แม่น้ำอิงไหลผ่าน ตั้งตระหง่านพระธาตุภูขวาง แตงโมรสหวาน ภูลานหินดอยโล้นงามยิ่ง
แต่เดิมบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านแห่งนี้เป็นป่าไม้และมีต้นไม้ใหญ่ชื่อว่า "ต้นส้าน" อยู่จำนวนมากและลักษณะหมู่บ้านเป็นสันเขา เนินเขา จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านสันป่าส้าน”
แม่น้ำอิงไหลผ่าน ตั้งตระหง่านพระธาตุภูขวาง แตงโมรสหวาน ภูลานหินดอยโล้นงามยิ่ง
คำว่า "ห้วยแก้ว" มีตำนานพญาเจือง ในหนังสือศรีโคมคำ (พระเจ้าตนหลวง) และพญาเจือง หน้า 60-61 โดยพระธรรมวิมลโมลี 2536 กล่าวเอาไว้ว่า ขุนเงินและขุนจอมธรรมและพระฤาษี พากันเดินสำรวจเชิงดอย พบลำห้วยเล็ก ๆ เรียกว่าห้วยดอยน้อย ท้าวทั้งสองและฤาษีหยุดพักและเอาแก้วลูกหนึ่งฝังไว้ต้นของลำห้วย ท้ายห้วยอีกทัศนะหนึ่งแก้วไหลมาตามน้ำมาตามลำห้วยแห่งนี้ จึงได้ชื่อว่า ห้วยแก้ว ชาวบ้านได้เล่าอีกว่าบริเวณดังกล่าวนี้เรียกม่อนแก้ว ทุกวันพระจะเห็นดวงแก้วลอยขึ้นลงจากดอยด้วน ได้มีชาวบ้านไปขุดได้แก้วมา จึงเกิดอาเพศ จนทำให้น้ำป่าไหลผ่านลำห้วยมาบรรจบหลังหมู่บ้าน
ในปี 2520 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น โดยแยกมาจากจังหวัดเชียงราย และเนื่องจากอำเภอเมืองพะเยา จ.พะเยา มีอาณาเขตที่กว้างขวางพลเมืองมีมาก ท้องที่บางตำบลอยู่ห่างไกลจากอำเภอและสภาพท้องที่โดยทั่วไปมีแนวโน้มที่จะมีความเจริญเพิ่มขึ้นในด้านต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการปกครองและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงหมาดไทยจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทยแบ่งพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา เพื่อจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง ชื่อว่า "กิ่งอำเภอภูกายยาว" ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นไป ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา ตั้งกิ่งอำเภอภูกามยาว เป็น "อำเภอภูกามยาว" เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2550
ปี พ.ศ. 2539 ทางราชการจึงได้อนุมัติให้แยกหมู่บ้านออกมาเป็นหมู่ที่ 12 และตั้งชื่อใหม่ว่าบ้านสันป่าส้านเพราะแต่เดิมบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านแห่งนี้เป็นป่าไม้และมีต้นไม้ใหญ่ชื่อว่า "ต้นส้าน" อยู่จำนวนมากและลักษณธหมู่บ้านเป็นสันเขา เนินเขา จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านสันป่าส้าน" โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน 1) นายศาลก้อนคำดำรงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 จนถึงปี พ.ศ. 2554 2) นายสราวุธ ก้อนคำ ดำรงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านบ้านสันป่าส้านหมู่ที่ 12 แยกหมู่บ้านมาจากบ้านห้วยแก้วหลวงซึ่ง แต่ก่อนบ้านห้วยแก้วหลวงเป็นป่าและคนมาจากละกอนลำปางย้ายเข้ามาอยู่กัน 3 ครอบครัวมีแม่อุ้ยตุ่ยพ่อเฒ่ามั่นพ่อเฒ่าแสนแม่เฒ่าตาพ่อเจ้าแม่ออกมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่คำว่าห้วยแก้วมาจากภูเขาหลังหมู่บ้านชาวบ้านเรียกว่า "ม่อนแก้ว" มีตำนานเล่าว่าในช่วงก่อนถึงวันพระและในคืนวันพระชาวบ้านจะเห็นแก้วลอยขึ้นลงต่อมามีคนต่างหมู่บ้านมาขุดเอาแก้วในภูเขาไปเป็นจำนวนมากโดยที่ชาวบ้านไม่รู้และพอชาวบ้านไปหาของป่าก็เจอ แต่เปลือกข้างนอกของแก้วในช่วงฤดูฝนน้ำจากต้นน้ำในป่าก็จะไหลมารวมกันผ่าม่อนแก้วจึงเรียกว่า "ห้วยแก้ว" และเป็นชื่อของหมู่บ้าน
