Advance search

พิธีกรรมการเล่นแถนที่ชุมชนยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

บ้านผือ
จอมพระ
สุรินทร์
ปวินนา เพ็ชรล้วน
20 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
25 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
25 ก.ค. 2023
บ้านบุอาไร


ชุมชนชนบท

พิธีกรรมการเล่นแถนที่ชุมชนยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

บ้านผือ
จอมพระ
สุรินทร์
32180
15.1443897
103.6977457
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ

บ้านบุอาไร หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ บ้านบุอาไรเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2482 ผู้ก่อตั้งคนแรกคือ นายเวด ครองสัตย์ ในเริ่มแรกใช้ชื่อบ้านอาไร (ภาษาส่วย) ต่อมาได้ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ เมื่อปี 2495 ชื่อว่า “บุอาไร” โดยปัจจุบันมี 3 คุ้ม ได้แก่ คุ้มใหญ่บ้านบุอาไร คุ้มเล็กหนองหิน และคุ้มหนองบัว ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านใหญ่ประมาณ 700-800 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน ได้แก่ นายบุญเกิด บุญปก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกอ้อย ปลูกยางพารา ทอผ้า เลี้ยงไหม เลี้ยงสัตว์ อาทิเช่น โค กระบือ ไก่ เป็ด ปลา กบ หมู เป็นต้น 

ลักษณะภูมิประเทศของตำบลบ้านผือพื้นที่มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มสลับที่ดอนไม่เท่ากันเป็นดินทรายซึ่งง่ายต่อการพังทลายในฤดูฝน การเก็บกักน้าค่อนข้างน้อย โดยตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ     ติดต่อกับ   ตำบลหนองสนิท และตำบลหนองอียอ

ทิศใต้        ติดต่อกับ   เทศบาลตำบลบุแกรง

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ   ตำบลหนองอียอ และตำบลหนองบัว

ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ   ตำบลจอมพระ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิธีกรรมการเล่นแถนของชุมชนบ้านบุอาไร 

การรำผีฟ้าหรือการรำผีแถน เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีของชาวอีสาน โดยชาวอีสานเชื่อว่า ผีฟ้าหรือผีแถนเป็นผีที่อยู่สูงกว่าผีทั่วไปที่ชาวอีสานเชื่อว่าเป็นเทวดาที่มีอานาจเหนือธรรมชาติ ที่สามารถดลบันดาลทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดีให้เกิดขึ้นกับมนุษย์ได้ ซึ่งการประกอบพิธีกรรม   รำผีฟ้าหรือรำผีแถนจะเป็นลักษณะของการเซ่นไหว้หรือบวงสรวง เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ เป็นการอ้อนวอนต่อผีฟ้าผีแถนให้ช่วยดลบันดาลให้โรคร้ายหายไป นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเซ่นไหว้หรือบวงสรวงเพื่อไม่ให้เกิดเภทภัยอันตรายขึ้นในครอบครัว   หรือชุมชนอีกด้วย หรืออาจกล่าวเมื่อมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย น้ำท่วม ฝนแล้ง นาล่ม หรือพืชพันธุ์ธัญญาหารเหี่ยวแห้งไม่อุดมสมบูรณ์ ชาวอีสานก็จะประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้บวงสรวงรำผีฟ้าผีแถนเพื่อให้สิ่งไม่ดีเหล่านั้นหายไป สำหรับพิธีกรรมรำผีฟ้าหรือรำผีแถนนั้น     จะมีองค์ประกอบ 4 อย่างที่สำคัญ คือ

1.) หมอลา คือ ร่างทรงหมอรำผีฟ้าหรือรำผีแถน ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อสารต่อรองกับเหล่าผี

2.) หมอแคน คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป่าแคนเพื่อให้จังหวะในการประกอบพิธีรำผีฟ้าหรือรำผีแถน

