Advance search

บ้านท่าประทายเป็นชุมชนที่มีการพัฒนามาจากพื้นที่ป่ารกทึบ และเป็นพื้นที่ริมแม่น้ำชีและยังเป็นท่าน้ำสำหรับผู้คนที่เดินเรือผ่านมาพักซื้อขายสินค้าหรือพักเรือระหว่างเดินทาง
หมู่ที่ 3
บ้านท่าประทาย
เกิ้ง
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
ณัฐพล นาทันตอง
3 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
4 ก.ค. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
11 ก.ค. 2023
บ้านท่าประทาย

บ้านท่าประทายเดิมชื่อ บ้านบึงขวาง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของของหมู่บ้านปัจจุบัน เนื่องจากมีบึงขนาดใหญ่ขวางหมู่บ้านอยู่ การมีบึงขวางหมู่บ้านเช่นนี้ทำให้คนในหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน ด้วยความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจต่าง ๆ ชาวบ้านจึงอพยพย้ายมาทางทิศตะวันออกและหาทางเปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน โดยตั้งตามชื่อประเพณีโบราณที่ทำกันมาเป็นเวลาช้านาน คือ พิธีตบประทายที่ทำกันในช่วงสงกรานต์ของทุก ๆ ปี จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านท่าประทาย"


ชุมชนชนบท

บ้านท่าประทายเป็นชุมชนที่มีการพัฒนามาจากพื้นที่ป่ารกทึบ และเป็นพื้นที่ริมแม่น้ำชีและยังเป็นท่าน้ำสำหรับผู้คนที่เดินเรือผ่านมาพักซื้อขายสินค้าหรือพักเรือระหว่างเดินทาง
บ้านท่าประทาย
หมู่ที่ 3
เกิ้ง
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
44000
16.21279325207739
103.31516952106676
องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง

บ้านท่าประทายบริเวณที่ตั้งเดิมเป็นป่าไม้หนาทึบ มีสัตว์ต่าง ๆ มากมายเช่น ลิง เสือ เป็นต้น ต่อมาได้มีคนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่โดยมี นายหาญชนก อันปัญญา เป็นผู้ชักชวนให้ผู้คนมาตั้งบ้านเรือนและจับจองที่ดิน ทำไร่ ทำนา เมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว เหตุที่เลือกพื้นที่บริเวณนี้สำหรับตั้งชุมชนเนื่องจากบริเวณนี้อยู่ใกล้กับแม่น้ำชี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ คนที่อพยพมาอยู่อาศัยในหมู่บ้านนี้จะเป็นคนที่มาจากหลายแห่งแล้วมารวมกันและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนมากจะมาจากบ้านโด บ้านหนองแสน บ้านสีแก้ว บ้านผักแว่น มาจากอำเภอแกดำในปัจจุบัน และอพยพมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด เหตุที่มีการย้ายภูมิลำเนามาตั้งที่ชุมชนแห่งนี้เนื่องจากที่อยู่เดิมนั้นขาดความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่มีสภาพแห้งแล้งและเป็นบริเวณที่สัตว์ป่ามีความชุกชุมมาทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหารให้ได้รับความเสียหาย และยังมีการย้ายคนที่มาจากร้อยเอ็ดให้มาอยู่ที่จังหวัดมหาสารคามด้วย

บ้านท่าประทายเดิมชื่อ บ้านบึงขวางซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านปัจจุบัน เนื่องจากมีบึงขนาดใหญ่ขวางหมู่บ้านอยู่ การมีบึงขวางหมู่บ้านเช่นนี้ทำให้คนในหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน ความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจต่าง ๆ ชาวบ้านจึงอพยพย้ายมาทางทิศตะวันออกและหาทางเปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน โดยตั้งชื่อประเพณีโบราณที่ทำกันมาเป็นเวลาช้านาน คือพิธีตบประทายที่ทำกันในช่วงสงกรานต์ของทุก ๆ ปี จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านท่าประทาย ผู้คนในตัวเมืองจะเดินทางมาทำพิธีตบประทายร่วมกับคนในหมู่บ้าน เพราะหมู่บ้านนี้อยู่ใกล้กับแม่น้ำและมีทรายอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อถึงวันสงกรานต์จะมีการนำทรายจากแม่น้ำชีขึ้นมากองตามหาดทรายและใช้ขันตบประทายให้เป็นรูปเจดีย์ขนาดใหญ่ และนำดอกไม้มาประดับ มีธูปเทียน และเครื่องไทยทานมาเป็นเครื่องสักการะ จากนั้นก็นิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีทางศาสนาที่เรียกว่า บวชกองทราย พิธีนี้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่คนในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขแต่ปัจจุบันพิธีตบประทายเริ่มน้อยลง เพราะทรายในแม่น้ำชีมีความลึกและตลิ่งเริ่มชันจากการกัดเซาะของแม่น้ำที่ไหลอยู่ตลอดเวลา

