บ้านบัวเป็นหมู่บ้านต้นแบบดีเด่น ชนะเลิศตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ตั้งชื่อตาม ปู่บัว ที่ถูกเสือโคร่งตัวหนึ่งได้ตะครุบและกัดจนเสียชีวิต ชาวบ้านจึงตั้งหมู่บ้านตามชื่อของปู่บัวว่า “บ้านบัว”
บ้านบัวเป็นหมู่บ้านต้นแบบดีเด่น ชนะเลิศตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านบัว หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เดิมทีบ้านบัว เป็นป่า โดยมี ปู่ติ๊บ กับย่าสมนา สองผัวเมีย เดิมเป็นคนบ้านตุ่นกลางเป็นคนทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เห็นพื้นที่ป่าแห่งนี้ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการประกอบอาชีพ จึงได้ย้ายเข้ามาอยู่เป็นคนแรก ปู่บัวก็ได้ติดตามมาอยู่ด้วย อยู่มาวันหนึ่งในตอนเช้าปู่บัวได้ลงไปเก็บใบพลู สำหรับการเคี้ยวหมากของคนโบราณ ในขณะนั้นยังเช้ามืด อยู่ๆก็มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ได้มีเสือโคร่งตัวหนึ่งได้ตะครุบและกัดปู่บัวจนเสียชีวิต ชาวบ้านจึงตั้งหมู่บ้านตามชื่อของปู่บัวว่า “บ้านบัว” มาจนถึงทุกวันนี้ บ้านบัวเป็นหมู่บ้านต้นแบบดีเด่น ชนะเลิศตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข” และหมู่บ้านพึ่งตนเองดีเด่นระดับจังหวัดพะเยาในปีพ.ศ. 2551 ล่าสุดได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นระดับประเทศ เมื่อปีพ.ศ. 2553
ทิศตะวันตกติดกับบ้านห้วยหม้อและภูเขาที่กั้นระหว่างอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง พื้นที่ลาดเอียงจาก ทิศตะวันตกมาทางทิศตะวันออก และจากทิศเหนือมาทิศใต้ มีลำน้ำห้วยแม่ตุ่นไหลผ่านเกือบหมู่บ้าน มีอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ตุ่น และอ่างเก็บน้ำห้วยม่วง (ฮ้วยแฮ้) ภูมิอากาศ มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 9 บ้านเหล่า ตำบลบ้านตุ่น
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 บ้านห้วยลึก ตำบลบ้านตุ่น
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 บ้านห้วยหม้อ ตำบลบ้านตุ่น
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2,3 บ้านตุ่นกลาง ตำบลบ้านตุ่น
บ้านบัวมีบ้านเรือนอยู่จำนวน 215 ครัวเรือน จำนวนประชากร 763 คน ประชาชนส่วนใหญ่ของบ้านบัว มีการประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำสวน ปลูกหญ้า เลี้ยงสัตว์ และอาชีพหัตกรรมจักสานไม้ไผ่
อาชีพหัตกรรมจักสานไม้ไผ่ โดยมีกลุ่มอาชีพจักสานเข่งไม้ไผ่เป็นอาชีพที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้จากอาชีพนี้ โดยผลิตภัณฑ์เข่งและสุ่มไก่จากไม้ไผ่เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของหมู่บ้าน และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เป็นอาชีพเสริมของหมู่บ้านและทำรายได้ให้กับครัวเรือนของบ้านบัว
ความเสี่ยงด้านผู้สืบทอดเจตนารมณ์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลดลง เนื่องจากในปัจจุบันยังมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง มีความ สามารถและเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชนอีกทั้งยังมีปราชญ์ชาวบ้านอีกหลายท่าน ที่สามารถพัฒนาอาชีพ เสริมรายได้ให้กบสมาชิกในชุมชนได้ และในปัจจุบันบุตรหลาน ของคนในชุมชนออกไปศึกษานอกพื้นที่ และขาดความสนใจในอาชีพของบิดา มารดา ไม่มีการสืบทอดองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพดังกล่าว อีกทั้งภูมิปัญญาเหล่านี้นับวันจะสูญหายไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นความเสี่ยงนี้ ถือวาเป็นความเสี่ยงในลำดับต้นๆ ที่คนในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอกบัวตระหนัก ในขณะนี
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นสถานที่ต้อนรับคณะศึกษาดูงานที่หลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ เป็นสถานที่บรรยายสรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมในชุมชน ทำให้เห็นภาพรวม ก่อนที่ลงเยี่ยมฐานเรียนรู้ของชุมชน
1.ฐานการเรียนรู้การจักสานเข่ง
ชาวบ้านบัว มีอาชีพหลักคือ การทำนา นอกฤดูการทำนา ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านว่างงาน ประกอบกับทางหมู่บ้านมีต้นไผ่รวกที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และปลูกเพิ่มเติม ในเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ และได้นำเอาต้นไผ่เหล่านั้นมาจักสานเป็นสุ่มไก่ และเข่ง ทำให้มีรายได้มาประมาณ 20 กว่าปีมาแล้ว ต่อมาได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มจักสานเข่งและสุ่มไก่ นับว่าเป็นอาชีพเสริมที่ทำรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดีและมีตลาดรองรับที่แน่นอนและส่งออกจำหน่ายทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด
2.ฐานการเรียนรู้การจักสานสุ่มไก่
ผลิตภัณฑ์อีกผลิตภัณฑ์หนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังพอๆกับแข่ง นั่นก็คือ “สุ่มไก่” ขั้นตอน วิธีการการจักสานสุ่มไก่ที่ออกมา มีมาตรฐานการวัด และแบบแต่ละขนาด ตามที่ลูกค้าต้องการ สุ่มไก่ที่นี่มีชื่อเสียงด้านคุณภาพ และความมีมาตรฐานของผลิตภัณฑ์
3.ฐานเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ นายบุญมี สองคำชุม พ่อตัวอย่างแห่งปี 2554 ของจังหวัดพะเยา พ่อบุญดีท่านอาศัยอยู่ที่บ้านบัวเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ พ่อบุญมีปลูกผักปลอดสารพิษ และทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (หน่อกล้วยและหอยเชอรรี่)
4.ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจตามรอยพ่อ
นายเจริญ คำโล เป็นครัวเรือนต้นแบบชีววิถีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และบุคคลดีเด่นด้านการดำเนินชีวิตตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียง โดยกิจกรรมในครัวเรือนประกอบด้วย การลดรายจ่าย ปลูกผักสวนครัวทานเอง การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ปลูกองุ่น และปลูกพุทราพันธุ์ใต้หวัน
5. ฐานเรียนรู้พลังงานทดแทน
นายเสาร์แก้ว ใจบาล มีชื่อเสียงด้านปราชญ์ชาวบ้านด้านพลังงานทดแทน คิดค้นพลังงานทดแทน ด้วยการสร้างเตาแกลบชีวมวล ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและรักษาสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันผลงานของพ่อเสาร์แก้วได้ขยายผลต่อไปยังชุมชนอื่นๆ พลังงานทดแทนชีวมวล คือ สารอินทรีย์ทั่วไปจากธรรมชาติที่จะสะสมพลังงานเก็บไว้ในตัวเอง และสามารถนำพลังงานของมันที่เก็บสะสมเอาไว้มาใช้ประโยชน์ใน ตัวอย่างของสารอินทรีย์ตอนนั้น เช่น เศษยาง เศษไม้ เศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรหรือจากการอุตสาหกรรม เช่น ขี้เลื่อย ฟาง แกลบ ชานอ้อย เป็นต้น ประโยชน์ของการใช้เตาแก๊สชีวมวลแกลบ คือลดการใช้แก๊ส LPG ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป
6.ฐานการเรียนรู้ฝายชะลอน้ำ
ชุมชนบ้านบัว เป็นชุมชนที่อยู่ต้นน้ำ โดยมีอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ตุ่น อยู่เหนือชุมชน และไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ชุมชนนี้เป็นชุมชนที่มีส่วนร่วมสำคัญในการอนุรักษณ์ต้นน้ำแห่งนี้ ให้เป็นน้ำสะอาด ปลอดสารเคมีก่อนที่จะไหลลงสู่พื้นที่ใกล้เคียงที่อยู่กลางน้ำและปลายน้ำ และชุมชนยังได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อเก็บรักษาน้ำไว้ในการเกษตรในหมู่บ้าน
7.ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงด้วงกว่าง
นายบรรพต ปัถวี ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเพาะเลี้ยงด้วงกว่าง เป็นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชุมชน โดยเน้นการรักษาระบบนิเวศให้สมบูรณ์ เปิดให้มีการศึกษาดูงานทั้ง นักศึกษา คนในชุมชนต่าง ๆ ในการเพาะเลี้ยงด้วงกว่างนี้ยังจะช่วยอนุรักษณ์พันธุ์ ของด้วงกว่างแล้วยังช่วยในการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์นำไปบำรุงดินได้อีกด้วย
8.ฐานเรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์..ชุมชนบ้านบัว มีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์กว่า 1,000 ไร่ ปลูกข้าวอินทรีย์ ปลอดสารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทำให้ข้าวอินทรีย์ของบ้านบัว ปลอดสารเคมี ตลอดทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทำให้ข้าวอินทรีย์ของบ้านบัว หอมอร่อย และปลอดสารพิษ มีคุณภาพต่อร่างกาย ปัจจุบันได้ส่งข้าวอินทรีย์ออกจำหน่ายไปทั่วประเทศ
9.ฐานการเรียนรู้อาชีพการทำฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่..ได้มีการส่งเสริมอาชีพ และรวมกลุ่มของผู้ที่มีทักษะทางด้านช่าง เพื่อที่จะผลิตฟอร์นิเจอร์นี้ทำจากไม้ไผ่ เช่น แคร่นั่ง ชั้นวางของ เป็นต้น
10. ฐานการเรียนรู้อาชีพการปลูกองุ่น
ชุมชนบ้านบัวแห่งนี้ นักท่องเที่ยวหรือคณะศึกษาดูงาน จะสามารถเข้าเยี่ยมชม เกษตรกรที่ทำอาชีพปลูกองุ่น ของนายปรีชา ใจบาล เกษตรกรแนวใหม่ ที่ได้ศึกษาเรียนรู้การปลูกองุ่น จนได้ผล และสร้างรายได้เป็นอย่างดี และยังสามารถถ่ายทอดไปยังเกษตรกรอื่นๆ ที่สนใจได้อีกด้วย
ด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว เชิงเศรษฐกิจพอเพียง ทางชุมชนได้จัดบริการบ้านพักโฮมสเตย์ จำนวน 11 หลัง เพื่อบริการนักท่องเที่ยว หรือคณะศึกษาดูงาน ที่ประสงค์พักค้างศึกษาเรียนรู้วิถีพอเพียงของคนในชุมชน อาทิเช่น ทดลองฝึกฝนการจักสานเข่งหรือสุ่มไก่ หรือการเรียนรู้ทดลองการดำนา หรือเกี่ยวข้าว เป็นต้น