ชุมชนภูไทบ้านนาโด่ ที่นับถือผีและนับถือศาสนาพุทธไปพร้อมๆ กัน โดยความเชื่อเรื่องผีของชาวบ้านนั้นมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้ประเพณีหรือพิธีกรรมในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นเกี่ยวกับผี
ตั้งตามต้นไม้ใหญ่ที่อยู่บริเวณหมู่บ้าน เนื่องจากมีต้นไม้ชนิดนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ลักษณะลำต้นสูงใหญ่ ไม่มีกิ่งก้านระหว่างลำต้น จะมีแต่กิ่งก้านอยู่บนยอดเท่านั้น
ชุมชนภูไทบ้านนาโด่ ที่นับถือผีและนับถือศาสนาพุทธไปพร้อมๆ กัน โดยความเชื่อเรื่องผีของชาวบ้านนั้นมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้ประเพณีหรือพิธีกรรมในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นเกี่ยวกับผี
ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านนาโด่เป็นหมู่บ้านของชาติพันธุ์ภูไท ที่ได้อพยพมาจากประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศไทย ซึ่งพื้นที่การตั้งถิ่นฐานนั้นเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรทางธรรมชาติ ชาวบ้านนาโด่ได้ย้ายมาจากเมืองโพนทอง ในปัจจุบันเมืองโพนทองเป็นทุ่งนา ชาวบ้านเรียกว่า นาแวง ชาวบ้านนาโด่ส่วนใหญ่อพยพมาจากประเทสลาวแล้วมาตั้งบ้านเมืองที่โพนทอง ซึ่ง ตาเพนาเหนือ และตามือชี้ คือเป็นคนริเริ่มในการอพยพชาวบ้านเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านนาโด่ จากการสันนิษฐานสรุปได้ว่าบ้านนาโด่ ก่อตั้งขึ้นพร้อมอำเภอหนองสูง ในต้นรัชกาลที่ 3 ปี พ.ศ.2387 นอกจากนี้ชาวบ้านในนาโด่บางส่วนก็อพยพมาจากบ้านนาปอ สาเหตุที่ชาวบ้านอพยพเพราะว่าที่บ้านนาปอนั้น เกิดโรคห่าระบาด ส่งผลให้ชาวบ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงพากันอพยพออกจากพื้นที่และกระจายออกไปอยู่ที่หมู่บ้านต่าง ๆ บ้านนาโด่มีลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่สูงเวลาหน้าฝน ทำท่วมไม่ถึง และบ้านนาโด่ยังเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็น ป่าไม้ ภูเขา
โครงสร้างพื้นฐานของชุมชน มีถนนเข้ามาใมหมู่บ้าน เมื่อ พ.ศ. 2518 ซึ่งถนนในหมู่บ้านปัจจุบันมีทั้ง ถนนลาดยาง ถนนลูกรัง และถนนคอนกรีต โดยถนนลาดยางมีอยู่เส้นเดียวในหมู่บ้าน ส่วนถนนเส้นภายในหมู่บ้านนั้จะเป็นถนนคอนกรีตและลูกรัง ไฟฟ้าในหมู่บ้านเข้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2532 ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน และหมู่บ้านนาโด่มความสมบูรณ์ทางทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ป่าไม้ ซึ่งแหล่งน้ำที่นี้เป็นแหล่งน้ำสาธารณะ มีการตัดการและใช้ประโยชน์ร่วมกัน คือ หนองนาโด่ กุดโง้ง กุดแข้ หนองน้ำท่วม กุดค้า ชลประธาน อ่างเก็บน้ำฝ่ายน้ำล้น มีที่ปลา ปู กุ้ง หอย ไว้เป็นอาหารในการเลี้ยงชีพ และป้าไม้ในหมู่บ้าน เป็นป่าไม้สาธารณะมีการจัดการและใช้ประโยชน์ร่วมกัน คือ ป่าดอนหอปู่ตา ภูผาเมย ป่าช้า นอกจากนี้ป่าไม้ชาวบ้านก็นิยมไปล่าสัตว์ป่า เก็บผัก เก็บเห็ด หน่อไม้ เป็นต้น
