Advance search

หมู่บ้านเลี้ยงช้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 

ตากลาง
กระโพ
ท่าตูม
สุรินทร์
วุฒิกร กะตะสีลา
3 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
7 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
28 ก.ค. 2023
ตากลาง

ตากลางคือช่องกลาง เพราะพื้นที่ของชุมชนสองข้างทางนั้นเป็นดงและมีช่องหรือชุมชนอยู่กลางดง คำว่า "ตา" แปลว่า ช่อง ฉะนั้น "ตากลาง" จึงแปลว่า “ช่องกลาง” (อเนก นาวิกมูล.บ้านตากลางเลี้ยงช้าง.ศิลปวัฒนธรรมปีที่ 41 ฉบับที่4:32-45, กุมภาพันธ์ 2563)


ชุมชนชาติพันธุ์

หมู่บ้านเลี้ยงช้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 

ตากลาง
กระโพ
ท่าตูม
สุรินทร์
32120
15.26851819
103.4998342
องค์การบริหารส่วนตำบลกระโพ

บ้านตากลางตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ คือดินแดนแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งลุ่มน้ำมูลที่อุดมสมบูรณ์ได้ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารทางธรรมชาตินานาชนิด เป็นดินแดนที่ชาวกวยเลี้ยงช้างอาศัยอยู่ ชาวกวยเลี้ยงช้างหลายชีวิตได้อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างให้อภัยในระบบพึ่งพาอาศัยกันเป็นเวลาหลายชั่วอายุคนในภูมิปัญญาชาวบ้านสอน ลูกหลานให้เคารพในกฎของธรรมชาติไปลามาไหว้ทุกคนต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การเคารพช้างก็เท่ากับเคารพศาลปะกำ การเคารพศาลปะกำก็เท่ากับเคารพบรรพบุรุษ คนกับช้างเปรียบเสมือน สมาชิกในครอบครัวมีความผูกพันกันอย่างแนบสนิทตามฐานะอายุของช้างและคนถ้าช้างมีอายุมากกว่าก็เปรียบช้างเสมือน พี่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ถ้าช้างมีอายุน้อยกว่าก็เปรียบช้างเสมือน น้อง ลูก หลาน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องสูญเสียหรือล้มตายไปผู้อยู่ก็เสียใจเป็นธรรมดา สุดท้ายก็ทำบุญอุทิศ ส่วนกุศลให้ตามฐานะ

ชาวกวยเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รักสงบ สามัคคี เป็นคนมีระเบียบวินัย มีเอกภาพในสังคม ความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน คือ ความอลังการอันน่าอัศจรรย์ผสมผสานระหว่างคนกับช้างและมีความสามารถพิเศษ คือ การจับหรือคล้องช้างป่ามาฝึกหัดและเลี้ยงไว้ใช้งาน ชาวกวยจะจับช้างป่าด้วยวิธีการแทรกโพน คือ การนั่งคอช้างต่อ (ช้างบ้าน) ไล่ช้างป่าแล้วใช้เชือกหนังปะค่าคล้องเท้าช้างป่า ผู้ที่มีความสามารถในการโพนช้าง เรียกว่า หมอช้าง แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ 5 ระดับ ระดับสูงสุด เรียกว่า กำลวงพืดหรือครูบาใหญ่ รองลงมาเรียกว่า หมอสะดำ หมอสะเดียง และหมอจา ตามลำดับ ส่วนผู้ช่วยหมอช้างในการออกจับช้างป่า เรียกว่า มะ หรือควาญช้าง ชาวกวยจะเรียกช้างป่าว่าเทวะดา เมื่อจับช้างป่ามาได้แล้วจะนำมาฝึกเป็นช้างบ้าน เรียกว่า อาเจียง หมอช้างจะใช้ภาษาพิเศษในการออกโพนช้างป่า เรียกว่า ภาษาผีปะกำ หมอช้างชาว กวย ได้สั่งสมประสบการณ์ในการโพนช้างจากรุ่นสู่รุ่นสืบทอดกันมายาวนานนับพันปี ท่าให้เกิดความรู้ทางคชศาสตร์คชเวชอันน่าอัศจรรย์ยิ่ง (ภูวดล สุวรรณบุตร, 2560, 10-11)