3.) ผู้ป่วย คือ ผู้ที่ต้องการรักษาอาการให้หายป่วย

4) เครื่องคาย หรือหมายถึง เครื่องสักการะบูชา

ซึ่งแต่ละชุมชนก็มีองค์ประกอบรายละเอียดที่แตกต่างกันไปแล้วแต่วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ถึงแม้ปัจจุบันจะมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านสาธารณสุขเข้ามา แต่ก็ไม่สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาทางด้านสุขภาพของคนอีสานได้ทั้งหมด หรืออาจจะเป็นเพราะว่าการแพทย์แผนปัจจุบันอาจไม่ใช่วิถีทางเดียวที่จะนาไปสู่การแก้ปัญหาเรื่องการเจ็บป่วยของผู้คนในชนบทแถบภาคอีสาน ทาให้ในปัจจุบันเรายังเห็นการประกอบพิธีกรรมรำผีฟ้าหรือรำผีแถนกันอยู่อย่างแพร่หลาย 27 ชุมชนบ้านบุอาไร ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ เป็นหนึ่งในชุมชนในภาคอีสาน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทำให้ชุมชนบ้านบุอาไรมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีหรืออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หนึ่งในนั้นก็คือความเชื่อเรื่องผีฟ้าหรือผีแถน โดยสันนิษฐานว่าชุมชนบ้านบุอาไรมีความเชื่อผีฟ้าหรือผีแถนมาตั่งแต่ก่อตั้งชุมชน โดยพิธีกรรมการรำฟ้าหรือรำผีแถนจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ สามารถเรียกได้ทั้งการรำผีฟ้า การรำแถน หรือการรำแม่มด สาหรับคนในชุมชนบ้านบุอาไรนั้นจะเรียกพิธีกรรมนี้ว่า “การเล่นแถน” หรือ “การรำแถน” โดยพิธีกรรมการเล่นแถนสามารถพบได้ทั่วไปในหลายจังหวัดของภาคอีสาน แต่พิธีกรรมการเล่นแถนของแต่ละพื้นที่จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ โดยความเชื่อเรื่องพิธีกรรมการเล่นแถนในชุมชนบ้านบุอาไร เป็นพิธีกรรมที่ให้ความสาคัญกับเคารพบูชาผีฟ้าหรือผีแถน ในการประกอบพิธีกรรมไม่ได้เน้นที่การรักษาผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากไม่มีผู้เจ็บป่วยก็สามารถประกอบพิธีกรรมได้ เพราะนอกจากการประกอบพิธีเพื่อรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นการขอขมาพญาแถน และขอให้พญาแถนช่วยปกป้องคุ้มครองให้คนในชุมชนให้อยู่ดีกินดีมีสุข ไร้โรคภัยไข้เจ็บ และให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อที่จะได้มีน้ำใช้ในการทำการเกษตร ทั้งเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นที่จัดสืบทอดต่อกันมาแต่โบราณ

