ชุมชนชาวลาวที่อนุรักษ์การทอผ้าพื้นเมืองเชียงแสนเอาไว้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ชุมชนชาวลาวที่อนุรักษ์การทอผ้าพื้นเมืองเชียงแสนเอาไว้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในสมัยสงครามอินโดจีน มีชาวลาวอพยพกลุ่มหนึ่งหนีสงรามข้ามแม่น้ําโขงมายังฝั่งไทยมา อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ําโขง ได้บุกเบิกตั้งเป็นหมู่บ้าน อยู่ในความปกครองของบ้านเวียงใต้หมู่บ้าน 3 ตําบลเวียง อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีนายเพ็ง พลสวัสดิ์ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ต่อมามีผู้คน อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นจึงได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย ให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านในปี พ.ศ. 2490 โดยใช้ชื่อหมู่บ้านว่าบ้านสบคํา หมู่ 5 ตําบลเวียง อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายเพ็ง พลสวัสดิ์ ในปี พ.ศ. 2523 ทางราชการได้ประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาตนเอง (อพป.) มีผู้ใหญ่บ้านถึงปัจจุบันจํานวน 11 คนบ้านสบคํา เริ่มก่อตั้งเมื่อปลายสงครามอินโดจีน ได้มี ชาวลาวกลุ่มหนึ่งหนีภัยสงคราม อพยพข้ามมา
เพื่อให้เห็นประวัติบ้านสบคําอย่างละเอียดสามารถแบ่งออกเป็น 5 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 หมู่บ้านสบคําเป็นชุมชนเดียวที่สามารถสืบเสาะหาความเป็นมาของการก่อสร้างตัว ชุมชน นับตั้งแต่การอพยพโยกย้าย ชุมชนบ้านสบคําเป็นชุมชนของผู้คนที่มีเชื้อสายชาวลาว(ฝั่งขวา) จากบ้านท่านุ่น แขวงไชยะบุรี ชาวท่านุ่นทําการค้าขายกับเชียงแสน เดินทางโดยเรือถ่อมารับสินค้า ประเภท พริก เกลือน้ําต้น (คนโท) ไปขาย ช่วงแรกมาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบเวียงเก่า เนื่องจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 ทําให้ต้องอพยพอยู่ที่บ้านสบคําในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ทํากิน ปลูกข้าว เพราะเป็นที่บริเวณแม่น้ํามาประสบกันสองสาย คือ แม่น้ําคํา และแม่น้ําโขง (ครั้งแรกเรียกบ้าน ปากคํา ต่อมาจึงเรียกบ้านสบคํา)
ตอนที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2502 ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าให้ฟังเสมอมาว่า ได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้หมู่บ้าน สบคําเป็นครั้งใหญ่ เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น. เกือบทุกหลังคา สาเหตุที่เกิดไฟไหม้ในครั้งนั้น เกิด จากชาวบ้านกลุ่มหนึ่งไปล่าสัตว์ในฝั่งประเทศลาว ยิงได้กวางตัวใหญ่ตัวหนึ่งแล้วนํากวางนั้นมาแบ่ง กันกินเมื่อชาวบ้านกินเนื้อกวางดังนั้นแล้วก็เกิดไฟไหม้บ้านทุกบ้านที่กินเนื้อกวาง ในขณะที่เกิดไฟไหม้ นั้นชาวบ้านบางคนได้เห็นนกตัวหนึ่งอาบเลือดแล้วบินไปจับหลังคาบ้าน ถ้านกตัวนี้ไปจับบ้านหลังไหนบ้านหลังนั้นก็จะถูกไฟไหม้ทันทีชาวบ้านได้ลงความเห็นว่าคงเป็นเรื่องอาถรรพ์ของกวางตัวนั้นอย่างแน่นนอน
