ชุมชนบ้านหนองจิกมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและเป็นชุมชนที่อยุ่บริเวณชานเมืองซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดมหาสารคามไปสู่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น นับว่าเป็นเส้นทางค้าขายทางรถไฟเดิม และชุมชนบ้านหนองจิกมีธุรกิจในครัวเรือนที่สำคัญคือ การทำไม้ถูพื้น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านหนองจิก นอกเหนือไปจากการทำการเกษตร
ชุมชนบ้านหนองจิกมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่ พ.ศ. 2388 มีกลุ่มคนจากเมืองเสลภูมิและอีกกลุ่มหนึ่งอพยพมาจากเมืองสรวง ต่อมาได้มาอยู่อาศัยบริเวณริมหนองน้ำซึ่งรอบ ๆ หนองน้ำมีป่าจิกป่าเต็งจำนวนมากต่อมาจึงเรียกชื่อ "บ้านหนองจิก"
ชุมชนบ้านหนองจิกมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและเป็นชุมชนที่อยุ่บริเวณชานเมืองซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดมหาสารคามไปสู่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น นับว่าเป็นเส้นทางค้าขายทางรถไฟเดิม และชุมชนบ้านหนองจิกมีธุรกิจในครัวเรือนที่สำคัญคือ การทำไม้ถูพื้น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านหนองจิก นอกเหนือไปจากการทำการเกษตร
ประมาณ พ.ศ. 2388 มีกลุ่มคนประมาณ 2 กลุ่มได้ย้ายมาจากเมืองเสลภูมิ ซึ่งเป็นอำเภอเสลภูมิจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบันและมีอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาจากเมืองสรวงคือพื้นที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัยในปัจจุบัน ต่อมาไม่นานมีครัวเรือนต่าง ๆ มาอาศัยมากขึ้นตามบริเวณหนองน้ำ รอบ ๆ หนองน้ำซึ่งมีป่าจิกป่าเต็งจำนวนมาก จึงเรียกว่า “บ้านหนองจิก” ต่อมามีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ ผู้ใหญ่พันธ์ ละครศรี เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
บริเวณพื้นที่บ้านหนองจิกเป็นที่ราบสูงน้ำท่วมไม่ถึงลักษณะดินเป็นดินทรายเก็บน้ำไม่ดีเท่าที่ควร ขาดแหล่งน้ำธรรมชาติ การทำนาโดยมากอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ชาวบ้านหนองจิกยึดถือประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา และยังเป็นสังคมเกษตรกรรมทำนาเป็นอาชีพหลัก ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธควบคู่กับการนับถือผีวิญญาณ มีการประกอบพิธีกรรมต่างมากมายทั้งพิธีกรรมในความเชื่อในชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาในรอบปีที่เรียกกันว่าฮีต 12 และช่วงทำนายังมีความเชื่อเรื่องการเลี้ยงผีเทวดาที่ปกปักรักษาอยู่ที่ท้องนา หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า ผีตาแฮก เพื่อดูแลท้องนาให้กับชาวนาและประเพณีก็สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
บ้านหนองจิก ตำบลแก่งเลิงจาน ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองมหาสารคาม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือระยะทาง 6 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,564 ไร่ เป็นแนวยาวไปตามถนนแจ้งสนิทไปทางอำเภอบรบือ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
- ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับ บ้านหนองโน ตำบลหนองโน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านหัวช้าง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านเก่าน้อยและบ้านหินลาด
ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านหนองจิกมีทั้งหมด 361 คน มีจำนวนบ้านเรือนทั้งหมด 110 หลังคาเรือน
ชุมชนบ้านหนองจิกมีธุรกิจในครัวเรือนคือ การทำไม้ถูพื้น ซึ่งนับเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้หลังจากการทำนาและใช้เวลาว่างในการทำไม้ถูพื้น ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการที่คุณพ่อท่านหนึ่งได้ซื้อไม้ถูพื้นจากตลาดมาใช้แต่ไม่นานก็ชำรุด แต่คิดจะซ่อมเลยดึงเอาส่วนประกอบทั้งหมดออกมาและทำตามตัวอย่างจนทำสำเร็จและมีการหาวิธีที่จะทำให้ไม้ถูพื้นแข็งแรงมากขึ้น
ชาวบ้านหนองจิกยึดถือประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา และยังเป็นสังคมเกษตรกรรมทำนาเป็นอาชีพหลัก ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธควบคู่กับการนับถือผีวิญญาณ มีการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งพิธีกรรมความเชื่อในชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาในรอบปีที่เรียกกันว่าฮีต 12 และช่วงทำนายังมีความเชื่อเรื่องการเลี้ยงผีเทวดาที่ปกปักรักษาอยู่ที่ท้องนา หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า ผีตาแฮก เพื่อดูแลท้องนาให้กับชาวนาและประเพณีก็สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
การทำไม้ถูพื้น ซึ่งนับเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้หลังจากการทำนาและใช้เวลาว่างในการทำไม้ถูพื้น ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการที่คุณพ่อท่านหนึ่งได้ซื้อไม้ถูพื้นจากตลาดมาใช้แต่ไม่นานก็ชำรุด แต่คิดจะซ่อมเลยดึงเอาส่วนประกอบทั้งหมดออกมาและทำตามตัวอย่างจนทำสำเร็จและมีการหาวิธีที่จะทำให้ไม้ถูพื้นแข็งแรงมากขึ้น
ชุมชนบ้านหนองจิกโดยมากอพยพมาจากพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งเดิมเป็นคนอีสาน ภาษาที่ใช้ในชุมชนส่วนมากจึงเป็นภาษาอีสานที่ใช้สื่อสารทั่วไปในชุมชน
ชุมชนบ้านหนองจิกเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่ริมเส้นทางถนนแจ้งสนิทซึ่งเป็นเส้นทางเดินทางสู่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จึงเป็นชุมชนที่มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องและในบริเวณพื้นที่ยังมีหน่วยงานราชการตั้งอยู่ทำให้เกิดการจ้างงานในชุมชนมากขึ้น และด้วยการเป็นสถานที่ราชการจึงทำให้ชุมชนสามารถสร้างรายได้จากการค้าขายเพื่อรองรับผู้ที่เดินทางมาติดต่อราชการ
พัทธนันท์ พรมเหลา. (2564). รายงานโครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านหนองจิก หมู่ที่ 6 ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. รายวิชาสารนิเทศท้องถิ่น หลักสูตรสาขา บรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน. (ม.ป.ป.). แหล่งท่องเที่ยว : เกาะลอยศรีหนองจิก. ค้นจาก https://ksao.go.th/travel/