องค์ประกอบของการประกอบพิธีกรรมการเล่นแถน

1.) หมอลำแถน หมอลำแถนเปรียบเสมือนร่างทรงของผีแถน โดยคนที่จะเป็นหมอลำแถนได้นั้นจะได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุและจะต้องทาพิธีรับแถนเข้ามาอยู่ในตัว ชาวบ้านว่ากันว่าการที่ใครจะได้เป็นหมอลาแถนนั้น ผีแถนจะเป็นผู้เลือกเองว่าจะไปอยู่กับใคร และถ้าหากว่าคนผู้นั้นไม่ทาพิธีรับผีแถนเอาไว้กับตัว ผีแถนจะทาให้คนผู้นั้นหรือครอบครัวมีอันเป็นไป เจ็บไข้ได้ป่วย ไปจนกว่าจะมีการทาพิธีรับผีแถนเอาไว้ หมอลำแถนในชุมชนส่วนมากจะเป็นผู้หญิง ซึ่งผีแถนแต่ละตนที่เคารพบูชาสามารถเป็นได้ทั้งหญิงและชาย โดยในชุมชนบ้านบุอาไรใครที่เป็นหมอลำแถนจะเรียกแทนกันว่า (ครูบา) ซึ่งจะมีหัวหน้าหมอลำแถนด้วย หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า (ครูบาใหญ่) เปรียบเสมือนผีแถนที่อานาจมากว่าผีแถนตนอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ในการนาในการประกอบพิธีกรรม ต่อมาจะเป็นหมอลำแถนบริวารหรือเรียกว่า (ครูบา) เป็นหมอลำแถนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบพิธีกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไป การแต่งกายในการประกอบพิธีกรรม หมอลำแถนจะแต่งกายด้วยซิ่นหรือถ้าเป็นผู้ชายจะนุ่งผ้าขาวม้า ใส่เสื้อไหมหรือเสื้อลูกไม้ มีผ้าสไบพาดไหล่ และต้องผัดหน้าด้วยแป้งฝุ่นหอม ทาน้าหอม

2.) หมอแคน หมอแคน บางทีเรียกว่า หมอม้า ลักษณะของหมอแคนที่เป่าประกอบการลำผีฟ้านั้น จะต้องมี ความอดทน และผ่านการเป่ามานานพอสมควร เพราะการประกอบพิธีกรรมลำผีฟ้าใช้ระยะเวลานาน เป็นวัน การทานายการรักษาผู้ป่วยว่าจะหายหรือไม่นั้นฟังจากหมอแคนว่าเป่าแคนแจ้งหรือไม่ ฉะนั้นการเสี่ยงทายต้องขึ้นอยู่กับหมอแคนส่วนหนึ่ง 29 หมอแคนจะต้องเป็นผู้ชาย การแต่งก็จะเหมือนกับหมอลำแถน ซึ่งเป็นผู้ชายจะต้องนุ่งผ้าขาวม้า มีผ้าสไบพาดไหล่ และต้องผัดหน้าด้วยแป้งฝุ่นหอม ทาน้าหอม

3.) เครื่องคาย (เครื่องเซ่น) เครื่องคาย หมายถึง เครื่องคารวะบูชาของชาวอีสานที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมการเล่นแถนบูชาแถน (เทวดา) ผี ครูบาอาจารย์และผู้ที่เคารพบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลหรือเพื่อเป็นการขอขมา และเพื่ออัญเชิญผีแถนลงมา ดังนั้นเมื่อจะประกอบพิธีกรรมใด ๆ จึงต้องมีการเตรียมเครื่องคายไว้เสมอหรือเรียกว่า “การแต่งคาย” ซึ่งอีกนัยหนึ่ง “คาย” คือเครื่องประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของชาวอีสาน อย่างการใช้ในการประกอบพิธีการเล่นแถน เมื่อประกอบพิธีกรรมจะต้องมีการบูชาครูบาอาจารย์เรียกว่า “แต่งคาย” เพื่อทาการบูชาคาย

4.) อุปกรณ์อื่น ๆ 1. มาลัยดอกไม้ มาลัยดอกไม้จะใช้ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม อย่างดอกลีลาวดีหรือดอกลั่นทม และดอกลำดวน โดยจะนำมาร้อยเป็นมาลัยเพื่อใช้ในการสวมหัวในช่วงของการประกอบพิธีกรรม ซึ่งแบ่งเป็นมาลัยดอกลำดวน มาลัยดอกลีลาวดีตูม และมาลัยดอกลีลาวดีบาน

2. ขันหมากเบ็ง ขันหมากเบ็ง หรือ หมากเบ็ง เป็นสิ่งสำคัญของประเพณีไทยโดยเฉพาะในภาคอีสาน ขันหมากเบ็งเป็นงานประดิษฐ์ที่ทาด้วยมือ มีความประณีต ละเอียดอ่อน ผลผลิตที่ออกมาล้วนมีคุณค่าโดยเป็นลักษณะที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษหรือเป็นงานประดิษฐ์ของแต่ละท้องถิ่น โดยส่วนมากจะเป็นการสืบทอดมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัวสู่ลูกหลาน ทำขึ้นเพื่องานประเพณีความเชื่อทางศาสนา 31 โดยขันหมากเบ็งที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมลาแถนของชุมชนบ้านบุอาไร จะเป็นการนำเอาใบตองกล้วยมาเย็บเป็นทรงพุ่ม ใช้เชือกรัดเอาไว้ และนาดอกลีลาวดีมาใส้ไว้ข้างบน ขันมากเบ็งจะใช้เพื่อนาไปบูชาให้กับผีแถน เมื่อทำพิธีกรรมการเล่นแถนเสร็จจะทำการแจกจ่ายให้กับหมอลำแถนทุกคน เพื่อให้หมอลำแถนนำไปบูชาผีแถนที่บ้านของตนต่อ

3. พาหวาน เป็นเซ่นไหว้พระแม่ธรณีเพื่อเป็นการบอกกล่าวสี่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยปกปักรักษา คุ้มครอง ซึ่งเครื่องเซ่นไหว้ในแต่ละพิธีกรรมก็มีความแตกต่างกันไป สำหรับเครื่องเซ่นไหว้ “พาหวาน” ในการประกอบพิธีกรรมการเล่นแถนของชุมชนบ้านบุอาไร จะประกอบไปด้วย ข้าวต้มกล้วย กล้วย และข้าวสวย นำมาวางไว้ในจาน เมื่อทำพิธีกรรมการเล่นแถนเสร็จจะทำการแจกจ่ายให้กับหมอลำแถนทุกคนเช่นเดียวกับขันหมากเบ็ง เพื่อให้หมอลำแถนนำไปเซ่นบูชาผีแถนต่อ

4. ขันดอกไม้ ขันดอกไม้เป็นเหมือนเครื่องอันเชิญผีแถนให้ลงมาประทบร่าง ให้มาอยู่กับหมอลาแถน ในขันดอกไม้จะประกอบไปด้วย หูกระต่าย 2 อัน (หูกระต่าย คือ การนาเอาใบตองกล้วยมาเย็บด้วยก้านไม้ให้เป็นรูปหูกระต่าย) ดอกไม้ 2 ดอก หมากวิมนต์ 2 อัน เงิน 2 บาท โดยทั้งหมดจะถูกใส่ไว้ในขันเงินใหม่

5. พาข้าว พาข้าวจะใช้ในพิธีปลงพาข้าว เพื่อเป็นการเซ่นไหว้ต่อแม่ธรณี ผีแถน และผีบรรพบุรุษ จะใช้เซ่นไหว้ก่อนจะเริ่มทำพิธีกรรม ซึ่งในพาข้าวจะประกอบไปด้วย ข้าวสวย, ปลาปิ้ง, แกงต้ม, ดอกไม้, หมากพลู, เงิน 124 บาท, น้ำล้างมือ, ธูปเทียน, เหล้า, และน้ำหวาน

ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนการประกอบพิธี 1. เตรียมสถานที่ ในการเตรียมสถานที่จะเลือกพื้นที่ว่างโล่ง เช่น ลานหน้าบ้าน เป็นต้น และทำการขุดดินตั้งเสา 9 ต้น และคุมสังกะสีด้านบน เพื่อกันน้ำค้างในช่วงเวลากลางคืน ติดหลอดไฟเพื่อเพิ่มความสว่าง และนำรังไก่ไม้ไผ่สานที่ทำมาเพื่อประกอบพิธีกรรมโดยเฉพาะขุดดินตั้งไว้ที่เสาต้นตรงกลาง ซึ่งในนั้นจะประกอบไปด้วยเครื่องเซ่นข้าวต้มกล้วย น้ำเปล่า และเทียน จากนั้นตั้งร้านโดยนำไม้แผ่นแนวยาวมาวางยกสูงจากพื้นพอประมาณ และนำอุปกรณ์บูชาหรือเครื่องคายต่าง ๆ มาวางลงบนแผ่นไม้ แล้วนำเชือกมาผูกไว้ด้านบนเพื่อนำมาลัยดอกไม้มาห้อย และเสาทุกต้นจะถูกประดับไปด้วยใบลำดวน ปูพื้นด้วยผ้าใบและเสื่อและเตรียมเตียงนั่งไว้สำหรับหมอแทน

