ชุมชนย่านการค้าขนาดใหญ่ของเมืองนครปฐม คาบเกี่ยวบริเวณสำคัญตั้งแต่ตลาดเมืองนครปฐม สถานีรถไฟนครปฐมและพระปฐมเจดีย์ โดยมีลักษณะของอาคารส่วนใหญ่เป็นตึกแถวร้านค้าและที่พักอาศัยที่ทันสมัยและอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นในบริเวณโดยรอบของ 2 ฝั่งของเส้นทางรถไฟ ถนนราชดำเนินและถนนหน้าพระ
ชุมชนย่านการค้าขนาดใหญ่ของเมืองนครปฐม คาบเกี่ยวบริเวณสำคัญตั้งแต่ตลาดเมืองนครปฐม สถานีรถไฟนครปฐมและพระปฐมเจดีย์ โดยมีลักษณะของอาคารส่วนใหญ่เป็นตึกแถวร้านค้าและที่พักอาศัยที่ทันสมัยและอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นในบริเวณโดยรอบของ 2 ฝั่งของเส้นทางรถไฟ ถนนราชดำเนินและถนนหน้าพระ
ตลาดเมืองนครปฐม ประกอบไปด้วยตลาดบนและตลาดล่าง เป็นตลาดที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าขององค์พระปฐมเจดีย์ เป็นตลาดเก่าที่อยู่เคียงคู่วิถีชีวิตของชาวชุมชน ตั้งเเต่ปี พ.ศ. 2441 ตลาดบน-ล่าง เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นชื่อที่เรียกติดปากกันมานาน ตลาดมี 2 ฝั่ง ถนน โดยฝั่งขวา เรียกว่าตลาดบน ฝั่งซ้ายเรียกว่า ตลาดล่าง
เทศบาลนครปฐม ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ56กิโลเมตร เทศบาลนครปฐม ทิศเหนือติดกับ ตำบลนครปฐม และตำบลบ่อพลับ ทิศตะวันออกติดต่อกับ ตำบลพระประโทน และตำบลธรรมศาลา ทิศใต้ต่อกับ ตำบลห้วยเจ้ ตำบลสนามจันทร์และตำบลบางแขม ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลลำพยา และตำบลหนองปากโลง มีเนื้อที่19.85ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 12,406.25 ไร่
เทศบาลนครนครปฐม เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง รัตนโกสินทร์ศก 127 เมื่อ ปี พ.ศ. 2453 ต่อมาเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล ปี พ.ศ. 2476 จึงมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครปฐม ปี พ.ศ. 2478 ประกาศเมื่อวันที 7 ธันวาคม 2478 (ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 1666 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2478) และมีการยกฐานะเป็นเทศบาลนคร ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. 2542 (ให้ไว้ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบันเทศบาลนครนครปฐม มีพื้นที่ในความรับผิดชอบในขณะจัดตั้งประมาณ 5.28 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในตำบลพระปฐมเจดีย์ทั้งตำบล
เมืองนครปฐม เป็นอู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้น นครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมือง นครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้งสร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้าง พระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม"
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลตำก้อง ตำบลทัพหลวง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
- ทิศใต้ ติดกับ เทศบำลนครนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
- ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบ่อพลับ ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
- ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลวังตะกู ตำบลหนองปำกโลง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครปฐมโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบถึงค่อนข้างราบเรียบ ไม่มีภูเขาและป่าไม้ ระดับความแตกต่างของความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 2–10 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพพื้นที่โดยทั่วไปลาดจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ และตะวันตกสู่ตะวันออกมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ส่วนพื้นที่ทางตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีที่ดอนกระจายเป็นแห่ง ๆ และมีแหล่งน้ำกระจาย สำหรับพื้นที่ด้านตะวันออกและด้านใต้เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน มีคลองธรรมชาติและคลองซอยที่ขุดขึ้นเพื่อการเกษตรและคมนาคมอยู่มาก พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 2-4 เมตร
ชาวตลาดนครปฐม มี "ชมรมชาวตลาดนครปฐม" ตั้งขึ้นราวปี พ.ศ. 2530 คณะกรรมการมีทั้งหมด 25 คน มีวาระดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี แต่ไม่กำหนดจำนวนครั้งของการดำรงตำแหน่ง มีกำหนดวาระประชุม 3-4 เดือนต่อครั้ง เวทีจัดประชุม ได้แก่ ร้านอาหารและตามบ้านของสมาชิก
องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่ รูป ระฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมาก่ออิฐ ถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น ถือเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยอีกด้วย เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการบูชาของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็น ประจำทุกปี
กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). ชุมชนตลาดเมือง นครปฐม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24 กรกฏาคม 2566, จาก https://culturalenvi.onep.go.th/.
ข้อมูลตำบลพระปฐมเจดีย์. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฏาคม 2566, จาก http://dept.npru.ac.th/.
สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2559). ประวัติศาสตร์นครปฐม. (ออนไลน์). สืบค้นข้อมูลเมื่อ 22 กรกฏาคม 2566, จาก https://www.nakhonpathom.go.th/.
Ekanong Duangjak. (2553, 23 กันยายน). ตลาดนครปฐม : วันวาน วันนี้ วันพรุ่งนี้. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 กรกฏาคม 2566, จาก http://www.snc.lib.su.ac.th/.
WATTOSANN. [นามปากกา]. (2565, 22 เมษายน). ตลาดบน-ล่าง ตลาดเก่าแก่คู่เมืองนครปฐม กว่า 135 ปี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 กรกฏาคม 2566, จาก https://th.trip.com/moments/.