การจัดตั้งหมู่บ้านประจำปี 2539 (24 เมษายน 2564) ประกาศจากจังหวัดพะเยา ด้วยจังหวัดพะเยา ได้ประกาศตั้งและกำหนดเขต หมู่บ้านประจำปี 2539 ในท้องที่ อำเภอเมืองพะเยา โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2539 ตั้งบ้านสันป่าส้านหมู่ที่ 12 ตำบลห้วยแก้ว โดยแยกจากบ้านห้วยแก้วหลวง หมู่ที่ 3 โดยอาศัยอำนาจ ตามความในมาตราหก แห่งพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 และอนุมัติ กระทรวงมหาดไทย ตามหนังสือ กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0311.1/667 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2539
บ้านสันป่าส้าน หมู่ที่ 12 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอภูกามยาวระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองพะเยาประมาณ 19 กิโลเมตร ไปตามถนนทางหลวงหมายเลข 1202
บ้านสันป่าส้านมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 113 ครัวเรือน อาศัยอยู่จริง 108 ครัวเรือน อยู่ในเขตการให้การบริการสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่านป่าฝาง โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 2,443 ไร่ แบ่งเป็น
- พื้นที่อยู่อาศัย : จำนวน 225 ไร่
- พื้นที่ทำการเกษตร : จำนวน 1,049 ไร่
- พื้นที่ทำการนา : จำนวน 682 ไร่ (ทำนาปีละ 1 ครั้ง)
- พื้นที่ทำไร่ : จำนวน 299 ไร่
- พื้นที่ทำสวน : จำนวน 68 ไร่
- ป่าชุมชน : มี 2 แห่ง จำนวน 120 ไร่
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ 7
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านห้วยแก้วหลวง หมู่ที่ 3
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านหนองลาว หมู่ที่ 4 และบ้านอิงโค้ง หมู่ที่ 5
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านร่องปอ ตำบลดงเจน
จากการสำรวจของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา ปี 2564 มีบ้านเรือนทั้งหมด 113 หลังคาเรือน จำนวนประชาการที่อาศัยอยู่จริงทั้งหมด 321 คน เพศชาย 166 คน เพศหญิง 155 คนประชากรที่อาศัยอยู่ที่บ้านสันป่าส้าน พูดภาษาถิ่นในการติดติดต่อสื่อสาร มีการตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มตามเครือญาติ พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา ที่ราบเชิงเขา เป็นพื้นที่ต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร
โครงสร้างองค์กรชุมชน
ผู้ใหญ่บ้าน : นายสราวุธ ก้อนคำ
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านปกครอง : นางสาวภควรรณ ก้อมวงค์
กลุ่มที่เป็นทางการ
- กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) : มีนางสาวภควรรณ ก้อมวงค์ เป็นประธาน มี อสม.รวมประธานทั้งสิ้น 16 คน
- กลุ่มอาสาพัฒนาชุมชน : นางสมหวัง สุนันท์ เป็นประธาน
- อาสาสมัครเกษตร : นายจักราวุธ ทองฟู เป็นประธาน
กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ
- กลุ่มผู้สูงอายุ : มีนายคำตั๋น ก๋าแก้ว เป็นประธาน มีสมาชิก 84 คน