ประชากรในบ้านนาโด่ ส่วนใหญ่นั้นเป็นชาติพันธุ์ภูไท ซึ่งในอดีตประชากรจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท ทั้งหมดแต่มาปัจจุบันเริ่มมีชาติอื่นพันธุ์ที่หลากหลายเข้ามา เนื่องจาการแต่งงานกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น ชาติพันธุ์ไทอีสาน กระเหรี่ยง ข่า กะโซ่ จำนวนประชากรในหมู่บ้านนาโด่ หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 12 มีประชากรทั้งหมด 1127 คน แบ่งเป็นชาย 551 คน และหญิง 576 คน มีทั้งหมด 256 ครัวเรือน
ลักษณะครอบครัวของคนในชุมชนสมัยก่อนช่วง พ.ศ.2530 เป็นครอบครัวขยายหนึ่งครอบครัวจะมี ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อแม่ลูก อาศัยอยู่บ้านเดียวกันเป็นแบบครอบครัวใหญ่ ดำรงชีวิตแบบช่วยเหลือกัน แต่ปัจจุบันหลังการเข้ามาของไฟฟ้าและถนน ลักษณะครอบครัวก็เริ่มเปลี่ยนไปจากลักษณะครอบครัวขยาย ก็เริ่มมีครอบครัวเดียวขึ้นมา เนื่องจากสังคมเริ่มเข้าสู่ระบบการค้า การเกษตรเชิงพาณิชย์ มุ่งการใช้เงินในการดำเนินชีวิตมีลักษณะเศรษฐกิจทุนนิยม เน้นวัตถุเพื่อตอบสนองความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์ระบบเครือญาติในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างญาติพี่น้องลดลง
ปฏิสัมพันธ์ทางงสังคม ในอดีตชุมชนมีความสัมพันธ์กับชุมชนอื่น ๆ จะเป็นในรูปแบบการค้าขาย เพราะว่าจะมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อสินค้าทางการเกษตรกับชาวบ้าน แต่ในปัจจุบันชุมชนมีความสัมพันการชุมชนอื่น ๆ ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในการค้าขายมีทั้งพ่อค้ากลุ่มอื่นมาซื้อในหมู่บ้านและชาวบ้านนำไปออกไปขายเอง และในรูปแบบของการแต่งงานกับคนในชุมชนอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง ซึ่งมีการแต่งงานกับคนภูไทด้วยกันเองหรือแต่งงานกับชาติพันธุ์อื่น
โครงสร้างการปกครองของหมู่บ้านนาโด่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หมู่ที่ 6 บ้านนาโด่ และหมู่ 12 บ้านนาโด่น้อย ซึ่งก่อนปี พ.ศ.2528 บ้านนาโด่เป็นเพียงแค่หมู่เดียว คือ หมู่ที่ 6 และมาแบ่งการปกครองเป็น 2 หมู่ตั้งแต่ พ.ศ.2528 เป็นต้นมา
ความเปลี่ยนแปลงในบ้านนาโดมีมาอย่างเรื่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงที่คอมมิวนิสต์เข้ามายึดพื้นที่บ้านนาโด่เพื่อใช้เป็นฐานทัพในการต่อสู้รัฐบาล ช่วงปีพ.