Advance search

จ่าโบ

เป็นนชุมชนชาติพันธุ์ที่มีการรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย ภาษาพูด ของชาวลาหู่เอาไว้ได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง

ปางมะผ้า
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
ปวินนา เพ็ชรล้วน
1 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
19 ก.ค. 2023
จ่าโบ

ชาวบ้านจ่าโบ่เป็นชาวเขาเผ่าลาหู่ดำที่อพยพมาจากถิ่นอื่น โดยการนำของนายจ่าโบ่ ไพรเนติธรรม เมื่อตั้งรกรากสร้างเป็นหมู่บ้านจึงนำชื่อจ่าโบ่มาตั้งป็นชื่อหมู่บ้าน


เป็นนชุมชนชาติพันธุ์ที่มีการรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย ภาษาพูด ของชาวลาหู่เอาไว้ได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง

ปางมะผ้า
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
58150
องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะผ้า โทร. 0-5204-0147
19.5844572
98.2066031
องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะผ้า

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชุมชนของชาวเขากลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่มีภูมิลำเนาดั้งเดิม อยู่ที่ประเทศธิเบตหรือบริเวณใกล้เคียงประเทศธิเบต เมื่อครั้งถูกจีนรุกรานและบีบบังคับ จึงมีการถอยร่นอพยพมาทางตอนใต้ ในระหว่างศตวรรษที่ 17 ถึง 18 กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่มีถิ่นฐานที่อยู่เป็นของตนเองโดยอิสระในบริเวณเขตแถบพม่าและจีนแผ่นดินใหญ่ระหว่างทิศตะวันตกของเมืองหว้าและทิศตะวันออกของยูนานทางภาคพื้นตอนเหนือของทวีปเอเซียอาคเนย์ ชาวเขากลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่มีเชื้อสายธิเบต-พม่า หรืออาจมีเชื้อสายมาจากกลุ่ม โลโล (LO-LO) ชาวจีนเรียกชาวลาหู่ว่า Lo-Hei หรือ La-Heir

กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่เมื่ออพยพหนีจีนลงมาก็ กระจัดกระจายอยู่ตามบริเวณทั้งสองข้างพรมแดนของจีน แคว้นยูนาน และประเทศพม่าและทางใต้ ของพม่าจนถึงรัฐเชียงตุง ในภาคเหนือของประเทศไทยและในจังหวัดน้ำทา ของประเทศลาว นับว่า เป็นชาวเขากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นพวกต่างๆ ได้ 23 กลุ่ม ลาหู่ญี (ลาหู่แดง),ลาหู่ไกสี,ลาหู่นะ (ลาหู่ดำ),ลาหู่คะคา เป็นต้น กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ในประเทศไทยได้เริ่มอพยพมาจากประเทศพม่าและประเทศลาว เมื่อประมาณ 50 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ลาหู่ดำและลาหู่แดง มีพื้นที่ตั้งของกลุ่มชนในภาคเหนือของ ประเทศไทย ได้กระจายไปในเขตพื้นที่ของอำเภอและจังหวัดต่างๆ ดังนี้ ชาวลาหู่ดำ อยู่ในพื้นที่อำเภอ ต่างๆในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาวลาหู่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ถูกเรียกว่า ลาหู่ (มูซู มูซโซ หรือ มูโซ) แปลว่า “นายพรานล่าเนื้อหรือนักล่าสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่” และกล่าว กันว่าขณะที่เขาออกไปล่าสัตว์นั้นเขาจะคิดถึงการล่าสัตว์มากกว่าคิดถึงครอบครัวของเขาเอง 

