Advance search

พระธาตุภูขวางคู่เขต วิทยาลัยเกษตรคู่บ้าน ร่วมสืบสานภูมิปัญญา แหล่งสินค้าเกษตรกรรม รวมวัฒนธรรมหลากหลาย อ่างน้ำฝายชุ่มเย็น สวยสูงเด่นจุดชมวิว

หมู่ที่ 10
บ้านแม่นาเรือใต้
แม่นาเรือ
เมืองพะเยา
พะเยา
ขวัญเรือน สมคิด
14 มิ.ย. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
28 มิ.ย. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
25 ก.ค. 2023
บ้านแม่นาเรือใต้

ประมาณปี พ.ศ. 2340 มีชาวเชื้อชาติเย้ามีอาชีพทำไร่เลื่อนลอย มาตั้งเรือนอยู่ 3 หลังคาเรือนได้มีจ้าวผางมาทำการค้าอยู่ที่บริเวณนี้และชาวบ้านได้แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านมียศเป็นพระยาคำ ซึ่งยังเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ประมาณ 3 ปี ได้มีชาวเมืองนครลำปางได้อพยพมาอยู่มีชาวน่าน ชาวแพร่มาสมทบอีกจึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า หมู่บ้านศรีเมืองชุม และมีปรากฎการน้ำเจิ่งนองและได้มีเรือไหลมาตามน้ำ (เรือผี) เสียงหวยหวนในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 จากนั้นได้มีคนเห็นเรือผีไหลมาตามน้ำ บางคนบอกว่าเห็นเรือ บางคนบอกไม่เห็นเรือ ประมาณปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านแม่นาเรือ เพราะว่ามีนาร้าง ภาษาโบราณ เรียกว่า นาเฮี่ย ประกอบกับมีน้ำไหลผ่านหมู่บ้านและมีคนเจอเรือที่ต้นน้ำลำห้วยเลยตั้งชื่อว่า บ้านแม่นาเรือ


พระธาตุภูขวางคู่เขต วิทยาลัยเกษตรคู่บ้าน ร่วมสืบสานภูมิปัญญา แหล่งสินค้าเกษตรกรรม รวมวัฒนธรรมหลากหลาย อ่างน้ำฝายชุ่มเย็น สวยสูงเด่นจุดชมวิว

บ้านแม่นาเรือใต้
หมู่ที่ 10
แม่นาเรือ
เมืองพะเยา
พะเยา
56000
19.11597938
99.84966293
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ

แม่นาเรือมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 900 ปี ปรากฏหลักฐานจากแผ่นศิลาจารึกวัดพระธาตุภูขวาง ว่า

พ.ศ. 1639 พ่อขุนจอมธรรมได้รับแบ่งราชสมบัติจากพ่อขุนเงินผู้เป็นราชบิดากษัตริย์แห่งนครเงินยางเชียงแสน ให้มาครอบครองเมืองภูกามยาวซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ เมืองภูกามยาวเป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งมีชื่อเดิมว่าเมือง "สีหราช" เมื่อพ่อขุนจอมธรรมพร้อมด้วยข้าราชบริวารได้สร้างปรับปรุงเมืองใหม่ จึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์ ไว้เป็นแจ่งเมืองทั้งสี่ทิศ วัดพระธาตุภูขวางเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง

พ.ศ. 1985 ในยุคที่เมืองภูกามยาวสิ้นกษัตริย์ปกครองและเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนา รัชสมัยของพระเจ้าตีโลกราชครองเมืองเชียงใหม่ ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ ได้แผ่ขยายอำนาจลงไปทางใต้ยกกองทัพปราบเมืองสองแคว เมืองเซลียง เมืองสุโขทัย ตลอดเมืองกำแพงเพชร ให้อยู่ในอำนาจทั้งหมดได้ทำศึก กับพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงสุโขทัย ฝ่ายเจ้าเมืองสองแควพระยาอุทิศเจียงได้สวามิภักดิ์พระเจ้าตีโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา จึงได้กวาดต้อนเอาผู้คน ช่างปั้นดินเผาชาวเซลียง ชั่งปั้นถ้วยชามเครื่องเคลือบสังคโลก อันเป็นศิลปะของกรุงสุโขทัยขึ้นไปหนเหนือ กระจายอยู่ตามหัวเมือง ต่างปรากฏหลักฐานถ้วยชามเคลือบสังคโลกเก่า อันเป็นศิลปะของกรุงสุโขทัย บริเวณหุ่งกู่บ้านโช้ และเตาผาโบราณที่ตำบลแม่กา

พ.ศ. 2034 รัชสมัยพระยายอดเชียงราย ครองอาณาจักรล้านนาทรงแต่งตั้งให้พระยาเมืองยี่ครองเมืองพะเยา และแบ่งการปกครองออกเป็น 36 พันนา ซึ่งประวัติศาสตร์ตำบลแม่นาเรือปรากฏหลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อได้พบศิลาจารึกของการสร้างวัดนางหมื่น ซึ่งเป็นวัดพระมหากษัตริย์สร้างขึ้นมา เมื่อสร้างเสร็จได้พระราชทานครัวเรือน 10 ครัวเรือน เป็นข้าวัด (คำว่านางหมื่น สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า เจ้าสี่หมื่น เป็นชื่อยศของเจ้าเมืองพะเยา นางหมื่นนั้นคือกษัตริย์ผู้เป็นสตรี) ที่ตั้งวัดนางหมื่นอยู่บริเวณวัดโบสถ์ หมู่ที่ 11 ตำบลแม่นาเรือ ปรากฏกู่เก่าเจดีย์ทั้งสี่ทิศ ตรงกลางสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวิหารใหญ่ ปัจจุบันถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถเห็นได้ว่าเป็นรูปร่างของวัด

พ.ศ. 2111 พระเจ้าบุเรงนองขึ้นมาเป็นใหญ่ในหงสาวดีได้แผ่ขยายอำนาจทั่วอาณาจักรล้านนา และกรุงศรีอยุธยา ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่เมืองพะเยาและพื้นที่วัดนางหมื่นรกร้างไป

พ.ศ. 2200 มีการบูรณะเจดีย์เก่า สร้างเป็นวัด โดยพระอธิการปัญญา

พ.ศ. 2340 รัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี มีบ้านเรือนอาศัยอยู่แถบเชิงเขา 3ครัวเรือนเป็นเชื้อสายชาวพะเยา มีอาชีพทำไร่ ทำสวน ทำนา ต่อมาได้มีชาวฝางเดินทางมาค้าขายโดยใช้วัวเป็นพาหนะและไม่ได้กลับภูมิลำเนาเดิม ปักหลักฐานอาศัยอยู่กันเป็นหมู่บ้าน

พ.ศ 2343 ชาวเมืองลำปางชาวเมืองน่าน ชาวเมืองแพร่ อพยพมาอยู่ร่วมกัน เกิดเป็นหมู่บ้านใหญ่เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านศรีเมืองชุม" โดยให้ชาวฝางเป็นผู้นำหมู่บ้าน และได้สถาปนาชื่อวัดเป็น วัดศรีเมืองชุมต่อมาทุกครั้งในช่วงฤดูน้ำเจิ่งนองได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาด "เสียงคนร้องให้โหยหวนต่อจากนั้นมีเรือผีร่องตามน้ำห้วยแม่นาเรือตามมา" สร้างความหวาดกลัวให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่สองฝั่งลำห้วยเป็นจำนวนมาก

