การทำนาขั้นบันได วิถีชีวิตของชาวไทใหญ่ มีการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน
การทำนาขั้นบันได วิถีชีวิตของชาวไทใหญ่ มีการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน
ชุมชนบ้านแม่กลางหลวงได้เปิดเป็นหมูบ้านเพื่อการท่องเที่ยว ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมีลักษณะเป็นการท่องเที่ยวที่อาศัยการมีส่วนร่วมกับชุมชน และ ธรรมชาติภายในชุมชน โดยเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน มีจุดเด่นในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ธรรมชาติที่เป็นป่าผสม รวมทั้งยังมีการให้บริการทางด้านที่พักภายในชุมชน ในรูปแบบของโฮมสเตย์หรือการพักกับบ้านของคนในชุมชน และในรูปแบบรีสอร์ทหรือบ้านพักตาก อากาศได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งจากนักท่องเที่ยวและกลุ่มนักวิจัยเข้ามาช่วยและสนับสนุน ภายในพื้นที่ อีกทั้งยังมีกิจกรรมเดินป่าแบบระยะสั้นและระยะยาวยังมีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง คือ ดอยผาตั้ง ดอยอินทนนท์กิ่วแม่ปานพระมหาธาตุ2 องค์ โครงการหลวงและศูนย์รองเท้านารีชุมชน
สภาพทางกายภาพ เป็นนาขั้นบันไดของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มียอดเขาสูงรองเป็นอันดับที่ 4 รองจากยอดดอยอินทนนท์ (2,565 เมตร) คือ ยอดดอยหัวเสือ (1,881 เมตร) อยู่ในพื้นที่เขตหมู่บ้าน สภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิต่ำสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2542 -2 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดสภาพน้ำค้างแข็ง (Frost) อยู่ทั่วบริเวณ
โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านผาหมอน ต. บ้านหลวง
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านแม่ปอน ต. บ้านหลวง
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านแม่แอบ ต. บ้านหลวง
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านขุนกลาง ต. บ้านหลวง
ประชากรอยู่รวมกลุ่มกันเป็นหมู่บ้าน ที่มีอยู่ทั้งหมด 90 หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมดมี 400 คน ชุมชนแห่งนี้ ทุกคนมีบัตรประชาชน มีผู้นำชุมชน มีผู้ใหญ่บ้าน และมีโรงเรียนสอนภาษาไทย
ปกาเกอะญออาชีพหลักของทางชุมชนจะเป็นการปลูกข้าว แบบนาขั้นบันได เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวชาวดอย ที่ยังคงเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทุกปี การทำนาข้าวจะทำได้ปีละครั้ง โดยจะเก็บเกี่ยวช่วงปลายปี หลังจากนั้นก็จะมีการทำหัตถกรรมผ้าทอ ที่เป็นลวดลายของชนเผ่าเอง และมีการปลูกกาแฟพันธุ์อราบิก้า ที่เป็นความภาคภูมิใจของชุมชนแห่งนี้ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ชาวปกาเกอะญอปลูกทดแทนฝิ่น
กุมภาพันธ์ พิธีผูกข้อมูลปีใหม่ของชาวปกาเกอญอ
มิถุนายน พิธีเลี้ยงผีฝาย ไหว้เจ้าที่ก่อนทำนา
กรกฎาคม พิธีผูกข้อมือเข้าพรรษา
สิงหาคม พิธีเรียกผีนา (ผีโต้ง) ผีไร่
พฤศจิกายน-ธันวาคม พิธีเรียกขวัญข้าว ทำบุญข้าวใหม่
ทุนกายภาพ
มีการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย สอดคล้องไปกับธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้การดำรงชีวิตของชาวชุมชนบ้านหลวงจะขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ในแนวทางที่พึ่งพาธรรมชาติ และเอื้ออาทรต่อกันฉันท์พี่น้อง หรือหาอาการกินจากของป่า จนกลายเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแต่สวยงาม และยังมีพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์แบบป่าฝนเขตร้อน สตอเบอร์รี่ ซูกีนี่ เยอร์บีร่า