Advance search

เขาราวเทียน

ชุมชนเขาราวเทียนทองได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญจากการมีอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงมีการก่อตั้งกลุ่มป่าชุมชนบ้านเขาราวเทียนทอง และกำหนดพื้นที่ป่าชุมชนเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าเขาราวเทียนเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชนให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

เขาราวเทียนทอง
เนินขาม
เนินขาม
ชัยนาท
ธำรงค์ บริเวธานันท์
11 ก.ค. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
12 ก.ค. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
17 ก.ค. 2023
บ้านเขาราวเทียนทอง
เขาราวเทียน

บ้านเขาราวเทียนทอง มีชื่อเดิมว่า หมู่บ้านเขากระเจียว มีที่มาจากการที่หมู่บ้านมีเขาลูกใหญ่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ หมู่บ้านหลายลูก ซึ่งจะมีต้นกระเจียวทั่วทั้งภูเขา ภูเขาแต่ละลูกจะต่อกันทอดยาวไปจนถึงจังหวัดอุทัยธานี เวลามีไฟป่าเกิดขึ้นยอดไม้ที่ลุกติดไปเมื่อมองดูไกล ๆ ราวกับมีผู้จุดเทียนประดับประดาไว้บนเขา ชาวบ้านเห็นจึงตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า เขาราวเทียน ต่อมาเพิ่มคำว่าทอง เข้าไปเพื่อให้ไพเราะและเป็นสิริมงคล


ชุมชนชนบท

ชุมชนเขาราวเทียนทองได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญจากการมีอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงมีการก่อตั้งกลุ่มป่าชุมชนบ้านเขาราวเทียนทอง และกำหนดพื้นที่ป่าชุมชนเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าเขาราวเทียนเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชนให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

เขาราวเทียนทอง
เนินขาม
เนินขาม
ชัยนาท
17130
15.00270446
99.85997334
เทศบาลตำบลเนินขาม

บ้านเขาราวเทียนทอง แต่เดิมมีชื่อว่า หมู่บ้านเขากระเจียว เนื่องมาจากหมู่บ้านมีเขาลูกใหญ่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ หมู่บ้าน ในบริเวณเขาทั่วทั้งลูกมีพืชชนิดหนึ่ง เรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า ต้นกระเจียว ลักษณะเป็นกอมีดอกสีขาว และขาวอมแดง โดยเขาแต่ละลูกที่ล้อมรอบหมู่บ้านจะทอดยาวไปจนถึงจังหวัดอุทัยธานี เมื่อเวลามีไฟป่าเกิดขึ้น ยอดไม้ที่ลุกติดไฟ เมื่อมองดูไกล ๆ ราวกับว่ามีผู้จุดเทียนประดับประดาไว้บนเขา ชาวบ้านเห็นภาพภูเขาดังกล่าวงดงามดี จึงขอตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า หมู่บ้านเขาราวเทียน ต่อมาพิ่มคําว่า “ทอง” ต่อท้าย เพื่อให้ไพเราะมากขึ้นและเพื่อความเป็นสิริมงคล จึงเรียกเป็นชื่อ บ้านเขาราวเทียนทอง

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 เริ่มมีชาวบ้านจาก ตําบลบ้านเชี่ยน อําเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และสุพรรณบุรี ครอบครัวแรกที่มาตั้งรกรากในหมู่บ้าน ได้แก่ ครอบครัวของนายใย สีวันนา นายมุข ทาเอื้อ นายหวัด พุฒิพล หมอเย็น พิมพ์สวัสดิ์ นายมณี ภมรพล นายดี ปานทองคํา นายรอน พรหมรังสี นายนิ้ง ศรีไพบูลย์ นายกอง แก้วสุข และนางสมเกียรติ มณีวงษ์ โดยระยะแรกที่คนกลุ่มดังกล่าวย้ายเข้ามา พื้นที่บริเวณนี้ยังไม่มีเจ้าของจับจอง ชาวบ้านที่อพยพเข้ามาจึงอาศัยจับจองที่ดินทําการเกษตรเล็ก ๆ น้อย ๆ พอกินพอใช้ ต่อมาญาติมิตรของครอบครัวเหล่านี้ก็อพยพครอบครัวติดตามเข้ามาสมทบเพิ่มมากขึ้น และมีการซื้อขายที่ดินกันบ้าง สมัยนั้นที่ดินยังไม่มีราคา จะซื้อขายกันในราคาไร่ละ 80-100 บาท (ปืนแก๊ปหนึ่งกระบอกแลกที่ได้ 30-40 ไร่) หลังจากนั้นมาเริ่มมีการแผ้วถางป่า ตัดไม้มาเผาถ่าน และตั้งเป็นชุมถ่าน (กลุ่มครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเผาถ่านขาย) ต่อมาประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก และมีผู้อพยพเข้ามาทุกปี จึงมีการเสนอให้แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน โดยนายเปลื้อง ใจเย็น เป็นผู้ได้รับเลือกจากชาวบ้านให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านเขาราวเทียนทอง