เหตุการณ์ครั้งนั้นได้สร้างความเสียหายให้กับหมู่บ้านเป็นอย่างมากต้องน้ําตาตกได้รับความ ทุกข์อย่างหนักชาวบ้านเสียขวัญแทบจะต้องเอากันไปสร้างบ้านเรือนที่อื่นเมื่อได้กําลังใจดีขึ้นบ้างแล้ว จึงพากันก่อสร้างบ้านขึ้นใหม่โดยระดมแรงงานและทรัพย์ในหมู่บ้านและเคลือญาติด้วยกันเองจน เรียบร้อยพออาศัยได้ จึงได้เริ่มบูรณะก่อสร้างวัด และโรงเรียนขึ้นมาใหม่
ตอนที่ 3 เกิดเหตุการณ์น้ําท่วม อําเภอเชียงแสนครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2509 ชาวบ้านสบคําก็ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ต้องอพยพกันขึ้นไปอยู่เชิงดอยคํา (ที่ตั้งวัดพระธาตุผาเงา ปันจุบัน) เมื่อน้ําได้ท่วมผ่านไปแล้ว ทางชาวบ้านได้ช่วยกันพัฒนาปรับปรุงหมู่บ้าน และประกอบอาชีพ ทําสวน ทํา ไร่ ทํานา พื้นที่ประกอบอาชีพนั้นทําทั้งสองฝั่ง ประเทศไทย-ลาว การทํามาหากินเลี้ยงชีพอาศัยหา ปลาแม่น้ํา 3 สาย คือ แม่น้ําโขง แม่น้ํากก แม่น้ําคํา ประเพณีของหมู่บ้าน มีถือประเพณีอยู่กรรมหอเจ้าที่บ้าน จะมีการละเล่นต่างๆช่วงประกอบ พิธีกรรมหอฯ เช่น เล่นมะคอน เล่นสะบ้า ตีลูกข่าง ขี่ไม้โยกเยกแข่งขันกัน และชักเขยื้อ ฯลฯ
เมื่อปี พ.ศ. 2515 ทางรัฐบาลไทยได้ก่อสร้างถนนเส้นเชียงแสน – เชียงของ ขึ้น (ถนนหน้าวัด ปัจจุบัน) เป็นเหตุให้ชาวบ้านบางคนก็ได้ขยับขยายตั้งบ้านเรือนไปก่อสร้างอยู่ริมถนน เมื่อปีพ.ศ. 2519 เจ้าอาวาสวัดสบคํามรณภาพลงทําให้วัดว่างเจ้าอาวาส หลังจากประชุมเพลิงเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. 2517 แล้ว จึงได้ย้ายวัดสบคําเดิมที่ริมแม่น้ําโขงมีเนื้อที่ ไม่มากมาสร้างวัดขึ้นใหม่เชิงดอยคํา ใน ปี พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นวัดร้างมีโบราณสถานมากมาย เมื่อปี พ.ศ. 2519 ชาวบ้านได้ช่วยกันพัฒนาถางป่าบริเวณพระธาตุผาเงา เพื่อเป็นที่สร้างวัด การพัฒนาถางป่าได้ทํากันเสร็จในวันเดี่ยว
ตอนที่ 4 ความเจริญและความเปลี่ยนแปลงเริ่มเข้าสู่หมู่บ้าน หลังจากได้ย้ายวัดขึ้นไปสู่เชิงดอยคํา ในช่วงชาวบ้านสบคําได้พัฒนาวัดที่มาก่อสร้างขึ้นใหม่โดยการบูรณะองค์พระประธานที่หักล้ม พังสลายเหลือเพียงชิ้นส่วนบางอย่างขององค์พระเท่านั้น ชาวบ้านจึงได้ปรึกษาหารือแบ่งงานเป็น หมวดหมู่ช่วยกันเพื่อยกองค์พระประธานที่หักล้มลงให้มีสภาพคงเดิม ในปี พ.ศ. 2519 นั้น การพัฒนาก่อสร้างวัดใหม่ในที่วัดร้างไปในสมัยเมืองเชียงแสนแต่ง โบราณให้เป็นวัดเหมือนดังเดิม ต่อมาชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อ นายจันทา พรหมา ได้นิมิตฝันเห็น พระภิกษุเฒ่าเป็นคนโบราณรูปร่างใหญ่ว่าต่อไปการก่อสร้างวัดแห่งนี้จะให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกยุกห นึ่งในสมัยนี้ขอให้ประกอบพิธีดังนี้ คือบรวงสรวง บวชพระภิกษุ สามเณร บวชพ่อขาว แม่ขาว (อุบาสก อุบาสิกา) อย่างละ 8 รูป/คน แล้วจะเป็นเหตุให้ได้ทรัพย์สมบัติที่สําคัญแล้วจะทําให้สถานที่นี่ เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกยุกหนึ่งสมัยหนึ่ง ชาวบ้านจึงได้ทําตามนิมิตฝันของ พ่อเฒ่าจันทานั้น จึงเป็น เหตุการณ์ที่ไม่คิดไม่ฝันมาก่อน หลังจากชาวบ้านได้ช่วยกันพัฒนาเพื่อจะบูรณะพระประธานให้สําเร็จ