2. ขั้นตอนเตรียมอุปกรณ์บูชาหรือเครื่องคายต่าง ๆ ในขั้นตอนนี้จะเตรียมงานตั้งแต่ช่วงกลางวัน เพื่อให้อุปกรณ์พร้อมใช้ในการประกอบพิธีกรรมที่ช่วงกลางคืน โดยชาวบ้านจะช่วยกันห่อข้าวต้มกล้วย ร้อยมาลัยดอกไม้ ทำเครื่องเซ่นบูชาต่าง ๆ

ขั้นตอนการประกอบพิธี 1. การเซ่นไหว้ก่อนการประกอบพิธีกรรม (การปลงพาข้าว) ในการปลงพาข้าวนั้นผู้ทีประกอบพิธีกรรมนั้นจะต้องเป็นหัวหน้าหมอลำแถนด้วย หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า (ครูบาใหญ่) ซึ่งในการปลงพาข้าวเป็นการเส้นบอกแม่ธรณี ผีแถน และผีบรรพบุรุษ ให้รับรู้ก่อนการประกอบพิธีกรรมการเล่นแถน และเซ่นเพื่อให้ลงมารับของเซ่นไหว้ โดยของที่ใช้เซ่นที่ต้องมี คือ ข้าวสวย ปลาปิ้ง แกงต้ม ดอกไม้ หมากพลู เงิน 124 บาท น้ำล้างมือ ธูปเทียน เหล้า และน้ำหวาน ซึ่งการประกอบพิธีกรรมที่เพื่อความเคารพบูชาต่อสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาตที่ชาวบ้านเคารพบูชากันมาตลอด และเพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วงปกปักรักษาให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

2. การเซ่นไหว้เครื่องดนตรี ก่อนจะประกอบพิธีเข้าคายจะต้องมีการเซ่นไหว้แสดงความเคารพเครื่องดนตรีที่จะใช้ในการบรรลงเพลงก่อน ซึ่งหมอแคนจะทาการโรยแป้งหอมลงในเครื่องดนตรี จากนั้นหมอแคนจะทาการปะแป้งและเครื่องหอม น้ำอบ และเคี้ยวหมาก ดื่มเหล้า และน้ำหวาน   ที่เป็นของที่นามาเซ่นไหว้