ทรัพยากรป่าไม้

บ้านเขาราวเทียนทองมีพื้นที่ทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญ คือ ป่าเขาราวเทียนทอง มีเนื้อที่รวม 993 ไร่ จัดเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 และได้ขอจัดตั้งเป็นป่าชุมชนตามระเบียบของกรมป่าไม้เรียบร้อยเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2542 พื้นที่ป่าชุมชนเป็นภูเขายาวติดต่อกันและเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ 4 ลูก กระจายอยู่ใกล้หมู่บ้าน ดินมีลักษณะเป็นดินลูกรังปนทราย มีความลาดชันของพื้นที่ประมาณ 65% สภาพพื้นที่ของภูเขาทั้ง 4 ลูก มีลักษณะดังนี้

  • ลูกที่ 1 บริเวณเขากระเจียว มีเนื้อที่ 169 ไร่ เป็นเทือกเขาติดต่อกัน 2 ลูก มีความสูงตั้งแต่ 100-165 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพดินเป็นดินลูกรัง บางแห่งเป็นดินร่วนปนทราย

  • ลูกที่ 2 บริเวณเขารวก มีเนื้อที่ 281 ไร่ เป็นเทือกเขาติดต่อกัน 2 ลูก มีความสูงตั้งแต่ 150-185 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีถ้ำอยู่ 1 แห่ง สภาพดินเป็นดินลูกรัง

  • ลูกที่ 3 บริเวณเขาวัด มีเนื้อที่ 81 ไร่ มีลักษณะเป็นเนินเตี้ย ๆ มีความสูงตั้งแต่ 70-90 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรัง

  • ลูกที่ 4 บริเวณมอยายกา มีเนื้อที่ 462 ไร่ มีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ ติดต่อกัน เป็นแนวยาว มีความสูงประมาณ 90 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพดินเป็นดินลูกรัง บางส่วนเป็นดินร่วนปนทราย

สภาพป่าเขาราวเทียนทอง

ป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง เป็นพื้นที่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มีสภาพป่าเป็นป่าผลัดใบ (deciduous forest) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ป่าเบญจพรรณ (mixed deciduous forest) เป็นป่าที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ ของป่าชุมชน การปกคลุมเรือนยอดค่อนข้างแน่นทึบไปด้วยต้นไผ่รวก และมีลูกไม้เริ่มเจริญเติบโต ได้แก่ ตะแบกใหญ่ มะม่วงหัวแมงวัน ประดู่ มะค่าโมง เป็นต้น

2. ป่าเต็ง มีลักษณะเป็นหย่อมป่าขนาดเล็กอยู่บริเวณยอดเขา เรือนยอดโปร่ง ต้นไม้ที่ ขึ้นอยู่เป็นกล้าของไม้ใหญ่ที่เริ่มเจริญเติบโต ได้แก่ ไม้เต็ง ไม้รัง ยอป่า งิ้วป่า เป็นต้น ไม้พื้นล่างที่พบได้แก่ สาบเสือ และเปราะป่า (หทัยชนก คะตะสมบูรณ์, 2550: 83-83)

ทรัพยากรน้ำ

ในอดีตบ้านเขาราวเทียนทองไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องอาศัยน้ำฝนในการอุปโภค บริโภค ชาวบ้านที่เข้ามาตั้งชุมชนในช่วงแรก นอกจากน้ำฝนฝนแล้ว ต้องใช้น้ำจากบ่อซึม บ่อน้ำสาธารณะที่ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันขุดขึ้นมาให้พอใช้สําหรับทุกคนในชุมชน แต่ในปัจจุบันเมื่อการสร้างฝายเก็บน้ำร่องรกฟ้า ซึ่งอยู่ในพื้นที่บ้านแก่นหนองมะเกลือ หมู่ที่ 13 ตำบลเนินขาม ทางทิศเหนือของบ้านเขาราวเทียนทอง ทําให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ในการทําการเกษตรมากขึ้น

ที่ดินทำกิน

สภาพดินในพื้นที่บ้านเขาราวเทียนทอง โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ดินลูกรัง ซึ่งเสื่อมสภาพลงไปมาก ทั้งมีความแข็งตัวอัดแน่น ทําให้ผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านต่ำลงทุกปี ที่ดินทํากินในบ้านเขาราวเทียนทอง สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ ที่ไร่ ที่สวน และที่นา

ลักษณะการตั้งบ้านเรือน

เนื่องจากในอดีชาวบ้านมีอาชีพเผาถ่านขาย จึงมีการก่อตั้ง ชุมถ่าน” หรือบ้านเรือนของชาวบ้านที่มีประกอบอาชีพเผ่าถ่าน การตั้งบ้านเรือนจะกระจายตัวไปตามที่ราบและที่ลาดเนินเขาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพื้นที่บ้านเรือนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือบริเวณใกล้เคียงกัน หรือหย่อมเดียวกัน โดยทั่วไปมักจะเป็นบ้านเรือนของเครือญาติสายตระกูลเดียวกัน

เส้นทางคมนาคม

การเดินทางสู่หมู่บ้านเขาราวเทียนทอง สามารถเดินทางได้ทุกฤดูกาล เนื่องจากมีถนนลาดยางจากอําเภอเนินขาม ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร (ถนนสายหันคา-บ้านไร่) แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. สายบ้านกลาง-หนองแวง ไปทางทิศเหนืออีกประมาณ 6 กิโลเมตร สําหรับรถโดยสารประจําทางสายหันคา-เนินขาม สามารถขึ้นรถได้ที่บ้านหนองแก่นมะเกลือ เวลาประมาณ 7 โมงเช้า ซึ่งจะวิ่งผ่านบ้านเขาราวเทียนทองไปยังอําเภอหันคา เวลาประมาณเที่ยงวัน

ลักษณะครอบครัวในหมู่บ้านเขาราวเทียนทองมี 2 ลักษณะ คือ ครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย ทั้งนี้ภาพรวมของชุมชนจะเป็นครอบครัวขยาย หรือครอบครัวขนาดใหญ่ ในครอบครัวหนึ่งจะมีสมาชิกอยู่รวมกัน 2-3 รุ่น คือ ผู้สูงอายุ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้ใหญ่วัยกลางคนหรือวัยทํางาน ได้แก่ พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา และวัยเด็ก ได้แก่ ลูก หลาน ลักษณะครอบครัวขยายในชุมชนบ้านเขาราวเทียนทองมี 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรก มีการอาศัยอยู่ร่วมกันกับบิดามารดาและญาติพี่น้องในบ้านหลังเดียวกัน กินอยู่ร่วมกัน ประกอบอาชีพด้วยกัน เช่น ทําการเกษตรกรรมหรือรับจ้างทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ อีกลักษณะหนึ่ง คือ เป็นครอบครัวใหม่ที่แต่งงานและแยกออกมาสร้างบ้านหลังใหม่ แต่ยังคงอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงบ้านพ่อแม่ ยังคงช่วยกันประกอบอาชีพด้วยกัน มีการช่วยกันทํานาร่วมกัน ทําไร่อ้อย ไร่มันสําปะหลังร่วมกัน เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็จะแบ่งผลผลิตแก่สมาชิกในครอบครัวอย่างเท่าเทียมกัน

กล่าวได้ว่าสถาบันครอบครัวของชุมชนยังคงมีการความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ซึ่งเป็นลักษณะของครอบครัวในชนบท ถึงแม้ว่าจะมีการแยกครอบครัวใหม่ แต่ยังมีการไปมาหาสู่กัน ประกอบกิจกรรมร่วมกัน และแม้ว่าจะมีบางครัวเรือนที่มีลูกหลานออกไปประกอบอาชีพนอกชุมชน หรือต่างจังหวัด แต่เมื่อถึงช่วงเทศกาลหรือประเพณีสำคัญของชุม ลูกหลานชาวเขาราวเทียนทองก็จะพร้อมใจกันเดินทางกลับมายังภูมิลำเนาอย่างพร้อมเพียง 