แต่ในช่วงนั้นได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน พ่อเฒ่าจันทา พรหมา ได้ช่วยเพื่อนบ้านปรับบริเวณ ที่ก่อสร้างพระประธานให้ดีขึ้น ก็ได้พบอิฐที่ปูเรียงรายเต็มไปหมดจึงได้งัดเอาอิฐนั้นออกเป็นชั้น ๆ จึง ได้พบหน้ากากที่คนโบราณก่อปิดอําพางไว้อย่างแน่นหนา เมื่อเอาหน้ากากออกจึงได้พบพระพักตร์ พระพุทธรูปสวยงามที่หุ้มด้วยการลงรักปิดทอง ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2519 ชาวบ้านเมื่อได้ทราบ ข่าวจึงได้มานมัสการกราบไหว้เป็นจํานวนมากของแต่ละวัน และได้รับบริจาคจากผู้ที่มานมัสการ พระพุทธรูปนั้น แต่ขาดพระผู้มีความเข้าใจในการพัฒนาวัด ชาวบ้านจึงได้ไปอาราธนาพระอาจารย์คํา แสน คัมภีโร มาเป็นเจ้าอาวาส ได้ดําการเนินการสร้างวัดตั้งแต่บัดนั่นเป็นต้นมา ต่อมาจึงขนานนามว่า “หลวงพ่อผาเงา” เมื่อขุดพบหลวงพ่อผาเงา ได้แล้วทําให้วัด และหมู่บ้านมีความเจริญรุ่งเรือง ตามลําดับ ตอนที่ 5 ได้พัฒนาวัดจนเป็นที่รู้จักขยายไปทั่วประเทศ และต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นองค์ประธาน เจิมแผ่นศิลาฤกษ์ เพื่อก่อสร้างพระบรมธาตุพุทธนิมิตรเจดีย์ ครอบพระเดิม (พระธาตุเจ็ดยอด) เมื่อก่อ โดยท่านผู้หญิงอุศนาปราโมช ณ อยุธยา เป็นผู้ดําเนินการก่อสร้าง เมื่อก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว ได้กราบ บังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเป็น ประธานเจิมฉัตร และทรงพระสุร่ายฉัตร เฉลิมฉลอง พระบรมธาตุพุทธนิมิตรเจดีย์ ในวันที่ 29 มกราคม 2539
บ้านสบคํามีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มบริเวณริมแม่น้ํา โดยมีแม่น้ําสายหลัก 2 สาย คือ แม่น้ําโขง และแม่น้ําคํา
ทิศเหนือ จรด แม่น้ําโขง
ทิศใต้ จรด ทุ่งนาถนนสาธารณะสบคํา-สันธาตุ
ทิศตะวันออก จรด ถนนสาธารณะชนบทสบคํา-สันธาตุ
ทิศตะวันตก จรด ดอยจัน
ผ้าทอลายเชียงแสน บ้านสบคำ
ผ้าทอล้านนาลายเชียงแสน เกิดขึ้นโดยกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองเชียงแสน (วัดพระธาตุผาเงา) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านบ้านสบคำ เมื่อปี พ.ศ.2529 จัดตั้ง กลุ่มทอผ้าด้วยกี่กระตุกโดยการสนับสนุนฝึกอบรมการทอผ้าจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย จนกระทั่งปี พ.ศ.2539 พระครูไพศาลพัฒนาภิรัต (พระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะอำเภอเชียงแสนปัจจุบัน) ได้ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน ทำให้ทราบว่าอดีตมีการทอผ้าลวดลายเชียงแสนมาแต่ดั้งเดิม แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว ท่านจึงได้ก่อสร้าง “พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน” ขึ้นในบริเวณวัดพระธาตุผาเงาเพื่อรวบรวมผ้าทอเชียงแสนและถิ่นใกล้เคียง จึงได้สืบแหล่งทอผ้าเชียงแสนพบว่ามีการทออยู่ที่จังหวัดราชบุรี ท่านจึงได้นำสมาชิกกลุ่มผ้าทอ เพื่อไปศึกษาลายผ้าและนำมาเป็นตัวอย่าง และมีการไปฝึกทอผ้าที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จึงทำให้เกิด “ผ้าทอล้านนาลายเชียงแสน” ขึ้น
ผ้าทอล้านนาลายเชียงแสน เป็นผ้าทอด้วยมือโดยใช้กี่กระตุกในการทอ ใช้เส้นด้ายผ้าฝ้ายและไหมประดิษฐ์ในการทอ มีลวดลายคงเดิมของชาวเชียงแสน ซึ่งถอดแบบจากลายผ้าเชียงแสนโบราณที่ค้นพบในพื้นที่อำเภอเชียงแสน เป็นลายดั้งเดิมมีด้วยกันอยู่ 5 ลาย ประกอบด้วย
1. ลายขอพันเสา
2. ลายเสือย่อย
3. ลายดอกมะลิ
4. ลายกาแล
5. ลายไข่ปลา
