ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านค่าย ยังมีความอุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าไม้ เป็นป่าดงดิบ มีไม้เบญจพรรณจำนวนมาก
เนื่องจากบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านนี้เป็นป่ายังไม่มีผู้คนเข้ามาอาศัย เมื่อเกิดสงครามอินโดจีน กองทัพทหารไทยได้เดินทัพมาหยุดพักที่เชิงเขา เพื่อเอาแรงไว้ต่อสู้กับศัตรู การพักแรมของทหารภาษาพื้นบ้านเรียกว่า “ตั้งค่าย”
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านค่าย ยังมีความอุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าไม้ เป็นป่าดงดิบ มีไม้เบญจพรรณจำนวนมาก
ประวัติความป็นมาของบ้านค่าย จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้านเล่าว่า แต่เดิมบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านนี้เป็นป่ายังไม่มีผู้คนเข้ามาอาศัย เมื่อเกิดสงครามอินโดจีน กองทัพทหารไทยได้เดินทัพมาหยุดพักที่เชิงเขา เพื่อเอาแรงไว้ต่อสู้กับศัตรู การพักแรมของทหารภาษาพื้นบ้านเรียกว่า “ตั้งค่าย” เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่อาศัย ได้ขุดพบวัตถุโบราณ เช่น คีม เครื่องมือตีเหล็ก เศษหม้อ ไห ต่อมาจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านค่าย”
บุคคลกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนในบ้านค่ายได้แก่ นายพรานโด จันทร์เมือง นายโน อินเปิ้น ต่อมาก็มีกลุ่มครอบครัวของนายชื่น มั่งมี นายแก้ว มั่งมี นายทิ้ง กิตติสัตย์ นายสอน มูลตา ณ ขณะนั้นยังคงเป็นหมู่ที่ 2 ต่อมาประชากรเพิ่มมากขึ้นการบริหารไม่คล่องตัวได้แยกหมู่บ้านจากหมู่ที่ 2 ออกมาอีกหนึ่งหมู่บ้านเป็นหมู่ที่ 12 เมื่อ พ.ศ.2532
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านค่าย ยังมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ เป็นป่าดงดิบ มีไม้เบญจพรรณจำนวนมาก ต้นไม้ขนาดใหญ่มีอยู่มากมาย เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือ หมี เก่ง กวาง หมูป่า ชะนี ค่าง ลิง เป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารด้วย ทรัพยากรธรรมชาติในบ้านค่ายที่เกิดขึ้น และเป็นอยู่เองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชสมุนไพร ของป่า ทรัพยากรดินพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบและมีเนินเขาเตี้ย สูงสลับกันพื้นที่ราบจะเป็นดินร่วนจึงเหมาะในการทำนาปลูกข้าว ที่เป็นเนินเขาเป็นดินลูกรัง เหมาะในการปลูก พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่ว มะม่วงหิมพานต์ ที่เป็นภูเขาสูงจะเป็นพื้นที่ในการปลูกป่า ทรัพยากรน้ำมีแหล่งน้ำใหญ่ ๆ คือห้วยน้ำลี ห้วยน้ำหมัน ที่ไหลผ่านหมู่บ้าน มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย ทางราชการองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมัน ได้พยายามจัดสรรงบประมาณในสร้างเหมือง ฝาย คลอง ขุดลอกคลองน้ำ เพื่อการเกษตร และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำกินน้ำใช้ทั้งอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ โครงการต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล จัดสรรงบประมาณลงไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ
ประชากรบ้านค่ายมีความเป็นอยู่แบบสังคมชนบทเรียบง่าย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ประชากรบ้านค่ายมีทั้งหมด 513 คน และอีก 102
โครงสร้างทางสาธารณูปโภค การไฟฟ้าและประปา การคมนาคมถนนหลักที่ใช้ในการสัญจรภายในตำบลและ ในบ้านค่ายไฟฟ้าใช้เกือบทั้งหมู่บ้าน แต่ยังมีบางครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ การประปาในตำบลน้ำหมันจะมีทุกหมู่บ้านเป็นประปาจากน้ำบาดาลใต้ดินและประปาภูเขา ประปาหมู่บ้านเกือบทุกพื้นที่ก็มีปัญหาในการสูบจ่ายน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ท่อส่งน้ำขนาดเล็กไม่สามารถจ่ายน้ำประปาได้อย่างเต็มที่ ปริมาณน้ำบางพื้นที่ไม่พอใช้ตลอดปี พอถึงฤดูแล้งน้ำจะแห้ง ประปาภูเขาเป็นประปาที่ผลิตจากแหล่งน้ำลำธารธรรมชาติจากจะใช้น้ำในการอุปโภคได้ตลอดปี
โครงสร้างอาชีพทางเศรษฐกิจ อาชีพประชากรในบ้านค่ายส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางด้านเกษตร เป็นสัดส่วนที่มากกว่าการประกอบอาชีพอื่น ๆ การประกอบอาชีพทางการเกษตรที่ทำกินเป็นส่วนมากที่เห็นได้จากการทำนา ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกข้าวนาปี การทำสวนทำไร่ ที่ทำกันในตำบล และทำกันมาก ได้แก่ การทำสวนกล้วย สวนลำไย การเลี้ยงสัตว์ โดยทั่วไปจะเป็นจำพวกสุกร อาชีพที่นอกเหนือจากการเกษตรที่รองลงมา คืออาชีพรับจ้างทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะไปประกอบอาชีพในต่างจังหวัด นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่น ๆ เช่น อาชีพค้าขาย อาชีพรับราชการ อาชีพขับรถสองแถวรับจ้าง
