บ้านผาหมอน หมู่บ้านขนาดกลางๆ ที่อยู่กลางหุบเขา เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวปกาเกอะญอ ที่เป็นรีสอร์ทชุมชน เป็นบ้านที่อยู่บนสันดอยสามารถมองเห็นวิวของนาขั้นบันได
เหตุที่ชาวบ้านเรียกถิ่นอาศัยของพวกเขาว่า “ผาหมอน” นี่ก็เป็นเพราะรอบ ๆ ชุมชนมีภูเขาที่มีลักษณะคล้ายหมอน
บ้านผาหมอน หมู่บ้านขนาดกลางๆ ที่อยู่กลางหุบเขา เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวปกาเกอะญอ ที่เป็นรีสอร์ทชุมชน เป็นบ้านที่อยู่บนสันดอยสามารถมองเห็นวิวของนาขั้นบันได
ในการอพยพตั้งถิ่นฐานของชนเผ่ากะเหรี่ยงโดยทั่วไปจะมีผู้นำกลุ่มที่มีความรู้เป็นที่ยอมรับและเคารพนับถือของชนเผ่า และเป็นผู้นำ ทางความเชื่อมีกุศโลบายที่คิดค้นด้วยภูมิปัญญา สะสมจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เพื่อนำชุมชนดำรงชีวิตอยู่รอดอย่างสงบสุข สำหรับองค์ความรู้ หรือภาษาถิ่นภาคเหนือเรียกว่า “ผะหญา” ของผู้นำชนเผ่าปกาเกอญอ บ้านผาหมอนในอดีต ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดคือการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับป่า และถ่ายทอดผ่านกระบวนการจัดการความรู้ตามแนวประเพณี เช่น ในการตั้งถิ่นฐาน มีความเชื่อ
เรื่องลักษณะภูมิประเทศในการตั้งถิ่นฐานว่า “ถ้าตั้งทำเลสูงเหนือกว่าต้นน้ำ และตาน้ำ ถือว่าไม่เป็นศิริมงคลต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะทางกิ่วลม ตามกฎ จารีตประเพณีห้ามการตั้งถิ่นฐาน ห้ามตัดไม้ทำการเกษตรโดยเด็ดขาด” ดังนั้นชุมชนบ้านผาหมอนจึงมีจุดสิน้ สุดเขตก่อสร้างบ้านเรือนเอาไว้รอบหมู่บ้าน ทางฝั่งตะวันออกหรือทางดอยลิงในปัจจุบันนอกจากนี้จากการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน พบว่า การตกลงเรื่องการขอตั้งถิ่นฐานร่วมกัน ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง มิฉะนั้นจะขัดต่อขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม
ทางการปกครอง ต้องถือหลักให้ผู้ที่มาถึงก่อนเป็นแกนนำ
ชาวบ้านผาหมอนอพยพมาจากบ้านแม่ลาหลวง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมาจาก 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่ 1 นำโดยนายตาโร และกลุ่มที่ 2 นำโดย นายเปอะริและนายเดส่า เริ่มอพยพเมื่อ พ.ศ.2413 ถึงปี พ.ศ. 2428 มาตัง้ ถิ่นฐานเป็นแคว้น “มึกะคี” สันนิษฐานว่าคือ ดอยหัวเสือในปัจจุบัน รวมระยะเวลาอพยพ 15 ปีจากการศึกษาประวัติการอพยพย้ายถิ่นฐานข้างต้น ถือได้ว่าปี พ.ศ. 2428 เป็นปีแห่งการก่อตั้ง ถิ่นฐานของแคว้น “มึกะคี” ซึ่งหมายถึง แคว้นแห่งสันติสุข รักสงบ อุดมสมบูรณ์ ตรงกับความหมายของชนเผ่ากะเหรี่ยงที่เรียกตัวเองว่า “ปกาเกอญอ” แปลว่า ผู้รักสันโดษ เมื่อได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องสมบูรณ์จากเจ้าเมืองลำพูนจึงตัง้ ถิ่นฐานรกรากอย่างเป็นหลักแหล่ง ดังนั้นแคว้นมึกะคี จึงเป็นจุดศูนย์กลางในการติดต่อไปมาหาสู่กัน โดยมีน้ำ กลางพาดไหลผ่านระหว่างกึ่งกลางของชุมชน มีดอยอินทนนท์เป็นแหล่งน้ำ อันสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิต และเป็นเขตการค้าขายระหว่างชุมชนพื้นที่สูงและพื้นราบ รวมถึงเป็นจุดติดต่อประสานงานทางราชการในอดีต
