Advance search

ถิ่นจักสาน ตำนานพระเจ้าแสนแซ่ แหล่งข้าวพันธุ์ดี เกษตรอินทรีย์ชีวภาพ

หมู่ที่ 9
บ้านป่าแฝกใต้
ป่าแฝก
แม่ใจ
พะเยา
สุธาสินี ด่านสวัสดิ์
5 มิ.ย. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
14 มิ.ย. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
25 ก.ค. 2023
บ้านป่าแฝกใต้

ตั้งชื่อมากจาก คำว่า "หญ้าแฝก" ซึ่งเป็นไม้ประเภทเดียวกับหญ้าทั่วไป เป็นพืชที่มีอายุนานหลายปีขึ้นเป็นกอแน่น มีระบบรากลึกช่วยกรองตะกอนดิน และรักษาหน้าดินได้ดี สมัยก่อนตำบลป่าแฝกมีหญ้าแฝก เกิดขึ้นทั่วไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นตำบลนี้จึงได้ชื่อว่าตำบลป่าแฝก และคงเป็นที่มาของชื่อชุมชนเช่นเดียวกัน


ถิ่นจักสาน ตำนานพระเจ้าแสนแซ่ แหล่งข้าวพันธุ์ดี เกษตรอินทรีย์ชีวภาพ

บ้านป่าแฝกใต้
หมู่ที่ 9
ป่าแฝก
แม่ใจ
พะเยา
56130
19.42262417
99.77654591
เทศบาลตำบลป่าแฝก

บ้านป่าแฝกตั้งชื่อมาจาก หญ้าแฝก เนื่องจากที่ตั้งของตำบลป่าแฝกนั้นมีต้นแฝกขึ้นเป็นจำนวนมากจึงได้ตั้งชื่อเป็นบ้านป่าแฝก บ้านป่าแฝกใต้หมู่บ้านเดิมชื่อว่าบ้านป่าแฝกหมู่ที่ 2 ตำบลป่าแฝก อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นได้มีพระบรมราชโองการประกาศให้จัดแบ่งท้องที่ปกครองเป็น “เมือง” และ “อำเภอ” เมื่อ ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ในขณะนั้น “แม่ใจ” มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 3 อำเภอ และ 10 เมือง ที่ได้จัดการปกครองรวมกันเป็นจังหวัดพายัพเหนือ ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 มิถุนายน ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ให้อำเภอแม่ใจขึ้นกับเมืองเชียงราย และอยู่ในมณฑลพายัพ โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ จำนวน 6 คน คนแรกคือนายถิน ได้นามสกุลภายหลังการมี พรบ.นามสกุล คือ ควรสมาคม ต่อมาในปี ร.ศ. 133 (พ.ศ. 2457) อำเภอแม่ใจ ถูกยุบให้เหลือฐานะเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

พ.ศ. 2501 กรมการปกครองได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่ ตำบลแม่ใจ ตำบลศรีถ้อยตำบลแม่สุก อำเภอพาน และตำบลแม่ปืม อำเภอพะเยา สมควรยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอจึงได้สั่งการให้จังหวัดเชียงรายและอำเภอพาน พิจารณาดำเนินการขอยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ (สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

พ.ศ. 2506 ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2506 เรื่องแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอแม่ใจ มีเขตการปกครองรวม 4 ตำบล คือตำบลแม่ใจ ตำบลป่าแฝก ตำบลศรีถ้อยและตำบลแม่สุก ให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ รวม 4 คน 

พ.ศ. 2508 พระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอแม่ใจ พ.ศ. 2508 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่ใจ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นอำเภอแม่ใจ จังหวัดเชียงราย

พ.ศ. 2520 วันที่ 28 กรกฎาคม 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจังหวัดพะเยาตาม พระราชบัญญัติ เรื่อง ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520 ให้ไว้ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2520 ประกอบด้วยอำเภอ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ และมีนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาคนแรก อำเภอแม่ใจ เมื่อแยกจากจังหวัดเชียงรายมาขึ้นยังจังหวัดพะเยา นายอำเภอแม่ใจขณะนั้นคือ นายเพชร ดิฐธาตรี (พระวิมลธรรมโมลี, 2546 : 138)

ต่อมาแบ่งมาเป็นกิ่งอำเภอแม่ใจและอำเภอพะเยาได้แยกออกมาเป็นจังหวัดพะเยา บ้านป่าแฝกใต้จึงอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา หลังจากนั้นประชากรเพิ่มขึ้น กรมการปกครองจึงมีความเห็นได้แยกออกจากบ้านป่าแฝกหมู่ที่ 2 มาเป็นหมู่บ้านใหม่ชื่อบ้านป่าแฝกใต้หมู่ที่ 10 ตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ตั้งแต่ปี 2510 โดยมีนายทา ทาเขียว เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกได้ทำการพัฒนาหมู่บ้านในหลายด้าน แต่ผลงานสำคัญ คือ การสร้างถนนลูกรังจากบ้านป่าแฝกใต้ ไปเชื่อมบ้านหนองสระและดงบุญนาค ประการหนึ่ง ประการสองก่อตั้งโรงเรียนประชาบาลชื่อโรงเรียนป่าแฝกใต้มาจนถึงปัจจุบัน ตำบลป่าแฝกในขณะนั้นมีจำนวนหลายหมู่บ้านทางราชการจึงเห็นว่ามีความยากในการปกครองจึงเห็นชอบให้แยกเป็นตำบลใหม่ คือตำบลเจริญราษฎร์ บ้านป่าแฝกใต้จึงเปลี่ยนจากหมู่ที่ 10 มาเป็น หมู่ที่ 5 มาจนถึงปัจจุบันรวมเป็นเวลา ประมาณ 100 ปี อาชีพหลักของชาวบ้านส่วนมากคือการทำนาข้าว อาชีพรองรับจ้างทั่วไป เช่น เกี่ยวข้าว ชาวบ้านจะมีการเลี้ยงผีปู่ผีย่าประจำหมู่บ้านในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยศาลนั้นตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านป่าแฝกใต้ตั้งมาเป็นเวลานานตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า ชาวบ้านจะไปบนบานศาลกล่าวกันตลอด แต่ช่วงเข้าพรรษาจะต้องมีดอกไม้ไปไหว้ ศาลนี้ตั้งมานานและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน แต่เดิมชาวบ้านป่าแฝกใต้นั้นไม่มีไฟฟ้าใช้ กรมไฟฟ้าได้นำไฟฟ้าเข้าหมู่บ้านป่าแฝกใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2524 สมัยก่อนชาวบ้านจะใช้น้ำจากน้ำบ่อนำมาใช้และนำมาดื่มซึ่งบ่อน้ำนั้นได้ทำการขุดโดยใช้กำลังคนแต่ปัจจุบันยังใช้น้ำบ่อในการอุปโภคอยู่

จากนั้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2552 นายอนุชา ทาเขียว ได้จัดทำโครงการ SML ทำน้ำดื่มชุมชน แต่ไม่ได้การตอบรับดีเท่าที่ควรเนื่องจากน้ำดื่มชุมชนนั้นไม่มีบริการส่งที่บ้านแต่ชาวบ้านอยากได้ความสะดวกสบายจึงหันมาใช้บริการของน้ำดื่มอุเทนวอเตอร์ ซึ่งโรงงานน้ำดื่ม อุเทนวอเตอร์ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 มีบริการส่งถึงบ้านชาวบ้านจึงนิยมใช้บริการจากอุเทนวอเตอร์ หลังจากนั้นช่วงแล้งเกิดปัญหาของน้ำดื่มไม่เพียงพอ จึงขอทางกรมทรัพย์ธรณี จังหวัดลำปาง กรมทรัพย์ธรณีจึงมาเจาะบ่อประปาให้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2559 ได้ระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งอยู่ในระหว่างการวางท่อในบริเวณของหมู่บ้าน บ้านป่าแฝกใต้หมู่ที่ 5 ตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา มีผู้ใหญ่บ้านทั้งหมด 8 คน คือ นายทา ทาเขียว, นายทอง สัญญะเขื่อนนายตัน ทาเขียวนายวิษณุพงษ์ วงศ์สมนายสมหวัง สุระป้อมนายคำฟอง แก้วนายอนุชา ทาเขียว และปัจจุบันมี นายปรีชา ก๋าใจ ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลป่าแฝกคนปัจจุบัน