ชุมชนจ่าโบ่ย้ายถิ่นฐานครั้งแรกมาจากหมู่ที่ 1 บ้านแม่ห้วยยี ปาโหล และปุงยามบางส่วน มาตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณห้วยยาว (ชาวบ้านเรียกว่า ป่าลุกข้าวหลาม) ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของชุมชนบ้าน จ่าโบ่ ในปัจจุบันสาเหตุการย้ายเนื่องจากประสบกับปัญหาการเจ็บป่วย มีการแพร่ระบาดเชื้อมาลาเรีย มากในขณะนั้น  เมื่อย้ายมาอยู่ที่ห้วยยาวก็ยังประสบปัญหาดังกล่าวอีก จึงได้มีการโยกย้ายอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ได้แยกย้ายไปอยู่ตามชุมชนต่างๆ ได้แก่ ชุมชนบ่อไคร้ ชุมชนลุกข้าวหลาม ชุมชนน้ำโป่ง ตองผา และชุมชนจ่าโบ่ ซึ่งในขณะนั้นมีนายจ่าโบ่ ไพรเนติธรรม เป็นผู้นำจัดตั้งเป็นชุมชนเมื่อ ประมาณปี พ.ศ.2521 ต่อมากลุ่มที่ย้ายไปอยู่ที่ตองผา ได้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกย้ายไปอยู่ ที่ชุมชนปางคามน้อย และกลุ่มที่ 2 ได้มาสมทบที่บ้านจ่าโบ่ ส่วนที่ย้ายไปอยู่ที่ชุมชนน้ำโป่งนั้นแยกไป เพียงปีเดียวก็ย้ายกลับมาสมทบกับชุมชนจ่าโบ่ ขณะนั้นพื้นที่บ้านจ่าโบ่มีการปกครองขึ้นอยู่กับหมู่บ้าน แม่ละนา หมู่ที่ 1 ผู้นำชุมชนยังคงเป็นนายจ่าโบ่ ไพรเนติธรรม ปีพ.ศ. 2532 หมู่บ้านจ่าโบ่ ได้รับการยกฐานะให้เป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ หมู่ 4 และมีนาย จ่าไคแซ ไพรเนติธรรม ซึ่งเป็นลูกชายผู้นำชุมชนคนเดิม เป็นผู้ใหญ่บ้าน นายจ่าโบ่ ไพรเนติธรรม เป็น ผู้นำที่สามารถรวมใจของชาวบ้านได้ ถึงแม้ว่าหมู่บ้านจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองตาม โครงสร้างของทางราชการ นายจ่าโบ่ก็ยังเป็นที่ปรึกษาของชุมชนอยู่ การปกครองชุมชนจะใช้วิธีการ ปรึกษาหารือร่วมกันของทุกฝ่าย โดยมีผู้นำชุมชน และผู้นำทางการ และผู้นำทางศาสนาและพิธีธรรม (แกลุป่า) เป็นที่ปรึกษาทางศาสนาและพิธีกรรม ด้วยคนในชุมชนมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกันทั้งหมด จึงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ปัจจุบันชุมชนจ่าโบ่ มีนายอุทัย บันดาบทอง เป็นผู้ใหญ่บ้าน 

อาณาเขตของหมู่บ้าน บ้านจ่าโบ่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอปางมะผ้า ระยะห่างจากอำเภอ ประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง มีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า

ทิศใต้ ติตต่อกับบ้านลุกข้าวหลาม ตำบลปางมะผ้า

ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านบ่อใคร้ ตำบลปางมะผ้า

ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านน้ำฮูผาเสื่อ ตำบลนาปู่ป้อม

ประชากรทั้งหมดของหมู่บ้านทั้งหมด 273 คน ผู้ชาย 149 คน ผู้หญิง 124 คน มีครัวเรือน ทั้งหมด 95 ครัวเรือน 