พ.ศ. 2445 เกิดจลาจลขึ้นทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ โจรผู้ลี้ภัยเงี้ยวหรือไทยใหญ่เข้ายึดเมืองพะเยา ปล้นเอาทรัพย์สินทางราชการ ประชาชน วัดวาอารามไป ประชาชนแตกตื่นกระจัดกระจายหนีเข้าป่าเข้าพงบางส่วนหนีไปลำปาง พวกเจ้านายฝ้ายปกครองบ้านเมืองก็หนีเอาตัวรอดหลบหนีไปพึ่งนครลำปางกันหมด ทำให้พวกเงี้ยวยึดครองเมืองพะเยาอยู่นาน ความทราบถึงนครลำปางได้ยกกำลังตำรวจทหารจากลำปางมาปราบรบกันอยู่ที่บริเวณบ้านแม่กา เงี้ยวล้มตายเป็นจำนวนมาก เงี้ยวเป็นไทยใหญ่กลุ่มหนึ่งได้ก่อความไม่สงบ ในปี

พ.ศ. 2445 โดยพกาหม่อง ได้นำพรรคพวกเงี้ยวประมาณ 30-40 คน เข้าปล้นเมืองแพร่ แล้วลุกลามถึงเมืองน่านกับเมืองพะเยา เจ้าเมืองพะเยาได้ไปขอกำลังทหารจากเจ้าผู้ครองนครเมืองลำปางให้มาปราบเงี้ยวสามารถปราบได้ราบคาบ หลังจากนั้นก็ได้มีการนำเอาดินจี่ตามวัดร้าง ที่มีอยู่รอบเมืองไปก่อกำแพงเมือง

พ.ศ. 2448 เมื่อกบฎเงี้ยวสงบลงแล้ว เมืองพะเยาได้เปลี่ยนเป็นจังหวัด เรียกว่า จังหวัดบริเวณพะเยาให้เปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอเมืองพะเยา ต่อมาได้มีการยุบเลิกจังหวัดบริเวณพะเยา ให้มีฐานะอำเภอเมืองพะเยาแล้วให้เจ้าอุปราชมหาชัย คีตสาร รักษาการในตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. 2460 บ้านศรีเมืองชุมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "บ้านแม่นาเฮือ" สาเหตุเกิดจากสภาพของนา ที่เป็นนาร้าง คนโบราณเรียกว่านาเฮี้ย เมื่อพูดไปนาน ๆ ก็เพี้ยนเป็นนาเฮือ ประกอบกับชาวบ้านสันช้างหินได้ขึ้นมาตัดไม้เพื่อที่จะทำเป็นเรือใช้ในการประมง ต่อมามีผู้รู้กาษาไทยขนานนามใหม่สอดคล้องกับพื้นที่หมู่บ้านที่มีแม่น้ำไหลผ่านใหม่ว่า "บ้านแม่นาเรือ" ต่อมาได้ขยายหมู่บ้านไปทำไร่ ไถนา เลี้ยงสัตว์ เกิดเป็นหลายหมู่บ้าน เช่นบ้านไร่ บ้านร่องคำ บ้านร่องคำหลวง บ้านโช้ บ้านสันป่าสัก

พ.ศ. 2479 ได้มีการเปิดการเรียนการสอน ที่วัดแม่นาเรือ เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 4โดยมี พระอธิการทองอินทร์ อินต๊ะปัญญา เป็นผู้สอน

พ.ศ. 2500 มีการขุดน้ำบ่อครั้งแรก ใช้ร่วมกัน 10-20 ครัวเรือน

พ.ศ. 2502 แยกโรงเรียนออกมาจากวัดแม่นาเรือ ตั้งเป็นโรงเรียนบ้านแม่นาเรือใต้

พ.ศ. 2504 นายศิริ เพชรโรจน์ ได้พัฒนาปรับปรุงถนนต่อจากตำบลแม่ต่ำ ผ่านตำบลแม่นาเรือ ตำบลตุ่น ต๋อม ต๊ำ และตำบลใหม่ 28 กิโลเมตร ติดต่อกับเขตอำเภอแม่ใจ

