Advance search

ตลาดบ้านลาด

ชุมชนย่านการค้า ที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การเพาะปลูกผักและผลไม้ มีแม่น้ำเพชรบุรีและคลองชลประทานไหลผ่าน สินค้าที่ขึ้นชื่อ เช่น ชมพู่ทองสามสีและผลิตภัณฑ์จากต้นตาล เป็นต้น

ถนนหมายเลข 3179
บ้านลาด
บ้านลาด
เพชรบุรี
ณัฐวุฒิ บัวคลี่
23 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 ก.ค. 2023
ณัฐวุฒิ บัวคลี่
25 ก.ค. 2023
ตลาดบ้านลาด


ชุมชนย่านการค้า ที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การเพาะปลูกผักและผลไม้ มีแม่น้ำเพชรบุรีและคลองชลประทานไหลผ่าน สินค้าที่ขึ้นชื่อ เช่น ชมพู่ทองสามสีและผลิตภัณฑ์จากต้นตาล เป็นต้น

ถนนหมายเลข 3179
บ้านลาด
บ้านลาด
เพชรบุรี
76150
เทศบาลตำบลบ้านลาด โทร. 0-3240-9660-2
13.054156
99.919217
เทศบาลตำบลบ้านลาด

ความเป็นมาของอำเภอบ้านลาด เดิมอำเภอบ้านลาด เป็นท้องที่ขึ้นอยู่กับอำเภอคลองกระแชง (ปัจจุบันเป็นอำเภอเมืองเพชรบุรี) แต่เนื่องจากอำเภอคลองกระแชงมีพื้นที่กว้างขวางยากต่อการอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชน ทำให้การดูแลทุกข์สุขของประชาชนไม่ทั่วถึง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2459 จึงได้แยกออกจากอำเภอคลองกระแชง และได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่า “อำเภอท่าช้าง” ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าวัดโพธิ์กรุ และในปี 2465 ได้ย้ายที่ทำการอำเภอไปตั้ง ณ บ้านวังชนวน หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านลาด และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่เป็น “อำเภอบ้านลาด”

ตำบลบ้านลาดตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี มี 8 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย

  1. บ้านโพธิ์ใหญ่
  2. บ้านท่าหิน (หาดทราย)
  3. บ้านวุ้ง (ลาด)
  4. บ้านหัวเกาะ
  5. บ้านไร่ใน
  6. บ้านศาลาหมู่สี
  7. บ้านวังชนวน
  8. บ้านในลุ่ม

ลักษณะทางกายภาพ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การเพาะปลูก ผัก ผลไม้ มีแม่น้ำเพชรบุรี และคลองชลประทานไหลผ่าน

อาณาเขตตำบล

  • ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลบ้านหาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
  • ทิศใต้ ติดกับ ตำบลตำหรุ ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลสมอพรือ ตำบลท่าเสน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลท่าช้าง ตำบลบ้านหาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

สภาพสังคม

  • ด้านการศึกษา มีโรงเรียน 4 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านลาด โรงเรียนวัดลาดศรัทธาราม โรงเรียนบ้านลาดวิทยา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
  • ด้านศาสนา มีผู้นับถือศาสนา ร้อยละ 100 มีวัด 5 แห่ง ได้แก่ วัดเกาะแก้ว วัดไม้ร่วกสุขาราม วัดลาดศรัทธาราม วัดป่าแป้น และวัดใหม่ประเสริฐปุ่นประสิทธิ์

ตำบลบ้านลาด มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,684 คน เป็นชาย 1,731 คน และหญิง 1,971 คน และจำนวนครัวเรือน 1,563 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ ปีพ.ศ. 2561) ประชากรส่วนใหญ่ มีอาชีพหลักคือ ทำสวน ทำไร่ อาชีพเสริมค้าขาย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านลาดได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่

  1. การทำกำไรทองเหลือง เครืองทองหรือทองรูปพรรณ เมืองเพชรนับเป็นงานหัตถกรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนได้รับการยกย่องว่าเป็นสกุลช่างทองสายหนึ่ง หรือที่ชาวบ้านเรียกง่ายๆว่า “ทองโบราณ” ซึ่งมีร้านชื่อดังได้แก่ร้านเจ๊จู และช่างอ้วน
  2. เห่เรือบก เป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ชาวบ้านได้สั่งสม สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งการละเล่นพื้นบ้านโดยทั่วไปมักเกิดจากความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่น อาจมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณอักษร หรือสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นโดยไม่มีการจดบันทึกชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อปรับปรุง ประยุกต์การละเล่นของถิ่นอื่นมาปรับใช้ให้เมาะสมกับสภาพโครงสร้างทางสังคมของท้องถิ่นตน การละเล่นพื้นบ้านของจังหวัดเพชรบุรีส่วนใหญ่มักเกิดจากวิถีชีวิตสภาพภูมิศาสตร์การทํามาหากิน และความเชอของคนเมืองเพชร
  3. หุ่นกระบอกสี่พี่น้อง หุ่นกระบอกเพชรบุรี คณะสี่พี่น้อง (คณะนางประนอม อินทรเนตร) เป็นหุ่นกระบอกพื้นบ้านคณะเดียวของจังหวัดเพชรบุรีที่ยังคงแสดงยู่ นางประนอมเคยแสดงละครชาตรีมาก่อน ต่อมาคุณยายสาหร่ายซึ่งมีความชำนาญในการเชิดหุ่นกระบอกและเป็นญาติห่างๆของนางประนอมได้ชวนให้มาฝึกเชิดหุ่นกระบอกแนางประนอมฝึกการเชิดหุ่นกระบอกได้เพียง 2 เดือน ยายสาหร่ายก็ถึงแก่กรรม นางประนอมจึงได้จัดตั้งคณะหุ่นกระบอกขึ้น โดยได้รับหุ่นกระบอกเป็นมรดกตกทอดจากยายสาหร่ายจำนวน 2 ตัว และได้สร้างหุ่นขึ้นใหม่ ปัจจุบันมีหุ่น 8 ตัวหมุนเวียนกันแสดงในเรื่องต่างๆ เพราะตัวหุ่นสามารถถอดเปลี่ยนหัวได้ ปัจจุบันนางประนอมมีผู้ร่วมคณะจำนวน 6 คน รับงานแสดงหุ่นกระบอกพื้นบ้านในจังหวัดเพชรบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง
  4. หัตถกรรมจากไม้ตาล ด้วยเป็นเมืองที่มีต้นตาลมาก ลำต้นตาลที่นำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์นั้นต้องเป็นไม้ตาลแก่อายุเป็นร้อยปี เมื่อได้ไม้ตาลมาต้องนำไม้ไปอบเรียกว่า “ย่างไม้” ผู้ผลิตมีลุงแร บ้านลาด และนายช้อย เขาย้อย เป็นต้น

ทุนทางธรรมชาติ สืบเนื่องจากพื้นที่ตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาดจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดิน เหมาะแก่การปลูก ผัก ผลไม้ และผลไม้ขึ้นชื่อของบ้านลาดนั้นคือ ชมพู่เมืองเพชร ที่มีรสชาติที่หวาน กรอบ แสนอร่อย เป็นของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรีอีกด้วย

ภาษาถิ่นบ้านลาด/ภาษาถิ่นเพชรบุรี  การใช้ภาษาสำเนียงบ้านลาด หรือที่คนเพชรเรียกกันว่า เหน่อบ้านลาด ภาษาเหน่อบ้านลาดตกทอดมาจากบรรพบุรุษ สำเนียงชาวเพชรแท้ๆก็จะอยู่ในเขตอำเภอบ้านลาด รูปแบบประโยคโดยเฉพาะการปฏิเสธจะใช้คำว่า "ไม่" ตามหลังคำกริยา และเปลี่ยนระดับเสียงคำกริยา เช่น กิ๊นไม่ (ไม่กิน) เอ๊าไม่ (ไม่เอา) มี้ไม่ (ไม่มี) ป๊วดไม่ (ไม่ปวด)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กาญจนา บุญส่ง และคณะ. (2554). แนวทางการสืบสานวัฒนธรรมตาลเมืองเพชรที่เอื้อต่อวิถีชีวิตของชุมชนบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก http://research.culture.go.th/

ข้อมูลทั่วไปของอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน, จาก http://www.oic.go.th/.

เทศบาลตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก https://www.banlat.go.th/.

องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสะแก. (ม.ป.ป.)​ เห่เรือบก. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก http:/www.chongsakae.go.th/.

Lookwagrop [นามปากกา]. (2564, 5 กรกฏาคม). กำไลทองเหลืองบ้านลาด. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก https://phetchaburideejung.com/.

Realraregroup. (2565). ทำไมต้องเพชรบุรี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก https://th.realraregroup.com/why-s-phetchaburi