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2476 ชนเผ่าปกาเกอญอ แห่งแคว้น “มึกะคี” มีการปรับตัวให้เข้ากับคำสั่งส่วนกลาง โดยมีเจ้าหน้าที่ทางราชการเป็ นพี่เลีย้ งในการให้เข้ากับระบบการปกครองแบบใหม่ ได้จัดทำสำเนาทะเบียนบ้าน และออกบัตรประชาชนฉบับแรกและเป็นฉบับประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านผาหมอน ซึ่งออกโดยสำนักงานทะเบียนกระทรวงมหาดไทยออกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2507 ในสมัยนัน้ นายอำเภอจอมทองคือ นายสุรจิตต์ จันทรศัพท์ มีนายหม่อหง่วย เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านผาหมอน
พื้นที่โดยรวมของแคว้น “มึกะคี” ประกอบด้วยทั้งหมด 7 หมู่บ้านคือ บ้านผาหมอนบ้านผาหมอนใหม่ บ้านหนองหล่ม บ้านอ่างกาน้อย บ้านแม่กลางหลวง และบ้านม้งขุนกลาง ซึ่งในอดีต บ้านผาหมอน คือ จุดศูนย์กลางของทุกหมู่บ้านในเขตปกครองของทางราชการ ตำบล บ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันหมู่บ้านต่างๆ ได้แยกตัวออกไปเป็นอิสระจากการปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ทุกหมู่บ้านมีคณะกรรมการบริหารส่วนท้องถิ่นเป็ นของตนเอง ซึ่งหมู่บ้านทั้ง หมดคือ “แคว้นมึกะคี” ที่เรียกกันทั้งในอดีตและปัจจุบัน ด้วยวิถีชีวิตขนมธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม จากรุ่นสู่รุ่นที่ได้ถ่ายทอดหล่อหลอมวัฒนธรรมของชนเผ่าปกาเกอญอ
ในชุมชนบ้านผาหมอนนี้ ยังคงปรากฏถึงความเป็นเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของตน แม้ว่าการตัง้ ถิ่นฐานผ่านมาเกือบ 140 ปีแล้วก็ตาม ชนเผ่าปกาเกอญอ แคว้น“มึกะคี” แห่งนี้ยังคงระลึกถึงบุญคุณของ ช้าง “โม่ธุแหม่” และ “เสื่อหวาย” ที่ได้จากการอธิบายข้อมูลของนักสื่อความหมายท้องถิ่นว่า ช้างโม่ธุแหม่ เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่และแข็งแรงเป็นช้างที่เสียสละให้กับคนแคว้นมึกะคี เพื่อได้มีพื้นดินในการดำรงชีวิตอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน จะเห็นได้ว่า การปลูกฝังความรู้ภูมิปัญญา จิตวิญญาณเหล่านี้ได้มาจากเหตุการณ์ การอพยพของกลุ่มที่ 2 ที่มาทีหลังที่ได้จักสาน “เสื่อหวาย” มาให้กลุ่มแรกแทนเงิน เพื่อเป็นการแก้เคล็ดในการตั้งถิ่นฐานร่วมกัน โดยไม่ได้ยึดถือเงินเป็นใหญ่ และสามารถทำให้แคว้น “มึกะคี” มีความเป็นปึกแผ่นถึงในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังนำช้างมาเป็นสัญญลักษณ์ประจำการท่องเที่ยวโดยชุมชนอีกด้วย ส่วน“เสื่อ” เป็นสัญลักษณ์แห่งการเคารพนับถือซึ่งกันและกัน การให้เกียรติกัน ประสานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว
พื้นที่ในชุมชนมีลักษณะเป็นแอ่ง มีภูเขาสลับซับซ้อน อยู่ในเขตทิศตะวันออกของดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวลงมาจากเทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศา 24 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 98 องศา 24 ลิปดาตะวันออกทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นภูเขาสูง ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของหมู่บ้านเป็นที่ราบใช้ในการเพาะปลูก มีขนาดพื้นที่ 42 ตารางกิโลเมตร มีพืน้ ที่ 22,750 ไร่ แบ่งเป็นที่นา 872 ไร่ ที่สวน 232 ไร่ ที่อยู่อาศัย 300 ไร่ ที่ป่าและภูเขา 21,296 ไร่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,200 เมตร ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านขุนป๋วย ตำบลแม่วิน กิ่งอำเภอแม่วาง