ซึ่งได้มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ลายผ้าทั้ง 5 ลายเรียบร้อยแล้ว ผ้าทอลายเชียงแสนมีลักษณะโดดเด่น คือมีการผสมผสานลวดลายทั้ง 5 ลายเข้าด้วยกัน จึงทำให้ผ้าทอมีลวดลายที่สวยงาม นอกจากกลุ่มจะทอผ้าล้านนาลายเชียงแสนแล้ว ยังทอลายน้ำไหล ลายกี่ตะกอ ลายตาราง แบบไทลื้อ หรือทอตามแบบที่ลูกค้าต้องการได้ ในปัจจุบันมีนางอำพร ธรรมวงศ์ เป็นประธานกลุ่ม
ประเพณีในชุมชนลาวบ้านสบคําส่วนใหญ่จะเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เกือบทั้งหมดได้แก่วันมาฆบูชาวันวิสาขบูชาวันอาสาฬหบูชาวันเข้าพรรษาวันออกพรรษาบุญจุลกฐิน บุญผ้าปุางานบวชประเพณีทานข้าวจี่-ข้าวหลาม ส่วนวันสงกรานต์การเกิดงานแต่งงานศพทั้งหมดนี้ แม้ว่าจะเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับคนแต่ด้วยภูมิปัญญาและความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ชาวบ้านจึงได้นํามาประยุกต์เข้ากับตนเองและพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสําคัญ ด้วยทุกครั้งส่วนงานวันสงกรานต์แม้จะเป็นพิธีพราหมณ์แต่บทบาทของวัดและพระสงฆ์ใน พระพุทธศาสนาก็มีส่วนสําคัญต่อประเพณีนี้อย่างมากอย่างไรก็ตามแม้ว่าชาวบ้านจะมีความมั่นคงใน ความเชื่อและประเพณีดังกล่าวแต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในปัจจุบันทําให้ชาวบ้านใน ชุมชนต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปด้วยความเชื่อและประเพณีที่เคยให้ความสําคัญด้วยการร่วมมือร่วมใจ กันจัดทํากิจกรรมเหล่านี้ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแท้จริงปัจจุบันได้กลายเป็นเพียงประเพณีที่จัดขึ้นตามความเชื่อของบรรพบุรุษเท่านั้น ประเพณีที่สําคัญในชุมชนบ้านสบคํา และมีรูปแบบการ เปลี่ยนแปลงจากอดีต ได้แก่ ประเพณีทานข้าวจี่-ข้าวหลาม ประเพณีไหลเรือไฟ
1) ประเพณีทานข้าวจี่ ชาวลาวบ้านสบคํายังนิยมสืบสานประเพณีทานข้าวจี่-ข้าวหลามอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าวิถีชีวิต และวัฒนธรรมการดําเนินชีวิตทุกวันนี้ไม่เป็นเช่นในอดีตก็ตาม เพื่อเป็นการอนุลักษณ์ไว้ให้คนรุ่นหลัง ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันไม่ให้ศูนย์หาย ประเพณีดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 3 ของลาว หรือ เดือนมกราคมตามปฏิทินสากล เป็นเดือนที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วนําไปใส่ยุ้งฉาง ชาวลาวนิยม ทําบุญทําทานก่อนที่ตัวเองจะบริโภค เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่เทพยดา มีแม่โพสพ เป็นต้น ให้ช่วย คุ้มครองดูแลข้าวเปลือกในยุ้งฉางหลองข้าวของตน มิให้สิ่งอื่นใดมารบกวน ทําให้การกินข้าวเปลือก หมดเร็ว บุญข้าวจี่จัดหลังงานมาฆบูชาชาวนาจะนําข้าวจี่ (ข้าวเหนียว) นึ่งสุก ปั้นเป็นก้อนเท่าไข่เป็ด ทาเกลือ นําไปเสียบไม้ย่าง จากนั้นตีไข่ทาให้ทั่วแล้วย่างจนไข่สุก และถอดไม้ออกนําน้ําตาลอ้อยยัดใส่ ตรงกลางเป็นไส้ นําไปถวายพระสงฆ์ในช่วงที่หมดฤดูทํานาแล้ว เพื่อเป็นการทําบุญ ในอดีตก่อนจะถึงวันบุญทานข้าวจี่ชาวบ้านจะพร้อมใจกันเข้าปุาหาฟืนและไม้เสียบข้าวจี่ ไม้ที่ นิยมมาทําฟืนคือ ไม้ติ้ว ซึ่งเป็นไม้ที่ให้ถ่านได้ดี ส่วนไม้ที่นํามาเสียบข้าวจี่คือ ไม้ไผ่ เมื่อได้ไม้พอสมควร แล้วจะนํามารวมไว้ที่วัด