Advance search

บ้านตามุยเก่า

ชุมชนบ้านท่าล้ง มีการจักรสานเป็นงานฝีมือที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวบรูบ้านท่าล้ง ซึ่งนอกจากอาชีพทำไร่ทำนาแล้ว อาชีพจักรสานก็เป็นหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ในชาวบ้าน

หมู่ที่ 5
บ้านท่าล้ง
ห้วยไผ่
โขงเจียม
อุบลราชธานี
อบต.ห้วยไผ่ โทร. 0-4542-9298-9
ชาวบรู
หทัยชนก จอมดิษ
26 ธ.ค. 2022
หทัยชนก จอมดิษ
15 มี.ค. 2023
บ้านท่าล้ง
บ้านตามุยเก่า

ตั้งตามลักษณะบริเวณหมู่บ้าน ที่เป็นท่าลงไปสู่แม่น้ำโขง และมีความผันเสียงตามภาษาบรู จึงมาเป็นบ้านท่าล้ง


ชุมชนบ้านท่าล้ง มีการจักรสานเป็นงานฝีมือที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวบรูบ้านท่าล้ง ซึ่งนอกจากอาชีพทำไร่ทำนาแล้ว อาชีพจักรสานก็เป็นหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ในชาวบ้าน

บ้านท่าล้ง
หมู่ที่ 5
ห้วยไผ่
โขงเจียม
อุบลราชธานี
34220
15.41417
105.56231
องค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไผ่
  • บ้านท่าล้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลห้วยไผ่ อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี ส่วนใหญ่ชาวบ้านในหมู่บ้านท่าล้ง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์บรู ที่ตั้งถิ่นฐานกระจายตัวในภูมิภาคอินโดจีน ชอบอาศัยอยู่ใกล้ภูเขาบางท้องถิ่นเรียก ข่าบรู หรือ ข่า แต่ชาวบรู จะเรียกตันเองว่าบรู ที่แปลว่าภูเขา ส่วนไม่ใช่คำว่าข่า ก็คำว่าข่า อาจจะมาจากคำว่า ข้าทาส หรือ ผู้รับใช้ ซึ่งชาวบรูบ้านท่าเล้ง ได้อพยพมาจากบ้านหนองเม็ก เมืองปาก เซ แขวง จำปาสักประเทศลาวเมื่อประมาประมาณ พ.ศ.2452 โดยอพยพข้ามลำน้ำโขงมาขึ้นฝั่งที่บ้านตามุย มาอยู่บริเวณถ้ำทรายติดกับลำน้ำโขง ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในการอพยพมาครั้งแรกมีเพียง 10 ครอบครัวและมีสามตระกูล คือ ตระกูลพึ่งป่า ตระกูลแก้วใส และตระกูลละครวงษ์ ต่อมาน้ำท่วมถ้ำทราย จึงอพยพมาตั้งบ้านเรือนท่าลง ซึ่งเป็นบริเวณที่คนใช้เป็น เส้นทางลงบนลงแม่น้ำโขง และเพื่อความสะดวกในการติดต่อกับพี่น้องที่อยู่ประเทศลาวทั้งการหาปลาและทำการเกษตร ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นท่าล้งในปัจจุบัน พอเข้ามาอยู่มีการสร้างชุมชนและขึ้นไปทำไร่บนภู ถางป่าปลูกพืชผักและทำไร่ข้าว โดยการใช้ไม้สักเป็นหลุมแล้วหยอดเมล็ดข้าว ปลูกข้าวปลาซิว ข้าวห้าว หรือข้าวหมากไพ การอพยพเข้ามาในบ้านล้ง แบ่งออกเป็น 3 ช่วง

    ช่วงแรกประมาณพ.ศ.2436 – 2497 เล่าว่าได้อพยพจากบ้านลาดเกลือ โดยในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ฝรั่งเศสเข้าปกครองลาว บังคับใช้แรงงานและมีการเสียภาษี ทำให้เกิดความเดือดร้อนจึงอพยพข้ามมาฝั่งไทย ชาวบรูที่อยู่บ้านลาดเสือก็เป็นกลุ่มย่อยของลาวเทิง ได้อพยพข้ามโขงมาประเทศไทยช่วงแรกประมาณ 10 ครอบครัว ได้อพยพข้ามโขงมา ประมาณปี พ.ศ.2452 และมาขึ้นฝั่งที่ถ้ำทรายที่อยู่ทิศตะวันออกของหมู่บ้านตามุย ซึ่งพักอยู่ประมาณ 1 ปี ต่อมาเกิดน้ำท่วมที่ถ้ำทราย จึงอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านท่าล้ง พอเข้ามาอยู่ก็ได้สร้างชุมชนและขึ้นไปทำไร่บนภู หรือเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้มในปัจจุบัน หลังจากที่สร้างบ้านเป็นชุมชนที่ถาวรก็ได้มีชาวบรูที่อพยพเข้ามาอยู่กันมากขึ้น เนื่องจากทนต่อการเสียภาษีไม่ไหว ไปทำงานให้หลวงแต่ไม่ได้เงิน และยังต้องเสียเงินอีกรอบ ประกอบกับการเกิดโรคระบาด ความเดือดร้อนที่มาจากการเข้ามาปกครองของฝรั่งเศส