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านสบแอบ และบ้านแม่กลางหลวง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านเมืองอาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง
ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกระเหรี่ยง ซึ่งชนเผ่ากะเหรี่ยง มีถิ่นเดิมอยู่ในดินแดนตะวันออกของทิเบต เข้ามาตั้งอาณาจักรในประเทศจีนเมื่อ 733 ปีก่อนพุทธกาล ชาวจีนเรียกว่า ชนชาติโจว ภายหลังถูกกษัตริย์จีนรุกราน เมื่อพ.ศ. 207 จึงพากันแตกพ่ายหนีลงมาอยู่บริเวณลุ่มน้ำ แยงซีเกียง ต่อมาเกิดปะทะกับชนชาติไทจึงถอยร่นลงมาอยู่ตามลุ่มนำ้ โขงและแม่นำ้ สาละวินในเขตพม่า และสันนิษฐานว่า ชนเผ่ากะเหรี่ยงอพยพมาจากทาง “ ธิบิ - โกวบี” ภาษาถิ่น หมายถึง ธิเบตและทะเลทราย กะเหรี่ยงเริ่มตัง้ ถิ่นฐานในประเทศพม่า ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายถึงต้นรัตนโกสินทร์ บางครอบครัวได้อพยพมายังดินแดนทางภาคเหนือของไทย และอยู่กระจัดกระจายไปทั่วตามแนวตะเข็บชายแดนรวมถึงพื้นที่ประเทศไทยและมีการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในพื้นหลายจังหวัดของประเทศไทย ในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยง 1,993 หมู่บ้าน, 69,353 หลังคาเรือน และประชากรทัง้ สิน้ ประมาณ 352,295 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของจำนวนประชากรชาวเขาในประเทศไทย
ปกาเกอะญอชาวปกาเกอะญอบ้านผาหมอนจะเริ่มเตรียมนาตั้งแต่เดือน ม.ค. ด้วยการหาที่เหมาะ ๆ และดินดี ๆ ที่ต้องเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินรังนก และจะต้องหมุนเวียนกันปลูกเพราะที่นาเป็นของทุกคน ต่อมาในเดือน เม.ย.-ส.ค. จะเป็นช่วงเตรียมเมล็ดพันธุ์ ปล่อยน้ำเข้านา เลี้ยงผีฝาย ซึ่งระหว่างนั้นจะมีพิธีต้มเหล้าบือแซะคลี ที่ใช้สำหรับ พิธีมัดมือ ช่วงทำนา จากนั้นก็จะลงแปลงไถนาเตรียมดิน หมักดิน ปั้นคันนา หว่านข้าว และเมื่อต้นข้าวงอกจากพื้นดินโผล่พ้นน้ำแล้ว ก็จะมีพิธีมัดมือ ที่เป็นการขอบคุณเทวดาที่อำนวยพรเรื่องอาหารมาให้ และเมื่อข้าวสุกเต็มที่ก็จะมี ประเพณีเอามื้อ (ลงแขก) เกี่ยวข้าว เมื่อเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวก็จะเป็น ประเพณีกินข้าวใหม่ (เอาะบือไข่) และพิธีแซะพอโข่ หรือ พิธีเรียกขวัญข้าว เพื่อขอบคุณเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ส่วนอีกพิธีที่สำคัญคือ การเลี้ยงผีนา ซึ่งจะจัดขึ้นราวเดือน ส.ค. โดยชาวบ้านผาหมอนจะประกอบพิธีสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ “พิธีต่าแซะ” หรือการทำพิธีบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากท้องนา “พิธีเต่อม้อ ชิ” เพื่อบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้ดูแลพืชพันธุ์ให้ต้นข้าวมีความอุดมสมบูรณ์และงอกงามดี สุดท้ายคือ “พิธีต่าหลื่อ” ที่เป็นพิธีกรรมเพื่อขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยคุ้มครองดูแลนาข้าวให้อุดมสมบูรณ์ ...นี่เป็นพิธีกรรมตามความเชื่อชาวปกาเกอะญอ ที่มีวิถีผูกพันอยู่กับนา-ข้าว.