- กลุ่มปุ๋ย SML : มีนายปี๋ วงศ์มา เป็นประธาน
- กลุ่มโรงน้ำดื่มชุมชน : กลุ่มร้านค้าประชารัฐเพื่อการเกษตรและกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน มีนางสาววิไลวรรณ ใจมูลมั่ง เป็นประธานทั้ง 3 กลุ่ม
- กองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) : จำนวนสมาชิก 122 คน นางสาวภควรรณ ก้อมวงค์เป็นประธาน
- กองทุนออมทรัพย์แม่บ้าน : จำนวนสมาชิก 30 คน มี นางสาวภควรรณ ก้อมวงค์เป็นประธาน
- กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ : จำนวน 897 คนนายอุดม ก้อนคำ เป็นประธาน
- กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์แม่บ้าน : จำนวน 387 คนนายอุดม ก้อนคำ เป็นประธาน
- กลุ่มน้ำประปา : จำนวน 120 คน ประธานคือ นายสราวุธ ก้อนคำ
- โครงการ กข.คจ. : จำนวน 80 คน ประธานคือนายสราวุธ ก้อนคำ
- กลุ่มธนาคารข้าว : จำนวน 107 คน ประธาน คือ นายสมภพ ก้อนคำ
- กลุ่มกองทุนปุ๋ย : จำนวน 61 คน ประธานคือ นางสาวภควรรณ ก้อมวงค์
- กลุ่มสงเคราะห์ราษฎร : จำนวน 425 คน ประธาน คือ นายคล้าย ไพรทูล
- กลุ่มเลี้ยงไก่เมือง : จำนวน 23 คน ประธาน คือนายสราวุฒิ งอนจัตุรัส
สภาพเศรษฐกิจชุมชน
- อาชีพหลัก : บ้านสันป่าสันส้าน หมู่ที่ 12 คือ อาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชผักตามฤดูการ
- รายได้ของประชาชน : ภาคเกษตรกรรม
- รายจ่ายของประชาชน : ค่าใช้จ่ายทางการเกษตร, ค่าดำรงชีพ, ค่าสาธารณูปโภค, ค่างานสังคม, ค่าใช้จ่ายอื่น
- หนี้สินส่วนใหญ่ของประชาชน : เป็นหนี้กู้ยืม ธกส. และหนี้กองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
ปฏิทินวัฒนธรรมบ้านสันป่าส้าน
- เดือนมกราคม (เดือน 4 ล้านนา) : การตานข้าวใหม่หรือบุญข้าวใหม่ในช่วงระหว่างสิ้นปีกับวันขึ้นปีใหม่
- เดือนกุมภาพันธ์ (เดือน 5 ล้านนา) : ทำบุญหลวงพ่อศรีสุขปัญญาธิโปที่วัดห้วยแก้ว
- เดือนมีนาคม (เดือน 6 ล้านนา) : บวชภาคฤดูร้อน ที่วัดจำปา
- เดือนเมษายน (เดือน 7 ล้านนา) : ประเพณีสงกรานต์(ปีใหม่เมือง ถือว่าเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ ช่วงวันที่ 13-16 เมษายน จะร่วมกันแห่สรงน้ำพระมหาสงกรานต์ ประเพณีขนทรายเข้าวัด การขนทรายนิยมกันทั้ง 3 วัน คือ วันสังขานล่อง วันเนาว์ และวันพญาวัน แต่ที่นิยมกันมากที่สุดคือวันเนาว์ มีการรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่หรือบุคคลที่นับถือในชุมชน
- เดือนพฤษภาคม (เดือน 8 ล้านนา) : การเข้าวัดทำบุญในวันวิสาขบูชา
- เดือนมิถุนายน (เดือน 9 ล้านนา) : ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า
- เดือนกรกฎาคม (เดือน 10 ล้านนา) : วันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญ ถวายเทียนพรรษา ชาวบ้าน มีการเข้าร่วมปฏิบัติธรรม สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ที่วัดห้วยดอกอูก
- เดือนสิงหาคม (เดือน 11 ล้านนา) : ชาวบ้านร่วมงานวันแม่แห่งชาติ ที่ว่าการอำเภอภูกามยาว
- เดือนกันยายน (เดือน 12 ล้านนา) : พิธีตานขันข้าวให้บรรพบุรุษ เป็นการถวายสำรับกับข้าวหรือถวายถาดใส่ข้าวและอาหาร เพื่ออุทิศหาบรรพชน
- เดือนตุลาคม (เดือน 1 ล้านนา) : ฟังธรรมในวันพระ
