Advance search

วัดอุโมงค์ แหล่งวัฒนธรรมทางศาสนา และโบราณสถานเก่าแก่ที่มีความสำคัญคู่เมืองเชียงใหม่มากว่า 700 ปี ภายในมีแหล่งมรดกทางภูมิปัญญามากมาย ทั้งอุโมงค์ 4 ทิศ เจดีย์เก่าแก่อายุกว่า 700 ปี เศียรพระพุทธรูปที่สร้างตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 19-20 รวมถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังลายดอกไม้และนกกาน้ำ 

อุโมงค์
สุเทพ
เมืองเชียงใหม่
เชียงใหม่
ธีรภัทร บริบูรณ์
20 ก.พ. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
21 ก.พ. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
26 มิ.ย. 2023
บ้านอุโมงค์

บ้านอุโมงค์ เป็นชื่อแปลงมาจากคำว่า โอ้งโม่ง เป็นคำพื้นเมือง แปลว่า เป็นหลุมเป็นบ่อ ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณหน้าวัดอุโมงค์ในปัจจุบัน แต่บางท่านก็ว่าพื้นที่หลุมบ่อนี้อยู่ใต้พระวิหารวัดอุโมงค์


ชุมชนชนบท

วัดอุโมงค์ แหล่งวัฒนธรรมทางศาสนา และโบราณสถานเก่าแก่ที่มีความสำคัญคู่เมืองเชียงใหม่มากว่า 700 ปี ภายในมีแหล่งมรดกทางภูมิปัญญามากมาย ทั้งอุโมงค์ 4 ทิศ เจดีย์เก่าแก่อายุกว่า 700 ปี เศียรพระพุทธรูปที่สร้างตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 19-20 รวมถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังลายดอกไม้และนกกาน้ำ 

อุโมงค์
สุเทพ
เมืองเชียงใหม่
เชียงใหม่
50200
18.78270642
98.95618424
เทศบาลตำบลสุเทพ

บ้านอุโมงค์ เป็นชื่อแปลงมาจากคำว่า โอ้งโม่ง เป็นคำพื้นเมือง แปลว่า เป็นหลุมเป็นบ่อ อยู่บริเวณหน้าวัดอุโมงค์ แต่บางท่านว่าอยู่ที่ใต้พระวิหารวัดอุโมงค์ มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าใต้พระเจดีย์ที่มีอุโมงค์อยู่ภายในมีพระธุดงค์รูปหนึ่งได้จาริกผ่านมา และพระธุดงค์ได้นิมิตเห็นพระยานาคพิทักษ์รักษาสมบัติใต้อุโมงค์ ด้วยเกรงว่าจะมีผู้ไปรบกวนอันอาจเป็นอันตรายจึงได้สร้างเจดีย์ครอบอุโมงค์ไว้ ต่อมาได้มีการบูรณะและพัฒนาจนเป็นวัดอุโมงค์ในปัจจุบัน ชุมชนบ้านอุโมงค์ในอดีตเป็นชุมชนที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์บ้านเมือง เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 ทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารมาปักหลักแดนเมืองเพื่อกำหนดเขตแดนแต่ละเมือง (เขตจังหวัด) และในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเสด็จมา ณ บ้านอุโมงค์พร้อมด้วยข้าราชบริพาร และประชาชนได้ตั้งพลับพลาที่ประทับ ณ บริเวณหน้าวัดอุโมงค์ในปัจจุบัน      

ลักษณะภูมิประเทศ

บ้านอุโมงค์ หมู่ 10 ตำบลสุเทพ มีสภาพภูมิประทศเป็นที่ราบเชิงเขา และเป็นชุมชนที่ตั้งขึ้นใหม่โดยแยกออกมาจากบ้านสวนดอก มีอาณาบริเวณทางทิศเหนือจรดถนนสุเทพ เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ทิศใต้จรดบ้านร่ำเปิง หมู่ที่ 5 ตำบลสุเทพ ทิศตะวันออกจรดเขตบ้านกองบิน หมู่ที่ 3 ตำบลสุเทพ และทิศตะวันตกจรดบ้านหลิ่งห้า หมู่ที่ 8 และบ้านใหม่หลังมอ หมู่ที่ 14 ตำบลสุเทพ 