และลิลี่ถ้ำแม่ละนามีความยาวตลอดเส้นทางที่ลำน้ำแม่ละนาลอดผ่านถึง 12 กิโลเมตร การท่องถ้ำแม่ละนาทำได้เฉพาะในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน หรือช่วงครึ่งปีแรกเท่านั้น เพราะในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งเป็นช่วงหน้าน้ำ ระดับน้ำในลำน้ำแม่ละนาจะสูงจนเข้าถ้ำไม่ได้ และการผจญภัยในถ้ำจะสงวนไว้เฉพาะนักท่องถ้ำระดับมืออาชีพเท่านั้น เพราะเป็นถ้ำที่จัดอยู่ในระดับยากถึงยากมาก ภายในถ้ำมีขนาดกว้างใหญ่ มีห้องโถงย่อยมากมาย อากาศภายในเย็นสบาย ตลอดทางคุณจะได้ชมหินงอกหินย้อย ม่านหิน และเสาหิน ซึ่งในบางจุดนั้นมีความยิ่งใหญ่และงดงามมาก นอกจากนั้นจะยังได้ชม “มุกหิน” ระยิบระยับแปลก รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในภายในถ้ำที่มืดสนิทแห่งนี้ด้วยเช่น ปลาไม่มีตา ปลามุง หอยทาก หอยจิ๋ว ฯลฯ เนื่องจากถ้ำนี้ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ อีกทั้งการเดินทางยากลำบาก บางช่วงอาจต้องว่ายน้ำไป จึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัยและเสาะแสวงหาธรรมชาติอย่างแท้จริง โดยจำเป็นต้องหาผู้ชำนาญในการนำทางที่บ้านแม่ละนา
ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
วิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนลุ่มน้ำกลาง ยังคงดำเนินไปในแนวทางดั้งเดิม ตามความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมชนเผ่าที่สืบทอดต่อกัน ภูมิปัญญาที่มีมาแต่เดิมก็ได้รับการถ่ายทอดสู่ชนในรุ่นปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นงานฝีมือ การเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น
- ความรู้ด้านสมุนไพรในการักษาโรค
- ความรู้ในการทอผ้าและสร้างลายผ้าเพื่อตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม
- ความรู้ด้านการจักสานภาชนะกับไม้ไผ่
- ภูมิปัญญาด้านการหมักเหล้าจากข้าวและผลผลิตทางการเกษตรเพื่อใช้ประกอบพิธีของชุมชน
- ความรู้เรื่องนกประจำถิ่นและนกอพยพ
- ความรู้เกี่ยวกับเส้นทางเดินป่าและการใช้ชีวิตในป่า
กิจกรรมการท่องเที่ยว
1. เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกผาดอกเสี้ยวเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างมากจากการมาถ่ายทำของภาพยนตร์ไทยเรื่อง “รักจัง” ทำให้สถานที่นี้ได้แสดงความงดงาม ผ่านการถ่ายทำจนเป็นที่มาของการทำเส้นทางธรรมชาติน้ำตกผาดอกเสี้ยวให้เป็นกิจกรรมการ ท่องเที่ยวของชุมชนบ้านแม่กลางหลวง ใช้เวลาเดินเท้า 2 ถึง 3 ชั่วโมงตลอดระยะทางจะมีน้ำลำธาร ไหลผ่านตลอดแนวทางเดินและก่อนทางลงเข้าหมู่บ้านสามารถเห็นทัศนียภาพของหมู่บ้านและนาขั้นบันไดที่มีชื่อเสียงของหมู่บ้าน
2. เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอยหัวเสือเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่จำเป็นต้องใช้เวลา เดินทาง 2 วัน 1 คืนโดยต้องพักค้างคืนในป่าดอยหัวเสือเป็นยอดดอยสูงลำดับที่ 4 ของดอยอินทนนท์ มีความสูง 1,881 เมตรจากระดับน้ำทะเลสภาพป่าเป็นป่าสนสลับป่าดิบชื้นสามารถพบกุหลาบพันปี สามสีและกล้วยไม้นารีได้มีจุดชมทัศนียภาพเกือบ 360 องศา
3.กิจกรรมปลูกข้าวเรียนรู้วิถีชีวิตชนเผ่าของชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอจะให้นักท่องเที่ยวได้พักที่พักแบบ homestay เพื่อได้สัมผัสวิถีชีวิตการเป็นอยู่ของคนในชุมชนและดำนาปลูกข้าวร่วมกับ ชุมชนฝึกการทอผ้าโดยระยะเวลาของกิจกรรมขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่นักท่องเที่ยวสะดวกส่วนใหญ่จะ อยู่พักค้างคืน 2 คืนขึ้นไป
มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยผสมผสานระหว่างภาษาพม่า และภาษาลาติน แต่ชุมชนแห่งนี้มีโรงเรียนที่ทางรัฐบาลไทยสร้างไว้ให้เรียนภาษาไทย จึงทำให้ชุมชนแห่งนี้สามารถเป็นไกด์ท้องถิ่น นำพานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
จุดเด่นด้านการท่องเที่ยวของชุมชน / สถานที่เด่น
- นาขั้นบันได ชมการทำนาขั้นบันไดเป็นการแสดงให้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการใช้พื้นที่และการจัดการน้ำ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ชาวบ้านจะทำพิธีกรรมในนาขั้นบันได เพื่อขออนุญาตปลูก-เก็บเกี่ยว และขอบคุณที่ให้ผลผลิต
- ไร่กาแฟอินทรีย์ เป็นการทำไร่กาแฟแบบผสมผสานกับไม้ป่าอื่นๆเพื่อไม่ทำลายป่าและไม่ใช้ยาฆ่าแมลง
- บ่อเพาะพันธุ์ปลาเรนโบว์เทร้า ชาวบ้านแม่กลางหลวงได้รับความไว้วางใจจากโครงการหลวงในการดูแลบ่อปลาเรนโบว์เทร้า ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านแม่กลางหลวง
- กุ้งนาข้าว เป็นกุ้งก้ามกรามที่ถูกเลี้ยงในนาข้าวแบบธรรมชาติที่แม่กลางหลวง
- ดอยหัวเสือ จากจุดชมวิวดอยหัวเสือ จะมองเห็นวิวที่สวยงามและไกลจนถึงลำพูน ตลอดเส้นทางได้สัมผัสกับธรรมชาติ พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
- น้ำตกผาดอกเสี้ยว เดินท่องป่าเข้าไปยังน้ำตกผาดอกเสี้ยว หรือน้ำตก “รักจัง” เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีค่า และยังคงความสมบูรณ์ของเป็นธรรมชาติ
- พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและศูนย์วัฒนธรรมปกาเกอะญอ รวบรวมศิลปวัตถุและเรื่องราวของชาวปกาเกอะญอลุ่มน้ำกลาง อาทิ เครื่องจักสาน ผ้าทอ เครื่องมือเครื่องใช้โบราญของชนเผ่า เครื่องดนตรี รวมทั้งีการสาธิตการใช้ชีวิตตามแบบดั้งเดิม การทอผ้า การอื่อทา การละเล่น เป็นต้น
กุ้งก้ามแดงสัตว์เศรษฐกิจในนาข้าว. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://pantip.com/topic/33822905
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันท่ 27 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://opendata_tst.dopa.go.th/download.php?cid=1&page=1
ชนเผ่าชาวปกากะญอ ผูกข้อมือฮ้องขวัญ (เรียกขวัญ). (2561). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/788367
เทพ ปรมินทร์ พงษ์พานิช. (2563). ขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ในชุมชนแม่กลางหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
แม่กลางหลวง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://thai.tourismthailand.org/Attraction//แม่กลางหลวง7
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน แม่กลางหลวง. (2563). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://thaicommunitybasedtourismnetworkwordpress.com/cbtcommunity/northcommunity/maeklangluang/
สุวณี ทรัพย์พิบูลย์ผล. (2544). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศกับการเปลี่ยนแปลงของชุมชนปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) บ้านแม่กลางหลวง และ บ้านอ่างกาน้อย อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จงหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Jiranan Chitong. บ้านแม่กลางหลวง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/letscometochiangmai/sthan-thi-thxng-theiyw/ban-mae-klang-hlwng
NARWHAL. (2565). ชุมชนน่ารักของชนเผ่าปกาเกอะญอ บ้านแม่กลางหลวง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://inzpy.com/travel/nice-village-phakakrayor-mae-kang-luang/
Phonixtour Mae Kalngluang. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://phoenixtourblog.wordpress.com/666-2/