ลาหู่

ชาวบ้านหมู่บ้านจ่าโบ่ทำอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำสวน ปลูกข้าว ข้าวโพด ผลไม้ และพืชหมุนเวียนเพื่อการบริโภคในครอบครัวและเพื่อขาย นอกจากทำการเกษตร ชาวลาหู่ยังนิยม การเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้วย เช่น หมู และไก่ ซึ่งจะมีการเลี้ยงไว้แทบทุกบ้านเพื่อขาย และใช้ประกอบ พิธีกรรม รองลงมา คือการรับจ้างในเมือง ทำก่อสร้างในช่วงที่พักจากฤดูทำไร่ ทำสวน หมู่บ้านที่อยู่ พื้นที่ราบมีชาวบ้านหลายรายที่ประกอบอาชีพค้าขาย เป็นพ่อค้า คนกลาง รับซื้อผลิตผลทางการเกษตรจากภายในหมู่บ้านต่างๆ แล้วนำไปขายต่อให้กับพ่อค้าในเมือง โรงงาน และโรงสี รายได้ส่วน ใหญ่มาจากการขายข้าว ข้าวโพด และมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ ส่วนหมู่บ้านบนภูเขา ชาวบ้านฐานะ ไม่ค่อยดีนัก เกือบทุกบ้านจะมีหนี้สินในการกู้ยืมเพื่อนำมาลงทุนซื้อปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และเมล็ดพันธุ์ รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายในการเช่าที่ดินทำกิน

ชุมชนบ้านจ่าโบ่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ชุมชนมีการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชนบ้าน จ่าโบ่ จึงทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากการทำธุรกิจท่องเที่ยวทั้งที่พักแบบโฮมสเตย์ และแบบส่วนตัว การบริการอาหาร ฐานการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน และกิจกรรมบริการทางการท่องเที่ยว เช่น เส้นทาง เดินป่า บริการรถเช่าชมทัศนียภาพรอบชุมชน ร้านขายของฝากของที่ระลึก ร้านอาหาร (ก๋วยเตี๋ยวห้อยขา) ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวนอกฤดูกาลเกษตร

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ในชุมชนบ้านจ่าโบ่ มีการสืบทอดวัฒนธรรมการเป่าแคนจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่เริ่มก่อตั้งชุมชน เมื่อประมาณปี พ.ศ.2521 ซึ่งในขณะนั้นมีนายจ่าโบ่ ไพรเนติธรรมเป็นผู้นำ มีผู้สืบทอดวัฒนธรรมการ 41 เป่าแคนหลายรุ่น จนมาถึงรุ่นนายจ่างะ ไพรเพชราทิพย์ คุณพ่อของนางนะกอ ไพรเพชราทิพย์ ประธานกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านจ่าโบ่ ซึ่งได้เสียชีวิตเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว และในปัจจุบันมีผู้สืบทอดวัฒนธรรม ประมาณ 4 คน คือ 1. นายชิดชัย สรานนท์หิรัญกุล 2.นายจ่าเสือ ไพรเนติธรรม 3. นายมานะ พัฒนสหกิจ 4. นายจ่าแส สมัคมนตรีเป็นปราชญ์แคนน้ำเต้าของชุมชน และมีฐานการเรียนรู้เรื่องแคนลาหู่ ของกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านจ่าโบ่ ที่บ้านของนายชิดชัย สรานนนท์หิรัญกุล ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องแคนได้ครบกระบวนการตั้งแต่ความสำคัญและความเป็นมา การเลือกวัสดุการทำแคน การประกอบตัวแคน และการเป่าแคนแต่ละชนิด ให้กับคนในชุมชนและ นักท่องเที่ยว

ถ้ำผีแมน 

เป็นสถานที่ใช้เลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน เดินผ่านกลางหมู่บ้านไปทางทิศเหนือ จะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายเป็นทางเดินเท้า ระยะประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้ำอยู่บนหน้าผาสูงชันต้องปีป่ายขึ้นไปตามแนวโขดหินและบันไดไม้ ภายในมองเห็นโลงไม้สมัยก่อนประวัติศาสตร์วางเรียงรายกับพื้น บางโลงตั้งอยู่บนเสาสูง 

ประเพณีและพิธีกรรมบ้านจ่าโบ่

1.การเรียกขวัญไก่ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการดูกระดูกไก่เพื่อท านายเหตุการณ์ความ ผิดปกติที่เกิดขึ้น และบอกวิธีการแก้ไข โดยผู้น าพิธีกรรม (แก่มู) ของหมู่บ้าน