     ช่วงที่สองประมาณปี พ.ศ.2498 – 2517 เหตุเพราะคนอพยพมาช่วงนี้เกิดจากภาวะสงครามที่มีความยื้ดเยื้อระหว่าฝ่ายรัฐบาลและคอมมิวนิสต์ ทำให้ชาวบรูเกิดความเดือดร้อนทั้งการดำรงชีวิตประจำวันทำให้มีการอพยพเข้ามาอาศยอยู่กับญาติในหมู่บ้านท่าล้ง

     ช่วงที่สาม ประมาณปี พ.ศ.2518 – ปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มที่อพยพมาในช่วงนี้เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในลาวมาเป็นระบอบสังคมนิยม ทำให้ต้องอพยพหนีภัยสงครามหรือบางคนหลบหนีการจับกุมจากทหารฝ่ายรัฐบาล ผู้อพยพส่วนใหญ่ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพที่จังหวัดอุบลราชธานีและมีการสมัครไปประเทศที่สาม และอีกบางส่นที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนร่วมกับกลุ่มเครือญาติที่บ้านท่าล้ง หรือเข้ามาแต่งงานกับชาวบรูในหมู่บ้านท่าล้ง

บ้านท่าล้ง ตั้งอยู่บริเวณในหุบเขา เขตอุทยานแห่งชาติผาแต้มติดกับแม่น้ำโขง ชายแดนไทย – ลาวเป็นพื้นที่ลาดชันสลับกับเนินเขาสูง สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหิน เนื้อที่หมู่บ้านทั้งหมด 8,750 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตร 240 ไร่ ที่อยู่อาศัย 45 ไร่ ที่สาธารณะ 30 ไร่ และที่เหลือทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อาณาเขตทางทิศใต้ จรดแม่น้ำโขงตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ห่างจากอำเภอโขงเจียม 25 กิโลเมตรและอยู่ห่างจากเมืองอุบลราชธานีประมาณ 110 กิโลเมตร

ประชากรในบ้านท่าล้งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์บรู ปัจจุบันบ้านท่าล้งมี 63 ครัวเรือนมีประชากรทั้งหมด 330 คน บางเป็นชาย 175 คนและหญิง 155 คน ถ้าแยกตามช่วงอายุประชากรช่วงอายุ 26 -45 ถือเป็นช่วงที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและดำเนอนกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนรวมไปถึงกิจกรรมภายในเครือญาติด้วย ลักษณะครอบครัวของชาวบรูบ้านท่าล้งมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวมาสู่การขยายครอบครัวในการแต่งงาน เมื่อลูกสาวหรือลูกชายคนโตแต่งงาน ลูกสาวจะนำเขยเข้ามาอยู่ในครอบครัวฝ่ายหญิงในระยะหนึ่งก่อน ส่วนฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายจะไปอยู่กับฝ่ายหญิงก่อน เมื่อมีความพร้อมจึงจะสามารถแยกมาสร้างบ้านอยู่ด้วยกัน ซึ่งก็อยู่ในเขตบริเวณเดียวกันกับเครือญาติ

ระบบเครือญาติในชาวบรู จะเน้นการควบคุมทางสังคมและการระบบการขัดเกลาทางสังคม โดยผู้อาวุโสจะคอยดูแลอบรมลูกหลาน และนอกจากระบบเครือญาติการแต่งงานข้ามสายตระกูล ก็จะทำให้ความสัมพันธะหว่างตระกูลแน่นแฟ้นมากขึ้น การแต่งงานกันภายในชุมชนเกิดขึ้นในช่วงยุคแรกหลังการอพยพ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอกค่อนข้าง ทำให้ชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่แต่ในชุมชน อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งในการเกิดการแต่งงานภายในชุมชน ซึ่งอาจเป็นเครือญาติต่างตระกูลหรือตระกูลเดียวกัน ส่วนการแต่งงานกับคนภายนอกชุมชน ส่วนใหญ่จะเป็นในช่วงหลังการแต่งงานกันภายในชุมชนในระยะแรกแต่ภายหลังมีการอพยพของคนกลุ่มอื่นเข้ามาในชุมชน โดยเฉพาะช่วงสงครามอินโดจีน ที่มีการอพยพหนีสงครามเข้ามาอาศัยในกลุ่มเครือญาติของฝั่งไทย และการขยายความสัมพันธืทางชุมชนสังคมภายนอกขึ้น เช่นการออกไปศึกษานอกชุมชน การออกไปทำงานต่างชุมชนเป็นต้น 