ทุนทางธรรมชาติ
- ดอยผาหมอน ดอยผาหมอนเป็นดอยอีกลูกหนึ่งที่อยู่เคียงคู่กับดอยอินทนนท์มาช้านาน มีความสูงกว่า 1,610 เมตร ในตำนานท้องถิ่นดอยทั้งสองลูกคือเป็นดอยญาติพี่น้องกัน ซึ่งทั้งหมดมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 ลูก คือ ดอยอินทนนท์ ดอยผาหมอน ดอยอ่างกาน้อย ดอยหัวเสือ ดอยเลกฺวา
- ดอยอ่างกาน้อย ดอยอ่างกาน้อยเป็นดอยที่สูงลำดับสามที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของดอยอื่นๆที่ล้อมรอบ จากบ้านผาหมอนหรือบ้านหนองหล่ม เมื่อขึ้นมาถึงยอดดอยจะเป็นจุดชมวิวที่สวยงามเกือบจะ 360 องศา สามารถมองไปได้กว้างไกลสุดสายตา
- ดอยผาตั้ง หรือดอยหม้อนึ่ง เป็นเส้นทางดูนก ที่จะสามารถพบนกต่างๆ ได้กว่า 30 ชนิด ทั้งนกท้องถิ่นและนกอพยพ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของต้นจำปีป่า และต้นเปลือกแดง รวมทั้งเฟิร์นนานาพันธุ์
- ดอยอินทนนท์ มีความสูง 2,565 เมตร ซึ่งแต่ละดอยมีจุดชมวิวที่สวยงามหลายจุด และมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้เดิน
- นาขั้นบันได การทำนาบันได ที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาในการจัดการน้ำ บางช่วงอาจเห็นชาวบ้านทำพิธีกรรมในนาขั้นบันได เพื่อเป็นการขออนุญาตปลูก เก็บเกี่ยว และขอบคุณที่ให้ผลผลิต บ้านผาหมอนและแม่กลางหลวงเมื่อก่อนเคยมีการทำไร่หมุนเวียน แต่ปัจจุบันวิถีชุมชนดังกล่าวหายไปหมดแล้ว
- แปลงดอกไม้เมืองหนาว อาชีพเพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับชาวบ้าน และเป็นการสร้างอาชีพทางเลือกให้กับชาวบ้าน เพื่อลดพื้นที่ทำการเกษตรในเขตป่า
- น้ำตกรอบบ้าน น้ำตกนั้นมีมากหมายในพื้นที่อินทนนท์ เช่น น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ น้ำตกสิริธาร น้ำตกแม่ปาน เป็นต้น
กะเหรี่ยงมีภาษาของตนเอง ไม่เหมือนภาษาในตระกูลมอญ-เขมร แต่เรียงถ้อยคำแบบพม่าตัวอักษรคล้ายมอญและพม่า นักภาษาศาสตร์ได้สำรวจภาษากะเหรี่ยง พบว่า มีถึง 8 ภาษา คือ บาเว เฆโก (Ghego) มอบวา (Mopwa) ปาโลวิ (Palaychi) โบว์ (Po, Pwo) สกอ (Sgaw) ตองสู (Taungthu) และ เวเวล (Wewaw) ปัจจุบันพบว่า ภาษาเขียนไม่นิยมนำมาใช้ และส่วนน้อยที่สามารถอ่านและเขียนภาษาโบราณได้ ซึ่งภาษาเขียนมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ
1) ลิโรเหม่ เป็นภาษาเขียนที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ คือ ใช้เขียนในพระคัมภีร์มีลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษ
2) ลิกวา เป็นภาษาเขียนโบราณ ที่มีมาแต่โบราณคล้ายอักษรของพม่าหรือภาษาพื้นเมืองของภาคเหนือของไทย
ส่วนภาษาพูด หรือภาษากะเหรี่ยง (แตปกาเกอญอ) ชาวบ้านส่วนใหญ่สื่อสารกันเองด้วยภาษาถิ่นของตน และจะใช้ภาษาท้องถิ่นเหนือในการสื่อสารกับคนพื้นที่ราบได้บ้างบางคนภาษาปกาเกอญอนั้นไม่มีตัวสะกด จึงทำให้ออกเสียงสั้นกว่าภาษาไทย