- เดือนพฤศจิกายน (เดือน 2 ล้านนา) : ประเพณีลอยกระทงจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ชาวบ้านเข้าร่วมงานประเพณียี่เป็ง ช่วงตอนเย็นจะมีงานลอยกระทง การปล่อยโคมลอย
- เดือนธันวาคม (เดือน 3 ล้านนา) : บวชเฉลิมพระเกียรติที่วัดจำปา
1. นายสราวุธ งอนจัตุรัส : ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร
2. นายภาคภูมิ ดูการดี : ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร
3. นายแก้ว ก้อนคำ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร
4. นายน้อย ก้อนคำ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหมอพื้นบ้าน ด้านเป่า
5. นางจันทร์ สิงห์แก้ว : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหมอพื้นบ้าน หมอสู่ขวัญ/แกว่งขวัญ
6. นางจันทร์ ก้อนคำ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหมอพื้นบ้าน หมอนวด
7. นายพิกุล จันจินะ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านศิลปวัฒนธรรม
8. นางแก้ว ก้อนคำ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม สานด้ายแหจำ
9. นายพุธ รำไพ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม จักสาน
10. นายหน่อแก้ว ก้อนคำ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม จักสาน
11. นายพันธ์ ก้อนคำ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม สานไม้กวาดทางมะพร้าว
12. นายปี สิงห์แก้ว : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม สานไม้กวาดทางมะพร้าว
ทรัพยากรธรรมชาติ ลักษณะทางนิเวศวิทยา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ น้ำการเกษตร
- น้ำสำหรับบริโภค : ส่วนใหญ่จะซื้อน้ำดื่มในหมู่บ้าน ซึ่งในหมู่บ้านจะมีโรงงานผลิตน้ำดื่ม สำหรับการผลิตน้ำดื่มสะอาดขายในหมู่บ้าน และบางหลังคาเรือนจะใช้น้ำฝนในการดื่ม
- น้ำสำหรับอุปโภค : ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะใช้น้ำประปาประจำหมู่บ้าน ในบางหลังคาเรือนใช้น้ำฝน และในบางส่วนซึ่งเป็นส่วนน้อยจะซื้อน้ำถังมาใช้ในการดื่มละใช้อาบ
- น้ำสำหรับใช้ประโยชน์ในการเกษตร : ใช้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ 8 แหล่ง คือ ลำห้วย 6 แห่ง, สระของหมู่บ้าน 1 แห่งแหล่งน้ำที่หมู่บ้านสร้างขึ้นเองกลางหมู่บ้าน 1 แห่ง, แหล่งน้ำสำรองดับเพลิง ซึ่งจะไหลมาจากบนภูเขา ผ่านกลางหมู่บ้าน
ภาษาพื้นเมืองล้านนา
Google Maps. (2564). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านสันป่าส้าน (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/maps
ประวัติจังหวัดในล้านนา จังหวัดพะเยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://wiangsalanna.myreadyweb.com/
ราชกิจจานุเบกษา. (2549). ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน. เล่ม 123 ตอนพิเศษ 128ง. 13 ธันวาคม 2549.
พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม.). (2552). ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองพะเยา. พะเยา : เจริญอักษร.
ศักยภาพชุมชนด้านการจัดการไฟป่าและฝุ่นควันจังหวัดพะเยา. (2563). ป่าชุมชนบ้านสันป่าส้าน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.อากาศบ้านเฮา.net