และมีประวัติหมู่บ้านอีกสำนวนหนึ่งเล่าว่า ในอดีตบริเวณที่ตั้งบ้านท่าประทายเป็นป่าที่อุดมไปด้วยไม้ยืนต้นเช่น ต้นยาง ต้นยางแต่ละต้นมีผึ้งหลวงอาศัยอยู่ต้นละ 20-30 รังไม่มีผู้ใดย่างกรายเข้ามาอยู่อาศัยเลย เนื่องจากมีสัตว์ร้ายหลายชนิดอาศัยอยู่เช่น ช้าง ควายป่า งูพิษต่าง ๆ และยังมีภูตผีสำแดงตนพร้อมส่งเสียงคุยกันในเวลากลางคืน ต่อมาประมาณ 200 ปีได้มีครอบครัวหนึ่งอพยพมาหาพื้นที่ทำมาหากินมาจากบ้านหนองแสนอำเภอแกดำในปัจจุบัน ซึ่งเป็นคนกล้าเก่งในด้านไสยศาสตร์ชื่อว่าพ่อใหญ่หาญชนก ภรรยาชื่อแม่ใหญ่กระสินธุ์พร้อมด้วยบุตรชายหญิงบุกร้างถางป่า เวลาต่อมา 2-3 ปี จึงได้มีญาติมิตรของพ่อใหญ่หาญชนกเดินทางตามมาอยู่อาศัยด้วยกันหลายครอบครัวทยอยกันมาเรื่อย ๆ เช่น บ้านผักแว่น จังหวัดอุบล คุ้มวัดอภิสิทธิ์ ในช่วงแรกบ้านท่าประทานไม่มีชื่อบ้าน เป็นเพียงหมู่บ้านที่มีผู้คนอาศัยอยู่รวมกันเท่านั้น จนต่อมามีชาวคุ้มวัดอภิสิทธิ์พากันมาทำพิธีก่อเจดีย์ทรายกับนิมนต์พระภิกษุสามเณรมาฉันเพล และทำต่อกันมาทุก ๆ ปีเมื่อถึงสงกรานต์ปัจจุบันก็ยังทำอยู่จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านด้วย

บ้านท่าประทายอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนอื่น ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ แม่น้ำชี
  • ทิศใต้ ติดกับ ทุ่งนาตำบลตลาด
  • ทิศตะวันออก ติดกับ โรงเรียนบ้านท่าประทาย-โนนตูม   
  • ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านวังยาว

บ้านท่าประทายมีประชากรทั้งหมด 800 คน มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 384 หลังคาเรือน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบ้านส่วนมากทำสวนและทำนาเป็นหลัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ริมน้ำสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

1.วัดท่าประทาย วัดท่าประทายเป็นวัดที่สังกัดมหานิกายมีที่ดินตังวัดทั้งหมด 13 ไร่ติดกับฝั่งแม่น้ำชีวัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ไม่ทราบนามผู้ตั้งเรียกชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านได้รับพระราชทางวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 251

2.วัดป่ากุดแดงไทรงาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านเดิมมีชื่อว่าวัดป่ากุดแดงไทรน้อย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2481 แต่ก่อนบริเวณที่ตั้งวัดมีต้นไทรจำนวนมากเกิดขึ้นในพื้นที่ และมีผู้ไปสร้างพระประธานใหญ่ไว้ที่ใต้ต้นไทร ชาวบ้านจึงขนานนามวัดนี้ว่า วัดป่ากุดแดงไทรย้อย ต่อมาน้ำท่วมทำให้ต้นไทรใหญ่ เหลือเพียงแต่พระประธาน และมีพระภิกษุมาอาศัยอยู่เมื่อปี พ.ศ. 2505 ได้ซ่อมอซมวัดบริเวณที่สึกหรอขึ้นมาใหม่

3.กุดแดง อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ สาเหตุที่เรียกกุดแดงเนื่องจากเวลาพระอาทิตย์ขึ้นน้ำจะดูเป็นสีแดงคล้ายสีพระอาทิตย์ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากกุดแดงด้านการเกษตรและทำประมงเท่านั้น

4.กุดหูลิง อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน มีเนื้อที่ 51 ไร่ อยู่ถัดจากกุดแดงมีมาตั้งแต่ก่อนตั้งบ้าน เหตุที่เรียกว่ากุดหูลิงเนื่องจาก บริเวณรอบกุดมีต้นหูลิงอยู่เป็นจำนวนมาก

5.ล่องน้ำใส อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านมีเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ เป็นหนองน้ำตามธรรมชาติต่อจากกุดหูลิง เหตุที่เรียกล่องน้ำใส เรียกตามลักษณะการไหลของน้ำ คือไหลเป็นเส้นตรงจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกและน้ำใสไหลเย็นชาวบ้านจึงเรียก ล่องน้ำใส

คนในชุมชนโดยมากเป็นกลุ่มคนที่เดินทางมาจากร้อยเอ็ด มาจากอำเภอแกดำ จึงใช้ภาษาอีสานเป็นภาษาพูด


ชุมชนเดิมเป็นชุมชนที่มีแต่ป่ารกทึบ มีการพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นชุมชนขนาดใหญ่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2545). สารานุกรมประวัติหมู่บ้านและสถานที่ในอำเภอเมืองมหาสารคาม. มหาสารคาม : ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

TH.TOP10PLACE. (2566). ภาพประตูวัดบ้านท่าประทาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 จาก https://th.top10place.com/

กนกพร 031. (2561, พฤศจิกายน 26). ประวัติบ้านท่าประทายและส่วนเกี่ยวข้องของตำบลเกิ้ง [วิดิโอ]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/