ศ. 2507-2523 ส่งผลให้รัฐบาลทำถนนเข้าในหมู่บ้าน หลังจากนั้นก็มีไฟฟ้าเข้ามา เมื่อปี 2532 ทำให้วิถีชีวิตชาวบ้านนาโด่มีความเปลี่ยนแปลงจาก เมื่อก่อนการมีถนน วิถีชีวิตของชาวเป็นลักษณะแบบเกษตรเพื่อยังชีพ มีความพึ่งพาอาศัยและเกื้อกลูกัน ไม่มีการซื้อขายกันระหว่างคนในหมู่บ้าน จะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้า หลังจากยุคคอมมิวนิสต์ มีการเข้ามาของไฟฟ้าและถนน วิถีชีวิตของชาวบ้าน เงิน เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น หมู่บ้านที่เป็นเชิงเกษตรพาณิชย์ เพราะมีการติดต่อซื้อขายกับคนภายนอก ขนส่งมีความสะดวกสบายยขึ้น หมู่บ้านก็มีพ่อค้าจากภายนอกเข้ามาซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากชาวบ้านมากขึ้นหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจของหมู่บ้าน
ชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านนาโด่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร ทำนา และ ไร่อ้อย มันสำปะหลัง ปอ แตงโมแตงไท ถั่วลิสง เป็นต้น ดังนั้นรายได้หลักของชาวบ้านมาจากเกษตรกรรม นอกจากนี้รายได้ของชาวบ้านส่วนหนึ่งมาจากการรับจ้าง ไม่ว่าจะเป็นการทำเกษตรจากในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านใกล้เคียง และรายได้อีกส่วนมาจากการที่ลูกหลานไปทำงานนอกพื้นที่แล้วส่งมาให้ที่บ้าน
เศรษฐกิจของชาวบ้านเมื่อก่อนช่วง พ.ศ.2530 จะเป็นลักษณะเศรษฐกิจแบบยังชีพ เน้น ช่วยเหลือเกื้อกลูกัน มีความสามัคคี แต่ช่วงหลังมีการเข้ามาของไฟฟ้า ความเจริญและทันสมัย ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านเริ่มเปลี่ยนไป ลักษณะเศรษฐกิจในหมู่บ้านเป็นไปตามวัตถุนิยม เพื่อสถานะทางสังคมของตนเอง เช่น การซื้อโทรศัพท์ พัดลม ตู้เย็น รถไถนา รถจักรยายนต์ รถยนต์ เครื่องซักผ้า เตาแก๊ส โทรทัศน์ และผลักดันให้ลูกหลานในหมู่บ้านเมื่อเติบโตขึ้นก็จะอพยพ ไปทำงานนอกพื้นที่ เช่น การเข้ามาทำงานในกรุงเทพ เพื่อหาเงินส่งไปให้ครอบครัวที่อยู่ทางบ้าน เพื่อใช้ซื้อสิ่งที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ
คนภูไทบ้านนาโด่จะนับถือผีและนับถือศาสนาพุทธไปพร้อมๆ กัน โดยความเชื่อเรื่องผีของชาวบ้านนั้นมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และศาสนาพุทธก็เริ่มเข้ามาภายหลัง ผีที่ชาวบ้านนับถือในปัจจุบันมีดังนี้
ผีบรรพบุรุษ หรือผีปู่ผีย่า ชาวบ้านมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ล่วงหลับไปแล้วจะมาคอยปกป้องคุ้มครอง ลูกหลานในตระกูล ส่งผลให้ชาวบ้านเมื่อจะทำอะไรจะมีการบอกกล่าวให้ ผีบรรพบุรษให้รับรู้ก่อน เพื่อความราบรื่นในสิ่งที่ทำ หรือไม่หากมีอาการป่วยโดยไม่รู้สาเหตุและจะรักษาทางการแพทย์ไม่หาย จะมาทำพิธีขอขมาผีบรรพบุรุษ โดยจะมีการเลี้ยงผีเพื่อขอขมา
ผีตาแหะ(ผีไร่ผีนา) ชาวบ้านมีความเชื่อว่าไร่นา มีผีเจ้าของที่เป็นผีฟ้ารักษาอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อจะทำอะไรจะต้องมีการบอกกล่าวให้รู้ก่อน เช่น เมื่อชาวบ้านจะทำนา ต้องมีการบอกกล่าวให้รู้จะทำนา ในวันไหนซึ่งเชื่อว่าหากมีการบอกกล่าวจะทำให้ได้ผลผลิตดี ทำให้มีรายได้เพิ่ม
