Advance search

แม่คำฝั่งหมิ่น

เป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นด้านมรดกวัฒนธรรม คือ วัดฝั่งหมิ่น และพระพุทธรูปปาฏิหาริย์มงคล ที่เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดเชียงราย

จันจว้าใต้
แม่จัน
เชียงราย
เทศบาลตำบลจันจว้าใต้ โทร. 0-5377-5123, 0-5377-5199
ปวินนา เพ็ชรล้วน
21 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
22 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
22 ก.ค. 2023
ฝั่งหมิ่น
แม่คำฝั่งหมิ่น

ชื่อหมู่บ้านแม่คําฝั่งหมิ่นมาจากความคิดของชาวบ้านที่รวมตัวกันคิดตั้งชื่อขึ้นมา เริ่มจากการที่ชาวบ้านมาอาศัยอยู่ และมองเห็นสภาพหมู่บ้านที่เป็นอยู่คือสภาพหมู่บ้านเริ่มแรกเป็นที่เลี้ยงฝูงวัวฝูงควายโดยมีแม่น้ําคําไหลผ่าน ทุ่งหญ้าที่ใช้เลียงฝูงสัตว์ จึงเกิดความคิดที่จะตั้งชุมชนขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเลี้ยงสัตว์ จึงเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นให้มีชื่อว่า บ้านแม่คํา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งว่า บ้านแม่คําฝั่งหมิ่น เนื่องจากว่าหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ําคํา จึงให้ชื่อว่าแม่คําฝั่งหมิ่นสืบต่อกันมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

เป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นด้านมรดกวัฒนธรรม คือ วัดฝั่งหมิ่น และพระพุทธรูปปาฏิหาริย์มงคล ที่เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดเชียงราย

จันจว้าใต้
แม่จัน
เชียงราย
57000
19.8365547
99.7084027
เทศบาลตำบลจันจว้า

ความเป็นมาของประชากรหรือชุมชน หรือชุมชนบ้านแม่คําฝั่งหมิ่นเริ่มแรกไม่มีบุคคลที่จะคิดเข้ามาปักหลักตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ เพราะเป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์ เป็นทุ่งหญ้ากว้าง มีคนมาอาศัยเพื่อเลี้ยงสัตว์ต่อมาได้เริ่มการนําสัตว์มาเลี้ยงบ่อยขึ้น จึงมีคนที่คิดที่จะตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย แต่เริ่มจากประชากรเพียงกลุ่มเล็กๆ จากคนไม่กี่คนที่เข้ามาอยู่อาศัย ก็ได้มองว่าพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ดี จึงได้พาญาติ ชักชวนข้ามาอยู่อาศัยด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนจังหวัดลําพูน โดยมีภาษาพูดเป็นของตนเอง เรียกว่า “ภาษายอง”จากที่มีประชากรอยู่น้อยไม่กี่หลังคา ก็เริ่มเป็น หมู่บ้าน ที่สมบูรณ์ โดยให้ชื่อของหมู่บ้านว่า “แม่คําฝั่งหมิ่น” ปัจจุบันมีประชากร 210 หลังคาเรือน 

ลักษณะภูมิประเทศของหมู่บ้านแม่คําฝั่งหมิ่น มีลักษณะเด่นชัดโดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านแม่คําฝั่งหมิ่น เป็นแผ่นดินที่อุดมไปด้วยป่าส่วนหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในการทําเกษตรกรรม เช่น พืชไร่และพืชสวนเป็นจํานวนมาก 

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยอง และไทเขิน ที่อพยพมาจากทางตะวันออกของรัฐฉาน ตั้งแต่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ.2285-2358)

เสื่อกกบ้านป่ากุ๊ก

บ้านแม่คำฝั่งหมิ่น หมู่ 9 ตำบล จันจว้าใต้ อำเภอ แม่จัน จังหวัด เชียงราย

ผลิตภัณฑ์เสื่อกก ชาวบ้านแม่คำฝั่งหมิ่นทําเป็นอาชีพเสริม ซึ่งทําสืบทอดต่อกันมารุ่นสู่รุ่นมากกว่า 60 ปี จากนั้นชาวบ้านได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มเสื่อกกบ้านแม่คําฝั่งหมิ่น ขึ้นมาเมื่อ ปี พ.. 2547

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วัดฝั่งหมิ่น 

วัดฝั่งหมิ่นเป็นวัดเก่าแก่ อายุกว่า 200 ปี จากการตรวจสอบเศษซากอิฐที่มีอยู่เดิมและจากตำนานคำเล่าขานทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดที่มีมาช้านาน สมัยนั้น ที่นี่เคยเป็นที่จอดเรือค้าขายของชาวจีนและชาวลาวจากล้านช้างที่ล่องเรือตามลำน้ำกกมาค้าขายกับชาวเชียงราย แต่เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำกก เมื่อทางเดินของน้ำไหลเปลี่ยนทิศจนเซาะตลิ่งพัง ก็ทำให้ร้างไป ต่อมา เมื่อกระแสน้ำเปลี่ยนทิศอีกครั้ง บริเวณวัดเดิมจึงโผล่พ้นเป็นเกาะขึ้นมา ทำให้เห็นฐานพระวิหาร เศษอิฐ ไม้และซากพระพุทธรูปหินมากมาย ชาวบ้านจึงช่วยกันขุดแต่งและบูรณะจนเป็นวัดขึ้นอีกครั้งโดยให้ชื่อว่าวัดฝั่งหมิ่น (คำว่า “ฝั่งหมิ่น” หมายถึง แผ่นดิน (ฝั่ง) ที่อยู่หมิ่นจนเกือบจะหลุด วัดฝั่งหมิ่นจึงหมายถึง วัดที่ตั้งอยู่บนฝั่งที่ติดแม่น้ำมากจนเกือบจะพังลง) ต่อมาในปีพ.ศ. 2563 ได้มีการจัดสร้างบูรณะ พระวิหารลับแลหลวงแบบล้านนา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมความงามแบบล้านนาประยุกต์ ด้านในประดิษฐานพระสิงห์​ 2​ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อีกหนึ่งองค์ในจังหวัดเชียงรายอีกด้วย

สถานที่สำคัญในวัด

1. พระวิหารวัดฝั่งหมิ่น 

พระวิหารหลังนี้ เป็นพระวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเก่า โดยพระครูขันติพลาธร เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาของวัดฝั่งหมิ่น ได้ทำการรื้อถอนหลังเดิมซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก แล้วสร้างขึ้นใหม่ ณ สถานที่เดิมเมื่อปี พ.ศ. 2562จนเสร็จสมบูรณ์ และทำพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

ลักษณะพระวิหารที่สร้างใหม่ครั้งนี้ เป็นพระวิหารทรงล้านนา เรียกว่าวิหารปิดหรือวิหารปราการ รูปทรงซึ่งชาวบ้านเรียกว่า แม่ไก่ฟัก องค์ประกอบของพระวิหารหลังนี้ เครื่องบนได้แก่ช่อฟ้า ป้านลม ปราสาทเฟื้อง หางหงส์ ช่อฟ้ายองปลี เชิงชาย รวมถึงประตู หน้าต่าง เป็นเครื่องไม้ที่มีรูปแบบเชิงศิลปะแบบล้านนา โดยมีการแกะสลักรูปเทวดา จากตัวอย่างงานพุทธศิลป์ของวัดเก่าแก่ต่างๆ ได้แก่ วัดโพธาราม วัดลำปางหลวง ส่วนลายคำประดับเสาวิหาร มาจากวัดลำปางหลวง วัดปงยางครก วัดไหล่หิน วัดพระธาตุเสด็จ จากจังหวัดลำปาง และจาก วัดวิหาร วัดต้นเกว๋น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

บันไดนาค หรือทางขึ้นพระวิหาร ตัวนาคเป็นพญานาคโบราณเศียรเดียว คัดแบบมาจากพญานาค 5 เศียรของวัดเจดีย์หลวง วัดอุโมงค์เถระจัน และวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ตัวพญานาคของวัดฝั่งหมิ่นแห่งนี้ จะมีสีเทาเข้ม เพราะเป็นไปตามนิมิตของหลวงพ่อ พระครูขันติพลาธร เจ้าอาวาส ซึ่งนิมิตว่า ลึกลงไปใต้บริเวณวัดฝั่งหมิ่นแห่งนี้ เป็นวังบาดาล เป็นที่อยู่อาศัยของพญานาคมุจลินท์ พร้อมกับบริวาร ซึ่งทุกตัวจะมีผิวเป็นสีเทาเข้ม

ประตูโขง หรือซุ้มประตู ได้ประยุกต์เรื่องราวทางคติธรรมไว้ โดยมีรูปแบบซุ้มประตูและลวดลายปูนปั้นมาจากซุ้มประตูวัดลำปางหลวง จังหวัดลำปาง

บานประตู ได้แกะสลักตามคติโบราณที่ต้องมีเทวดาเฝ้าประตูทางขึ้น ลวดลายและองค์เทวดา ได้รูปทรงมาจากรอบเจดีย์ของวัดโพธาราม

สำหรับพระพุทธรูป พระประธาน ซึ่งมีมาแต่ดั้งเดิม อายุเก่าแก่นับร้อยปี นามว่าพระพุทธรูปทองขาว ได้รับการบูรณะปิดทองทั้งองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2562 เป็นพระพุทธรูปแบบลักษณะสิงห์สอง

งานจิตรกรรมในพระวิหาร ได้แก่ภาพต่างๆ ประกอบไปด้วยภาพพุทธนิยมเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า ปรากฏอยู่ในห้องที่ประดิษฐานพระประธาน ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของพระประธาน จะมีรูปพระพุทธเจ้าที่เกิดมาก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งจะมีกี่พระองค์ ก็ไม่สามารถนับได้ รวมทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สามารถลำดับพระนามได้ มี 28พระองค์ นอกจากนี้ ภาพทั้งสองด้าน จะมีพระสาวกที่มี เอตทัคคะ เป็นเลิศในด้านอิทธิฤทธิ์ คู่ไปกับ พระสารีบุตร รวมทั้งพระภิกษุ พระภิกษุณี ผู้เผยแพร่พระธรรม รวม 108พระองค์

 ลำดับภาพผนังด้านทิศเหนือ หรือด้านซ้ายขององค์พระประธาน ภาพต่อจากพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและพระสาวก เริ่มด้วยภาพพญา ลวจักราช หรือปู้จ้าวลาวจก กับย่าเจ้าลาวจก ซึ่งเป็นปฐมวงศ์ของราชวงศ์มังราย จากนั้นเป็นรูปภาพพระแม่คำขยาย พระมารดาของพระยามังราย ภาพพระบิดาและพญามังราย ( องค์ยืน ) พร้อมพระกุมารอีกสามพระองค์ คือองค์โต ขุนเครือ องค์รองขุนคราม และองค์เล็กขุนเครื่อง แสดงไว้เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณ ที่ทุกพระองค์มีต่อแผ่นดินล้านนา ต่อจากนั้นเป็นรูปพระโพธิสัตว์ 10พระองค์ที่จะตรัสรู้ สัมโพธิญาณในภายภาคหน้า

ต่อด้วยเรื่องราวของพระสารีบุตร และตำนานการสร้างเจดีย์ 9 จอม เป็นเจดีย์ที่ชาวพุทธนับถือ ตามคติความเชื่อที่ว่า ผู้ใดได้สักการะกราบไหว้เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ครบ 9 องค์นี้แล้ว จะบังเกิดอาณิสสงส์เป็นศิริมงคล ต่อตนเองและครอบครัวตลอดถึงเครือญาติ จากนั้นจะเป็นภาพประวัติ แมงสี่หู ห้าตา ซึ่งตามตำนานเล่าถึงชายผู้ยากไร้ แต่ตั้งมั่นอยู่ในศิลธรรมอันดีตั้งแต่เยาว์วัย กระทั่งพระอินทร์แปลงกายมาเพื่อช่วยเหลือในรูปของแมงสี่หู ห้าตา กินถ่านไฟแดงเป็นอาหาร ขับถ่ายออกมาเป็นทองคำ ต่อมาชายผู้ยากไร้กลายเป็นผู้ที่มั่งคั่ง ร่ำรวย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เจริญเติบโตก็ปฏิบัติตัวและตั้งมั่นในศิลธรรมมาโดยตลอด ท้ายที่สุดได้เป็นถึงพระราชาครองเมือง และได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ณ วัดดอยเขาควาย ซึ่งเจดีย์ดังกล่าวก็ปรากฏอยู่จริงมาจนถึงทุกวันนี้