ตากลางเป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ในจังหวัดสุรินทร์มีพื้นที่ราว 1 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตการปกครองของตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม ตากลางตั้งอยู่ในบนเนินที่มีลักษณะลาดเอียงลงไปทางทิศเหนือไปจนจรดบริเวณที่ล่าน้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูล ที่เรียกว่า “วังทะลุ” ตากลางจึงเป็นหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยพื้นที่ลาดต่ำที่ใกล้น้ำจะมีลักษณะเป็นกุดเป็นหนอง มีป่าบุ่งป่าทาม (ป่าที่น้ำท่วมถึง) ที่ชาวบ้านใช้เป็นแหล่งเลี้ยงช้าง รวมถึงเป็นแหล่งอาหาร

นอกจากนี้ตากลางยังมีป่าเต็งรังผืนใหญ่สองผืนใหญ่สองผืนขนาบอยู่สองด้าน ป่าทางทิศตะวันออก ชาวบ้านเรียกว่า "ดงสายทอ" มีพื้นที่ประมาณ 12,968 ไร่ และป่าที่อยู่ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก เรียกว่า "ดงภูดิน" บ้านตากลางมีพื้นที่ติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงหลายหมู่บ้านซึ่งถือเป็นบ้านพี่บ้านน้อง โดยมี บ้านหนองบัว บ้านตาทิตย์ และบ้านภูดินอยู่ทางทิศตะวันตก มีบ้านหนองอีคูณ บ้านศาลาอยู่ทางทิศ ตะวันออก บ้านจินดาและบ้านกระโพ อยู่ทางทิศใต้ ส่วนด้านทิศเหนือจะเป็นพื้นที่ท่านาของหมู่บ้าน ไปจนจรดป่าทามส่วนฝั่งตรงกันข้าม แม่น้ำมูล เป็นบ้านยางบ่อภิรมย์ บ้านผักบุ้ง ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี และฝั่งตรงข้ามข้ามล่าชี คือ บ้านตราด ตำบลท่าม่วง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ (ภูวดล สุวรรณบุตร, 2560 : 12-13)

ชุมชนชาติพันธุ์กวยหรือกุย

กูย

บ้านตากลางแม้จะเป็นหมู่บ้านที่มีโครงสร้างมาจากสังคมคนเลี้ยงช้างผู้สืบทอดวิชาคชศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ลึกลับแต่ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในหมู่บ้านนั้น ยังคงมีลักษณะของสังคมช่วยเหลือที่สมาชิกจะเกื้อกูลกันเช่นสังคมไทยทั่วไป โดยสมาชิกในครัวเรือนจะประกอบด้วยคน หลายวัย ผู้มีอาวุโสกว่าจะเป็นผู้ชี้นำผู้ที่อ่อนกว่า โดยต่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน สตรีชาวกวยจะมีหน้าที่ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของบ้านช่องและดูแลเครื่องนุ่งห่มของคนในครอบครัว ซึ่งสตรีชาวกวยจะ ได้รับการฝึกหัดให้รู้จักการปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม และทอผ้าในทุกขั้นตอนมาตั้งแต่เล็ก ๆ  ส่วน ผู้ชายก็จะทำงานที่ใช้แรงงาน เช่น ปั้นแต่งคันนา ล่าสัตว์หาอาหาร ขุดบ่อน้ำจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือน หรือศึกษาเกี่ยวกับการดูแลเลี้ยงช้างแต่ในยามจำเป็นไม่ว่าเด็กชายเด็กหญิง คนหนุ่มสาว หรือคนแก่ก็จะลงแรงช่วยเหลือกัน เช่น ไถนา ดำนา หรือเกี่ยวข้าวเพราะเป็นงานที่ต้องทำแข่งกับเวลา ซึ่งลักษณะสังคมแบบนี้ท่าให้ชาวบ้านตากลาง ที่เป็นกลุ่มเครือญาติมักจะปลูกบ้านอยู่ในละแวกเดียวกันและที่น่าสนใจคือคนในหมู่บ้านตากลางจะมีนามสกุลซ้ำ ๆ กัน โดยมีนามสกุล “ศาลางาม” และนามสกุล “จงใจงาม” เป็นสกุลใหญ่ของหมู่บ้าน (ภูวดล สุวรรณบุตร, 2560 : 16)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ตากลางเป็นหมู่บ้านหลายภาษาคือ มีทั้งภาษาที่สื่อสารระหว่างคนและภาษาที่เกี่ยวกับช้าง สมาชิกของบ้านตากลางจึงถือเป็นผู้รู้ทางภาษา ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ใกล้เคียงมีชาวไทยเชื้อสายเขมรและลาวปนอยู่มาก ทำให้ชาวบ้านตากลางสามารถพูดได้หลายภาษา คือ ภาษากวย ภาษาเขมร ภาษาลาวและภาษาไทยกลางซึ่งเป็นภาษาราชการ แต่ส่าหรับภาษากวยนั้นถือเป็นภาษาหลักของบ้านตากลาง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ผีปะกำ

