Advance search

ชุมชนชนบทที่พึ่งพาธรรมชาติมีความเชื่อและสักการะหลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ 

หมู่ที่ 10, 11
เสือโก้ก
เสือโก้ก
วาปีปทุม
มหาสารคาม
วุฒิกร กะตะสีลา
1 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
3 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
28 ก.ค. 2023
บ้านเสือโก้ก

มีเรื่องเล่าในชุมชนว่าในพื้นที่ตั้งของชุมชนมีหนองน้ำแห่งหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์มีสัตว์ป่าลงมากินน้ำอยู่ประจำ วันหนึ่งมีเสือลงมากินน้ำที่หนองน้ำดังกล่าวพอถึงบริเวณหนองน้ำจึงได้พบกับคนเล่นน้ำอยู่เสือจึงตกใจวิ่งหนีและร้องเสียง “โฮ้กๆ” หนองนี้จึงตั้งชื่อว่าหนองเสือโฮ้ก จนกระทั่งเพี้ยนและออกเสีงเสียงเป็นหนองเสือโก้ก และมีการตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในพื้นที่นี้จึงไดตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านเสือโก้ก”


ชุมชนชนบท

ชุมชนชนบทที่พึ่งพาธรรมชาติมีความเชื่อและสักการะหลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ 

เสือโก้ก
หมู่ที่ 10, 11
เสือโก้ก
วาปีปทุม
มหาสารคาม
44120
15.93719132
103.4422539
องค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก

บ้านเสือโก้ก ตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พื้นที่ก่อนมีการตั้งหมู่บ้านแต่เดิมเต็มไปด้วยป่าดงกว้างขวาง มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยทั้ง ลิง ค้าง บ่าง ชะนี กระรอก กระแต หมูป่า เก้ง กวาง เสือและแรด ที่เชื่อว่ามีแรดอาศัยอยู่เนื่องจากมีหนองน้ำที่ในเขตชุมชนสมัยก่อนมีผู้คนเล่าว่าพบแรดในหนองน้ำเหล่านี้ การเข้ามาของผู้คนที่ตั้งหมู่บ้านไม่ปรากฏปีพ.ศ. ที่เข้ามาและกลุ่มคนที่เข้ามาคือใครหากแต่เป็นผู้คนจากพื้นที่อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เข้ามาสมทบกับกลุ่มคนจากบ้านเปลือย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เดินทางมาทางทิศตะวันตกเป็นเวลาหลายวัน ได้พบกับพื้นที่แห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในการดูแลของอำเภอวาปีปทุมมีผู้คนอาศัยอยู่ก่อนแล้วประมาณ 5-6 หลังคาเรือน ให้ชื่อหมู่บ้านในตอนนั้นว่า บ้านโคกสีนาดี เห็นว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการตั้งหมู่บ้านกลุ่มคนที่มาจากสุวรรณภูมิและร้อยเอ็ดจึงถากถางป่าเพื่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หลายปีต่อมามีผู้คนเพิ่มมากขึ้นมีการตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านเพื่อดูแลสารทุกข์สุกดิบของผู้คน มีการสร้างถนน มีโรงเรียน อีกทั้งยังมีเกจิอาจารย์ดังของบ้านเสือโก้ก คือหลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ อาชีพของคนบ้านเสือโก้กส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา

พื้นที่ของบ้านเสือโก้กมีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนอื่นดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านไก่นา ตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศใต้ ติดกับ บ้านสารคามพัฒนา ตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านเสือโก้ก หมู่11 ตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • เดือนอ้าย : บุญข้าวกรรม
  • เดือนยี่ :  บุญคูนลาน
  • เดือนสาม :  บุญข้าวจี่
  • เดือนสี่ :  บุญเผวส
  • เดือนห้า :  บุญสงกรานต์
  • เดือนหก :  บุญบั้งไฟ
  • เดือนเจ็ด :  บุญชำฮะ
  • เดือนแปด :  บุญเข้าพรรษา
  • เดือนเก้า :  บุญข้าวประดับดิน
  • เดือนสิบ :  บุญข้าวสาก
  • เดือนสิบเอ็ด :  บุญออกพรรษา
  • เดือนสิบสอง :  บุญกฐิน

1. หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ  เป็นผู้ที่มีความสำคัญของคนในชุมชนบ้านเสือโก้ก ซึ่งท่านได้พัฒนาหมู่บ้านเสือโก้กให้มีความเจริญรวมไปถึงการมีลูกศิษย์ที่เป็นสามเณรจากต่างถิ่นเข้ามาในพื้นที่ หลวงปู่ซุน ไม่เพียงแต่เป็นพระนักพัฒนาแต่ยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจหรือศูนย์รวมความเชื่อของคนในชุมชนบ้านเสือโก้กด้วย อีกทั้งยังมีเครื่องรางของขลังทั้งเหรียญหลวงปู่ ตะกรุดและอื่น ๆ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ใช้ภาษาอีสานในการสื่อสารและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นิรันดร์ เดชบุรัมย์. (2545). การวิเคราะห์ชุมชนบ้านเสือโก้ก หมู่ที่ 10 ตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. สาขาการจัดการและประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อรนุช ไปป่า. (2545). การวิเคราะห์ชุมชนบ้านเสือโก้ก หมู่ที่ 11 ตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. สาขาการจัดการและประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วัดเสือโก้ก หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ. (2566). วัดเสือโก้ก หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.108prageji.com/

หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ .(2566). หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.108prageji.com/

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. (2564). จำหน่ายสินค้าในวันประชุมประจำเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน. สืบค้นเมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://district.cdd.go.th/wapi/