ชุมชนบ้านทรายงาม มีวัฒนธรรมความเชื่อ เรื่องการเข้าทรงสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา โดยเชื่อว่าเรื่องการต่ออายุจะทำให้มีชีวิตยืนและเสริมสิริมงคลในชีวิต
สมัยก่อนทรายในลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้านในปัจจุบันนี้มีสีขาว สะอาดสวยงาม จึงพากันเรียกว่าห้วยงาม ตามลักษณะของทรายในลำห้วย
ชุมชนบ้านทรายงาม มีวัฒนธรรมความเชื่อ เรื่องการเข้าทรงสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา โดยเชื่อว่าเรื่องการต่ออายุจะทำให้มีชีวิตยืนและเสริมสิริมงคลในชีวิต
ประวัติความเป็นมาของบ้านทรายงาม เมื่อ พ.ศ. 2510 คนกลุ่มแรกที่ตั้งบ้านเรือนที่บ้านทรายงามได้อพยพมาจากบ้านน้ำหมัน หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ ครอบครัว สิงห์ภา ครอบครัวอินทะสอน ครอบครัวกันหา ครอบครัวพรมพันธ์และครอบครัวคำมา และกลุ่มต่อมาได้อพยพเข้ามาในหมู่บ้านทรายงาม เมื่อ พ.ศ. 2512 ได้แก่ ครอบครัวอ่อนข่าว ครอบครัวถาวร ครอบครัวคำพัฒน์ ครอบครัวนันสอน ครอบครัวทิพย์ลุ้ย ครอบครัวทองเณรและครอบครัวแก้วคำ สาเหตุที่ย้ายจากบ้านน้ำหมันหมู่ที่ 5 เข้ามาอยู่ที่บ้านทรายงามก็เพื่อทำไร่ และได้เป็นส่วนหนึ่งของหมู่ที่ 7 บ้านผาลาด ต่อมาได้แยกเป็นหมู่ที่ 10 บ้านทรายงาม เมื่อ พ.ศ. 2529
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ อาชีพประชาชนในบ้านทรายงามจะประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร เป็นสัดส่วนที่มากกว่าประกอบอาชีพอื่น ๆ การประกอบอาชีพทางการเกษตรที่ทำกินเป็นส่วนมากที่เห็นได้ชัด ได้แก่ การทำนา ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกข้าวนาปี การทำสวนทำไร่ ที่ทำกันในตำบลและทำกันมากได้แก่ การทำสวนกล้วย สวนลำไย การเลี้ยงสัตว์ ก็จะเป็นพวกหมู ไก่ วัว เป็นต้น อาชีพที่นอกเหนือจากการเกษตรที่รองลงมาคืออาชีพรับจ้างทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะไปประกอบอาชีพในต่างจังหวัด นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่น ๆ เช่น อาชีพค้าขาย อาชีพรับราชการ อาชีพขับรถสองแถวรับจ้าง แต่อาชีพเหล่านี้ยังมีไม่มากในชุมชน
อาชีพหลักของชุมชน
การทำนา ปลูกข้าวจ้าวและข้าวเหนียวไว้รับประทาน ผู้ที่มีนานมากก็พอขายข้าวได้บ้างพันธุ์ข้าวที่ปลูกได้จากพันธุ์ดั้งเดิมที่เคยปลูกกันมาหรือได้มาจากเกษตรตำบล นำไปแจกจ่ายเผยแพร่ปัจจุบันชาวนาไม่อยากทำนา เนื่องจากต้นทุนสูง ผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มกับต้นทุน ราคาข้าวตกต่ำลง เกษตรกรจึงหันไปรับจ้างในเมืองและกรุงเทพฯ การทำไร่ พืชไร่ที่ชุมชนตำบลนำหมันนิยมปลูกกัน ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง อ้อย การทำไร่ของเกษตรกรก็ต้องลงทุนสูงและขาดแคลนน้ำทำให้ได้ผลผลิตไม่คุ้มทุน เงินทุนก็ต้องไปกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกษตรกรหนีไร่ไปทำงานรับจ้างเป็นจำนวนมาก
ศาสนา ชาวบ้านในบ้านทรายงามส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และให้ความสำคัญในกิจกรรมตามพิธีการของพุทธศาสนา สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญ เช่น วัดและสำนักสงฆ์ในแต่ละหมู่บ้านที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างมา เมื่อจัดพิธีกรรมทางศาสนาก็ได้มารวมตัวที่วัดโดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ประกอบพิธี ชาวบ้านทรายงามและประชาชนที่อยู่ในตำบลน้ำหมัน มีความเชื่อในเรื่องของไสยศาสตร์ ในการรักษาโรค เช่น การสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา เรียกขวัญ ผูกข้อมือ ซึ่งประเพณีนี้ยังเชื่อกันอยู่ในปัจจุบันความเชื่อของชาวบ้านทรายงาม คล้าย ๆ กับความเชื่อทั่วไปเหมือนประชาชนในตำบลน้ำหมัน
ความเชื่อ มีวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องการเข้าทรงสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา เรียกขวัญ โดยเชื่อว่าเรื่องการต่ออายุจะทำให้มีชีวิตยืนและเสริมสิริมงคลในชีวิต ประเพณีที่คนในตำบลยึดถือปฏิบัติกันสืบมา คือ ขึ้นปีใหม่ เรียกขวัญ พิธีทางไสยศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ถวายเทียนจำนำพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน ออกพรรษา ถวายผ้ากฐิน เทศน์มหาชาติ ก่อเจดีย์ข้าวเปลือก การบวช การแต่งงาน การขึ้นบ้านใหม่ การสรงน้ำปู่ การส่งเคราะห์บ้าน แต่ละประเพณีจะทำตามวันเวลาที่กำหนดกันไว้
พิธีสรงน้ำปู่ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานาน เป็นการแสดงความกตัญญู มีความเชื่อว่าปู่พญาแก้ววงเมือง เป็นผีบ้านผีเมืองที่ให้ความคุ้มครองคนในตำบลในหมู่บ้านไม่ให้มีภัยอันตรายมาเบียดเบียน เช่นโรคระบาด ภัยธรรมชาติ และทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทุกคนในหมู่บ้านอยู่รมเย็นเป็นสุข นอกจากนี้ประเพณีสรงน้ำปู่เป็นการขอขมาและแสดงความกตัญูแล้ว ยังทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลมาแต่สิ่งที่ดีแก่ตนเองหมู่บ้านและชุมชน ประเพณีสรงน้ำปู่จะทำในช่วงวันที่ 18 เมษยนของทุกปี ในตอนบ่ายจะมีการก่อเจดีย์ทรายที่บริเวณหน้าศาล และเช้าวันที่ 19 เมษายน จะมีการวางกระทงส่งเคราะห์ หรือเรียกว่า พิธีปัดเคราะห์
ภาษาไทย สำเนียงภาษาถิ่นเหนือ ใช้ติดต่อกับคนในชุมชนและภายนอกชุมชน
ธีร์กัญญา อินทอง. (2546). องค์ความรู้ท้องถิ่นตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.