สภาพพื้นที่ตั้งบ้านป่าแฝกใต้เป็นที่ราบระหว่างภูเขาขนาบทั้งสองข้างภูเขาด้านตะวันออก ได้แก่ ดอยจองเลื่อน ดอยด้วน ดอยห้วยม่วง ด้านตะวันตก ได้แก่ ดอยหลวง ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำน้ำอิงและแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ลำห้วยป่าแฝก เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 2,912 ไร่ 

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดกับ หมู่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านแม่เย็นใต้ ตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • ทิศใต้ ติดกับ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ครองชลประทานแม่ลาว อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

ประกอบด้วยบ้านเรือนทั้งหมด 178 หลังคาเรือน มีคนอาศัยอยู่ 160 หลังคาเรือน  มีประชากร 218 คน แบ่งได้ดังนี้ เพศหญิงจำนวน 119 คน เพศชาย 99 คน บริเวณชุมชนบ้านเรือนจะอยู่กันเป็นกลุ่มส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ มักตั้งบ้านเรือนใกล้กันหรืออยู่ภายในคุ้มเดียวกัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ข้อมูลวัฒนธรรม

บ้านป่าแฝกใต้มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว แต่ญาติพี่น้องจะปลูกบ้านในระแวกเดียวกัน ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ มีสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคือ วัดบ้านป่าแฝกใต้ ซึ่งในวันสำคัญมักจะประกอบศาสนกิจในวัดบ้านป่าแฝกใต้ ประเพณีส่วนใหญ่เป็นแบบล้านนา เช่น ประเพณีบวชลูกแก้ว (เป็นงานที่มีความโดดเด่นที่แตกต่างจากขุมชนข้างเคียง โดยจะจัดขึ้นในเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน แต่จะนิยมจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ซึ่งตรงกับเดือนแปดของเดือนล้านนา) ประเพณีตานข้าวใหม่ วันขึ้นปีใหม่ ประเพณีรดน้ำดำหัว ประเพณี 12 เป็ง ประเพณีตานก๋วยสลาก กฐิน ลอยกระทง และประเพณีตานต๊อด

ในด้านความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เช่น เลี้ยงผีปู่ ผีย่า เลี้ยงเจ้าพ่อประจำหมู่บ้าน และเลี้ยงผีขุนน้ำ ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ชาวบ้านจะให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือกิจกรรมของส่วนรวม เช่น งานบุญ งานศพ ชาวบ้านทุกคนโดยเฉพาะสมาชิกองค์กรในหมู่บ้าน จะเป็นองค์กรหลักที่สนับสนุนงานในหมู่บ้านให้ งานบุญที่โดดเด่นคือ งานทำบุญสรงน้ำพระเจ้าแสนแซ่ ณ วัดป่าแฝกใต้ ซึ่งจัดเดือนกุมภาพันธ์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • วิสาหกิจชุมชน : กลุ่มข้าวชุมชนบ้านป่าแฝกใต้ หมู่ที่ 5 นายอนุชา ทาเขียว เป็นประธาน
  • อ่างเก็บน้ำแม่ปืม : ได้รับประโยชน์จากคลองส่งน้ำสาย  1R - RMC ยาว  16.550  กม. ส่งน้ำพื้นที่ตำบลบ้านเหล่า ตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย บางส่วนพื้นที่ส่งน้ำรวม 12,300 ไร่    

ภาษาพื้นเมืองล้านนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

Google Maps. (2564). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านป่าแฝกกลางใต้. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/maps

ราชกิจจานุเบกษา. (2549). ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน. เล่ม 123 ตอน พิเศษ 128 ง. 13 ธันวาคม 2549.

ราชกิจจานุเบกษา. (2481). พระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเม่ใจ อำเภอจุน ฯลฯ. เล่ม 82 ตอนที่ 59. 27 กรกฎาคม 2508

พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม.). (2552). ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองพะเยา. พะเยา : เจริญอักษร.

บุญศิริ สุขพร้อมสรรพ และอาทิตย์ ลิมปิยากร. (2564). ภูมินาม-ภาพสะท้อนเมืองพะเยา. วารสารวิชาการเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่. 2(1). 88-94.

นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 29. (2564). รายงานการวินิจฉัยชุมชนป่าแฝกใต้ หมู่ 5 ตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.

ราชกิจจานุเบกษา. (2520). พระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520. ฉบับพิเศษ หน้า 1 เล่ม 94 ตอน 69. 28 กรกฎาคม 2520.