ในอดีตชาวบ้านในชุมชนส่วนมากประกอบอาชีพทางกสิกรรมอยู่กับพื้นที่เมื่อ เสร็จงานจากท้องไร่ ท้องนา หรือสวน แล้วมีเวลาว่าง จึงเป็นผลทําให้ชาวบ้านสามารถรวมตัวกันได้ โดยง่ายและสะดวกในการทํากิจกรรมทางสังคมร่วมกัน หนึ่งคืนก่อนวันบุญข้าวจี่ชาวบ้านจะมานํา สิ่งของ และสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะข้าวเหนียวและเครื่องปรุงข้าวจี่ เช่น เกลือ ปลาร้า ไข่ น้ําตาล น้ําอ้อย ฯลฯ มารวมตัวกันที่วัดเพื่อจัดเตรียมการทําข้าวจี่ คืนนั้นชาวบ้านจะมีกิจกรรมทําร่วมกัน เช่น มีการขับร้องเพลงพื้นบ้าน พูดคุยกัน เพื่อเป็นการรอเวลา พอถึงเวลาตีสามหรือตีสี่ชาวบ้านจะเริ่มจุด ฟืนที่เตรียมเอาไว้เพื่อให้ได้ถ่าน ในขณะเดียวกันข้าวเหนียวที่แช่เอาไว้จะนํามานึ่ง พอนึ่งเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะนําเอามาข้าวเหนียวนั้นมาปั้นเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามความชอบ หลังจากนั้นจะนําเอาไม้ไผ่ ที่เหลาให้แหลมมาเสียบกับก้อนข้าวที่ปั้นเอาไว้ แล้วนําไปย่างไฟจนสีข้าวเหลืองน่าทาน ชาวบ้านจะ นิยมทาไข่ใส่เกลือและน้ําปลาร้าเป็นการเพิ่มรสชาติให้อร่อย พอถึงเวลารุ่งเช้าพระและเณรออก บิณฑบาต ข้าวจี่ทั้งหลายที่สุกแล้วจะถูกนําไปใส่บาตรและถวายพระเมื่อทําบุญถวายข้าวจี่เสร็จ ชาวบ้านจะมีความเอิบอิ่มใจ และรวมตัวกันทานข้าวจี่ที่เหลือจากการทําบุญอย่างมีความสุข
2) ประเพณีบุญไหลเรือไฟ ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีของชาวลาว ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เฮือไฟ”จัดขึ้นในช่วง เทศกาลออกพรรษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริมฝั่ง แม่น้ํานัมทามหานที โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้ กล่าวคือพระพุทธเจ้าเสด็จไปฝั่งแม่น้ํานัมทามหา นที ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดพญานาคที่เมืองบาดาลและพญานาคได้ทูลขอพระพุทธองค์ประทับรอบพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ํานัมทามหานที ต่อมา บรรดาเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายได้มาสักการบูชา รอยพระพุทธบาท นอกจากนี้ประเพณี ไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ําที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูล และเป็นการเอาไฟเผาความทุกข์ให้ลอย ไปกับสายน้ํา เรือไฟ หรือ เฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทําด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่ หรือวัสดุที่ลอยน้ํา มีโครงสร้าง เป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น "ไหลเรือไฟ" เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนชาวลาว ยึดถือปฏิบัติ สืบทอด กันมา แต่ครั้งโบราณ ประเพณีการไหลเรือไฟ บางทีเรียกว่า "ล่องเรือไฟ" "ลอยเรือไฟ" หรือ "ปล่อยเรือไฟ" ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ํา เดือน 11 หรือ วันแรม 1 ค่ํา เดือน 11 ประเพณีไหลเรือไฟ มีความเชื่อเกี่ยวโยง สัมพันธ์กับข้อมูลความเป็นมา หลายประการ เช่น เนื่องจากการบูชารอยพระพุทธบาท การสักการะพกาพรหม การบวงสรวงพระธาตุจุฬามณี การระลึกถึงพระคุณ ของพระแม่คงคา เป็นต้น
ทุนวัฒนธรรม
1.) พระธาตุผาเงา
ความศักดิ์สิทธิ์ของวัดพระธาตุผาเงาตามความเชื่อของชาวบ้านนั้น เชื่อกันว่าหากใครเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วมาสักการบูชาที่วัดนี้ อาการป่วยก็จะทุเลาลงและหายในที่สุด
พระธาตุผาตั้งอยู่ที่บ้านสบคำ ตำบลเวียง สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สำคัญในสมัยอาณาจักรโยนก มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่และพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา ค้นพบในปี พ.ศ. 2519 มีอายุระหว่าง 700-1,300 ปี บนยอดเขาข้างหลังวัดเป็นที่ตั้งพระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ เป็นจุดที่มองเห็นทิวทัศน์สวยงามได้โดยรอบ ในบริเวณด้านหน้าวัดมีพิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน เป็นบ้านไม้โบราณสองชั้น ชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่งสำหรับกลุ่มแม่บ้านสบคำใช้ทอผ้า ส่วนชั้นบนจัดแสดงผ้าโบราณและของใช้ ตลอดจนโบราณวัตถุที่ถูกค้นพบภายในบริเวณวัดและหมู่บ้านใกล้เคียง
2.) พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน
พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน ตั้งอยู่ ภายใน วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทางวัดพระธาตุผาเงา โดยการนำของพระพุทธญารมุนี และคณะศรัทธาทั้งหลายได้เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้จัดให้มีการส่งเสริมการทอผ้าลายพื้นเมืองเชียงแสนให้คงไว้เพื่อเเป็นการอนุรักษ์ศิลปพื้นบ้านด้วยเห็นว่าเป็นการส่งเสริมชาวบ้านให้มีงานทำเป็นเหตุใมรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำนาทำไร่ที่สำคัยเป็นการสืบทอดให้เยาวชนได้ศึกษาถึงความสำคัญและความงอกงามเป็นเอกลักษณ์ของล้านนาเชียงแสนที่สืบทอดมาแต่โบราณ จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนา เชียงแสน" ขึ้นเป็นผลสำเร็จเมือ่วันที่ 29 มีนาคม 2539 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์ผ้าทอโบราณส่งเสริมการทอผ้าแบบโบราณเพื่อเป็นการส่งเสริมและมีรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และเพื่อส่งเสริมการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว การจัดแสดง อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไม้สองชั้นใต้ถุนโล่ง ชั้นบนจัดแสดง ผ้าทอลวดลายแบบต่างๆ เช่น ผ้าลายน้ำไหล ผ้าลายดอกผักแว่น ผ้าลายขวางดำแดง กี่ทอผ้าที่ใช้ในสมัยโบราณเป็นกีทอมือ 4 ไม้ ผ้าปักพระเวสสันดร ที่นอนของชาวไทยวน "ตุง"เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ห้องสาธิตการอยู่ไฟหลังคลอด ครัวไฟที่ใช้ประกอบอาหารของชาวล้านนา ฯลฯ นอกจากนี้ทางพิพิธภัณฑ์ยังได้ส่งเริมให้กลุ่มแม่บ้านสบคำมาทอผ้าพื้นเมือง โดยใช้พื้นที่ใต้ถุนอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นโรงทอผ้า และมีอาคารแสดงผลงานของกลุ่มทอผ้าซึ่งอยู่ติดกันอีกหลายหลัง
ด้านภาษา มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กล่าวคือ ชาวไทยเชื้อสายลาวบ้านสบค าในอดีตใช้ ภาษาลาวในการสื่อสารระหว่างกัน ไม่สามารถอ่านและเขียนอักษรภาษาลาวได้ เนื่องจากในอดีตคนส่วน ใหญ่ไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมจากภายนอกได้แพร่กระจายเข้ามาสู่ชุมชนจนมี หลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงวัฒนธรรมทางภาษา จากเดิมคนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ได้เรียนหนังสือ ได้เรียนรู้ภาษาอื่นร่วมด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาของชาวไทยเชื้อสายลาวจึงเกิดการผสมผสานระหว่างภาษาอื่น มีการ พูดคุยสื่อสารกันในภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาลาว จนกระทั่งใช้ภาษาไทยกลางมาเป็นภาษาในการสื่อสาร ระหว่างกัน จนในที่สุดภาษาลาวค่อย ๆ เลือนหายจากสังคมคนรุ่นใหม่
ชุมชนลาวบ้านสบคํามีประชากรเพิ่มขึ้นซึ่งได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานทํามาหากินบริเวณชุมชน บ้านสบคําในระยะเริ่มแรกมีเพียง 20 ครัวเรือนเท่านั้นเมื่อเวลาผ่านไปจํานวนครัวเรือนต่างๆได้เพิ่ม ปริมาณและขยายตัวออกไปเรื่อยๆจากห้าครัวเรือนเป็นร้อยครัวเรือนกระทั่งปัจจุบันชุมชนบ้านสบคํา มีจํานวนมากกว่า 340 ครัวเรือนและมีแนวโน้มว่าจํานวนดังกล่าวจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจาก สมาชิกแต่ละครัวเรือนมีจํานวนเพิ่มขึ้นจึงเป็นเหตุผลที่ทําให้ชาวบ้านในชุมชนรับเอาอาชีพใหม่จาก ภายนอกเข้ามาดําเนินการในครัวเรือนเพื่อเป็นการเสริมรายได้ในอาชีพเกษตรกรรมที่มีอยู่เดิมเพียง การปลูกข้าวการเพิ่มขึ้นจํานวนประชากรดังกล่าวยังได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมด้าน ต่างๆภายในชุมชนอีกด้วยทําให้ความต้องการในการใช้ปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิตเช่นอาหารที่อยู่ อาศัยเครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรคเพิ่มขึ้นตามจํานวนของประชากรในชุมชนที่เพิ่มขึ้นด้วยและเมื่อ ทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงจําเป็นที่จะต้องทํางานอื่นนอกจากภาคเกษตรกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้นในการดํารงชีวิตอยู่ในปัจจุบันในชุมชนลาวบ้านสบคําเกิดจากการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์สาเหตุที่มีการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวเนื่องจากประชากรที่อยู่ในชุมชนได้ออก จากพื้นที่ไปทํางานภายนอกโดยเฉพาะในเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพมหานครจากนั้นฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง ที่เป็นคนนอกชุมชนก็ได้แต่งงานกับคนในชุมชนและเข้ามาอาศัยอยู่กับฝุายชายหรือฝุายหญิงที่แต่งงาน ด้วยทําให้ลูกที่เกิดด้วยกันมีความเป็นลาวครึ่งหนึ่งและมีความเป็นชาติพันธุ์ของฝุายชายหรือฝุายหญิง อีกครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ตามถ้าลูกที่เกิดและอาศัยอยู่ในชุมชนลาวตั้งแต่เด็กจนเจริญเติบโตขึ้นจะทําให้เด็ก ได้รับอิทธิพลซึมซับเอาวัฒนธรรมของชาวลาวเข้าไปเต็มรูปแบบโดยเฉพาะวัฒนธรรมทางภาษาซึ่งเด็ก ที่เกิดในชุมชนลาวบ้านสบคําจะพูดและสนทนาภาษาลาวได้หมดทุกคน แต่ถ้าเด็กเกิดในเมืองไทยส่วน ใหญ่จะไม่ค่อยรู้วัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง
ในปัจจุบันชุมชนบ้านสบคําได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากสังคมภายนอกสูงมากจนทําให้ วัฒนธรรมเดิมของตนที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอิทธิพลจากการแพร่กระจายเหล่านี้มีผลกระทบให้ ชุมชนได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์และเกิดการสูญเสียต่อชุมชนอีกด้วย ทั้งสองสิ่งที่ตรงกันข้ามนี้มีการ เปลี่ยนแปลงไปในหลายรูปแบบ คือแบบก้าวหน้าแบบวิวัฒนาการแบบพัฒนาแบบกระทําให้เป็น สมัยใหม่ ทําให้วัฒนธรรมในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปจนทําให้ชาวบ้านต้องปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก และได้เกิดเป็นวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างแบบดั้งเดิมกับแบบใหม่ หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่โดย ไม่หลงเหลือของเดิมอยู่ ในอดีตเส้นทางคมนาคมเข้าสู่ชุมชนบ้านสบคําซึ่งแต่เดิมมีสภาพเป็นถนนเดิน เท้าผิวทางขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อและมีขนาดความกว้างเท่ากับเส้นทางเกวียน เมื่อรัฐเข้ามา ดําเนินการทําให้เส้นทางคมนาคมของชุมชนบ้านานสบคําเชื่อมโยงเข้ากับชุมชนอื่นๆ ทําให้พ่อค้าต่าง ถิ่นสามารถเข้ามารับซื้อผลผลิตจากชาวบ้าน และได้ขายสินค้าที่บรรทุกมาพร้อมกับรถยนต์เช่น เครื่องมือทางการเกษตรสมัยใหม่ เครื่องอํานวยความสะดวกต่างๆเป็นต้นซึ่งทําให้ชาวบ้านตกอยู่ใน กระแสบริโภคนิยมอย่างไม่รู้ตัว และที่สําคัญมีการติดต่อสื่อสารกับคนนอกชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการ ติดต่อเพื่อการค้าขายหรือเป็นการติดต่อกับญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยและเงื่อนไขที่ที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทั้งภายในและ ภายนอก ไม่เพียงแต่จะทําให้ประชากร ทรัพยากรธรรมชาติเกิดการเปลี่ยนแปลงเท่านั้นยังส่งผลถึง วัฒนธรรมด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ครอบครัวและเครือญาติการศึกษาความเชื่อและประเพณีเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ภาษา ดนตรีและการละเล่น การสาธารณสุข การคมนาคม และเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงไปด้วยแต่ก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมนั้นๆ ว่าชาวไทยเชื้อสายลาวยังคงรักษาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของตนให้คงอยู่ต่อไปหรือไม่ เพราะวัฒนธรรมบางอย่างงอาจจะเปลี่ยนแปลงไปจน กลายเป็นรูปแบบใหม่ขึ้นมาวัฒนธรรมบางอย่างอาจจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบผสมผสานซึ่ง วัฒนธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่คงที่และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสนิยมของโลกตลอดเวลาจึง ขึ้นอยู่กับชาวบ้านว่าจะจัดการกับวัฒนธรรมในชุมชนของตนให้คงอยู่และสืบทอดต่อไปอย่างไร
พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน. (2555). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: http://www.m-culture.in.th/album/view/139643/
เพ็ง อินทะมีไชย. (2561). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวไทยเชื้อชาติลาว ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
รัตติกาล ไชยแก้ว. (2558). การออกแบบรองเท้าลำลองจากวัสดุผ้าจกเชียงแสน บ้านสบคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. ศิลปนิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.