2.ทำบุญเล็ก เมื่อมีคนไม่สบายและเรียกขวัญไก่แล้วยังไม่หาย หรือผลจากการเรียก ขวัญไก่บอกให้ทำบุญเล็ก ก็จะมีพิธีกรรมการทำบุญเรียกขวัญให้กับผู้ที่ไม่สบายคนนั้น

3.ทำบุญใหญ่ เมื่อคนไม่มีอาการหนัก เรียกขวัญไก่หรือทำบุญเล็กแล้วก็ยังไม่หาย จึง ต้องทำบุญใหญ่

4.เลี้ยงผีบ้าน เป็นพิธีกรรมการอัญเชิญวิญญาณหรือผีบรรพบุรุษมารับของเซ่นไหว้ เพื่อความอยู่ดีมีสุข

5.เรียกขวัญข้าว เป็นพิธีกรรมที่ทำขึ้นตอนที่ข้าวออกรวงเพื่อให้รวงข้าวที่ปลูกไว้งอกงาม ลำต้นแข็งแรง และมีเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์

6.พิธีกรรมกินข้าวใหม่ เป็นพิธีกรรมที่มีการนาข้าวขาวใหม่ที่ปลูกไว้เพียงส่วนหนึ่ง นำมาหุง พร้อมข้าวเก่าที่มีอยู่ มีความเชื่อว่าคนต้องได้ทานก่อนแมลงและศรัตรูศัตรูต้นข้าว เช่น หนู นก กระรอก และมีการน าพืชผลทางการเกษตรที่ปลูกไว้ในไร่ มาแลกเปลี่ยนกัน

7.กินแขกหรืองานแต่ง เพื่อให้สามีภรรยาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข และเมื่อคราว ต้องจากกัน ก็จะได้เกิดมาเป็นสามีภรรยากัน เป็นเนื้อคู่กันตลอดไปไม่ว่าจะชาติไหน

8.ประเพณีกินวอ หรือปีใหม่ เป็นฤดูกาลที่ว่างจาการทำมาหากินในรอบ 1 ปี เป็น พิธีกรรมที่ญาติพี่น้องทั้งที่อยู่ในหมู่บ้านและต่างบ้าน ได้มีโอกาสมาพบปะถามไถ่สุขทุกข์ในเรื่องราว ต่างๆร่วมกันเพื่อให้เกิดพลังใจ ความผูกพันและสามัคคี ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีงามต่อกัน ประเพณี กินวอจะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคมของทุกปี มีการทำข้าวปุ๊ก หรือข้าวปุ๊กงา ฆ่าหมู มี ผู้นำทางพิธีกรรม หรือ แก่มู เป็นผู้ประกอบพิธี ในพิธีจะมีการเป่าแคน ร้องและเต้นรำ จะคึ ตาม จังหวะของแคน ณ ลานเต้นจะคึ ที่ทำขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของทุกครัวเรือน โดยคนเป่าแคนจะ อยู่วงใน ผู้หญิงจะอยู่วงที่สอง และผู้ชายอยู่วงนอกสุด เนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่จะกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่การเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว รวมทั้งคติสอนใจต่างๆ ชาวบ้านทุกคนจะแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่าเป็นการบอกถึงคุณค่าความหมาย และเอกลักษณ์ของเผ่า 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เป็งมล ทับทิม. (2563). รายงานการวิจัยกระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ ในกลุ่มเด็กและ เยาวชน พื้นที่การท่องเที่ยวชุมชนบ้านจ่าโบ่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัด แม่ฮ่องสอน. แม่ฮ่องฮอน: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุภาวดี มีสิทธิ์, จำรูณ วงศ์จันทร์, สุทัศน์ เดชทรงชัย, ชำนาญ ไพรเกตุสิริ และ ยะฟู สำเภาโอฬาร (2545). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถองค์กรชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.