กลุ่มชาวบรูที่อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนที่บ้านท่าล้งกลุ่มแรกคือ กลุ่มสกุลแก้วตั้งตาและละครวงษ์ ภายหลังการเข้ามาอาศัยในเขตท่าล้งได้จัดตั้งหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมายแต่งได้แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเพื่อเป็นแทนของราชการ ซึ่งผู้ใหญ่บ้านซึ่งมักเป็นผู้ที่อยู่ในครอบครัวซึ่งอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนที่บ้านท่าล้งเป็นกลุ่มแรก  ได้แก่  กลุ่มนามสกุลแก้วตั้งตา (ต่อมาเปลี่ยนมาเป็น พึ่งป่า)กลุ่มนามสกุลแก้วใส, กลุ่มนามสกุลละครวงษ์ 

ชาวบ้านท่าล้งส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวน และหาปลา เลี้ยงสัตว์หาของป่าตามฤดูกาลและหัตกรรมจักสานจากไม้ไผ่ เนื่อจากบ้านท่าล้งมีพื้นที่ติดกับอุทยานแห่งชาติผาแต้มและอยู่ติดกับแม่น้ำโขงที่เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ รายได้หลักของชาวบ้านจะมาจากการทำประมง จึงมีอาชีพจับปลาในแม่น้ำโข่ง โดยใช้มอง เบ็ด ที่ทำขึ้นมาเองจากไม้ไผ่ หลังจากอพยพมาก็ขึ้นไปทำไร่ ทำนา หรือบางครอบครัวถางป่าปลูกพีชผักและทำไร่ข้าวหลายพันธ์ เช่น พันธุ์ข้าวปลาซิวน้อย พันธุ์ข้าวหางแดง(ข้าวหมากไพ) ใช้แรงงานคนและกระบือ ส่วนพื้นที่ว่างก็ปลูกพืชผักสวนครัวพวก พริก มะเขือ ถั่ว และยังมีปลูกมะม่วงหิมมพานต์ ข้าวโพดและมันสำปะหลัง

วัฒนธรรมบ้านท่าล้งของชาวบรู เดิมบรรพบุรุษตั้งบ้านเรือนอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว โดยนับถือผีเจียวเป็นผีประจำเผ่า ความเชื่อของชาวบรูบ้านท่าล้งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วง ๆ ดังนี้

ช่วงที่ 1 บรูก่อนคืนฮีต พ.ศ.2452 – 2530 ฮีตคอง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบแผนกติกาของชีวิต ที่ปฎิบัติตามฐานะ วัย และเพศของแต่ละคน ฮีตข่าคอง ขอม คือกฎจารีตประเพณีที่บรรพบุรุษชาวบรูยึถือเป็นแนวปฏิบัติ ฮีตคองคือการดัดแปลงจากประเพณีฮีตของชาวพื้นเมือง พิธีกรรมทางความเชื่อของชาวบรูที่เปลียน่แปลงไป เช่น ในเรื่องการแต่งงานในชาวบรูที่เป็นสังคมนิยมมีกฎและข้อบังคับที่มากกว่าปัจจุบัน อดีตการสู่ขอต้องมีล่าม 4 คน(ชาย 2 หญิง 2 ) เทียน 4 เล่มและเงินหนัก 5 บาท เมื่อย้ายมาอยู่ฝั่งไทยประเพณีหลายอย่างเริ่มถูกปรับเปลี่ยน รวมไปถึงการแต่งงานด้วย พิธีกรรมถูกทำให้เรียบง่าย ไม่มีขั้นตอนที่มากเหมือนอดีต เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่เอื้ออำนวย