ผีปะกำ คือ ผีที่สิงสถิตย์อยู่ในหนังปะกำ ชาวกวยเชื่อว่าเชือกปะกำที่เขาใช้ในการคล้องช้าง คือ ที่รวมของวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นพระครูปะกำ หมอช้างต้นตระกูลและญาติพี่น้องที่ล่วงลับ ผีปะกำจึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวบ้านตากลาง เชือกปะกำนี้ทำจากหนังกระบือ 3 ตัว นำมาฟั่นเกลียวให้เป็นเชือกยาวประมาณ 40 เมตร ปลายข้างหนึ่งทำเป็นบ่วงบาศในยามที่ไม่ได้ออกคล้องช้าง จะจัดเก็บไว้บนศาลปะกำโดยศาลนี้จะมีลักษณะเป็นหอสูงมีสี่เสาหันหน้าไปทางทิศเหนือ ชาวกวยเลี้ยงช้างเชื่อว่าหากจะทำกิจการอันใดต้องทำพิธีเซ่นไหว้เพื่อบอกกล่าวขอพรผีปะกำก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อเสี่ยงทายผลที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ โดยชาวกวยจะตรวจดูกระดูกคางไก่ที่ใช้ประกอบในพิธีเซ่นไหว้ ถ้าหากผลของการเสี่ยงทายออกมาดี เช่น กระดูกอ่อนคางไก่เหยียดตรงหรือโอนเล็กน้อยก็ประกอบกิจกรรมนั้นได้ด้วยความมั่นใจ แต่ถ้าตรงกันข้ามเช่นกระดูกคาง ไก่กอดอกโค้งม้วนเข้าหาโคนชาวกวยเรียกว่า "กอดอก" ถือว่าไม่ดีและจะยกเลิกกิจกรรมนั้นเสีย เช่น ตั้งใจว่าจะนำช้างไปแสดงที่ต่างถิ่นแต่หากผลการตรวจคางไก่ออกมาไม่ดีก็ต้องงดการเดินทาง ในเรื่องความเชื่อที่เกี่ยวกับผีปะกำนี้นอกจากเรื่องของการเซ่นไหว้เพื่อขอพรและเสี่ยงทายอนาคตแล้ว ชาวตากลางเชื่อว่าหากกระทำผิดใด ๆ ต่อข้อห้ามของปะกำ (ผิดปะกำ) จะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ร้ายกับคนในครอบครัวหรือไม่ก็เกิดกับช้าง เช่น ช้างนั้นเจ็บป่วย ทำร้ายคนเสียชีวิตหรือเกิดอาละวาดดุร้ายขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ศาลปะกำนี้หากบ้านไหนที่เลี้ยงช้างแต่ไม่ได้ยกศาลขึ้นใหม่ก็จะอาศัยศาลดั้งเดิมของบรรพบุรุษซึ่งอยู่ตามบ้านญาติ พี่น้อง เป็นที่ประกอบพิธี (ภูวดล สุวรรณบุตร, 2560 : 19-20)

ภูวดล สุวรรณบุตร. (2560). โครงการออกแบบสื่อวัฒนธรรมเกี่ยวกับช้างของชาวกวย จังหวัดสุรินทร์. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร

อเนก นาวิกมูล. บ้านตากลางเลี้ยงช้าง. ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 41 ฉบับที่ 4, 32-45 : กุมภาพันธ์ 2563

หมู่บ้านเลี้ยงช้างบ้านตากลาง.(2563).หมู่บ้านเลี้ยงช้างบ้านตากลาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566เข้าถึงได้จาก https://cbtthailand.dasta.or.th/