ชุมชนริมแม่น้ำชีที่เป็นเขตรอยต่อระหว่างกันทวิชัยและเมืองมหาสารคาม
เดิมบรรพบุรุษปู่ย่า ตายายอาศัยอยู่เมืองสาเกตุนครอยู่ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิเป็นเขตของทุ่งกุลาร้องไห้ที่ทุรกันดาร มีผู้คนจำนวนมากทำให้ขาดแคลนพื้นที่ทำการเกษตรจึงอพยพย้ายถิ่นฐานมายังที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่าเดิมจึงเดินทางมาพบลุ่มแม่น้ำชีซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์สามารถตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน เมื่อมีผู้คนมากระจุกตัวกันมากขึ้นปู้จานอดง เฒ่าก่อน และอาจารย์ซาวใหญ่ ออกเดินทางหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่มาถึงบ้านจานเชียงเหียน และต่อมาก็อพยพมาอยู่บ้านท่าสองคอนและต่อมาเกิดอหิวาตกโรคระบาดทำให้ผู้คนล้มตายจำนวนมาก ชาวบ้านท่าสองคอนจึงอพยพหนีโรคร้ายแบ่งออกเป็น 5 สาย คือ 1.บ้านเสียวโคกกลาง 2.บ้านวางรังกา 3.บ้านตั้งหินกอง 4.บ้านหนองโก 5.บ้านท่าสองคอน นอกจากนั้นแล้วบ้านท่าสองคอนยังมีผู้คนที่อพยพมาอยู่อาศัยหลังจากที่มีการย้ายครัวเรือนเพื่อหนีโรคระบาด คือ กลุ่มคนที่กมลาไสย
ชุมชนบ้านท่าสองคอนมีพื้นที่ทั้งหมด 63.37 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 39.608 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดกับลำน้ำชีซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านทำให้พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกซึ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ ลำน้ำชี อำเภอกันทรวิชัยและตำบลแก้งแก อำเภอกุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
- ทิศใต้ ติดกับ ตำบลแก่งเลิงจานและตำบลตลาด อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม
- ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลเกิ้งและตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
- ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลแก้งแก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ปัจจุบันจำนวนประชากรในตำบลท่าสองคอนมีทั้งหมด 13,258 คน มีจำนวนบ้านเรือนทั้งหมด 3,111 หลังคาเรือน
อาชีพหลักคือการทำนา เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร หลังจากทำนาแล้วมักประกอบอาชีพเสริมเป็นการทอผ้า ซึ่งเป็นหน้าที่ของแม่บ้าน ส่วนผู้ชายก็จะออกไปหารับจ้างทั่วไป
1. พระครูสารกจประยุต หรือหลวงพ่อสิงห์ พระเถราจารย์ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันไพศาล ผู้ใส่ใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ส่งเสริมให้ใครไปตัดไม้ทำลายป่า มีเมตตาต่อสรรพสัตว์ และมีการปรุงยาสมุนไพรแบบภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อสงเคราะห์ประชาชนที่เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ท่านได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2526
ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาไทยอีสาน เนื่องจากราษฎรส่วนมากอพยพมาจากอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ชาวตำบลท่าสองคอนมีการทอผ้าพื้นเมืองและผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์สิ่งทอมาตั้งแต่อดีต จากเดิมทอเป็นผ้านุ่งใส่เป็นเครื่องนุ่งห่มธรรมดา ไม่ได้ขาย และมีการดำเนินการอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยได้รับคำแนะนำจากวิทยาลัยครูและสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในเรื่องการออกแบบ เทคนิคการประดิษฐ์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนจำนวนมากและปัจจุบันเป็นที่รู้จักของหน่วยงานราชการและวงการธุรกิจทุกภูมิภาค
คมกริช ทองประสม. (2524). การสำรวจหมู่บ้าน บ้านท่าสองคอน ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม