Advance search

ผาบ่อง

เป็นชุมชนไทใหญ่ ที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ด้านวิถีชีวิต และสามารถปรับตัวรองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

ผาบ่อง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
ปวินนา เพ็ชรล้วน
1 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
19 ก.ค. 2023
ผาบ่อง

ชื่อชุมชนตั้งจาก ลักษณะภูมิประเทศของช่องเขาที่มีหน้าผาสูงชันกว้างประมาณ 30 เมตร ที่เรียกว่า “หว่อง” ซึ่ง แปลว่า ช่อง แต่ชาวไทใหญ่ออกเสียง บ ใบไม้ เป็นเสียง ว แหวน เป็น “บ่อง”



เป็นชุมชนไทใหญ่ ที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ด้านวิถีชีวิต และสามารถปรับตัวรองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

ผาบ่อง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
58000
องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง โทร. 0-5368-6048
19.2124687
97.9791634
องค์การบริหารส่วนตำบล

ชุมชนบ้านผาบ่อง ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง ด้วยเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมของชาติพันธ์ต่างๆ เช่น ชาวไทใหญ่ และกะเหรี่ยงขาว ที่ผู้คนในชุมชนสามารถใช้ชีวิตบนความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้ อย่างกลมกลืนและมีความสุข จนกระทั่งเกิดศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทใหญ่ (เฮินไต) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 จากความคิดริเริ่มของกลุ่มคนที่อยากจะอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นไทใหญ่ นำโดย กำนันอมร ศรีตระกูล กำนันตำบลผาบ่อง ซึ่งเสียสละพื้นที่ของตนเองเพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ภูมิ ปัญญาไทใหญ่ เพราะเห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และการสร้างอาคาร บ้านเรือนที่ไม่ค่อยมีการสร้างแบบเก่าดังอดีต ส่งผลให้บ้านเฮินไตแบบคนสมัยก่อนไม่ค่อยมีหรือ แทบจะไม่มีเลยในปัจจุบัน กำนันอมรจึงได้ประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มอนุรักษ์บ้านไทใหญ่ มีการ แบ่งหน้าที่กัน เพื่อศึกษาหาข้อมูลของบ้านไทใหญ่ดั้งเดิมจากผู้สูงอายุในตำบลผาบ่อง และได้สร้าง บ้านไทใหญ่ (เฮินไต) ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ รวบรวมโบราณวัตถุ เกี่ยวกับ สิ่งของ เครื่องใช้ และรูปภาพ ที่สะท้อนวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นอยู่ คติ ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทใหญ่ไว้ และยังใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจวิถีชีวิตของคนไทใหญ่ในอดีต ทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับอนุชนคนรุ่นหลัง ให้รู้จักหวงแหนความเป็นอัตลักษณ์ของตน รวมถึงเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วัฒนธรรมด้วย

บ้านผาบ่องตั้งอยู่ในที่ราบเชิงเขา ติดกับลำห้วยแม่สะมาด ยาวไปตามถนนสายแม่ฮ่องสอน – ขุนยวม ทิศตะวันตกและตะวันออกของ หมู่บ้านเป็นภูเขา มีลำห้วยแม่สะมาดไหลผ่าน ส่วนทิศใต้ติดกับบ้านผาบ่องเหนือ ทิศเหนือติดกับบ้าน ป่าปุ๊ และด้วยสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ราบเชิงเขา สภาพภูมิอากาศในบ้านผาบ่องแม้ค่อนข้างจะเย็นสบาย และมีหมอกในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม แต่ก็มีช่วงฝนและร้อนตามฤดูกาล

ประชากรบ้านผาบ่องส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ และปกาเกอะญอ มีจำนวนครัวเรือน 271 ครัวเรือน และมีจำนวนประชากร 883 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาคริสต์ ในหมู่บ้านมีวัด 2 แห่ง คือ วัดผาบ่องเหนือ และวัดผาบ่องใต้ และมีโบสถ์ 1 แห่ง ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวบ้านนิยมทำบุญถวาย ทานตามประเพณีที่วัด และในช่วงประเพณีต่างๆ มักมีกิจกรรมการแสดงและการละเล่นที่แสดง วัฒนธรรมชนชาติ เช่น การฟ้อนรำ เป็นต้น วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านบ้านผาบ่องส่วนใหญ่ดำเนินตามวิถีวัฒนธรรม ดั้งเดิมของตนเองผ่านภาษา การแต่งกาย อาหารการกิน ขนบธรรมเนียมประเพณี การนับถือ ศาสนาและความเชื่อ รวมไปถึงศิลปกรรมสถาปัตยกรรมในการสร้างบ้านเรือนหรือสถานที่สำคัญทาง ศาสนา เช่น โบสถ์วัด จอง เป็นต้น 

1) กลุ่มข้าวเพื่อสุขภาพ เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการที่กำนันอมร ศรีตระกูล กำนันบ้าน ผาบ่อง ซึ่งเป็นประธานกลุ่มได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพ เพราะตนเองเป็นโรคความดันโดย กรรมพันธุ์จากพ่อและแม่ที่เป็นทั้งความดันและเบาหวาน เมื่อกำนันอมรเป็นชาวนาโดยกำเนิดจึงได้ คิดค้นการปลูกข้าวเพื่อสุขภาพขึ้น โดยในปีแรกได้ปลูกข้าวหอมนิลในพื้นที่ตัวเองเพื่อช่วยรักษาโรค ความดันที่กำลังเป็นอยู่ด้วยการบริโภคก่อน และแบ่งปันส่วนหนึ่งให้ชาวบ้านทดลองบริโภคด้วย ปีต่อมามีการเพิ่มพันธุ์ข้าว เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวสินเหล็ก ข้าวสังหยด เพิ่มเติม ปรากฏว่า ผู้บริโภค และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่รักสุขภาพต่างนิยมบริโภค (กำนันอมรมีกิจการรีสอร์ทและร้านอาหารไว้ บริการนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในหมู่บ้านด้วย) กำนันจึงได้ชักชวนเพื่อนชาวนาในชุมชนให้หันมาปลูก ข้าวเพื่อสุขภาพกัน โดยรวมกลุ่มได้ 15 คน การปลูกข้าวเพื่อสุขภาพนี้หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีจึง เป็นข้าวที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ผลที่ได้คือ ทำให้ชาวนามีสุขภาพที่ดีขึ้น ทั้งยังไม่มีสารพิษตกค้างในนา ข้าว ทำให้ระบบนิเวศที่ดีกลับคืนสู่ชุมชนด้วย การทำกลุ่มข้าวเพื่อสุขภาพนี้ นอกจากจะทำให้ ชาวบ้านได้มีข้าวไว้บริโภคแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวนา เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน และ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวเพื่อ สุขภาพ และระบบนิเวศที่สมบูรณ์กลับคืนมา

2) กลุ่มผักอาหารปลอดภัย เนื่องจากชุมชนบ้านผาบ่องได้รับคัดเลือกเป็นชุมชนแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้งยังเป็นชุมชนที่ได้รับการรับรองถึงการเป็นผู้มี คุณสมบัติตามมาตรฐาน Lanna Wellness (Toward Aging Society) ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนบน ตามหลักฐานในภาพที่ ๓.๕ กำนันอมร ศรีตระกูล ในฐานะผู้นำชุมชนจึงได้ประชุมปรึกษา หารือกับชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มปลูกผักปลอดภัยเพื่อสุขภาพของชุมชน โดยดำเนินงานควบคู่ไปกับการ ปลูกข้าวปลอดภัยของกลุ่มข้าว ทำให้บ้านผาบ่องเป็นชุมชนที่มีพืชผักปลอดภัยไว้บริโภค เป็นการลด การเจ็บป่วยจากสารเคมี ซึ่งเกื้อหนุนต่อการมีสุขภาพที่ดีของชาวบ้านในชุมชน ทั้งยังเป็นการลด ต้นทุนในการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากนี้  กลุ่มผักอาหารปลอดภัยยังเป็นส่วน หนึ่งในการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนและบุคคลทั่วไปด้วย

3) กลุ่มอาหารไทใหญ่ เนื่องจากประชากรบ้านผาบ่องส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ที่อยู่ร่วมกันเป็นชุมชนมานาน และยังคงเอกลักษณ์ด้านอาหารการกินของตนเองไว้อย่างเหนียว แน่น ชาวบ้านจึงจัดตั้งกลุ่มอาหารไทใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์อาหารท้องถิ่นในชุมชน ไม่ให้สูญหายไปจากวัฒนธรรมของชุมชน เพราะนอกจากจะเป็นสืบทอด อนุรักษ์ และรักษารสชาติของอาหาร ไทใหญ่ให้คงอยู่คู่ชุมชนแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นหลัง ทั้งยังส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันตลาดอาหารไทใหญ่บ้านผาบ่องเป็นที่ รู้จักของนักท่องเที่ยวและชุมชนรอบนอกมากขึ้น

