทุกๆ ปี ผู้คนก็จะออกไปหารวงผึ้ง กัน และในช่วงเดือน 5 นี้ ตัวแมลงผึ้งก็กำลังสะสมน้ำหวาน (น้ำผึ้ง) เอาไว้ในรังผึ้งจนเต็ม เพื่อเก็บไว้สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน เมื่อคนได้น้ำผึ้งและขี้ผึ้งมาก็ได้อาศัยน้ำผึ้งนี้รับประทานเป็นของหวานและได้นำมาถวายพระภิกษุสงฆ์บ้าง ส่วนขี้ผึ้งนั้นก็จะเก็บรวบรวมกันมาก บ้างน้อยบ้างตามแต่จะหาได้และก็นำมาถวายพระภิกษุสงฆ์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้นำขี้ผึ้งมาทำเทียนตามไฟ สำหรับอ่านและเขียนหนังสือบ้าง และบูชาพระบ้าง ต่อมาคงจะคิดได้ว่าการนำเอาขี้ผึ้งไปถวายพระ ภิกษุสงฆ์น่าจะได้ทำให้เป็นประเพณีประจำปีสืบต่อกันมาจึงได้มีการจัดทำปราสาทผึ้งขึ้น ลักษณะของปราสาทผึ้งนี้ทำด้วยโครงไม้ไผ่และบุด้วยกาบต้นกล้วย เพื่อให้มีการเสียบประดับประดาตกแต่งด้วยดอกไม้อันทำขึ้นจากขี้ผึ้งวิธีทำดอกไม้ด้วยขี้ผึ้งนั้นคือ เมื่อถึงฤดูกาลหรือเทศกาลประจำปีชาวบ้านจะถือวันท้ายวันสงกรานต์คือวันที่ 17 เมษายนเป็นวันพิธีแห่ปราสาทผึ้ง

น้ำผึ้งและขี้ผึ้งมาก็ได้อาศัยน้ำผึ้งนี้รับประทานเป็นของหวานและได้นำมาถวายพระสงฆ์บ้างส่วนขี้ผึ้งนั้นก็จะเก็บรวมๆ กันตามแต่จะหาได้และก็นำมาถวายพระสงฆ์ เพื่อให้พระสงฆ์ได้นำขี้ผึ้งมาทำเป็นเทียนตามไฟสำหรับอ่านและเขียนหนังสือ ก่อนที่จะนำเอาขี้ผึ้งไปถวายพระสงฆ์ได้มีการจัดทำอย่างสวยงาม จึงทำให้เกิดเป็นประเพณีประจำปีสืบต่อมากันจนถึงปัจจุบัน

วิธีการจัดเก็บขี้ผึ้งเป็นก้อนและเก็บรักษาไว้ที่วัดวัสดุที่ใช้นั้นก็ได้จากธรรมชาติ สำหรับตัวปราสาทผึ้งที่เป็นโครงของตัวปราสาทก็ทำจากไม้ไผ่ตัวดอกผึ้งเก็บโดยการนำมารวมกันเป็นก้อนๆ โดยสามารถแบ่งเก็บได้เพียงแค่ขี้ผึ้งกับโครงไม้ไผ่เท่านั้น ส่วนเกสรดอกผึ้งไม่นิยมเก็บเพราะว่าจะทำขึ้นมาใหม่โดยใช้ไม้ไผ่ที่มีอยู่ในธรรมชาติในการเก็บรักษาต้องแยกดอกผึ้งออกจากตัวปราสาทผึ้งก่อน ให้เรียบร้อยสำหรับในส่วนตัวโครงปราสาทผึ้งจะเก็บไว้ที่ร่มไม่ให้โดนแสงแดด หรือนำมาเก็บไว้ในตู้เก็บของที่มีลักษณะทึบโดยหลีกเลี่ยงจากแสงแดดและความร้อนจะเก็บรักษาไว้ในบริเวณภายในวัด โดยแยกการเก็บออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนของดอกผึ้ง โครงปราสาทและเกสรดอก

ก่อนพิธีแห่ปราสาทผึ้งในวันที่ 17 เมษายน ประมาณวันที่ 15 เมษายน ชาวบ้านจะเริ่มทำปราสาทผึ้งก่อนโดยจะเริ่มจากการเตรียมทำโครงไม้ไผ่และบุด้วยกาบต้นกล้วย เพื่อใช้สำหรับเสียบดอกไม้ที่ทำมาจากขี้ผึ้ง เมื่อถึงวันนี้ชาวบ้านจะน้ำขี้ผึ้งมารวมกันที่วัดแล้วนำขี้ผึ้งใส่กระทะใบใหญ่ตั้งไฟเคี่ยวให้ละลายต่อ จากนั้นก็จะนำเอาผลมะละกอผลเล็กๆ มาแกะเป็นรูปดอกไม้ต่างๆ ตามความต้องการ แล้วเอารูปที่แกะได้ไปจุ่มลงในกระทะที่เคี่ยวขี้ผึ้งแล้วนำมาจุ่มในน้ำเย็น ขี้ผึ้งก็จะหลุดออกมาเป็นรูปดอกไม้ที่คล้ายกรวย จากนั้นนำดอกผึ้งที่คล้ายกรวยนั้นไปติดเกสรสำหรับการทำเกสรของดอกผึ้งจะนำขมิ้นมาปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ปัจจุบันมีการนำแครอทมาใช้ด้วยแล้วเหลาไม้ไผ่ให้ได้เท่าขนาดไม้จิ้มฟันฉีกปลายให้บานออกเล็กน้อยนำไม้ไผ่ไปเสียบเข้ากับขมิ้นหรือแครอทที่หั่นรอไว้ จากนั้นก็นำไปเสียบเข้ากับดอกผึ้งแล้วจึงนำดอกไม้ขี้ผึ้งที่ได้ไปเสียบประดับที่ตัวปราสาททำให้แลดูสวยสดงดงาม เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้วชาวบ้านจะตั้งขบวนแห่ปราสาทผึ้ง โดยจะแห่ไปรอบๆ หมู่บ้านแล้ววกกลับมาที่วัดตามเดิมต่อจากนั้นก็จะทำพิธีถวายปราสาทผึ้งแด่พระสงฆ์พอตอนค่ำจะนิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์เย็น วันรุ่งขึ้นเวลาเช้าชาวบ้านจะพากันมาทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นการฉลองปราสาทผึ้งถือว่าเป็นอันเสร็จพิธีแห่ปราสาทผึ้ง

นอกจากพิธีแห่ปราสาทผึ้งแล้วในช่วงวันสงกรานต์ของชาวอำเภอหนองปรือจะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรตามปกติมีการปล่อยนก ปล่อยปลา ก่อพระเจดีย์ทรายสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์การจัดขบวนรถบุปผาชาติการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

วัดหนองปรือ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 บ้านหนองปรือ ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2461 โดยพระอาจารย์นวน โต๊ะเจริญ และ พระวอน ทิพย์วรรณ ร่วมกันวางรากฐานวัดหนองปรือ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2461 - 2468 โดยร่วมสร้างกันสร้างศาลา หอสวดมนต์ขึ้นมา จนกระทั่ง พ.ศ. 2468 พระอาจารย์นวน ก็ได้ลาสิกขาบท ไปเป็นฆราวาส ในขณะที่พระวอนได้ลาสิกขาไปก่อนหน้านี้แล้ว ชาวบ้านจึงไปนิมนต์พระอาจารย์จันทร์ พงษ์ไพบูลย์ จากวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มาเป็นเจ้าอาวาส ในสมัยนั้นท่านได้สร้างโรงเรียนสำหรับเด็กๆ ในหนองปรือได้เรียนกัน โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นห้องเรียนสำหรับให้เด็กเรียน เรียกกันว่า โรงเรียนวัดหนองปรือ ต่อมาปัจจุบันเรียกว่า โรงเรียนอนุบาลหนองปรือ พระอาจารย์จันทร์ได้บูรณปฏิสังขร เสนาสนะภายในวัดเป็นอย่างดี จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2480 ท่านได้ลาสิกขาบทไป

ภาษาลาวหนองปรือ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กรมการปกครอง. (2565). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2566, จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php.

จีรภา อินทะนิน. (2566). ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้ง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2566, จาก: https://rlocal.kru.ac.th/?p=7172.

เทศบาลตำบลหนองปรือ. (2556). ข้อมูลทั่วไป รู้จักเทศบาล. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2566, จาก: https://www.nongpruekan.go.th/portal.php?mod=view&aid=1.

ปรีชา ดาวเรือง และพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. (2555). กระบวนการอนุรักษ์ประเพณีการแห่ปราสาทผึ้ง ตำบลหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 5(2), 13-21.

สำนักงานคณะสงฆ์ ภาค 14. (2566). วัดหนองปรือ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2566, จาก: https://www.sangha14.org/index.php?url=temple&id=1185.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ. (2562). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2566, จาก: https://www.nongpruekansao.go.th/.