เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกมาบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า สบรวก เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทย ลาว พม่า บริเวณนี้จึงเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญ และยังมีทัศนียภาพสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม
ตั้งอยู่บริเวณที่แม่น้ำรวกและแม่น้ำโขงไหลบรรจบกัน จึงเรียกว่า สบรวก
เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกมาบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า สบรวก เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทย ลาว พม่า บริเวณนี้จึงเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญ และยังมีทัศนียภาพสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม
"สามเหลี่ยมทองคำ" เป็นแนวตะเข็บชายแดนรอยต่อสามประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว มีพื้นที่ประมาณ 1.5 แสน ตร.ม. ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีชนกลุ่มน้อย กองกำลังติดอาวุธอาศัยอยู่หลายกลุ่ม พื้นที่แถบนี้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าเป็นแหล่งปลูกฝิ่นและผลิตยาเสพติดแหล่งใหญ่ มีโรงงานผลิตเฮโรอีนกระจายอยู่ตามตะเข็บชายแดน การลำเลียงฝิ่นใช้คาราวานล่อลัดเลาะไปตามไหล่เขา มีกองกำลังคุ้มกัน ราคาซื้อขายยาเสพติดว่ากันว่าแลกเปลี่ยนด้วยทองคำ ในน้ำหนักที่เท่ากัน ยางข้นเหนียวของฝิ่นดิบ จึงถูกเรียกว่า ทองคำ พื้นที่แถบนี้จึงถูกขนานนามว่า "สามเหลี่ยมทองคำ"
สามเหลี่ยมทองคำในเขตประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บ้านสบรวก หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ชุมชนนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำาโขง ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว บรรจบกับแม่น้ำรวกบริเวณตอนบนของหมู่บ้าน เดิมชาวสบรวกเรียกชื่อหมู่บ้านของตนว่า “บ้านเมืองเกี๋ยง” เพราะลำห้วยเกี๋ยงไหลผ่านชุมชน ชาวบ้านใช้น้ำจากลำาห้วยนี้ เพื่ออุปโภคบริโภคและทำาการเกษตร หลังจากหน่วยงานราชการทำการสำรวจสำมะโนครัวเมื่อปี พ.ศ. 2481 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านสบรวก ตามลักษณะการบรรจบกันของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวก
สบรวกเป็นชุมชนเก่าแก่ จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสพบว่า หมู่บ้านแห่งนี้มีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ ก่อนการตั้งถิ่นฐานของชาวสบรวก เพราะพบซากกำแพงเมืองและเศษอิฐปรักหักพังทั่วบริเวณ เพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ชุมชนสบรวก สามาถรถแบ่งพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านสบรวกได้ 3 ช่วงเวลา โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) หมู่บ้านสบรวกยุคแรกเริ่ม (พ.ศ. 2481- พ.ศ. 2516)
สบรวกเป็นชุมชนพหุชาติพันธุ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2446 ชาวไทใหญ่จากเมืองสาด เมืองพง รัฐฉานในเมียนมาร์ เริ่มอพยพหลบหนีภัยสงครามและภาวะโรคระบาดเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานที่บ้านสบรวก นอกจากนีมี้คนไทลื้อ และคนท้องถิ่น ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าคนไทใหญ่ เลือกเดินทางมาตั้ง ถิ่นฐานที่บ้านสบรวก เพราะเป็นพื้น ที่เหมาะสมต่อการตั้ง ชุมชน มีพื้น ที่ราบ และหนองน้ำ เพื่อทำการเกษตร หาปลาหรือของป่า อีกทั้ง มีต้นไม้ขนาดใหญ่โดยเฉพาะไม้สักที่มีความแข็งแรงเหมาะแก่การนำมาสร้างที่อยู่อาศัย การตั้ง หมู่บ้านระยะแรกมีสมาชิกประกอบด้วย 4 ครอบครัวใหญ่คือ พรหมปัญญา โกฏยี่ คำซอน และนันทวดี ต่อมาคนสบรวกเริ่มชักชวนเครือญาติจากบ้านเกิด ให้อพยพมาอาศัยที่บ้านสบรวก และสามารถจับจองที่ดินตามที่ตนต้องการ สบรวกยุคแรกเริ่มเป็นชุมชนขนาดเล็ก ชาวบ้านตั้ง บ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน เพราะกลัวอันตรายจากสัตว์ชาวบ้านมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติทั้งภายในชุมชนและแบบข้ามแดน กล่าวคือ คนสบรวกสามารถรักษาสายสัมพันธ์ข้ามแดนกับเครือญาติ ซึ่งอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านเดิมในเมียนมาและสปป.ลาว เห็นได้จากการเดินทางไปเยี่ยมญาติ หรือการแบ่งปันเครื่องใช้ ข่าวสารซึ่งกันและกัน