ผีปู่ตา คือผีประจำหมู่บ้าน ชาวบ้านเชื่อว่าทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองคนในหมู่บ้านให้อยู่อย่างร่มเย็น โดยจะมีการเลี้ยงผีปู่ตาทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือนพฤษภาคม หรือเดือน 6 ในปฏิททินไทย และเดือนพฤศจิกายน (เดือน 12 ) โดยชาวบ้านจะเลี้ยงรวมกันทั้งหมู่บ้าน
ชุมชนบ้านนาโด่มีนักปราชญ์ชาวบ้านหลายด้าน คือ
หมอลำหมู่ ได้แก่ ปู่ขวาง,ปู่เติน
หมดแคน ได้แก่ ปู่เล่ม, ปู่เหนือ, ปู่คำเหล่า
หมดยาสมุนไพร ได้แก่ พระอาจารยืบุญมี, ปู่ไหว
หมดเป่า ได้แก่ ย่ามุก, ปู่เวศ ,ปู่เลิน อาจารย์เปด, ปู่ติ
จักสาน ได้แก่ ปู่ใส, ปู่ใจ, ปูพงษ์, ปู่เหนือ, ปู่ร่สม, ปู่นุ่น, ปู่แถว
โดยนักปราชญ์ทั้งหมดมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปภูมิปัญญาของนักปราชญ์ชาวบ้านไม่มีการถ่ายทอดภูมิปัญยาดังกล่าว เนื่อจากลูกหลานในหมู่บ้านไม่สนใจในการรู้ภูมิปัญญา ทำให้องค์ความรู้เหล่านี้นับวันก็จะเลือนหายไปตามกาลเวลา
ประเพณีการแต่งงานของคนภูไท ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านนาโด่ เรียกประเพณีงานแต่งนี้ว่า เอ็ดปาซู เป็นประเพณีที่ปฏิบัติมาตั้งแต่ในอดีต ประเพณีการแต่งงานของคนภูไท บ้านนาโด่ เข้าพิธีการแต่งงานตอนแรกฝ่ายชาย (เจ้าบ้าน) จะไปอยู่กับฝ่ายหญิงก่อน เรียกว่า “ไปซูเมีย” การไปอาศัยอยู่กับฝ่ายหญิงนั้นจะอาศัยแค่ช่วงแรกของการแต่งงาน ซึ่งระยะเวลาในการอยู่ขึ้นอยู่ตามความสะดวกของฝ่ายชาย โดยก่อนจะกลับมาอยู่บ้านฝ่ายชาย พ่อแม่ของฝ่ายชายจะต้องขอหรือพูดคุยกับพ่อแม่ฝ่ายหญิง เพื่อให้ลูกชายกะสะใภ้กลับมาอยู่บ้าน สาเหตุที่ฝ่ายชายต้องไปอยู่กะฝ่ายหญิงเพราะว่าสมัยก่อนฝ่ายชายไม่มีเงินให้ค่าสินสอดแกพ่อแม่ฝ่ายหญิง ดังนั้นฝ่ายชายจึงต้องมาอยูที่บ้านฝ่ายหญิงเพื่อเป็นแรงงานให้ครอบครัวฝ่ายหญิงเสียก่อน เปรียบเสมิอนการใช้แรงงานแทนค่าสินสอด
อัตลักษณ์การแต่งกาย คือในสมัยก่อนการจัดงานแต่งงานนั้นคู่บ่าสาวจะใส่ชุดประจำของคนภูไท แต่ปัจจุบันจะใส่ชุดตามสมัยนิยมทั่วไป เช่น ชุดไทย หรือชุดราตรีแบบฝรั่ง
ภาษาส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านนาโด่ใช้ในการสื่อสารกันในหมู่บ้าน
กลุ่มภาษาภูไท
ภาษาที่ใช้พูด ภาษาภูไท
ภาษาที่ให้เขียน เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีผู้พูดจำนวนไม่น้อย กระจัดกระจายในภูมิภาคต่างๆ ของไทยลาวและเวียดนามเข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอยู่ในเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูของเวียดนาม เรียกว่าชาวไทดำในปัจจุบัน มีการจัดให้ภาษาผู้ไทเป็นกลุ่มย่อยของภาษาไทดำอีกทอดหนึ่ง
ดวงมณี นารีนุช และคณะ,(2553), โครงการ การฟื้นฟูอัตลักษณ์การแต่งงานของคนภูไท เพื่อลดค่าช้จ่ายในการแต่งงาน : กรณีศึกษาคนภูไทบ้านนาโด่ ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร.