ชุมชนบ้านเวียงหวายก็ยังคงรักษาวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองอย่างเข้มข้น ซึ่งแสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ไว้อย่างชัดเจน
ชุมชนบ้านเวียงหวายก็ยังคงรักษาวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองอย่างเข้มข้น ซึ่งแสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ไว้อย่างชัดเจน
เวียงหวายเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมานานหลายร้อยปี โดยมาการเล่าขานกันว่านางคำเอ้ย ซึ่งเป็น ธิดาของพระเจ้าฝาง ได้สร้างเวียงหวายและเวียงนาง(ปัจจุบันคือดอยเวียงนาง) จากนั้นก็ปล่อยให้ร้างไป จนคนไทใหญ่กลุ่มหนึ่งได้อพยพเข้ามาจากพม่าเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยบางส่วนเข้ามาทางบ้านเปียง กอก บ้านโป่งน้ำร้อน บ้านต้นผึ้ง และไทใหญ่กลุ่มนี้บางส่วนได้กระจายกันมาอยู่ในตัว เมืองฝาง บางส่วนได้ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านป่าฮิ้น บ้านม่อนปิ่น ในอดีตหมู่บ้านเวียงหวายเป็นเสมือนพื้นที่อิสระไม่ได้ปกครองโดยอำเภอฝาง แต่ขึ้นตรงกับ กงสุลอังกฤษที่อยู่ตัวเมืองเชียงใหม่โดยมีพ่อล่ามเข้ามาก่อตั้งหมู่บ้านในราว พ.ศ.2440 โดยพ่อล่ามเป็น ผู้ปกครองหมู่บ้าน (พ่อล่ามเป็นคำเรียกตำแหน่งของผู้ปกครองชุมชน ซึ่งสามารถพูดภาษาอังกฤษได้) สภาพของหมู่บ้านเวียงหวายเป็นป่า เริ่มแรกมีคนไทใหญ่เข้ามาอยู่ประมาณสิบกว่าครอบครัว และ หลังจากนั้นก็มีเพิ่มเข้ามาเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตามหากคนในชุมชนมีปัญหาเล็กๆ น้อย ๆ พ่อล่ามจะมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินคดีความ แต่หากเป็นเรื่องใหญ่พ่อล่ามก็จะต้องแจ้งไปยังกงสุลอังกฤษที่เมืองเชียงใหม่ แต่ส่วนใหญ่ในชุมชนบ้าน เวียงหวายไม่ค่อยเกิดเหตุการณ์รุนแรงมากนัก สำหรับพื้นที่นี้ในอดีตมักจะมีชาวอังกฤษ ซึ่งคนไทใหญ่ เรียกว่า “กะลาเผือก” และชาวอินเดียซึ่งคนไทใหญ่เรียกว่า “กะลาหลำ” เข้ามาในหมู่บ้านเป็นครั้งคราว คนไทใหญ่จึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากชาวต่างชาติมาบ้าง
นอกจากนี้คนเวียงหวายใน อดีตจะมีการค้าขายวัวต่างควายต่างกับคนฝั่งพม่า ซึ่งขณะนั้นเส้นแบ่งเขตแดนของแต่ละประเทศยังไม่ชัดเจน สินค้าที่ทางฝั่งนี้นำไปขาย ได้แก่ ฝิ่น ข้าว งา น้ำอ้อย และนำสินค้าจากอีกฝั่งมา ได้แก่ เสื้อผ้า เนย น้ำตาล ของใช้ที่ทางฝั่งอำเภอฝางไม่มี โดยมีจุดแลกเปลี่ยนสินค้าที่ตลาดหน้า วัดเวียงหวายใน ปัจจุบัน นอกจากนี้ในอดีตภายในหมู่บ้านเวียงหวายจะมีการค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ และจะมีการเปิด บ่อนเล่นการพนันอย่างเสรีเป็นครั้งคราว หากคนทางอำเภอฝางหรือเจ้าหน้าที่จะเข้ามาเล่นในหมู่บ้าน ก็ต้องขออนุญาตพ่อล่ามก่อน และจะมีกำหนดเวลาในการอยู่ในชุมชนเวียงหวาย เมื่อครบกำหนดก็ ต้องออกจากหมู่บ้าน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าพ่อล่ามมิใช่เป็นผู้นำของไทใหญ่เวียงหวายเท่านั้น แต่เป็นที่เคารพยำเกรงของไทใหญ่ทางเวียงแหง เชียงดาว แม่อาย อีกด้วย ซึ่งหากพ่อล่ามมีงานจะขอแรงเรื่อง ใด ๆ ชาวไทใหญ่แต่ละพื้นที่ที่กล่าวก็จะมาร่วมแรงร่วมใจทำให้งานสำเร็จ พ่อล่ามเป็นผู้นำชุมชนที่ สร้างความเจริญในด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างวัดเวียงหวาย โดยในการก่อสร้างในยุคนั้นมีคณะที่เป็น ศรัทธาบ้านม่อนปิ่น บ้านเด่นชัย บ้านป่าฮิ้น มาร่วมช่วยด้วย ซึ่งใช้เวลาร่วม 5 เดือนจึงแล้วเสร็จ และ ได้เริ่มก่อสร้างเจดีย์โดยมีเจ้าขุนอ่องและเจ้าขุนหลวง ซึ่งเป็นลูกชายของพ่อล่ามเป็นผู้ดูแลในการ ก่อสร้าง โดยสถานที่ก่อสร้างคือพื้นที่ตลาดเวียงหวายในปัจจุบัน แต่ต่อมาเจดีย์ได้ถูกฟ้าผ่า จึงย้ายฐานเจดีย์ไปสร้างที่วัดดอยพระธาตุเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามต่อมาเจ้าขุนอ่องลูกชายคนเล็กของพ่อล่ามเริ่มมีปัญหากับชาวดอย ได้แก่ กลุ่ม ปะหล่อง กลุ่มมูเซอ กลุ่มชาวดอยจึงได้ไปร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ของฝาง เจ้าหน้าที่าอำเภอฝางจึงเข้า มาตักเตือนและจะจับตัวเจ้าขุนอ่องไปดำเนินคดี พ่อล่ามและครอบครัวจึงตัดสินใจย้ายกลับไปอยู่ฝั่ง พม่า ประกอบกับทางอังกฤษก็ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องของหมู่บ้านอีก เพราะมีการแบ่งเส้นเขต แดนระหว่างไทยกับพม่าชัดเจน ทางอำเภอฝางจึงเข้ามาปกครองบ้านเวียงหวาย โดยถามความสมัครใจว่าใครอยากอยู่ฝั่งไทยก็ต้องไปรายงานตัวให้เจ้าหน้าที่ทางอ าเภอฝางทุก 7 วัน โดยเอาธงชาติไทย ปักต้นกล้วยพร้อมเงิน 4 แถบ พร้อมกับสมาชิกในครอบครัวเพื่อยืนยันว่าครอบครัวนี้จะไม่ย้ายกลับ พม่าแล้วและเต็มใจที่จะตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ที่ฝาง จนเจ้าหน้าที่เห็นความตั้งใจจึงออกบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านให้ในนามคนไทย และให้แผ้วถางพื้นที่ทำกินกันเอง ปัจจุบันชาวไทใหญ่ที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่เริ่มได้มีเอกสารสิทธิ์เป็นคนไทยและได้รับเอกสารสิทธิ์ทุก อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ยังมีชาวไทใหญ่ที่อพยพมาจากฝั่งพม่าอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ได้มี บัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านที่แสดงว่าเป็นคนไทย
นอกจากนี้พื้นที่ของชาวบ้านเวียงหวายในรุ่น ก่อนบางส่วนก็ได้รับเอกสารเป็นโฉนดที่ดินแล้ว แต่มีคน ไทใหญ่รุ่นใหม่บางส่วนที่อพยพเข้ามายังไม่ถึง 50 ปี ยังไม่ได้รับเอกสิทธิ์การเป็นคนไทย จึงไม่มีสิทธิ์ถือครองที่ทำกิน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ เงื่อนไข และจังหวะที่กรมการปกครองแจ้งมาด้วย อย่างไรก็ตามชาวไทใหญ่ไม่ว่าจะมีสถานะใดก็อาศัย อยู่ร่วมกันในชุมชนบ้านเวียงหวายอย่างปกติสุข คนที่มีฐานะ มีโอกาสทางสังคมมากกว่าก็ช่วยเกื้อกูล คนไทใหญ่ที่เข้ามาใหม่ สิ่งที่คล้องความสัมพันธ์ของพวกเขาไว้อย่างแน่นแฟ้นก็คือความผูกพันใน รากเหง้า และอัตลักษณ์ของไทใหญ่ที่พวกเขามีร่วมกันนั่นเอง