ช่วงที่ 2 บรูหลังคืนฮีต พ.ศ.2530 – ปัจจุบัน เนื่องจากสภาพการดำรงชีวิตของชาวบรูได้มีการปรับเปลี่ยนไปต่างจากเดิมประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ และ การเมือง ทำให้กระทบต่อฮีตคองที่เคยยึดถือ ภายหลังเกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติตามฮีตคอง จึงส่งผลในการนับถือผี คือการส่งฮีตคืนฝั่งลาว และเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาในชุมชนชาวบรูท่าล้ง การส่งคืนฮีตก็หมายถึงการคืนความเนพลเมืองลาวมาเป็นพลเมืองไทย เมื่อส่งคืนอีตให้ฝั่งลาวแล้ว จึงต้องรื้อบ้านหลังเดิมทิ้งแล้วสร้างใหม่ การสร้างบ้านจึงนิยมสร้างตามแบบที่นิยมในหมู่บ้านชนบทตามภาคอีสานและเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ

ในการนับถือศาสนาพุทธของชาวบรู เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เนื่องจากมีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาปักกรดอยู่ ใกล้หมู่บ้านหลังจากนั้นมีชาวบ้าน คือพ่อใหญ่บุญมี ได้บริจาคที่ดิน ให้เป็นที่พักสงฆ์ ที่ตั้งเป็นวัดจากนั้นก็มีพระมาอยู่จำพรรษาเรื่อยมา ชาวบ้านมีความเคารพนับถือต่อพุทธศาสนาในวันพระได้มาทำบุญนที่วัดเป็นประจำ นอกจากการนับถือพุทธศานาแล้วชางบรูยังคงนับถือผีปู่ย่า ตามความเชื่อของชาวบ้านแถบภาคอีสาน ที่มีความเชื่อในการปกปักรักษาหมู่บ้านและมีงานเลี้ยงเซ่นไหว้ทุกปี

ประเพณีความเชื่อของชาวบรูบ้านท่าล้งเดิมทียึดถือตามฮีสคองเป็นหลัก โดยฮีตเป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมของชาวบรู ถ้าหากปฏิบัติตนที่ผิดจะต้องได้รับการลงโทษตามความผิดจากผีประจำฮีต จะต้องมีการมาขมาต่อผีฮีต ตามที่สิ่งที่ฮีตกำหนดและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ ชาวบรูต้องมีการปรับเปลี่ยนความเชื่อแบบเดิม หันมานับถือพุทธศาสนา แต่ยังมีการนับถือผีปู่ย่าควบคู่กันไป

 

 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การจักรสานเป็นงานฝีมือที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวบรูบ้านท่าล้ง ซึ่งนอกจากอาชีพทำไร่ทำนาแล้ว อาชีพจักรสานก็เป็นหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ในชาวบ้าน ชาวบรูฝีมือในการทำเครื่องจักสาน เช่น การสานกระติ๊บ หวด กระด้ง ตระกร้าและเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่ทำมาจากไม้ไผ่เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายตามหมู่บ้าน โดยมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับจักรสานมาตั้งแต่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้คนภายในครอบครัว ส่วนใหญ่จะเป็นลูกคนแรกหรือครอบครัวหมู่เครือญาติที่ได้รับถ่ายถอดมาจากพี่ที่เป็นลูกคนแรกอีกที

ชาวบ้านท่าล้งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ บรู สื่อสารโดยใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาตระกูลมอญ – เขมร คือภาษาบรู เนื่องจากชาวบรูมีการติดต่อกับคนภายนอกค่อนข้างน้อย ภาษาบรูจึงเป็นภาษาหลักของคนในชุมชน แต่เมื่อมีการเปลี่ยนในชุมชนก็มีการติดต่อกับคนนอกหมู่บ้านมากขึ้นมีการรับเอาวัฒนธรรมมาปรับเปลี่ยนการติดต่อกับคนภายนอกโดยใช้ภาษาไทยอีสานในการสื่อสาร

กลุ่มชาวบรูบ้านท่าล้ง

ภาษาที่ใช้พูด     ภาษาบรู เป็นภาษาพูดที่ไม่มีตัวอักษร

ภาษาที่ใช้เขียน  ไม่ปรากฎตัวอักษร

ภาษาที่ใช้พูด     ภาษาไทย(อีสาน) ใช้ในการติดต่อกับคนภายนอก

ภาษาที่ใช้เขียน   ตัวอักษรไทย 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พนัส ดอกบัว, โครงการวิจัย “รูปแบบการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาบรู โดยกลุ่มชาติพันธุ์บรูบ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี”, 2552.

พนัส ดอกบัว, เครือญาติข้ามพรมแดนรัฐชาติของกลุ่มชาติพันธ์บรู บ้านท่าล้ง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี, (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ), 2552

อบต.ห้วยไผ่ โทร. 0-4542-9298-9