พ.ศ. 2505 มีการจัดตั้งสำนักงานผดุงครรภ์ตำบลแม่นาเรือ เมื่อวันที่ 10 เดือนมีนาคม โดยอาศัยเปิดที่บ้านนายขาว วงศ์ราษฎร์ บ้านแม่ใสเหล่า หมู่ 4 ตำบลแม่ใส อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พ.ศ. 2507 มีไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้านเป็นครั้งแรก โดยชาวบ้านร่วมกันไปตัดไม้มาทำเสาไฟฟ้า

พ.ศ. 2510 มีการแต่งตั้ง นายศรีจันทร์ วงค์เรือง เป็นอาสาสมัครมาลาเรีย เนื่องจากเป็นผู้มีความรู้ในการรักษาโรคและเป็นตัวแทนตำบลไปอบรมเรื่องยาป้องกันโรค

พ.ศ. 2512 ประชาชนตำบลแม่นาเรือได้ร่วมกันบริจาคซื้อที่ดิน ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลแม่นาเรือ จำนวน3.5 ไร่ และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทางราซการก่สร้างสำนักงานผดุงครรภ์ตำบลแม่นาเรือแห่งใหม่

พ.ศ. 2513 ยกฐานะจากสำนักงานผดุงครรภ์เป็นสถานีอนามัยตำบลแม่นาเรือ เปิดทำการเมื่อวันที่ 13เดือนพฤษภาคม

พ.ศ. 2515 มีโทรทัศน์เครื่องแรก ที่บ้านนายผ่าน อุปปิง โดยใช้แบตเตอรี่รถยนต์

พ.ศ. 2517 มีการเปลี่ยนจากถนนลูกรังเป็นถนนคอนกรีตเข้ามาในหมู่บ้าน

พ.ศ. 2522 แยกตำบลแม่ใสโดยแยกออกจากตำบลแม่นาเรือ

.ศ. 2524 บูรณะวัดแม่นาเรือครั้งที่ 2 เนื่องจากมีสภาพเสื่อมโทรมโดยพระอธิการจันทร์ตรี

พ.ศ. 2528 มีการจัดอบรม ผสส. ครั้งแรก และมีการแต่งตั้งนายทวี วิชัยโน เป็นประธาน

พ.ศ. 2530 มีน้ำประปาใช้ครั้งแรกในหมู่บ้าน

พ.ศ. 2530-2532 โรคเอดส์เริ่มระบาดที่บ้านแม่นาเรือ มีการแต่งตั้งนายบุญช่วย สารเร็ว เป็นแพทย์ประจำตำบล และเข้ามาเป็นกำลังหลักในการควบคุมโรค

พ.ศ. 2534 ประชาชนตำบลแม่นาเรือได้ร่วมกันบริจาคซื้อที่ดินขยายจากที่ดินเดิม ที่มีอยู่จำนวน 3.5ไร่ เป็น 4 ไร่ และได้รับงบประมาณจากทางราชการก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดใหญ่ทดแทนอาคารหลังเดิมจำนวนเงิน 3,150 บาท

พ.ศ. 2538 มีการจัดอบรม อสม. รุ่นแรก 12 วัน และได้แต่งตั้งนายบุญยก ตุ้ยคำ เป็นประธาน

พ.ศ. 2540 เปิดทำการใช้งานสถานีอนามัยตำบลแม่นาเรือหลังใหม่ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม

พ.ศ. 2547 มีการสร้างหอระฆังวัดแม่นาเรือ

พ.ศ. 2548 มีการแยกหมู่บ้าน แยกเป็นบ้านแม่นาเรือเหนือและแม่นาเรือใต้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรจำนวนมาก

พ.ศ. 2551 มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านคนที่ 10 นายเมืองใจ ศรีบุรี จนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2554 ได้มีการสร้างซุ้มประตูวัด ชื่อซุ้มประตูเรือสุพรรณหงส์ขึ้น และได้ยกฐานะจากสถานีอนามัยตำบลแม่นาเรือ เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่นาเรือ (รพ.สต.) ปัจจุบันเลขที่ 90 หมู่ที่ 17 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ปลายปี พ.ศ. 2562 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโคโรน่าไวรัส ทำให้ชาวบ้านมีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและวิถีชีวิต ชาวบ้านจะอยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ไม่ไปในพื้นที่แออัด มีการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์และประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้าน

พ.ศ. 2563 มีการจัดอบรมการแปรรูปอาหาร "ไส้กรอกหมู" ขึ้นในหมู่บ้าน

พ.ศ. 2564 มีสมาชิกในชุมชนติดเชื้อโคโรน่าไวรัส จากการไปสัมผัสเชื้อนอกพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านมีความวิตกกังวล และเข้มงวดในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น

สภาพภูมิประเทศ มีสภาพพื้นที่ราบหรือค่อนข้างราบถึงเนินเขา มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 450-1,000 เมตร โดยด้านทิศตะวันตกและทิศใต้เป็นเนินเขา เป็นพื้นที่ตันน้ำของน้ำแม่นาเรือ น้ำแม่ใสที่ไหลลงสู่กว๊านพะเยาทางทิศเหนือ ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านห้วยลึก หมู่ 6 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านเหล่าพัฒนา หมู่ที่ 18 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านแม่นาเรือสันทราย หมู่ที่ 17  ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านสันขี้เหล็ก หมู่ที่ 1 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

การคมนาคม

บ้านแม่นาเรือใต้ หมู่ที่ 10 อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยา 13 กิโลเมตร การคมนาคมไม่ว่าจะเป็นภายในหมู่บ้านหรือติดต่อกับภายนอกหมู่บ้าน เป็นการคมนาคมที่สะดวก เนื่องจากมีถนนตัดผ่านตลอดเส้นทาง มีถนนคอนกรีตสองช่องทางรถ เป็นทางติดต่อระหว่างภายในหมู่บ้าน ส่วนถนนติดต่อระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางประชาชนส่วนใหญ่ใช้รถจักรยาน และรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางการเดินทางเข้าสู่ตำบลแม่นาเรือ เดินทางจากแยกแม่ต่ำ ตามทางหลวงชนบทหมายเลข 1193 แม่นาเรือ-แม่ใจ เข้ามาประมาณ 6.5 กิโลเมตร จะถึงพื้นที่บ้านแม่นาเรือใต้ หมู่ที่ 10 การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้าน ใช้เส้นทางทางบกเป็นหลัก

ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว ญาติพี่น้องปลูกบ้านในละแวกเดียวกันชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ มีสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคือวัดแม่นาเรือ มีบ้านเรือนทั้งหมด 201 หลังคาเรือน (ทะเบียนราษฎร์หมู่บ้านแม่นาเรือใต้หมู่ 10 ตำบลแม่นาเรือ) ประชาชนมีวิถีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย โดยการทำการเกษตรหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกข้าวโพด ปลูกหอม ปลูกชิง อาชีพอื่นนอกจากเกษตรกรรมได้แก่ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย รวมทั้งประกอบธุรกิจส่วนตัวเปิดร้านขายของภายในหมู่บ้าน ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ในระดับปานกลาง นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประชาชนให้ความสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าในวันพระ ประชาชนส่วนใหญ่จะไปวัด ทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม และส่งเสริมรักษาประเพณีอันดีงามต่าง ๆ ตลอดทั้งปี พื้นที่ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านแบ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และบริเวณที่ตั้งของชุมชน บ้านเรือนจะอยู่กันเป็นกลุ่มซึ่งส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ จะตั้งบ้านเรือนใกล้กันหรืออยู่ภายในคุ้มเดียวกัน ลักษณะบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านปูน 2 ชั้น สภาพบ้านเรือนมีความมั่นคงถาวร มีรั้วรอบชอบชิด ครอบครัวส่วนใหญ่มีการปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ทั้งสัตว์ที่เลี้ยงไว้ขายและเป็นอาหาร ได้แก่ ไก่ เป็ด และสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ สุนัข แมว เป็นต้นและมีพื้นที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน เช่น ศาลาอเนกประสงค์