เดิมพื้นที่บ้านเขาราวเทียนทองเป็นพื้นที่ที่มีป่าหนาแน่น เต็มไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ 3-4 คนโอบ เช่น ต้นมะค่า โม่ง มีสัตว์ป่าอาศัยชุกชุม เช่น กระต่าย หมูป่า เสือ โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกของเขาราวเทียนทองที่ติดกับเขตอําเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี กล่าวกันว่าในอดีตเมื่อขึ้นเขาราวเทียนทองแล้วจะหาทางลงมาจากเขามาไม่ได้ เนื่องจากมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก จึงเป็นแรงจูงใจให้ชาวบ้านย้ายถิ่นฐานมาในบริเวณนี้เพื่อหาที่ดินทํากิน

การประกอบอาชีพของชาวบ้านในระยะแรก คือ การเผาถ่านขาย การหาของป่า การผลิตในช่วงเวลานี้มีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน แต่เนื่องพื้นที่บริเวณบ้านเขาราวเทียนทองเป็นพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ มีพื้นที่เพียงส่วนน้อยที่สามารถปลูกข้าวได้ ดังนั้น จึงทําให้ครอบครัวส่วนใหญ่ต้องเก็บของป่าไปแลกข้าวจากชุมชนใกล้เคียง นอกจากนี้ชาวบ้านยังประกอบอาชีพเผาถ่านขาย ไม้ที่ใช้ในการเผาถ่านส่วนใหญ่เป็นไม้ประเภท ไม้แดง ไม้เต็ง และไม้รัง รวมถึงการทำไร่อ้อย ทำนา ทำไร่ ทำสวน รับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ

หลังจากปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน รูปแบบการผลิตหรือระบบเศรษฐกิจในชุมชนเปลี่ยนไปเป็นการผลิตเพื่อการค้า พืชเสณาฐกิจของชาวบ้าน ได้แก่ อ้อย และมันสำปะหลัง ซึ่งหากปีใดราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ เท่ากับว่าปีนั้น ๆ ต้องมีหนี้สินเพิ่มขึ้น เช่น ในปี พ.ศ. 2535-2536 ราคาอ้อยตกต่ำเพราะโรงงานที่รับซื้ออ้อยให้ราคารับซื้อถูกลงกว่าปีที่ผ่านมา เกษตรกรหลายคนต้องมีหนี้สินเพิ่มขึ้นและบางคนต้องหมดตัว ต้องขายที่ดินทํากิน และผันตัวเองไปเป็นแรงงานรับจ้างในภาคอุตสาหกรรม บางครอบครัวต้องให้ลูกออกจากโรงเรียนทั้งที่ยังเรียนไม่จบประถมศึกษา เพื่อไปเป็นแรงงานก่อสร้าง หรือทํางานในโรงงานเพื่อช่วยพ่อแม่ทํางานหารายได้ใช้หนี้ที่เกิดขึ้นจากการขาดทุนจากการทําไร่

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาราวเทียนทอง

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาราวเทียนทองเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของสตรีที่มีฝีมือในการเย็บผ้า แล้วต้องตกงานเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ําในปี พ.ศ. 2540 ทําให้แรงงานในหมู่บ้านที่เคยอพยพออกไปทํางานต่างจังหวัด ต้องคืนถิ่นกลับสู่บ้านเกิด แต่เมื่อกลับมาต้องพบกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ไม่มีที่ดินทําการประกอบอาชีพ สตรีกลุ่มนี้เกิดความกังวลใจว่าจะประกอบอาชีพอะไร จึงปรึกษากับผู้นําในชุมชนและผู้นําได้พาไปปรึกษากับ สํานักงานเกษตรกิ่งอําเภอเนินขาม และทางสํานักงานเกษตรกิ่งอําเภอเนินขามจึงได้ทําหนังสือถึงสํานักงานเกษตรจังหวัดชัยนาทว่าทางหมู่บ้านเขาราวเทียนทองต้องการขอจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ซึ่งทางสํานักงานเก่เกษตรจังหวัดชัยนาทก็มีความยินดีสนับสนุน พร้อมมอบเงินสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มจํานวน 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขให้ผ่อนชําระ 5 ปี ไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งต้องส่งคืนกองทุนกลุ่มแม่บ้านเกษตรจังหวัดชัยนาทที่เป็นตัวแทนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรในแต่ละอําเภอเป็นคณะคณะกรรมการกองทุนอยู่ สตรีที่มีฝีมือเย็บผ้าจึงไปชักชวนเพื่อนบ้านที่เป็นสตรีในหมู่บ้านอีกจํานวน 30 คน มาตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านเขาราวเทียนทองขึ้น ก่อนเริ่มทํากิจกรรมทางกลุ่มสตรีบ้านเขาราวเทียนทอง พร้อมทั้งผู้นําได้รับคําแนะนําจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ว่าควรทํากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเขาราวเทียนทองจึงเห็นสมควรว่าควรนําหน่อไม้รวกที่มีอยู่เป็นจํานวนมากเต็มพื้นที่ป่าเขาราวเทียนทองมาแปรรูป แต่สตรีที่มีฝีมือในการเย็บผ้าต้องการที่จะเย็บผ้าต่อ ดังนั้นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเขาราวเทียนทองจึงตัดสินใจร่วมกันว่าจะทํากิจกรรม 2 อย่าง คือ กิจกรรมเย็บผ้า และกิจกรรมแปรรูปอาหารหน่อไม้ดองอัดไป

กลุ่มป่าชุมชนบ้านเขาราวเทียนทอง

กลุ่มป่าชุมชนบ้านเขาราวเทียนทอง เป็นกลุ่มชุมชนที่เกิดขึ้นจากความตระหนักของชาวบ้านที่ต้องการใช้ทรัพยาธรรามชาติอย่างยั่งยืน จึงได้มีการก่อตั้งกลุ่มป่าชุมชนเขาราวเทียนทองเพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่นและมีรายได้เสริม กิจกรรมการอนุรักษ์ป่าเขาราวเทียนทองจึงเกิดขึ้นในบ้านเขาราวเทียนทองอีกหนึ่งกิจกรรม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนระยะแรกจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเขาราวเทียนทองเป็นจํานวนเงิน 4,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดับไฟป่า เช่น ถังน้ำ เชือก ไม้กวาด เป็นต้น

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกรู้จัดการอดออมเงินไว้ใช้ในยามจําเป็นและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ใรวาระโอกาสทรงมีพระชน มายุ 72 พรรษา กฎระเบียบ คือ สมาชิกต้องฝากเงินออมทุกเดือน เดือนละไม่ต่ำกว่า 50 บาท เป็นเวลา 3 ปี จึงจะสามารถถอนเงินออกมาใช้จ่ายได้ 

วัฒนธรรมประเพณี

ชุมชนบ้านเขาราวเทียนทองมีวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายคลึงกับชุมชนอื่น ๆ ในภาคกลางทั่วไป อาทิ ประเพณีการทําบุญ งานศพ งานแต่งงาน งานบุญในวันสําคัญทางพุทธศาสนา เป็นต้น แต่มีประเพณีการแห่นางแมวขอฝนที่แตกต่างจากวิถีชีวิตของคนในชุมชนภาคกลาง เพราะชุมชนบ้านเขาราวเทียนทองอยู่ใกล้กับชุมชนบ้านเนินขาม ซึ่งในอดีตมีชาวลาวโส่งอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ประเพณีการแห่นางแมวของฝนจะทําในช่วงก่อนการทําไร่ ทํานา หรือในช่วงที่มีสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ก่อนขบวนแห่นางแมวจะเริ่มขึ้นต้องทําพิธีบวงสรวงเทวดาเพื่อขอให้ฝนตก แล้วนําแมวใส่กรงแห่เวียนไปให้แต่ละบ้านนําน้ำมาสาดแมว แต่ปัจจุบันประเพณีการแห่นางแมวได้ถูกยกเลิกแล้ว เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอด เพราะชาวบ้านมีความคิดเห็นตรงกันว่าไม่เหมาะสมกับยุคสมัยในปัจจุบัน

การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย

บ้านเขาราวเทียนทอง มีการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นบริเวณหน้าวัดเขาราวเทียนทอง และบริเวณริมถนนสายบ้านกลาง ซึ่งเป็นลักษณะปกติของคนไทยทั่วไปที่นิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แหล่งคมนาคม เพราะการเดินทางและการทํามาหากินสะดวก ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านที่มีรายได้น้อย บ้านจะมุงด้วยสังกะสี หรือมุงแฝกทั้งหลัง บ้านที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูงจะสร้างบ้านด้วยไม้ หรือปูนทั้งหลัง หรือครึ่งปูนครึ่งไม้ มีทั้งบ้านชั้นเดียวและบ้าน 2 ชั้น ในแต่ละบ้านจะมีอาณาเขตพื้นที่ของตนเองเพื่อปลูกผักสวนครัวเล็ก ๆ ไว้ข้างบ้าน โดยพื้นที่จะแตกต่างกันไปตามฐานะ เนื่องจากบ้านเขาราวเทียนทองเป็นชุมชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การปลูกพืชไร่ ดังนั้นลักษณะเด่นของชุมชนอีกอย่าง คือ ข้างบ้านจะมีไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย ไร่มันสําปะหลัง อยู่ข้าง ๆ บ้าน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ: ป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง

ป่าชุมชนเขาราวเทียนทองตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาราวเทียนทอง ในอดีตราว ๆ 50 กว่าปี เป็นป่าที่มีระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยภูเขา 4 ลูก คือ เขากระเจียว เขาวัด เขารวก และมอยายกา ชาวบ้านใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เป็นป่าสมุนไพร เป็นแหล่งอาหาร ไม้ใช้สอย เป็นต้นกำเนิดของสายน้ำลำธาร และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด แต่ต่อมาพื้นที่ป่าถูกบุกรุกเพื่อตัดไม้ทำฟืนและเผาถ่านขาย สร้างความเสื่อมโทรมให้กับผืนป่าเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ. 2541 ชาวบ้านจึงได้ร่วมพูดคุยกันอย่างจริงจังถึงแนวทางการร่วมอนุรักษ์ผืนป่าเขาราวเทียนทองให้กลับมาอุดมสมบูรณ์นำมาสู่การจัดตั้งคณะกรรมการป่าชุมชน เริ่มทำกิจกรรมอนุรักษ์ ได้แก่ การทำแนวกันไฟ การดับไฟป่า การปลูกต้นไม้เสริมและพืชอาหารในพื้นที่ว่าง การลาดตระเวนตรวจตราผืนป่า และสิ่งที่อาจจะถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการป่าครั้งแรกของป่าชุมชนในเมืองไทยก็คือ การกำหนดช่วงเวลาการเก็บหาหน่อไม้ในป่ารวก

โดยให้เดือนมิถุนายน-สิงหาคม เป็นช่วงเก็บหาหน่อไม้ แต่ละคนต้องไม่เก็บหน่อในกอซ้ำกัน และแต่ละคนที่เก็บหน่อจะเก็บได้เพียง 3 ใน 4 เพื่อเหลือไว้เป็นหน่อเชื้อ พอถึงเดือนกันยายนก็จะเป็นช่วงเวลา ปิดป่า หมายถึง ปิดฤดูกาลเก็บหน่อไม้ เพื่อให้พืชอาหารชนิดนี้ได้มีโอกาสเติบโตในฤดูกาลต่อไป ซึ่งผลการดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปในทิศทางที่ดี จึงได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นเครือข่ายป่าเขาราวเทียนทองในเวลาต่อมา

โดยมีการคัดเลือกคณะกรรมการและออกกฎระเบียบร่วมกัน เช่น มีการแบ่งพื้นที่ทำกิน และพื้นที่อนุรักษ์อย่างชัดเจน ห้ามไม่เข้าไปตัดไม้ และทำไร่นอกเขตที่ได้รับการจัดสรร ห้ามล่าสัตว์ป่าโดยเด็ดขาด หากใครฝ่าฝืนถือว่าละเมิดกฎของหมู่บ้านและมีบทลงโทษชัดเจน อีกทั้งยังช่วยกันสอดส่องไม่ให้นายทุนหรือบุคคลภายนอกเข้าไปตัดไม้อีกด้วย รวมทั้งมีการบวชป่าทำแปลงเพาะต้นกล้าเพื่อใช้ในการปลูกป่าตลอดจนการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ เป็นต้น ส่วนกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์จัดการป่าชุมชนร่วมกัน เช่น กิจกรรมด้านการขยายเครือข่าย กิจกรรมด้านการดูแลและเฝ้าระวังป้องกันไฟป่า ในทุก ๆ ปี เครือข่ายจะทำแนวกันไฟรอบ ๆ ป่าเขาราวเทียนทอง และซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา จัดเวรยามออกตรวจป่าทุก ๆ เดือน ป้องกันการจุดไฟเผาป่าและลักลอบตัดต้นไม้ และในช่วงหน้าฝนจะมีการปลูกป่าเสริมเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง

นอกจากกิจกรรมการดูแลป่าแล้ว สิ่งที่ชาวบ้านให้ความสำคัญ คือ การพึ่งตนเองของเครือข่าย โดยได้ตั้งเป็นกลุ่มเครื่องสีข้าวด้วยมือ กลุ่มเครื่องอัดหญ้า กลุ่มฉางเก็บข้าว กลุ่มเครื่องอิฐบล็อกประสาน กลุ่มออมทรัพย์เครือข่ายป่าเขาราวเทียนทอง แล้วให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนในไร่นา ส่วนดอกผลที่ได้นำมาปันผลให้กับสมาชิกตอนสิ้นปี ปัจจุบันชาวบ้านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อหาอาหาร เพราะป่าที่ชาวบ้านฟื้นขึ้นมาคือแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตให้มีกินอิ่มท้องทุกมื้อ ดังนั้น ทุกคนในชุมชนจึงมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะรักษาผืนป่าเขาราวเทียนทองแห่งนี้ไว้ให้นานที่สุด โดยการสร้างจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของร่วมกันเพื่ออยู่คู่กับป่าได้อย่างไม่รบกวนธรรมชาติ (เปรมปรีด์ นาราช, 2549: ออนไลน์)

ภาษาพูด: ภาษาไทยกลาง

ภาษาเขียน: ภาษาไทยกลาง


ไฟฟ้า: ในอดีตชุมชนบ้านเขาราวเทียนทองต้องอาศัยแสงเทียนให้ความสว่างในเวลากลางคืน ต่อมาเริ่มใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าด โดยซื้อน้ำมันก๊าดในราคาลิตรละ 3-5 บาท แต่บ้านฐานะยากจนยังคงใช้เทียนในการให้ความสว่างเช่นเดิม เนื่องจากไม่มีเงินพอที่จะใช้ซื้อน้ํามันก๊าด เมื่อปีพ.ศ. 2530 ได้มีการติดตั้งไฟฟ้าเข้าสู่หมู่บ้าน ซึ่งทําให้การคมนาคมและการดํารงชีวิตมีความสะดวกมากขึ้น ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้กันครบทุกหลังคาเรือน ไฟฟ้าที่ใช้นี้อยู่ในความดูแลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ประปา: เนื่องจากชาวที่ตั้งของหมู่บ้านมีความแห้งแล้งมาก และไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติในหมู่บ้าน จึงทําให้ชาวบ้านต้องใช้น้ำจากบ่อน้ำซึม บ่อน้ำสาธารณะที่ชาวบ้าร่วมกันขุดขึ้นมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ชาวบ้านและคณะครูโรงเรียนบ้านเขาราวเทียนทองได้ร่วมกันสร้างระบบน้ำประปาหมู่บ้านพี่อให้ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนได้มีน้ำในการอุปโภคและบริโภคทุกหลังคาเรือน โดยจ่ายค่าน้ำประปายูนิตละ 3 บาท ให้แก่โรงเรียนเพื่อนําไปใช้ในการบํารุงรักษาท่อน้ำ และปั้มน้ำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 องค์การบริหารส่วนตําบลเนินขาม ได้นําระบบน้ำประปาหมู่บ้านเข้าไปอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตําบลเนินขาม เก็บค่าน้ำประปายูนิตละ 6 บาท โดยมีเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลเขาราวเทียนทองเป็นผู้ที่มีหน้าที่เก็บเงินค่าน้ำประปาทุกเดือน ปัจจุบันทุกครัวเรือนของบ้านเขาราวเทียนทองมีน้ำประปาใช้ แต่ในช่วงฤดูร้อนหรือหน้าแล้ง น้ำประปาจะมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของทุกครัวเรือน ทําให้บางครัวเรือนต้องใช้น้ำจากบ่อบาดาลที่ขุดขึ้นเองในบริเวณบ้านของตน หรือใช้น้ำจากบ่อขุดสาธารณะในหมู่บ้านแทน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เปรมปรีด์ นาราช. (2549). กว่าจะมาเป็นป่าเขาราวเทียนทองที่เขียวขจีในวันนี้. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2566, จาก https://ref.codi.or.th/

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2550.). การปรับตัวในงิถีทางการพัฒนาชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดการป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง หมู่ที่ 10 ตำบลเนินขาม กิ่งอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคาะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Google Earth. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2566, จาก https://earth.google.com/

ONE FINE DAY. (2563). อาสาปลูกป่า เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เขาราวเทียนทอง จ.ชัยนาท 4. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.jitarsabank.com/job/detail/6531