2) บ้านสบรวกในวิถีการเปลี่ยนแปลงของรัฐไทยและประเทศเพื่อนบ้าน (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2540)
นโยบายของรัฐไทยและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านล้วนส่งผลต่อหมู่บ้านสบรวกในฐานะหมู่บ้านชายแดน ซงึ่ สัมพันธ์กับอำนาจจากรัฐส่วนกลาง และได้รับผลกระทบจากสภาพการเมืองของสปป.ลาว กล่าวคือเมื่อ พ.ศ. 2518 คณะประชาชนปฏิวัติลาว ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นการปกครองภายใต้ระบบสังคมนิยมพร้อมเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของ สปป.ลาว ส่งผลกระทบต่อวิถีการผลิตของคนสบรวก เพราะไม่สามารถเดินทางข้ามแม่น้ำ โขงไปใช้ที่ดินฝั่งสปป.ลาวนอกจากนี้การพัฒนาเศรษฐกิจด้วยธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้การประกอบอาชีพของคนสบรวกมีวิถีที่ต่างจากอดีตกล่าวคือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517-2518 สามเหลี่ยมทองคำซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอาณาบริเวณครอบคลุมหมู่บ้านสบรวกเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งท่องเที่ยว เมื่อนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมาชมทัศนียภาพของสามเหลี่ยมทองคำและแม่น้ำ โขงมีจำนวนเพิ่มขึ้นกระทั่งผู้ใหญ่บ้านบ้านสบรวกในขณะนั้น คือ นายสาย ภิระบรรณ นายม้าว พรหมปัญญา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และดาบตำรวจศักดิ์ มีแนวคิดสร้างแผ่นป้ายด้วยไม้สักแกะสลักเป็นคำว่า “สามเหลี่ยมทองคำ” เพื่อประชาสัมพันธ์ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำให้สังคมภายนอกรู้จักและเป็นจุดถ่ายภาพของนักท่องเที่ยวอีกด้วยบ้านสบรวกเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง ที่ชาวต่างชาติเดินทางมาเยือนเพราะมีเขตติดต่อกับบ้านดอยสะโง้ ซึ่งเป็นหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ความหมายของสามเหลี่ยมทองคำที่ถูกกล่าวถึงในฐานะแหล่งแลกเปลี่ยนฝิ่นกับทองคำ คำบอกเล่าลักษณะนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากงานเขียนและเรื่องเล่าที่ชาวต่างชาติเหล่านี้นำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ
3) หมู่บ้านสบรวกยุคทุนนิยมและการพัฒนาตามกรอบภูมิภาคนิยม (พ.ศ.2540-ปัจจุบัน)
หลังเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อปี พ.ศ. 2540 สามเหลี่ยมทองคำ บ้านสบรวกได้รับการเยียวยาสภาพเศรษฐกิจ จากภาครัฐด้วยความคาดหวังว่าโครงการพัฒนาจะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว และฟื้นฟูบรรยากาศการท่องเที่ยวการค้าบริเวณชายแดนให้กลับมาเฟื่องฟูดังเดิม โครงการแรกคือ การปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ จากนั้นมีการจัดมหกรรมคอนเสิร์ตมิตรภาพสามเหลี่ยมทองคำ เมื่อวันที่ 23-25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้ง มีการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product:OTOP) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของท้องถิ่น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวที่สามเหลี่ยมทองคำเพิ่มขึ้น ต่อมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ซึ่งให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจโดยเฉพาะมิติท่องเที่ยวและบริการ ด้วยการส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียนและอินโดจีน เห็นได้จากการพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานเพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านนอกจากนี้รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ให้สามารถรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยตั้ง เป้าหมายว่าการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว และบริการสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ รวมถึงเพิ่มอัตราการจ้างงานและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
เทศบาลตำบลเวียง มีประชากร 2,282 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 8,366 คน แยกเป็น ชาย 3,674 คน หญิง 4,692 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 262 คน / ตารางกิโลเมตร
การประกอบอาชีพของคนสบรวกเริ่มสัมพันธ์กับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เห็นได้จากช่วงปี พ.ศ. 2518 ชาวบ้านสบรวกเริ่มนำผลผลิตทางการเกษตรที่ตนเพาะปลูกได้ เช่น มันแกว ส้มโอ มะพร้าว มาจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว เมื่อการท่องเที่ยวมีบทบาทต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนสบรวกเพิ่มขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการจัดสรรผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มตั้ง สหกรณ์เพื่อจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ระยะแรกเป็นสินค้าที่คนสบรวกผลิตเอง เช่น ไม้กวาดทางมะพร้าว เครื่องจักสาน มันเกรียบ และผลไม้
นอกจากนี้ชาวบ้านเดินทางไปซื้อเครื่องปั้นดินเผาจากเมืองพงในเมียนมาร์เพื่อนำมาจำหน่าย ต่อมาชาวบ้านเริ่มผลิตเครื่องปั้นดินเผาภายในชุมชน ใช้ดินจากห้วยน้ำเย็นเป็นดินที่มีคุณภาพเหมาะต่อการนำมาทเครื่องปั้นดินเผา อีกทั้งชาวบ้านได้คิดค้นพัฒนารูปทรงเครื่องปั้นดินเผาให้มีความหลากหลายเป็นภาชนะที่สามารถใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและตกแต่งที่อยู่อาศัยได้ รูปแบบสินค้าที่ระลึกเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยว จากผลผลิตทางการเกษตรและเครื่องปั้นดินเผา เมื่อปี พ.ศ. 2528 คนสบรวกเริ่มจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ประเภทเสื้อ ผ้าสำเร็จรูป ไม้แกะสลัก เครื่องปั้นรูปคน เครื่องเขิน ที่รองแก้วฯลฯ สินค้าเหล่านี้ชาวบ้านไปซื้อจากตลาดชายแดนอำเภอแม่สาย แล้วนำมาขายให้แก่นักท่องเที่ยวช่วงนี้คนสบรวกจำนวนมากเริ่มเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรรมเป็นอาชีพค้าขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยว
ทุนวัฒนธรรม
1.) พระพุทธนวล้านตื้อ
พระพุทธนวล้านตื้อ เชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งอยู่ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ก่อสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.99 เมตร สูง 15 เมตร ประดิษฐาน ณ บริเวณริมแม่น้ำโขงของสามเหลี่ยมทองคำ พระพุทธนวล้านตื้อ เชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นองค์แทนพระเจ้าล้านตื้อองค์จริงที่เชื่อว่าจมน้ำอยู่
ตำนานของพระเจ้าล้านตื้อว่ากันว่าเชียงแสนในยุคก่อนมีเกาะเก่าแก่กลางลำแม่น้ำโขง เป็นที่ตั้งของ วัดพระเจ้าทองทิพย์ อันเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระพทุธรูปสำริดขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านกล่าวขานนามว่า “พระเจ้าล้านตื้อ” แปลว่าองค์พระนี้มีขนาดและน้ำหนักมาก สันนิฐานว่าองค์พระคงจมลงไปพร้อมกับเการะดอนแท่น ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณน้ำโขงหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน
ต่อมา พ.ศ. 2479 เห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่โพล่ขึ้นมากลางน้ำที่บริเวณลำน้ำโขงของอำเภอเชียงแสน เป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบโบราณวัตถุทางศาสนา และได้มีการค้นพบมากขึ้น โดยมีความพยายามหลายครั้ง แต่ด้วยบริเวณนั้นเป็นน้ำวนและเชี่ยวมาก การค้นหาพระพุทธรูปที่จมอยู่ในลำน้ำโขง ตั้งแต่การพบครั้งแรกจนกระทั้งถึงทุกวันนี้กว่า 70 ปีแล้วเรื่องราวยังเป็นที่สนใจและถูกเล่าขานผ่านลูกหลานชาวเชียงแสน เมื่อสืบทอดผ่านกันมาจึงกลายเป็นตำนานและนิทานพื้นบ้านพระพุทธรูปนวล้านตื้อ
นอกจากนั้นดินแดนเชียงแสนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งประวัติศาสตร์อารยธรรมรวมทั้งพระเจ้าล้านตื้อถือเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงซึ่งหากค้นพบและสามารถนำขึ้นมาจากลำน้ำโขงได้ก็จะอาจมีปัญหาในการอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของจนอาจกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศและพุทธศาสนิกชน ในอนุภาคลุ่มน้ำโขงได้ จึงเห็นชอบร่วมกันว่าควรจะถือเอาพระพุทธรูปเชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯที่ได้จัดสร้างไว้ถวายเป็นมหามงคลแด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ณ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ เป็นองค์แทนพระเจ้าล้านตื้อ โดยร่วมใจกันถวายนามว่า พระพุทธนวล้านตื้อ เชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ประทับนั่งบน“เรือแก้วกุศลธรรม” ขนาดเรือกว้าง 22 เมตร ยาวจากหัวเรือถึงท้ายเรือ 89 เมตร พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างซุ้มประตูโขง พระมหาโพธิสัตว์ มีความสูง 9.99 เมตร ตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติ มีความสูง 17.99 เมตร