4) กลุ่มขนมไทใหญ่ ขนมไทใหญ่จัดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน ชาวบ้านจึงร่วมกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสืบทอดเอกลักษณ์ของขนมไทใหญ่ไว้ให้ชนรุ่นหลังต่อไป เช่น ขนมส่วยทะมิน ขนมอาละหว่าจุ่ง ขนมเป็งม้ง เป็นต้น

5) กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยง แม้ประชากรส่วนใหญ่บ้านผาบ่องจะเป็นชาวไทใหญ่ แต่ประชากรอีกส่วนหนึ่งคือชาวปกาเกอญอหรือชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ร่วมกันมาเป็นเวลานาน ในกลุ่มชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงนี้มีภูมิปัญญาด้านการถักทอเสื้อผ้าใช้เองมาโดยตลาด จึงได้จัดตั้งกลุ่มทอผ้ากระเหรี่ยงขึ้นเพื่อการสืบทอดแก่ชนรุ่นหลังและอนุรักษ์การทอผ้ากะเหรี่ยงนี้สืบไป

6) กลุ่มจักสาน (กุ๊บไต) ด้วยเหตุว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ในบ้านผาบ่องประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เมื่อเสร็จสิ้นจากการเกษตรหรือการทำนา จึงมีเวลาว่างมาก กอปรกับสภาพเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำ จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มนี้ขึ้นเพื่อทำเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ทั้งยังเป็นการสืบ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนไว้ด้วย  

7) กลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ด้วยสภาพแวดล้อมของบ้านผาบ่องที่อยู่ในพื้นที่ราบเชิง เขา และด้วยการพัฒนาบ้านผาบ่องของกำนันอมร ศรีตระกูล กำนันตำบลผาบ่อง จนได้รับการ คัดเลือกเป็นชุมชนต้นแบบด้านการพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพร่างกาย และได้รับโล่เกียรติคุณ หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบันบ้านผาบ่องมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์ขึ้น เพื่อเตรียมความรู้และให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนชุมชน ซึ่งร่วมด้วยช่วยกัน ระหว่างผู้รู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและเยาวชนคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกจิตสำนึก อนุรักษ์หวงแหนผืนป่าของเยาวชนในการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย 

ในด้านขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น บ้านผาบ่องมีประเพณีและกิจกรรมที่แสดงวิถีชีวิต ของชาวไทใหญ่ทุกเดือน ประเพณีเหล่านี้จัดขึ้นตามเดือนทางจันทรคติและเดือนตามปฏิทินดังนี้

เดือนอ้าย (เหลินเก๋ง) ธันวาคม ตานเตียนเห็ง (ถวายเทียนใหญ่)

เดือนยี่ (เหลินก๋ำ) มกราคม ปอยอ่องจ๊อด (งานดับไฟเทียน)

เดือนสาม (เหลินสาม) กุมภาพันธ์ หลู่ข้าวหย่ากู๊ (ถวายข้าวยาคู)

เดือนสี่ (เหลินสี่) มีนาคม ปอยส่างลอง (บรรพชาสามเณร)

เดือนห้า (เหลินห้า) เมษายน ปอยเหลินห้า (ซอนน้ำเจ้าพารา ขอขมา ผู้สูงอายุ)

เดือนหก (เหลินหก) พฤษภาคม ปอยจ่าตี่ (งานบุญก่อเจดีย์ทราย)

เดือนเจ็ด (เหลินเจ็ด) มิถุนายน วานปะลีก (ทำบุญหมู่บ้าน)

เดือนแปด (เหลินแปด) กรกฎาคม เข้าหว่า (เข้าพรรษา แห่เทียนเข้าพรรษา)

เดือนเก้า (เหลินเก้า) สิงหาคม ต่างซอมต่อหลวง (ถวายข้าวมธุปายาส )

เดือนสิบ (เหลินสิบ) กันยายน ต่างซอมต่อหลวง (ถวายข้าวมธุปายาส )

เดือนสิบเอ็ด (เหลินสิบเอ็ด) ตุลาคม ออกหว่า (ออกพรรษา) แฮนซอมโก่จา กั่นตอคนเฒ่า (ตักบาตรเทโว)

เดือนสิบสอง (เหลินสิบสอง) พฤศจิกายน ปอยส่างกาน (ถวายผ้าพระกฐิน)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประเพณีปอยส่างลองหรือการบรรพชาสามเณร

ชาวไทใหญ่บ้านผาบ่องมีการจัดประเพณี นี้ช่วงเดือนสี่หรือเดือนมีนาคมเพื่อการสืบทอด พระพุทธศาสนา โดยการให้เด็กชายอายุประมาณ 10 ขวบขึ้นไปได้บวชเป็นสามเณร เพื่อเรียนรู้หลัก พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คำว่า “ส่าง” เป็นคำเรียกสามเณร “ลอง” มาจาก “อลองพญา” มีความหมายว่าเป็นเจ้าชายหรือหน่อพุทธางกูร เป็น การอิงเอาพุทธประวัติที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออก บวช ในการบวชนั้นจะแต่งตัว “ส่างลอง” ด้วย เครื่องแต่งกายแบบเจ้าชายไทใหญ่  เพราะมีความเชื่อว่า หากได้บรรพชาให้บุตรของตน เป็นสามเณรจะได้อานิสงส์ 8 กัลป์ หากเป็นเจ้าภาพ บรรพชาให้บุตรคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงส์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทบุตรของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงส์ 12 กัลป์ และได้เป็นเจ้าภาพอุปสมบทบุตรคนอื่นจะได้อานิสงส์ 8 กัลป์

ประเพณีแห่จองพารา ช่วงปอยเหลินสิบเอ็ด

เป็นประเพณีส่วนหนึ่งในงานเทศกาลออกพรรษา (งาน ปอยเหลินสิบเอ็ด) คำว่า “จองพารา” เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า “ปราสาทพระ” การบูชาจองพารา คือการสร้างปราสาท เพื่อคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศกาลนี้ จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 โดยก่อนถึงวันงานจะมีการจัดงาน ตลาดนัดออกพรรษามีการนำสินค้าต่างๆ ที่จะใช้ในการทำบุญ เช่น อาหาร ขนม ดอกไม้ เครื่อง ไทยทานมาวางขายเพื่อให้ชาวบ้านได้หาซื้อข้าวของเครื่องใช้ในการเตรียมงาน และมีการจัดเตรียม สร้าง “จองพารา” ซึ่งเป็นปราสาทจำลอง ทำด้วยโครงไม้ไผ่ ประดับลวดลายด้วยกระดาษสา กระดาษ สีต่างๆ หน่อกล้วย อ้อยและโคมไฟ ตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อใช้สมมติเป็นปราสาทรับเสด็จพระพุทธ องค์จากสวรรค์ จากนั้นก็จะยก “จองพารา” ขึ้นไว้นอกชายคา นอกรั้ว หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้าน และที่วัด ในวันขึ้น 15 ค่ำ อันเป็นวันออกพรรษานั้น

ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทใหญ่ (เฮินไต)

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 จากความคิดริเริ่มของกลุ่มคนที่อยากจะอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นไทใหญ่ นำโดย กำนันอมร ศรีตระกูล กำนันตำบลผาบ่อง ซึ่งเสียสละพื้นที่ของตนเองเพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญา ไทใหญ่ เพราะเห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และการสร้างอาคาร บ้านเรือนที่ไม่ค่อยมีการสร้างแบบเก่าดังอดีต ส่งผลให้บ้านเฮินไตแบบคนสมัยก่อนไม่ค่อยมีหรือแทบจะไม่มีเลยใน ปัจจุบัน กำนันอมรจึงได้ประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มอนุรักษ์บ้านไทใหญ่ มีการแบ่งหน้าที่กัน เพื่อ ศึกษาหาข้อมูลของบ้านไทใหญ่ดั้งเดิมจากผู้สูงอายุในตำบลผาบ่อง และได้สร้างบ้านไทใหญ่ (เฮิน ไต) ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ รวบรวมโบราณวัตถุ เกี่ยวกับสิ่งของ เครื่องใช้ และ รูปภาพ ที่สะท้อนวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นอยู่ คติ ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของคนไทใหญ่ไว้ และยังใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจวิถีชีวิตของ คนไทใหญ่ในอดีต ทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับอนุชนคนรุ่นหลัง ให้รู้จักหวงแหนความเป็นอัต ลักษณ์ของตน รวมถึงเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมด้วย 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พระมหาพรชัย สิริวโร และคณะ. (2560). การศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดแม่ฮ่องสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วสันต์ จันทร์โอภาส และนิตยา วงศ์ยศ. (2562). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 12(1), 30-38.