วัดอุโมงค์ หรือสวนพุทธธรรม

วัดอุโมงค์เป็นแหล่งวัฒนธรรมทางศาสนา และโบราณสถานเก่าแก่ที่มีความสำคัญคู่เมืองเชียงใหม่มากว่า 700 ปี เดิมทีบริเวณวัดอุโมงค์ หรือสวนพุทธธรรม เป็นพื้นที่วัดของกษัตริย์ในยุคสมัยของพระเจ้ามังรายมหาราช คือ  “วัดเวฬุกัฏฐาราม” เมื่อยุคสมัยและการปกครองของผู้นำเปลี่ยนผ่าน ก็ยังมีการฟื้นฟูบริเวณวัดเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ยุคของพระเจ้ากือนาธรรมาธิราช พระองค์ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมเจดีย์ และสร้างอุโมงค์ทางเดิน 4 ทิศ เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถรจันทร์ และตั้งชื่อว่า “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” หรือ “วัดอุโมงค์” ในปัจจุบัน

ภายในวัดอุโมงค์มีแหล่งมรดกทางภูมิปัญญามากมาย ทั้งอุโมงค์ 4 ทิศ เจดีย์อายุเก่าแก่กว่า 700 ปี และเศียรพระพุทธรูปฝีมือช่างชาวพระเยา ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ปีพุทธศตวรรษที่ 19-20 นอกจากนี้ภายในวัดอุโมงค์ยังมีเสาหินอโศกจำลองจากประเทศอินเดีย หลักศิลาจารึกบันทึกประวัติความเป็นมาของวัดอุโมงค์ หอสมุดธรรมโฆษณ์ โรงภาพปริศนาธรรม ตลอดจนมีสำนักปฏิบัติธรรมวัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม สำหรับผู้ที่สนใจปฏิบัติธรรมท่ามกลางความเงียบสงบอีกด้วย 

บ้านอุโมงค์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 10 บ้านอุโมงค์ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีจำนวนมีครัวเรือนทั้งหมด 7,610 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 16,702  เป็น ชาย 8,280 คน และเป็นหญิง 8,422  คน นอกจากนี้ยังมีประชากรแฝงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านประมาณ 25,000 คน ส่วนประชากรในชุมชนบ้านอุโมงค์ หมู่ที่ 10 มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 860 ครัวเรือน ประชากร 1,581 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 705 คน และประชากรหญิง 876 คน 

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย อุตสาหกรรมในครัวเรือน เกษตรกรรม ธุรกิจส่วนตัว รับราชการ และลูกจ้างในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ 

ประเพณีสำคัญ

  • ประเพณีตามรอยจอบแรกครูบาเจ้าศรีวิชัย: เป็นประเพณีสำคัญของชาวล้านนาในภาคเหนือ โดยเฉพาพเมืองลำพูนและเชียงใหม่ เพื่อแสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธาของชาวล้านนาที่มีต่อท่านครูบาศรีวิชัย ด้วยเหตุนี้ ชาวล้านนาทั้งหลายจึงได้พร้อมใจกันจัดให้มีงานประเพณี "จอบแรกครูบาศรีวิชัย" ขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเป็นประจำทุกปี โดยมีกิจกรรม คือ พิธีทำบุญตักบาตรและพิธีทางศาสนา การจัดเสวนาผลงานของครูบาเจ้าศรีวิชัย การจัดนิทรรศการน้อมรำลึกคุณงามความดีครูบาเจ้าศรีวิชัย การจัดนิทรรศการโชว์วัตถุมงคลครูบาเจ้าศรีวิชัยรุ่นต่าง ๆ รวมทั้งพระกรุเมืองลำพูน พระกรุเมืองเชียงใหม่ การจัดนิทรรศการประกวดการอนุรักษ์พระเครื่องครูบาเจ้าศรีวิชัย และพระเครื่องล้านนาชิงโล่รางวัลรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย

  • ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ (ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง):  เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปี เพื่อสืบสานประเพณีล้านนาที่ดีงามที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตา สักการะสระเกล้าดำหัวผู้สูงอายุ และเพื่อขอขมา รดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุ รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ส่งเสริมเยาวชนและประชาชนทั่วไปได้รู้จักจารีตและธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงามของชาวล้านนา

  • ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ: ประเพณีสำคัญประจำปีที่สำคัญที่สุดประเพณีหนึ่งของชาวบ้านอุโมง และชาวตำบลสุเทพทุกหมู่บ้าน รวมถึงชาวเชียงใหม่ทุกพื้นที่ โดยจะจัดขึ้นในคืนก่อนวันวิสาขบูชา มีการจัดขบวนแห่เครื่องสักการะร่วมขบวนรถบุษบกน้ำสรงพระราชทาน รวมทั้งลูกหลานชาวเชียงใหม่จะมาร่วมกันเดินขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ จะเริ่มเดินกันตั้งแต่ช่วงเย็นบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านหน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ และผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ผู้สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพ อันเป็นที่สักการะยิ่งของชาวเชียงใหม่ ไปจนถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ จากนั้นมีการบำเพ็ญศีลวิปัสสนา ทำบุญตักบาตรในเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วจึงเดินทางกลับ ถือว่าได้อานิสงส์แรงหรือได้บุญมาก

 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

มรดกทางวัฒนธรรมวัดอุโมงค์

  • อุโมงค์ทางเดิน 4 ทิศ: อุโมงค์ทางเดิน 4 ทิศ เป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญของวัดอุโมงค์ ภายในอุมงค์แป่งนี้มีการเจาะช่องผนังสำหรับวางเทียน ทำให้ภายในอุโมงค์นั้นค่อนข้างมืด เงียบ และสงบ ตามทางเดินจะมีรูปจิตรกรรมฝาผนังเกือบตลอดเส้นทาง นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินลอดใต้อุโมงค์เพื่อเข้ามากราบไหว้พระ ขอพร ตลอดจนชมความงดงามของภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโมงค์

  • จดีย์ 700 ปี วัดอุโมงค์: ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับทางเข้าอุโมงค์ ทางขึ้นลงเจดีย์มีบันไดนาคที่งดงามอยู่ด้านข้าง เป็นสถาปัตยกรรมทรงระฆังกลม บริเวณทรงกรวยด้านบนของเจดีย์เป็นรูปกลีบดอกบัว บริเวณฐานส่วนล่างจะมีปูนปั้นลวดลายสวยงามตามแบบสถาปัตยกรรมของศิลปะพม่า ทั้งนี้ เจดีย์วัดอุโมงค์ถือว่าเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมเก่าแก่และสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม

  • เศียรพระพุทธรูปฝีมือช่างพะเยา: บริเวณลานด้านข้างทางเข้าอุโมงค์จะมีการจัดตั้งเศียรพระพุทธรูปจำนวนมาก บริเวณนี้เรียกว่าพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ซึ่งพระพุทธรูปส่วนใหญ่ที่ตั้งแสดงอยู่นี้ถูกสร้างขึ้นราว พ.ศ. 1950-2100 โดยฝีมือสล่าชาวพะเยา

ภาษาพูด: ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) และภาษาเมืองล้านนา  ภาษาเขียน: ภาษาไทย

ภาษาเมืองล้านนา เป็นภาษาใกล้ชิดกับภาษาไทยและเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาเชียงแสน มีผู้พูดเกือบ 6,000,000 คนในภาคเหนือของประเทศไทย และหลายพันคนในประเทศลาว ภาษาไทยถิ่นเหนือมีหกวรรณยุกต์ ขณะที่ภาษาไทยมีห้าวรรณยุกต์ ทำให้การถอดเสียงเป็นอักษรไทยมีปัญหา จึงมีการพยายามพูดภาษาเมืองล้านนาแบบสมัยด้วย ด้วยสำเนียงออเสียงจากแบบเก่า เรียกว่า คำเมือง หรือภาษาไทยถิ่นเหนือในปัจจุบัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลตำบลสุเทพ. (2561). แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561. เชียงใหม่: สำนักปลัดเทศบาลตำบลสุเทพ

เทศบาลตำบลสุเทพ. (2565). สภาพทั่วไปของเทศบาล. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2566, จากhttp://www.suthep.go.th/

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). ย้อนประวัติ "วัดอุโมงค์ เชียงใหม่" สัมผัสความสงบงามท่ามกลางเมือง. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.thairath.co.th/

ธนภัทร ลิ้มหัสนัยกุล. (2566). วัดงามแห่งเขตอรัญญิก วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) วัดป่าเชิงดอยสุเทพที่สร้างในสมัยพญามังราย และมีเจดีย์ประธาน-จิตรกรรมเก่าแก่ที่สุดในเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://readthecloud.co/

พยับ แจ่มหม้อ. 2550. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหมู่บ้านอุโมงค์ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระครูสมุห์ บุญเลิศ. เจ้าอาวาสวัดอุโมงค์. (18 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์.

เอิงเอย. (2563). แอ่วเชียงใหม่ ไหว้พระ วัดอุโมงค์ วัดโบราณที่ปกคลุมไปด้วยมอส. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://travel.trueid.net/

Google Maps. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.googlemap.com/