ป่าดงดิบ ไม้เบญจพรรณ ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านปางหมิ่นเหนือที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ ด้วยสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิดและพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่หลากหลาย
จากคำบอกเล่า พ่อเลี้ยงช้าง ได้นำช้างเข้าไปลากซุงที่ภูผาอานม้า และบริเวณใกล้เคียง ระยะทางไกลจากหมู่บ้านหลายกิโล การนำช้างเข้าไปลากซุงต้องนอนค้างคืนที่ในป่าเรียกว่า “ตั้งปาง” ตั้งปางบนสันเขาทางแคบ สองข้างเป็นลำห้วยเป็นตลิ่งสูงชันภาษาพื้นบ้านเรียกว่า ฝั่งหมิ่น จึงได้ชื่อว่า ปางหมิ่น หรือ ฝั่วหมิ่น จึงได้นำคำว่าปางหมิ่นมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน ชื่อ “บ้านปางหมิ่น”
ป่าดงดิบ ไม้เบญจพรรณ ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านปางหมิ่นเหนือที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ ด้วยสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิดและพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่หลากหลาย
ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านปางหมิ่นเหนือ หมู่ 11 คำว่าปางหมิ่น จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้านเล่าว่า พ่อเลี้ยงช้าง ได้นำช้างเข้าไปลากซุงที่ภูผาอานม้า และบริเวณใกล้เคียง ระยะทางไกลจากหมู่บ้านหลายกิโล การนำช้างเข้าไปลากซุงต้องนอนค้างคืนที่ในป่าเรียกว่า “ตั้งปาง” ตั้งปางบนสันเขาทางแคบ สองข้างเป็นลำห้วยเป็นตลิ่งสูงชันภาษาพื้นบ้านเรียกว่า ฝั่งหมิ่น จึงได้ชื่อว่า ปางหมิ่น หรือ ฝั่วหมิ่น จึงได้นำคำว่าปางหมิ่นมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน ชื่อ “บ้านปางหมิ่น”
หมู่บ้านปางหมิ่นเหนือได้แยกมาจากบ้านผาลาด เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงได้แยกหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหมู่บ้านคือปางหมิ่นเหนือ หมู่ 11 เมื่อ พ.ศ. 2532 โดยคนกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ได้แก่ ผู้ที่อพยพมาจากบางส่วนของตำบลจริม ได้แก่ บ้านต้นลาน บางส่วนของตำบลท่าปลา บ้านนาโห้ง ร่องน้ำชำ ตำบลท่าปลา อำเภอม่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จากบ้านวังขอม อำเภอเมอง จังหวัดอุตรดิตถ์ จากอำเภอสุงเม่น จังหวัดแพร่และอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เมื่อ พ.ศ.2513 เนื่องจากบ้านเดิมถูกน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์
สภาพทั่วไปของบ้านปางหมิ่นเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาขนาดเล็กสลับที่ราบ เนินสูงและเนินเขาที่ติดป่าสงวนแห่งชาติ ลำน้ำน่านฝั่งขวา บ้านน้ำหมันมีทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วยป่าไม้ แหล่งน้ำ ทุ่งหญ้า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในบ้านปางหมิ่นเหนือยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ เป็นป่าดงดิบมีไม้เบญจพรรณ ต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก ไม้ไผ่ ไม้ยางต้นหวาย เถาวัลย์ ไม้พุ่มสูงพุ่มเตี้ยตามภูเขา ลำห้วย สมุนไพรพิ้นบ้านหลากหลาย เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือ หมี เก้ง กวาง หมูป่า ชะนี ค่าง ลิง เป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารด้วย อากาศ เป็นอากาศแบบธรรมชาติในฤดูหนาวเพราะมีต้นไม้มาก อากาศบริเวณบ้านที่อยู่อาศัยจะเย็นน้อยกว่าตามภูเขา เพราะต้นไม้มีน้อย ฤดูร้อนอากาศร้อนแต่ไม่ร้อนจัด เพราะมีต้นไม้ช่วยผ่อนคลายความร้อน ฤดูฝนก็ฝนตกตามฤดูกาล ทรัพยากรทางน้ำค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
สภาพสังคมทั่วไปของชาวบ้านปางหมิ่นเหนือ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 114 คนและ 58 ครัวเรือน ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว ประชาชนบ้านปางหมิ่นเหนือแยกตัวมาจากบ้านผาลาด เนื่องจากการสร้างเขื่อน จึงอพยพมาตั้งหมู่บ้านใหม่ที่ใกล้ ๆ หมู่บ้านเดิม
ประชาชนในบ้านปางหมิ่นเหนือประกอบอาชีพทางด้านเกษตร ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกข้าวนาปี การทำสวนทำไร่ ได้แก่ การทำสวนกล้วย สวนลำไย การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร ไก่ อาชีพที่นอกเหนือจากการเกษตรที่รองลงมา คืออาชีพรับจ้างทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะไปประกอบอาชีพในต่างจังหวัด นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่น ๆ เช่น ค้าขาย รับราชการ ขับรถสองแถวรับจ้าง
ชาวบ้านในบ้านปางหมิ่นเหนือส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และให้ความสำคัญกิจกรรมทางพุทธศาสนา สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญ เช่น วัดและสำนักสงฆ์ เมื่อจัดพิธีกรรมทางศาสนาก็ได้มารวมตัวที่วัดโดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ประกอบพิธี ชาวบ้านปางหมิ่นเหนือ มีความเชื่อในเรื่องของไสยศาสตร์ ในการรักษาโรค เช่น การสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา เรียกขวัญ ผูกข้อมือ ซึ่งประเพณีนี้ยังเชื่อกันอยู่ในปัจจุบัน
ใช้ภาษาถิ่นเหนือ ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก สำเนียงของภาษาก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
ภาษาที่ใช้สื่อสาร : ภาษาไทย / ภาษาถิ่นเหนือ
ภาษาเขียน : ตัวอักษรตามพยัชนะไทย
ตัวอย่างคำภาษาเหนือ
เปิ้น = ฉัน
ตั๋ว = เธอ
อุ้ย = ปู่ย่า ตายาย
สูเขา = พวกเธอ
ธีร์กัญญา อินทอง. (2546). องค์ความรู้ท้องถิ่นตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.