วัดป่าลานเวียงปู่ล่าม (ร้าง) เป็นกลุ่มโบราณสถาน 1 ใน 50 ของเวียงโบราณพระธาตุภูขวาง
ปู่ย่าตายายอพยพมาจากจังหวัดเชียงใหม่และแพร่ มาก่อตั้งหมู่บ้านประมาณปี พ.ศ. 2400 ประมาณ 30 หลังคาเรือน ใช้ชื่อว่าหมู่บ้านร้องสีเสียด เพราะมีร่องน้ำและไม้สีเสียดเป็นจำนวนมากเรียงรายตามลำน้ำ
วัดป่าลานเวียงปู่ล่าม (ร้าง) เป็นกลุ่มโบราณสถาน 1 ใน 50 ของเวียงโบราณพระธาตุภูขวาง
ไม่ทราบ พ.ศ. ปู่ยาตายายเล่าว่ามีชาวพม่าอพยพหนีสงครามเข้ามาก่อตั้งบ้านอยู่มาก่อน เมื่อสงบแล้ว ก็อพยพกันกลับไปยังประเทศเดิมแต่ผ่านพ้นไปประมาณ 100 ปี ได้อพยพมาจังหวัดเชียงใหม่และแพร่ มาก่อตั้งหมู่บ้าน
พ.ศ. 2400 มีการก่อตั้งที่อยู่อาศัยประมาณ 30 หลังคาเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
พ.ศ. 2428 สร้างวัดเกษศรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยมีพระเบี้ย เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ระหว่าง พ.ศ. 2445-2455
พ.ศ. 2504 มีการสร้างอุโบสถ์ วัดเกษศรี
พ.ศ. 2506 มีรถจักรยานยนต์คันแรกของหมู่บ้าน โดยเป็นรถจักรยานยนต์ของ นายมา ไชยเสน ยี่ห้อ Honda
พ.ศ. 2513 สร้างโรงเรียนบ้านร้อง (ดวงแก้วอุปภัมภ์) มีเนื้อที่ดิน 23 ไร่ 2งาน โดยมี พระครูดวงแก้ว ปภัสสีโรเป็นผู้อุปภัมภ์ พร้อมด้วยชาวบ้าน โดยมี ครูใหญ่จากโรงเรียนบ้านเจน คือ อาจารย์อินคำ เดชบุญ เป็นผู้ขอตั้งโรงเรียนบ้านร้อง (ดวงแก้วอุปภัมภ์ ไปที่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแยกนักเรียนจากโรงเรียนบ้านเจน มาเข้าที่โรงเรียนบ้านร้อง (ดวงแก้วอุปภัมภ์) โดยมีการเรียนการสอนครั้งแรก คือชั้นป.1 ถึง ป .2 มีคุณครูแก้วมูล สิงห์แก้ว เป็นครูคนแรก และ คุณครูจำรัส นันตาราช เป็นครูคนที่ 2
พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2517 เริ่มมีการสร้างและเปิดดำเนินการ สำนักงานผดุงครรภ์ โดยสร้างด้วยทุนผูกพัน หัวหน้าคนแรก คือ นางสาววงเดือน วงค์ไซย
พ.ศ. 2521 มีโทรทัศน์เครื่องแรกของหมู่บ้านที่บ้าน นายสุรพล ปินใจ เป็นโทรทัศน์ขาว-ดำ ยี่ห้อ Hitachi โดยใช้หัวรถไถและไดฟ์ปั่นไฟช่วย
พ.ศ. 2526 เปลี่ยนจากการฝังศพ มาเป็นการเผาศพ เนื่องจากป่าสุสานแคบ
พ.ศ. 2527 มีการเริ่มใช้ไฟฟ้าครั้งแรกในหมู่บ้าน โดยมีการมีรวบรวมเงินจากชาวบ้านในหมู่บ้านหลังคาละ 700 บาท เพื่อสมทบกับกรมไฟฟ้าเพื่อใช้ในการดำเนินงาน พร้อมกับมีการตัดถนนจากแยกประตูชัยถนนสาย พะเยา-ป่าแดด ในปีเดียวกันมี นายสมอาจ พรมศรี เป็นผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) คนแรก
พ.ศ. 2533 เริ่มใช้น้ำประปาในหมู่บ้านครั้งแรก
พ.ศ. 2542 วันที่ 14 ธันวาคม 2542 ได้ยกฐานะจากสภาตำบลดงเจน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดงเจน
พ.ศ. 2552 แยกหมู่บ้านออกจากบ้านร้อง หมู่ 6 ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา มาเป็น บ้านร้องสีเสียด หมู่ 15 ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านร้องสีเสียด หมู่ 15 นายเล็ก ศักดิ์สูง
พ.ศ. 2554 จัดตั้งกลุ่มไม้กวาด และมีการสร้างฝายน้ำล้นร่องวังครก ในปีเดียวกันได้มีการปิดการเรียนการสอนที่โรงเรียนบ้านร้อง (ดวงแก้วอุปภัมภ์) เนื่องจากนักเรียนมีจำนวนน้อยประมาณ 20 คน จากนั้นนักเรียนจากโรงเรียนบ้านร้อง (ตวงแก้วอุปภัมภ์) บางคนก็ไปเรียนโรงเรียนในเมือง บางคนก็ไปเรียนโรงเรียนที่อยู่หมู่บ้านถัดไป
พ.ศ. 2557 เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5 นายเขียว วงศ์สม มีการสร้างศาลาประซาคมกลางหมู่บ้านและสร้างแท้งค์น้ำข้างตลาดบริเวณศาลาประชาคม
พ.ศ. 2560 เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนที่ 6 นายสมพร ยาสาร
บ้านร้องสีเสียด หมู่ที่ 15 ตั้งอยู่ในตำบลดงเจน อำเภอฎกามยาว จังหวัดพะเยา ห่างจากอำเภอภูกามยาวไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอเมืองพะเยา ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 13.7 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1202
สภาพความเป็นอยู่เป็นสังคมชนบทกึ่งเมือง การปลูกบ้านที่อยู่อาศัยอยู่แบบความสัมพันธ์ เครือญาติ ลักษณะบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ โดยชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างเป็นปูนบ้านเรือนแต่ละหลังล้อมรอบด้วยรั่ว เพื่อแสดงขอบเขตของบ้านแต่ละหลังและมีบ้านบางหลังที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันสภาพบ้านเรือนในปัจจุบันมีความมั่นคงถาวร พื้นที่รอบบ้านแต่ละหลังส่วนใหญ่จะมีพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเองต้นไม้ที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านเป็นต้นลำไย มะม่วง ถนนในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กร่วมกับมีถนนดินลูกรังเป็นเส้นทางที่ใช้เข้าไปในทุ่งนา และมีไฟฟ้าและน้ำประปาภายในหมู่บ้าน ทำให้ประชาชนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านจำปา หมู่ 17 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านร้อง หมู่ 6 ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ติดกับร่องไผ่ ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านร้อง หมู่ 6 ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
การคมนาคมภายในและภายนอกหมู่บ้าน
บ้านร้องสีเสียด หมู่ที่ 15 เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนถนนสายพะเยา-ป่าแดด การเดินทางภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตรอบหมู่บ้าน มีถนนดินลูกรังเป็นทางติดต่อสำหรับไปพื้นที่ทำการเกษตร การติดต่อภายในหมู่บ้านและการเดินทางไปพื้นที่ทำการเกษตร ประชาชนจะเดินทางโดยการใช้รถจักรยานยนต์และจักรยานเป็นส่วนใหญ่ การเดินทางติดต่อกับหมู่บ้านข้างเคียงใช้ถนนภายในหมู่บ้านและถนนสายหลักหน้าหมู่บ้าน การเดินทางไปสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจน ไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร และสามารถเข้าสู่ตัวเมืองโดยเดินทางผ่านถนนสายสายพะเยา-ป่าแดด ไปทางทิศใต้ ประมาณ 14 กิโลเมตร
จากการสำรวจของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา ปี 2563 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 147 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 543 คน โดยเพศชายจำนวน 260 คน และเพศหญิงจำนวน 283 โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ดินร่วน ปนทราย มีสภาพอากาศร้อนขึ้น มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 4,000 ไร่ บ้านเรือนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบ ซึ่งประชาชนในหมู่บ้าน ใช้พื้นที่ในการทำนามีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ ฝายวังครก ร่องน้ำสีเสียด และสระน้ำร่องโป่ง อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน ซึ่งแหล่งน้ำดังกล่าวมีประโยชน์ด้านอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม คือ การทำนา เป็นส่วนใหญ่ ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนกระจายไปตามแนวถนน พูดภาษาถิ่นในการติดติดต่อสื่อสาร มีการตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มตามเครือญาติ
ผู้ใหญ่บ้าน : นายสมพร ยาสาร
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง : นายเสาร์แก้ว รินฟอง, นายประวัติ ธรรมโรง
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ : นายบุญธรรม เผ่าปินตา
บ้านร้องสีเสียด หมู่ 15 แบ่งออกเป็น 6 คุ้ม ซึ่งเป็นกรรมการหมู่บ้านตามโครงสร้าง มีการรวมกลุ่มกันอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ดังนี้
กลุ่มที่เป็นทางการ
- กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) : นางวันเพ็ญ คำวงษา เป็นประธาน มี อสม. รวมประธานทั้งสิ้น 16 คน
- คณะกรรมการหมู่บ้าน : นายสมพร ยาสาร เป็นประธาน
กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ
- กลุ่มผู้สูงอายุ : นายแก้ว ฟองคำ เป็นประธาน
- กลุ่มเลี้ยงไก่ : วัชรพงษ์ เผ่าศรีไชย เป็นประธาน
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน : นายบุญยืน สมุทรจักร เป็นประธาน
- กลุ่มแม่บ้าน : นางบัวผัด ศรีวิชัย เป็นประธาน
- กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ : นายเขียว วงค์สม เป็นประธาน
- กลุ่มเกษตรรักสิ่งแวดล้อม : นายเขียว วงค์สม เป็นประธาน
- กลุ่มประดิษฐ์ไม้กวาด : นางไหล ศักดิ์สูง เป็นประธาน
- กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง : นางแสงคำมา หมอเก่ง เป็นประธาน
- กลุ่มประปาหมู่บ้าน : นายวีรยุทธ์ เมืองวงค์ เป็นประธาน
- กลุ่มเลี้ยงสุกร : นายนง ดุเหว่า เป็นประธาน
อาชีพหลักของประชาชน : เกษตรกรรม ทำนา ทำสวน รองลงมาคือ รับจ้าง ค้าขาย ก่อสร้าง ธุรกิจส่วนตัว ทำงานต่างจังหวัด รับราชการ รัฐวิสาหกิจ
ศาสนา/วัฒนธรรม/ประเพณี : ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงมีการปฏิบัติศาสนกิจในประเพณีและวันสำคัญทางพุทธศาสนา มีวัดเกษศรี ซึ่งเป็นศูนย์รวมในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน มีประเพณี พิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ เช่น วันพระ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง สลากภัตต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เวียนเทียน เป็นต้น
แหล่งน้ำ น้ำดื่ม/น้ำบริโภค ส่วนใหญ่ดื่มน้ำฝน จากถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ของครัวเรือน และดื่มน้ำจากน้ำบรรจุถัง ที่มีโรงงานผลิตในพื้นที่ ตำบลดงเจน น้ำใช้ จะใช้ประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลดงเจน ซึ่งใช้แหล่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำร่องติ้ว
ภาษาพื้นเมืองล้านนา