ภาพด้านหลัง เหนือประตูด้านใน เป็นภาพพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระอัครสาวก และพระเจ้าอโศกมหาราช  ทรงเตรียมงานส่งเสด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าที่เสด็จเลียบโลก ตามเส้นทางที่พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆเคยเสด็จ ซึ่งภาพลำดับต่อจากนี้ไป ด้านในเหนือประตูทิศใต้ เป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จถึงดินแดนล้านนา โดยเฉพาะดินแดนสุวรรณภูมิ พระองค์ได้ทรงประทับรอยพระบาทตามที่ต่างๆ ตามลำดับได้แก่ พระพุทธบาทนางแล พระพุทธบาทตากผ้า พระพุทธบาทผางาม พระพุทธบาทที่สนามบินเก่า พระพุทธบาทบ้านดู่ พระพุทธบาทผาเรือ และพระพุทธบาทดอยตุง เป็นต้น

ภาพช่วงสุดท้าย เป็นภาพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จถึงเมืองเชียงราย และเสด็จออกจากดอยทอง ไปเจอชีร้ายถือดาบไล่ทำร้าย แต่พระองค์ยื่นแขนให้ฟัน ปรากฏว่าดาบกลายเป็นดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง จนชีร้ายขอถวายตัวออกบวชและร่วมเดินทางไปพร้อมกับอัครสาวก 60องค์ เดินทางไปประกาศพระศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ

2. หอพระหยก

วางศิลาฤกษ์วันที่ 12 กุมภาพันธ์ .. 2541 โดยพลเรือเอกประพัฒน์-คุณหญิงศรีศิริ กฤษณจันทร์ พร้อมคณะทหารเรือพระเทพรัตนมุนี รองเจ้าคณะภาค 6 เจ้าอาวาสวัดพระเเก้ว (พระอารามหลวง) ให้นามพระพุทธหินหยกขาวว่า"พระพุทธศรีบุศยรัตน์ประพัฒน์ขันติพลาธรไพโรจน์"และพระพุทธรูป หินหยกดำว่า"พระพุทธนิลรัตน์สิริพัฒน์ขันติธรรมไพศาล"พระครูขันติพลาธร เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงราย เจ้าอาวาสวัดฝั่งหมิ่น ให้พระนามรูปทองสำริดว่า"พระเชียงแสนสำเภาทรงเครื่องจักรพรรดิ์"

3. พระพุทธรูปปาฏิหาริย์มงคล

พระพุทธรูปปาฏิหาริย์มงคลถูกค้น พบตรงบริเวณท่าน้ำภายในบริเวณวดั เมื่อตรวจสอบจาก ผู้เชี่ยวชาญแลว้พบว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีอายุหลายร้อยปีจากการสันนิษฐานจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า น่าจะเป็นพระพุทธรูปของวัดฝั่งหมิ่นที่เคยจมหายไปในบริเวณน้ำกกเมื่อหลายร้อยปีก่อนจึงทำให้ทรัพย์สินมีค่าจมหายไปพร้อมกับวัดเมื่อเวลาผ่านไปสายน้ำเปลี่ยนทิศทาง ทำให้เกิดการมองเห็นวัดนั้นโผล่ ขึ้นมาอีกคร้ังแต่เป็นที่น่าประหลาดใจที่ทางวัดได้พบเพียงพระพุทธรูปเพียงองค์เดียวคือ พระพุทธรูปปาฏิหาริย์มงคล ชาวบ้านในท้องถิ่นจึงถือว่าพระพุทธรูปองค์นี้ีสามารถรอดพ้นจากเหตุการณ์อันตรายต่างๆได้

พระพุทธรูปดังกล่าว มีพุทธลักษณะเป็ นพระพุทธรูปแบบสมัยเชียงแสนสิงห์สาม เป็ น พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้ออทองสำ ริด สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 21 มีอายุราว 700 กว่าปี มีขนาดหน้าตัก 15 นิ้ว ประทับบนฐานดอกบัวหงายเดี่ยว มีเสาขา รองรับ 3 ขา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประดับใจ สายเมืองนาย. (2558). การศึกษาพระพุทธรูปสำคัญ ในจังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 

ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. (2554). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก : http://www.janjawa.go.th/filesAttach/main/1594277642.pdf

วัดฝั่งหมิ่น. (2565). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก : http://www.m-culture.in.th/album/196786/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99

เสื่อกกบ้านป่ากุ๊ก. (2564). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก : https://www.u2t.ac.th/community-business/detail/42

เทศบาลตำบลจันจว้าใต้ โทร. 0-5377-5123, 0-5377-5199