3. การเชิญผีแถนลงมาประทับร่าง (การเข้าคาย) หลังจากจัดเตรียมเครื่องคายเรียบร้องแล้ว หัวหน้าหมอลาแถนด้วย หรือ (ครูบาใหญ่) ก็จะทาการจุดเทียนและบอกกล่าวครูบาอาจารย์ผีแถนเพื่อให้ลงมาประทับทรง ซึ่งก่อนจะเข้าคายหมอลาแถนจะแต่งองค์ทรงเครื่องจากของในเครื่องคายที่มีแป้งหอม น้ำอบ หวี กระจก และหมอแคนก็จะเริ่มเป่าแคนเข้าคายไปช้า ๆ ซึ่งการเข้าคายครูบาใหญ่จะคนเริ่มเข้าคายคนแรก และตามมาด้วยหมอลำแถนคนอื่น ซึ่งการเข้าคายหมอลำแถนจะถือขันดอกไม้ไปด้วยแล้วเริ่มถูวน ๆ ไปกับพื้น ไปตามจังหวะของดนตรี และเมื่อผีแถนลงมาประทับทรง หมอลำแถนจะมีอาการสั่น ทำให้รู้ว่าผีแถนลงมาประทับทรงแล้ว และหลังจากนั้นหมอลำแถนก็จะลุกขึ้นรำ โดยจะเดินรำวนเสากลางไปเรื่อย ๆ สักพักก็จะนำมาลัยดอกไม้มาสวมหัว ซึ่งพิธีกรรมจะดำเนินไปเรื่อย ๆ เป็นเวลายาวนาน ซึ่งช่วงที่นิยมเริ่มประกอบพิธีกรรมจะเป็นเวลาประมาณ 4 ทุ่ม 5 ทุ่ม และดำเนินต่อมายาวนานถึงช่วงเวลาประมาณตี 3 หรือ ตี 4 โดยในเวลานั้นจะมีการพักเหนื่อยกันเป็นช่วง ๆ

4. การปลงพาหวาน หลังจากหมอลาแถนประกอบพิธีกรรมช่วงเข้าคายมาจนถึงเวลาตี 3 ตี 4 หมอลำแถนก็จะนำขันหมากเบ็งและพาหวาน จุดเทียน และนำมารำถวายลอบเสากลางซักพักเพื่อเรียกผีแถนให้ออกจากทรง และหลังจากนั้นจะทำการผูกขวัญโดยผู้ใหญ่จะเป็นคนผูกให้แก่คนที่มีอายุน้อยกว่าตามลำดับ ซึ่งการปลงพาหวานเป็นเซ่นไหว้ผีแถนเพื่อเป็นการบอกกล่าวสี่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยปกปักรักษา คุ้มครอง ซึ่งเครื่องเซ่นไหว้ในแต่ละพิธีกรรมก็มีความแตกต่างกันไป สำหรับเครื่องเซ่นไหว้ “พาหวาน” ในการประกอบพิธี

กรรมการเล่นแถนของชุมชนบ้านบุอาไร จะประกอบไปด้วย ข้าวต้มกล้วย กล้วย และข้าวสวย นำมาวางไว้ในจาน เมื่อทาพิธีกรรมการเล่นแถนเสร็จ เมื่อทาพิธีกรรมต่าง ๆ เสร็จแล้วจะทำการแจกจ่ายพาหวาน ขั้นหมากเบ็ง และน้ำหวาน ให้กับหมอลำแถนทุกคน เพื่อให้หมอลำแถนนำไปเซ่นบูชาผีแถนต่อที่บ้านของตน เนื่องจากหมอลำแถนทุกคนจะมีบ้านผีแถนอยู่ที่บ้านทุกคน โดยบ้านแถนจะมีลักษณะคลายกับหิ้งพระ ประจะประกอบไปด้วยเครื่องบูชาต่าง ๆ ของผีแถน และเมื่อประกอบพิธีกรรมการเล่นแถนเสร็จในวันวันรุ่งขึ้นจะต้องทาการรื้อพื้นที่ให้กลับเป็นเช่นเดิมทันทีซึ่งเป็นการปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมของชาวบ้าน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เนื่องจากเหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้กิจกรรมประเพณีต่าง ๆ ในท้องถิ่นที่เริ่มเลือนหายไป เนื่องจากไปมีการดำเนินงานมานาน ซึ่งรวมไปถึงพิธีกรรมการเล่นแถนด้วย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คิด วรุณดี. (2557). ความเชื่อเรื่องขันหมากเบ็งในวัฒนธรรมชาวอีสาน กรณีศึกษาอาเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. งานวิจัยสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พุทธศักราช 2557. 

พัชราพรรณ พุ่มจันทร์. (2564). แนวทางการอนุรักษ์พิธีกรรมการเล่นแถนของชุมชนบ้านบุอาไร ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.