ปัจจุบันหมู่บ้านเวียงหวายมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย กล่าวคือ มีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านการปกครอง การค้าขาย การมีชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันของคนในชุมชน มีโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง น้ำประปา ไฟฟ้า และปัจจัยการบริการขั้นพื้นฐานที่ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งในการพัฒนา ชุมชนเพื่อให้ก้าวหน้านั้น ชุมชนต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บข้อมูล ปัญหาและแนวทางการแก้ไขอยู่เสมอ สภาพโดยรวมในปัจจุบันถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ฝ่าย ปกครองและฝ่ายพัฒนาให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี โดยมีการวางแผนของโครงการหรือกิจกรรมที่ ชุมชนได้ร่วมคิดและวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน นับว่าเป็นกระบวนการทำงานที่ยั่งยืน นอกจากนี้ในเรื่องของวัฒนธรรมนั้นชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวายก็ยังคงรักษาวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองอย่างเข้มข้น ซึ่งแสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ไว้อย่าง ชัดเจนอีกด้วย
ตำบลม่อนปิ่นมีลักษณะพื้นที่ราบสูง มีภูเขาล้อมรอบ อยู่ติดกับป่าไม้เขตวนอุทยานแห่งชาติ ดอยผ้าห่มปก สภาพพื้นดินเป็นดินเหนียวและดินร่วนปนทราย มีลำน้ำมาวเป็นแม่น้ำสายหลักไหลผ่าน กลางพื้นที่ของตำบลตลอดทั้งปี พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตรกรรม เช่น ทำสวนส้ม สวนลิ้นจี่ ทำนา ปลูกหอมหัวใหญ่ ถั่วลิสง และพืชอื่น ๆ ตามฤดูกาล ในปัจจุบันมีการนำเงาะโรงเรียน ทุเรียน ลองกอง มาปลูกตามสวนส้ม ส่วนประชากรในตำบลมีหลายเผ่าพันธุ์ ประกอบด้วยชาวพื้นเมือง ชาวไทใหญ่ ชาวเขาเผ่าลาหู่ (มูเซอ) และชาวเขาเผ่าดาราอ้าง (ปะหล่อง)
ชุมชนบ้านเวียงหวาย หมู่ที่ 9 อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลม่อนปิ่นไปทางทิศ ตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตรและอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอฝางไปทางทิศตะวันตกประมาณ 5 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนอื่นดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตบ้านหัวฝาย ตำบลโป่งน้ำร้อน
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตบ้านห้วยงู และบ้านห้วยหมากเลี้ยม ตำบลสันทราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตบ้านเด่นชัย หมู่ 13 ตำบลม่อนปิ่น
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตบ้านหัวหา หมู่ 6 ตำบลม่อนปิ่น
บริเวณบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตามเมื่อชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในชุมชนบ้านเวียงหวาย เกิดการแต่งงาน มีลูกหลานทำให้ประชากรในชุมชนที่มีเชื้อสายไทใหญ่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการที่ ชาวไทใหญ่ในฝั่งพม่าอพยพย้ายเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวมีทั้งกลุ่มชาวไทใหญ่ที่ตั้ง รกรากอยู่เดิมและชาวไทใหญ่ที่เพิ่งอพยพย้ายเข้ามาตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยสูงอายุ จากการสำรวจ ข้อมูลในเอกสารพบว่าจำ นวนประชากรในชุมชนบ้านเวียงหวายมีบุคคลที่เป็นชาวไทใหญ่ถึงร้อยละ 88.35 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในชุมชน
ปัจจุบันไตใหญ่บ้านเวียงหวายมีครัวเรือนจำนวน 661 ครัวเรือน ประชากรรวมจำนวน 2,638 คน เป็นชายจำนวน 1,337 คน และหญิงจำนวน 1,301 คน
การทำมาหากินส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน ปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว หอมหัวใหญ่ กระเทียม พริก ถั่วเหลือง และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ หมุนเวียนตามฤดูกาล ส่วนอาชีพเสริมได้แก่ การเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคและจำหน่าย เช่น การเลี้ยงวัว หมู ไก่พื้นเมือง นอกจากนี้บางครัวเรือนก็มีอาชีพเสริมทำถั่วเน่าแผ่นขาย และการรับจ้างทั่วไป เป็นต้น มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 90,257 บาท ด้านสังคมวัฒนธรรม 99 % นับถือศาสนาพุทธ และความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับผี ในแต่ละรอบปีจะมีการประกอบประเพณีพิธีกรรมต่างๆ
-การทำบุญทานข้าวใหม่ในเดือนมกราคม
-การถวายข้าวหย่ากู๊หรือปอยกองโหลในเดือนกุมภาพันธ์
-ปอยส่างลองในดือน มีนาคม (ปลายเดือน)
-การสืบชะตาหมู่บ้านในเดือนเมษายน
-การเลี้ยงหอเจ้าบ้านในเดือนเมษายน
-ประเพณีปีใหม่รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระธาตุและแห่ไม้ค้ำในเดือนเมษายน
-ประเพณีเข้าพรรษาในเดือนสิงหาคม
-ปอยจักกะในเดือนกันยายน
-ปอยซอมต่อหลวงในดือนตุลาคม
-ปอยเทียนออกพรรษาในเดือนพฤศจิกายน
-ปอยต้นหัวลมหรือถวายผ้าเหลืองในเดือนธันวาคม
ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตและการนับถือพุทธศาสนา และในแต่ละประเพณีพิธีกรรมต่างก็จะมีรายละเอียดของกระบวนการ ขั้นตอนและความหมายที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวไทใหญ่
ทุนวัฒนธรรม
1.) อาหาร
ชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ นิยม บริโภคอาหารแบบเรียบง่าย อาหารการกินนิยมทำกินกันเองเป็นส่วนใหญ่ และยังคงมีการประกอบ อาหารในแบบไทใหญ่อยู่บ้าง โดยใช้ผักเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหาร และใช้เครื่องปรุงที่ ได้มาจากพืชผักธรรมชาติ เช่น พริก เกลือ หอม กระเทียม เครื่องปรุงสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของ อาหารไทใหญ่คือ “ถั่วเน่า” หรือถั่วเหลืองหมัก (ถั่วเหลืองที่นำมาหมักและทำให้เป็นแผ่นตากแห้ง) ซึ่งสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน โดยมีทั้ง ถั่วเน่าแผ่น เรียกว่า ถั่วเน่าแข็บ และถั่วเหลืองที่หมักและบดละเอียดโดยจะเก็บไว้ในลักษณะคล้าย การเก็บน้ำพริกตาแดงจะไม่ทำให้แห้ง ใช้แทนกะปิ เรียกว่าถั่วเน่าเมอะ นอกจากนี้ยังมีการทำอาหารที่ เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทใหญ่ ได้แก่ ไก่อุ๊บหรือแกงไก่ไทใหญ่ ข่างปองเต๊กเบิ่ง จิ๊นลุง ข้าวส้ม เป็นต้น