ชาวบ้านค่าย และในตำบลน้ำหมันส่วนใหญ่นิยมปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ กล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่งของตำบลน้ำหมัน มีการปลูกทุกหมู่บ้าน พื้นที่การปลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะแนวโน้มด้านการตลาดมีราคาดี ประกอบกับได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ เช่น เกษตรตำบลน้ำหมัน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตำบลน้ำหมันกล้วยที่ปลูกคือ กล้วยหอมทอง กล้วยเขียว กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยที่ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกมากที่สุด คือ กล้วยน้ำหว้าเป็นที่ต้องการของท้องตลาด ปลูกง่ายโตไว
ศาสนา
บ้านค่ายทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ มาตั้งแต่บรรพบุรุษของประชาชนในชุมชน ยังคงยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธศาสนา และปฏิบัติกิจกรรมตามพิธีการของพุทธศาสนามาโดยตลอด สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญได้แก่ วัด และสำนักสงฆ์
พิธีกรรม
การสะเดาะเคราะห์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อในสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติที่มีการสืบทอดกันมาจากบรรพชน บนพื้นฐานความเชื่อว่า เทวดาภูติผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถบันดาลให้คนได้รับอันตรายเจ็บป่วยและสามารถขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากวิถีชีวิต ความเชื่อในพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ เป็นความเชื่อระหว่างความเชื่อทางพุทธศาสนาและความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่า ก่อนนับถือพุทธศาสนา ชาวไทยนับถือลัทธิพราหมณ์อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งลัทธิพราหมณ์สอนว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาจากอำนาจของพระพรหม ซึ่งเรียกว่า พรหมลิขิต ที่จะบันดาลชีวิตเราให้เป็นไปและมักจะมีลางสังหรณ์บอกให้ทราบก่อนเสมอ มนุษย์เราจึงสวดสักการบูชาพระพรหมผู้เป็นเจ้าชีวิต เพื่อทำให้พระองค์โปรดปรานและไม่ทำให้ภัยพิบัติเกิดขึ้น หรือถ้าเกิดขอให้ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ การเกิดพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ มีหลายสาเหตุ ดังนี้
1.เมื่อมีคนในครอบครัวเจ็บป่วยแบบไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งแพทย์ปัจจุบันไม่สามารถรักษาได้
2.เรื่องที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและทรัพย์สิน
3.ทะเลาะวิวาท ฟ้องร้อง ใส่ความ
4.ชีวิตติดขัด เจอความล้มเหลวในชีวิต
สิ่งที่จะต้องเตรียมมาในพิธี โดยผู้ต้องการทำพิธีสะเดาะเคราะห์จะมีการจัดเตรียมเครื่องอุปการะต่าง ๆ ดังนี้
1.กาบกล้วยสำหรับการทำกระทง อาจทำเป็นกระทงสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม พื้นกระทงปูรองด้วยใบตองกล้วย เอากาบกล้วยเป็นห้อง ๆ สำหรับวางสักการะ
2.เทียนเวียนรอบหัว 1 เล่ม เทียนแค่ศอก 1 เล่ม เทียนแค่คิง 1 เล่ม เทียนแค่คีบ 5 เล่ม เทียนแค่ใจมือ 1 เล่ม
3.ห่อเหมี่ยงหมากเท่าอายุของผู้จะเสียเคราะห์ ข้าวดำ 1 คำ ข้าวแดง 1 คำ ข้าวขาว 1 คำ ข้าวเหลือง 1 คำ ข้าวตอก ดอกไม้ ใบส้มป่อย น้ำหอม
4.ด้ายสายสิญจน์สำหรับอ้อมกระทง เศวตฉัตร ธง ธูปแห้ง รูปคน
5.หลักแค่ศอก 9 หลัก ปักรอบกระทง ร้อยด้ายสีแดง 2 หลัก ฝ้ายดำ 2 หลัก ฝ้ายเหลือง 2 หลัก ฝ้ายขาว 2 หลัก ฝ้ายมุ่ย 1 หลัก แล้วนำเสียผ้าของผู้ที่จะเสียเคราะห์มาวางข้างกระทง ตัดเล็บมือเล็บเท้าและเส้นผมลงในกระทง
เมื่อเตรียมอุปกรณ์ได้พร้อมแล้วผู้ประกอบพิธี ซึ่งเรียกว่าหมอพราหมณ์หรือหมอธรรมจะจัดอุปกรณ์ต่าง ๆ ใส่ลงกระทง แต่งขันธ์ 5 เป็นเครื่องบูชาเทวดา ตั้งนะโม 3 จบ แล้วทำการสวดสะเดาะเคราะห์ ซึ่งคำสวดจะมีลักษณะต่าง ๆ กันตามการสะเดาะเคาะห์แต่ละแบบ เพื่อปัดเสนียดสิ่งไม่ดีลงในกระทง เสร็จแล้วเอากระทงไปทิ้งตามทิศทางที่หมอพราหมณ์กำหนดให้จึงเสร็จพิธี
ภาษาที่ใช้สื่อสาร ภาษาไทย/ภาษาถิ่นเหนือ
ภาษาเขียน ตัวอักษรตามพยัชนะไทย
ตัวอย่างคำภาษาเหนือ
- เปิ้น = ฉัน
- ตั๋ว = เธอ
- อุ้ย = ปู่ย่า ตายาย
- สูเขา = พวกเธอ
ธีร์กัญญา อินทอง. (2546). องค์ความรู้ท้องถิ่นตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภักอุตรดิตถ์.
ชาติชาย มุกสง. (2543). อุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ : ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด.