ชุมชนชนบทที่มีเรื่องเล่าตำนาน นิทานและคติชนวิทยา
พื้นที่ในการตั้งหมู่บ้านเป็นที่โนนสูงและมีหนองน้ำที่ปรากฏดอกบัวสีเหลืองทองจำนวนมากจึงตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศและต้นไม้ที่มีจำนวนมากคือดอกบัวทองจึงเรียกชื่อบ้านว่า “บ้านโนนทอง”
ชุมชนชนบทที่มีเรื่องเล่าตำนาน นิทานและคติชนวิทยา
บ้านโนนทอง ตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม สภาพเดิมของหมู่บ้านเป็นดินโป่งภูกระแต มีหนองน้ำติดกับพื้นที่ดินโป่งให้ชื่อว่าหนองกุง ในหนองน้ำมีต้นบัวทองออกดอกสวยงาม และทางด้านทิศตะวันตกเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำในหนองน้ำจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านโนนทอง” อันเป็นที่อยู่อาศัยปลูกเรือนตั้งบ้านและเป็นชุมชน ก่อนการตั้งหมู่บ้านขึ้นครั้งแรกมีท้าวขุนชามาตร ท้าวขุนเสนาะ ท้าวขุนพรหมและท้าวขุนสีโส ทั้ง 4 คนได้เดินทางออกมาล่าสัตว์ที่มีอยู่จำนวนมากคือกระแต เห็นพื้นที่ดินโป่งเหมาะแก่การตั้งบ้านเป็นชุมชนจึงได้ปรึกษากันและประกอบพิธีกรรมเสี่ยงทายขึ้น ปรากฏว่าผลการเสี่ยงทายออกมาดีจึงได้ชักชวนลูกหลาน ญาติพี่น้องอพยพจากบ้านแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและอาศัยอยู่จนปัจจุบันนับเวลาได้ประมาณร้อยกว่าปี สถานที่ที่สำคัญของหมู่บ้านคือศาลเจ้าปู่ของท้าวทั้ง 4 ที่นำผู้คนมาตั้งหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ศักดิ์สิทธิ์คนในชุมชนเคารพศรัทธา จากนั้นมีการตั้งวัดขึ้นในช่วงหลังการตั้งหมู่บ้าน หลังจากตั้งหมู่บ้านได้ประมาณ 10 ปี เกิดเหตุอัคคีภัยขึ้นในหมู่บ้านบ้านทุกหลังถูกไฟไหม้เสียหายหมดสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน หลังจากนั้นทางราชการได้แยกโรงเรียนออกจากโรงเรียนบ้านเหล่าผักหวานโดยใช่ศาลาเป็นสถานที่เรียนหนังสือ และในปี พ.ศ.2478 ผู้นำของหมู่บ้านและคนในชุมชนได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อก่อสร้างโรงเรียนขึ้นโดยใช้งบประมาณ 800 บาท อาคารเรียนหลังเล็กจึงแล้วเสร็จและใช้เรียนหนังสือ
ประชากรของหมู่บ้านโนนทองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ ทอผ้า โดยบ้านโนนทองมีพื้นที่ติดกับชุมชนรอบข้างดังนี้
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านศาลา
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านโนนสะอาดซึ่งเป็นหมู่บ้านที่แยกตัวออกจากบ้านโนนทอง
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านเหล่ากามา
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านศรีโพธิ์ทอง
- เดือนอ้าย : บุญข้าวกรรม
- เดือนยี่ : บุญคูนลาน
- เดือนสาม : บุญข้าวจี่
- เดือนสี่ : บุญเผวส
- เดือนห้า : บุญสงกรานต์
- เดือนหก : บุญบั้งไฟ
- เดือนเจ็ด : บุญชำฮะ
- เดือนแปด : บุญเข้าพรรษา
- เดือนเก้า : บุญข้าวประดับดิน
- เดือนสิบ : บุญข้าวสาก
- เดือนสิบเอ็ด : บุญออกพรรษา
- เดือนสิบสอง : บุญกฐิน
ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและใช้ภาษาอีสานในการสื่อสาร
การเปลี่ยนแปลงในชุมชนที่แต่เดิมมีการใช้คำผญาและกลอนต่างอย่างหนาแน่นในชุมชน โดยเฉพาะการเกี้ยวพาราสีหรือใช้เป็นคำเปรียบเปรยและสั่งสอนลูกหลาน เช่น
“คิดฮอดอ้ายบ่อนนั่งกะเป็นหนาม บ่อนนอนกะเป็นเสี่ยน นาบ่อนสิเมี่ยนคิงน้องกะบ่มี”
“คิดฮอดอ้าย เฮๆ ฮ้อนๆ บ่ได้ย่ำข้าวป้อนสังมาคึดนำ”
กลอนผญาดังกล่าวเลือนหายไปกับความเป็นสมัยใหญ่และมีการสั่งสอนสืบทอดกันต่อมาในปัจจุบัน ส่งผลให้กลอนผญาของชุมสูญหายไป
ลมุล ใหม่คามิ. (2530). คติชนวิทยาหมู่บ้านโนนทอง ตำโนนทอง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ มหาสารคาม
พระพุทธรูปพระประธานปางนาคปก ณ วัดบ้านโนนทอง. (2565). พระพุทธรูปพระประธานปางนาคปก ณ วัดบ้านโนนทอง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566.เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/