2.) ศิลปะการแสดง
ศิลปะการแสดงของชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าเป็นศิลปะการแสดงที่มีตำนานเล่าขานกันมาอย่างยาวนาน และมีความ เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา พุทธประวัติของพระพุทธเจ้า รวมถึงเป็นการแสดงที่มีความเชื่อ เรื่องของบุญบารมี ได้แก่ การฟ้อนนกกิงกะหร่า การฟ้อนก้าโต เป็นต้น การฟ้อนนกกิ่งกะหร่า หรือก้านางนก คำว่า “ก้า” หมายถึง การฟ้อนหรือการรำส่วน “นางนก” หมายถึง นกกิงกะหร่า โดยคำว่า “กิ่งกะหร่า” เป็นคำในภาษาไทใหญ่ที่กลายเสียงมา จากภาบาลีในคำว่า “กินรี” เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่ตัวเป็นคนแต่ท่อนล่างเป็นนก การแสดงฟ้อนนก กิ่งกะหร่าถือเป็นศิลปะชั้นสูงของชาวไทใหญ่ การฟ้อนนกกิงกะหร่าในปัจจุบันจะฟ้อนกับกลองก้นยาว และจะมีการรำแบบสัตว์สองเท้าเหมือนนก รวมถึงจะมีการหยอกล้อกันตามท่ารำของนางนกแต่ละตัว การฟ้อนนก กิงกะหร่าจะสะท้อนให้เห็นความเชื่อของชาวไทใหญ่ที่เชื่อว่านกกิงกะหร่าเป็นสัตว์ที่มีบารมีสูงกว่าคน ทั่วไป ดังนั้นการจะฟ้อนหรือจะกระทำสิ่งใดก็ต้องทำด้วยความเคารพและมีศรัทธา ไม่มีการนำไป แสดงพร่ำเพรื่อ แต่จะแสดงในงานสำคัญเท่านั้น
3.) ประเพณี
ปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊หรือ ตานข้าวหย่ากู๊ (การถวายข้าวเหนียวแดง) ซึ่งเป็นประเพณีที่มีความผูกพันกับชาวบ้านที่ทำการเกษตร โดยมีความเชื่อว่าหลังจากทำนาหรือเกี่ยวข้าวเสร็จต้องมีการระลึกถึงบุญคุณของข้าว (พระแม่โพสพ) ที่คุ้มครองไร่นาหรือให้ชาวนามีข้าวไว้หล่อเลี้ยงชีวิต และเมื่อได้ข้าวใหม่มาก็จะนำไปถวายพระภิกษุ สามเณร และส่วนที่เหลือจะนำไปให้ทานคนเฒ่าคนแก่ที่บุคคลนั้น ๆ ให้ความเคารพนับถือหรือแจก เป็นทานในหมู่บ้านหรือตามบ้านญาติสนิทมิตรสหายเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เพราะมีความเชื่อว่าการ หลู่ข้าวหย่ากู๊จะได้บุญกุศลทำให้ได้ไปจุติบนสวรรค์ เสวยผลบุญอย่างเป็นสุข
นอกจากนี้ยังปรากฏพิธีกรรมของชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวายที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนาอีกมากมาย เช่น การปอยก๋องโหล (กองฟืน) ปอยหลู่ไฟ โดยมีความเชื่อว่าช่วงฤดู หนาวหากใครได้ถวายฟืนแด่พระสงฆ์ก็จะได้อานิสงส์มาก รวมถึงการทำ บุญตักบาตร ซึ่งชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้าน เวียงหวายจะมีการทำบุญตักบาตรในทุก ๆ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากมีความเชื่อว่า การออกบิณฑบาตของพระสงฆ์เป็นการช่วยโปรดสัตว์ และยังมีความเชื่อว่า การออกมาทำบุญตักบาตรทุกวันจะเป็นการสั่งสมบุญในแต่ละวัน เพราะการสั่งสมบุญเป็นสิ่งที่นำพาความสุขมาให้แก่ตน รวมถึงยังมีความเชื่อเรื่องการสักอักขระเลขยันต์คาถา กล่าวคือ การสักอักขระ เลขยันต์คาถาต่าง ๆ ตามร่างกายเป็นที่นิยมอย่างมากของชายชาวไทใหญ่โดยชาวไทใหญ่ที่เป็นผู้เฒ่าผู้ แก่ในชุมชนบ้านเวียงหวายในปัจจุบันยังมีการสัก ซึ่งสมัยก่อนจะมีสล่าเป็นหมอรับจ้างสัก ภาษาไท ใหญ่เรียกว่า “สล่าซ าหมึก” โดยทำน้ำหมึกด้วยการบดถ่านไม้รกฟ้าผสมกับว่านยาต่าง ๆ ตามความ เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และได้นำเอาพระพุทธมนต์หรือคาถาต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อว่าพระพุทธคุณหรือ คาถาต่าง ๆ จะคุ้มครองป้องกันให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี
ชาวไทใหญ่มีภาษาเป็นของตนเองทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนอยู่ในตระกูลภาษา กลุ่มไท-กระได ซึ่งใช้ในกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่กระจายอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงตอน ใต้ของประเทศจีน ภาษาพูดของไทใหญ่เรียกว่า “กวามไต” หรือ “กวามไท” ส่วนภาษาเขียน เรียกว่า “ลิ่กไต” ภาษาไทใหญ่มีเสียงวรรณยุกต์5 เสียง ค าพูดบางคำจะปรากฏว่าใช้ร่วมกับภาษาไทยหรือ ภาษาพื้นเมืองค่อนข้างน้อย คำศัพท์ส่วนใหญ่แตกต่างไปจากภาษาไทในกลุ่มชาติพันธุ์ไทอื่น ๆ ใน ล้านนาค่อนข้างมาก นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพลจากพม่ามาด้วยเนื่องจากรัฐฉานอยู่ในเขตแดนของ ประเทศสหภาพเมียนมาร์ คำศัพท์หลายคำจึงเป็นคำศัพท์ของพม่าปนมาด้วย
อย่างไรก็ตามในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จะมีทั้งประชากรที่เป็นทั้งชาวไทใหญ่ และชาวไทยเหนือปะปนกัน เพราะฉะนั้นจึงมีทั้งการใช้ภาษาไท ใหญ่และภาษาของชาวไทยเหนือหรือภาษาคำเมือง โดยหากเป็นผู้สูงอายุหรือคนเฒ่าคนแก่ที่เป็นชาวไทใหญ่ก็ยังคงมีการใช้ภาษาไทใหญ่หรือภาษาไตในการสื่อสารในชีวิตประจ าวัน แต่หากเมื่อชาวไท ใหญ่ต้องติดต่อกับชาวไทยเหนือหรือชาวไทยภาคอื่น ๆ มักจะใช้ภาษาพื้นเมืองปะปน ส่วนคนที่มีอายุ น้อย เช่น เด็ก วัยรุ่น ก็มักจะใช้ภาษาไทยกลางหรือไทยมาตรฐานกับครู แต่จะใช้ภาษาไทใหญ่แบบ ใหม่ที่มีการผสมผสานภาษาไทยพื้นเมืองทางภาคเหนือเข้าไปกับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน
จรรยา พนาวงค์ และอุไรวรรณ แก้วคำมูล. (2546). ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. [ม.ป.พ.]:[ม.ป.ท.].
วรรณวนัช อรุณฤกษ์ (2564). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์คำเรียกสีและการรับรู้สีของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรินประภา ภัทรจินดา, ชนัย วรรณะลี และอัควิทย์ เรืองรอง. (2562). กระบวนการสร้างสรรค์รูปแบบ การฟ้อนนกกิงกะหล่า. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 15(1), 202-203.
โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ. (ม.ป.ป.). องค์ความรู้ด้าน วัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.