วัดเกษศรี
ประวัติโดยสังเขปของพระพุทธรูปสิงห์สาม สองพี่น้อง วัดเกษศรี
มีพระธุดงค์มานั่งตรงวัดโบราณแห่งหนึ่ง เห็นวงไฟตกที่เดิมทุกวัน พระธุดงค์จึงพาชาวบ้านมาขุดและพบพระสิงห์สองพี่น้อง มีมูลค่ามหาศาล เนื่องจากใต้ฐานจารึกเป็นภายาฮินดู จึงตั้งที่แห่งนั้นเป็นวัดเดิมไม่ทราบชื่อวัด แต่สันนิษฐานว่า วัดเกษศรี ตั้งชื่อตามเศียรพระที่พบใต้ต้นศรี จึงตั้งชื่อวัด ว่าวัดเกษศรีเป็นต้นมา
เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์ ทองเก่า ที่สร้างขึ้นในสมัยเชียงแสน เมื่อสมัย 900 กว่าปีมาแล้ว องค์พี่หน้าตักกว้าง 24 นิ้ว สูง 36 นิ้ว องค์น้องหน้าตักกว้าง 21 นิ้ว สูง 35 นิ้ว สันนิษฐานว่านำมาประติษฐานไว้ที่วัดเกษศรี โดยการอัญเชิญของเจ้าเมืองพระยาเชื้อสายสวะจังกราช สมัยนั้นนำมาไว้วัดเกษศรีเพื่อความเป็นสิริมงคล ช่วงที่เสด็จจากนครหอรัญเงินยาง เชียงแสนผ่านมาสร้งเมืองภูกามยาว พระพุทธรูปเจ้าสิงห์ 3 สองพี่น้องนี้ ได้สร้างปาฏิหาริย์หลายครั้งแล้วหากผู้ใดสักการะก็จะอยู่เย็นเป็นสุข พันจากอุปัทวันตรายทั้งปวง มีโชคลาภค้าขายเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ครั้งหนึ่งมีโจรบาปมาลักขโชยพระพุทธรูปสิงห์สามสองพี่น้ององค์นี้ไป แต่ก็ไม่สามารถนำไปได้เพราะประตูวัดแคบโดยไม่มีสาเหตุทั้งที่ประตูวัดกว้างมาก
ความเป็นมาของวัดป่าลานเวียงปู่ล่าม (ร้าง) เป็นกลุ่มโบราณสถาน 1 ใน 50 ของเวียงโบราณพระธาตุภูขวาง ซึ่งมีอาณาเขต จากวัดพระธาตุภูขางลงมาบ้านใหม่จำปา บ้านร้อง บ้านเจนและบ้านป่าสัก สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปี แต่ยังคงขาดหลักฐานศิลาจารึก โดยซาวบ้านเรียกว่า กูโป้งป่าลาน เนื่องจากมีดันลานเกิดขึ้นจำนวนมาก มีเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 78 ตารางวา สันนิษฐานว่าเมื่อสงครามระหว่างพม่า ล้านนาให้หมู่วัดวาอารามในพื้นที่เวียงประทัดภูขวางโบราณถูกทำลาย ปล่อยทิ้งรกร้างกลายเป็นป่าดงพงไพร ต่อมามีนายทุนผู้คลั่งไคล้ในวัตถุโบราณได้เข้ามาขุดหาของเก่าจนเจดีย์โบราณพังทลายลงมา เหลือเพียงซากปรักหักพังสันนิษฐานว่าในสมัยพระเจ้าติโลกราชครองเมืองเชียงใหม่นครล้านนา เจ้าขวัญอ(กำนัน) ข้าราชการ คหบดีในบริเวณแห่งนี้ได้พากันสร้างวัดประจำตระกูล แล้วอัญเชิญพระเป็นเจ้าติโลกราชพร้อมพระแม่เจ้า (พระราชมารดา) มาหยาดน้ำบริเวณนั้น ในบริเวณบ้านร้อง บ้านเจน มีวัตถุโบราณที่จมธรณีอยู่เป็นจำนวนมากและได้รับการบูรณะชี้แล้ว ปัจจุบันวัดเวียงปูล่ม ได้รับการบูรณะบ้างแล้ว แต่ตอนนี้ยังตั้งเป็นที่พักสงฆ์กู่ป่าลาน วัดเวียงปู่ล่าม (ร้าง) กำลังอยู่ระหว่างการขอแต่งตั้งที่ให้เป็นวัด
Google Maps. (2563). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านร้องสีเสียด. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/maps
ประวัติจังหวัดในล้านนา จังหวัดพะเยา. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม 2563. เข้าถึงได้จาก http://wiangsalanna.myreadyweb.com/
ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. (2550). จารึกฐานพระพุทธรูปสำริดวัดเกษศรี. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม 2563.เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/