ภายในหมู่บ้านยังมีการรวมกลุ่มของประชาชนในหมู่บ้านดังนี้

ผู้ใหญ่บ้าน : นายเมืองใจ ศรีบุรี

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน : นายทองบุญ ฟูแสง

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน : นางพิชญ์สิณี อุปปิง

กลุ่มที่เป็นทางการ

  • กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) : นางธรรมเนียม แสงสุริยาพร เป็นประธาน
  • กลุ่มตำรวจบ้าน (สตบ.) : นายศรีทวน วงศ์มา เป็นประธาน มีอาสาสมัคร 28 คน
  • อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน : นายเลย ขาวสะอาด เป็นประธาน

กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ

  • กลุ่มเงินล้าน : นายเมืองใจ ศรีบุรี เป็นประธาน
  • กลุ่มผู้สูงอายุ : สอน สมศักดิ์ เป็นประธาน
  • กลุ่มเก็บเงินฌาปนกิจ : นายสว่าง อิตุพร เป็นประธาน
  • กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน : นายเมืองใจ ศรีบุรี เป็นประธาน
  • กลุ่มแม่บ้าน : นางใบวรรณ ฟูแสง เป็นประธาน

สภาพทางเศรษฐกิจ

  • อาชีพหลัก : เกษตรกรรม ปลูกพืชผักตามฤดูกาล
  • อาชีพรอง : รับจ้าง ค้าขาย
  • อาชีพเสริม : เลี้ยงสัตว์
  • รายได้ของประชาชน : ภาคเกษตรกรรม
  • รายจ่ายของประชาชน : ค่าใช้จ่ายทางการเกษตร ค่าดำรงชีพ ค่าสาธารณูปโภค ค่างานสังคมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
  • หนี้สินของประชาชน : ส่วนใหญ่ เป็นหนี้กู้ยืมของ ธกส. และหนี้ของกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
  • แหล่งเงินทุน : กองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน และธกส. 

วัฒนธรรม ประเพณี แบบล้านนา

กิจกรรมด้านวัฒนธรรมของชุมชนบ้านแม่นาเรือใต้ ดำเนินกิจกรรมทั้งปีโดยกิจกรรมดังกล่าว ดำเนินมาตั้งแต่อดีตและยังคงรักษาไว้จนปัจจุบัน ซึ่งในวันสำคัญมักจะประกอบศาสนกิจในวัดแม่นาเรือ ประเพณีส่วนใหญ่เป็นแบบล้านนา

  • เดือนมกราคม (เดือน 4 ล้านนา) : วันขึ้นปีใหม่, กลางเดือนจัดทำพิธี “ตานข้าวใหม่”
  • เดือนกุมภาพันธ์ (เดือน 5 ล้านนา) : เลี้ยงผีปู่ย่า
  • เดือนมีนาคม (เดือน 6 ล้านนา) : วันมาฆบูชา สรงน้ำพระธาตุ
  • เดือนเมษายน (เดือน 7 ล้านนา) : ปีใหม่เมือง ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือประเพณีปีใหม่เมือง เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวเหนือ หรือชาวล้านนา สืบเนื่องมาจากอดีตกาลที่จะยึดถือเป็นช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ โดยกำหนดจุดที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือ 14 เมษายนของแต่ละปี และจะกินเวลาประมาณ 4-7 วัน ยาวนานกว่าสงกรานต์ของภาคอื่น ๆ

วันที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง จะมีการจุดประทัด ยิงปืน เพื่อส่งสังขารหรือไล่สังขาร (จะถือเอาตามเวลาสังขานต์ล่องตามที่บอกในปฏิทินปี๋ใหม่เมืองในปีนั้น เช่นบอกว่าสังขานต์จะล่องเมื่อ 03 นาฬิกา 30 นาที 26 วินาที ชาวบ้านก็จะจุดประทัดเวลานั้นถือว่าไล่สังขานต์)

วันที่ 14 เมษายน เป็น "วันดา" คือวันที่ต้อง เตรียมสิ่งของต่าง ๆ เพื่อใช้ทำบุญในวันรุ่งขึ้น วันเน่า ไม่ควรด่าทอ เกิดอุบัติเหตุเจ็บตัว สาปแช่งหรือกล่าวคำร้ายต่อกัน ปากจะเน่าจะเหม็น เป็นอัปมงคลไปทั้งปี

วันที่ 15 เมษายน “วันพญาวัน” วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศก เปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ วันนี้มีการทำบุญทางศาสนาแต่เช้าตรู่ และอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือเรียกว่า “ตานขันข้าว” นำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย ช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ไปสรงน้ำพระพุทธรูป เจดีย์ เลี้ยงผีปู่ย่าในวันนี้

วันที่ 16 เมษายน “วันปากปี” เป็นวันแรกของปี มารวมตัวกันเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน พิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และพากันไปขอขมา ดำหัว พระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่าง ๆ ดำหัวผู้อาวุโส ผู้นำชุมชน ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว โดยในวันปากปีมีความเชื่อบางประการเกี่ยวกับ “แกงขนุน” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “แก๋งบ่าหนุน” ที่จะกินกันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปี

  • เดือนพฤษภาคม (เดือน 8 ล้านนา) : เลี้ยงผีเจ้าที่
  • เดือนมิถุนายน (เดือน 9 ล้านนา) : ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า แห่ช้างเผือก
  • เดือนกรกฎาคม (เดือน 10 ล้านนา) : ทำบุญเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม (เดือน 11 ล้านนา) : ช่วงเดือนนี้จะอยู่ในช่วงเข้าพรรษา มีการทำบุญตักบาตร
  • เดือนกันยายน (เดือน 12 ล้านนา) :ปล่อยเปรตปล่อยผี ทำบุญให้กับคนที่ล่วงลับไปแล้ว, ตานก๋วยสลาก ช่วงเดือน 12 ล้านนาถึงเดือนยี่ หรือตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
  • เดือนตุลาคม (เดือน 1 ล้านนา) : ทำบุญออกพรรษา อยู่ในช่วงตานก๋วยสลาก สิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ
  • เดือนพฤศจิกายน (เดือน 2 ล้านนา) : ทอดกฐิน มีเวลา 1 เดือนหลังจากออกพรรษา ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนเกี๋ยง(เดือนเกี๋ยงดับ) จนถึงวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ, ประเพณียี่เป็ง
  • เดือนธันวาคม (เดือน 3 ล้านนา) : ทำบุญวันพ่อ

1. นายพลังกร สุรเดช : ปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม

นายพลังกร เริ่มเขียนการ์ตูนเป็นอาชีพมาตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เริ่มจาก เขียนการ์ตูน “ขายหัวเราะ” ฉบับปฐมฤกษ์ สำนักพิมพ์บันลือสาส์น มหาสนุก เบบี้ นิตยสารขวัญเรือน เขียนภาพประกอบร่วมเป็นวิทยากรการเขียนการ์ตูนสำหรับเยาวชนและผู้รักงานศิลปะให้กับสมาคมการ์ตูนแห่งประเทศไทย และเขียนการ์ตูนล้อการเมืองหน้า หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ก่อนที่จะผันตัวเองมาเป็นครูสอนศิลปะการวาดการ์ตูนให้เด็ก ๆ เยาวชนคนพะเยาเพื่อเป็นวิทยาทาน สยามรัฐออนไลน์ และ เนชั่นออนไลน์)

นักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองระดับแนวหน้าของเมืองไทย เจ้าของผลงานทางการวาดการ์ตูนในนิตยสาร หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์มากมาย ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สอนศิลปะการวาดรูป ลงสี ให้กับเยาวชนหรือผู้สนใจในการวาดภาพในจังหวัดพะเยา โดยไม่คิดค่าเรียน เรียนฟรีโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ นายพลังกร เปิดเผยว่า หลังจากที่ปลดเกษียณจากภาระงานประจำที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ก็เลยคิดว่าน่าจะใช้ความรู้ ความสามารถของตัวเองให้เกิดประโยชน์กับเยาวชน หรือคนที่สนใจในการวาดภาพ จึงได้ปรึกษากับภรรยาคือ คุณปัทมาพร ว่าอยากสร้างโรงเรียนสอนวาดการ์ตูนให้กับเยาวชนคนพะเยา ซึ่งภรรยาก็สนับสนุน เมื่อชาวบ้านทราบเรื่องก็มาช่วยกันสร้างจนเสร็จสมบูรณ์และเปิดสอนฟรีมาเกือบ 10 ปี มีลูกศิษย์ซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนอย่างมากมาย แต่ช่วงหลังได้หยุดการเรียน การสอนไป เนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรงเข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น จึงจำเป็นต้องหยุดไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตามจะเปิดสอนอีกครั้งที่สถาบันปวงผญาพยาว อาคารธรรมราชานุวัตร วัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

2. นายณัฏฐ์นัน กัลป์วงษ์ยา : ปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม

3. นายจันทร์ ใจบุญ : ปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม

4. นายจันตี ใจบุญ : ปราชญ์ด้านหมอพื้นบ้าน

5. นายตา ศีลลัย : ปราชญ์ด้านหมอพื้นบ้าน

6. นายตา ศีลลัย : ปราชญ์ด้านหัตกรรม

7. นายศร อิตุพร : ปราชญ์ด้านหัตกรรม

8. นายตาคำ สุยะ : ปราชญ์ด้านหัตกรรม

9. นายน้อย ทะปัญญา : ปราชญ์ด้านเกษตร

10. นายสว่าง ศรีพรม : ปราชญ์ด้านเกษตร

11. นายชาย ชุ่มวงศ์ : ปราชญ์ด้านเกษตร

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางนิเวศวิทยา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ น้ำการเกษตร

  • มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 แห่ง คือ ห้วยแม่นาเรือ ห้วยม่วง ห้วยฮ่องแล้ง ห้วยเตาปูน ห้วยโช้ ห้วยน้ำขาว ห้วยดินแดง ห้วยร่องคำ
  • ป่าชุมชนตำบลแม่นาเรือ
  • อ่างเก็บน้ำแม่นาเรือ  

ภาษาพื้นเมืองล้านนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

Google Maps. (2564). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านแม่นาเรือใต้ (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564. เข้าถึงได้ จาก https://www.google.com/maps

ประวัติจังหวัดในล้านนา จังหวัดพะเยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564. เข้าถึงได้จาก http://wiangsalanna.myreadyweb.com/

นพพร ทาทาน. (2564, 18 กรกฎาคม). “ครัวบ้านการ์ตูน”ผุดแคมเปญเร้าใจสั่งอาหาร-แถมภาพวาด. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. เนชั่นออนไลน์. เข้าถึงได้จาก https://www.nationtv.tv/

นพพร/พะเยา. (2561, 7 ตุลาคม). “พลังกร สุรเดช”นักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองมือทอง ศิลปินผู้สร้างเด็กศิลปะให้เยาวชนคนพะเยาไม่คิดค่าเรียน. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. สยามรัฐออนไลน์. ค้นจาก https://siamrath.co.th/

พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม.). (2552). ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองพะเยา. พะเยา : เจริญอักษร.