Advance search

หมู่บ้านหัตถกรรมผักตบชวา หมู่บ้านนวัติวิถี ประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา

หมู่ที่ 8
บ้านสันป่าม่วงกลาง
สันป่าม่วง
เมืองพะเยา
พะเยา
ศศิธร ปัญจโภคศิริ
29 พ.ค. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
22 มิ.ย. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
28 ก.ค. 2023
บ้านสันป่าม่วงกลาง

เหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านอัมพวัน" ซึ่งมีความหมายว่า ป่ามะม่วง เพราะว่าพื้นที่ดังกล่าวมีต้นมะม่วงขึ้นอยู่จำนวนมากและยังมีต้นมะม่วงขนาดใหญ่จำนวนสองต้นขึ้นอยู่บริเวณกลางหมู่บ้าน และจุดนี้เชื่อกันว่าจะเป็นที่เก็บซ่อนอะไรบางอย่างในอดีต


หมู่บ้านหัตถกรรมผักตบชวา หมู่บ้านนวัติวิถี ประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา

บ้านสันป่าม่วงกลาง
หมู่ที่ 8
สันป่าม่วง
เมืองพะเยา
พะเยา
56000
19.17991386
99.8403503
เทศบาลตำบลสันป่าม่วง

พื้นที่หมู่บ้านสันป่าม่วง หมู่ที่ 8 ดั้งเดิมเป็นพื้นที่ราบกว้างปกคลุมไปด้วยต้นไม้ใหญ่และป่าละเมาะมีผู้คนอยู่อาศัยกันเป็นหย่อม ๆ กระจายอยู่ทั่วไป ต่อมามีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งอพยพหนีสภาพความแห้งแล้งมาจากบ่อแป้น อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดยมีนาย วัน ไม่ทราบนามสกุลเป็นผู้นำ มาบุกเบิกแผ้วถางพื้นที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่ทำกิน ต่อมาได้มีญาติและเพื่อน ๆ หมู่บ้านเดียวกันอพยพติดตามมาอีกจำนวนหนึ่งและได้จัดตั้งหมู่บ้านขึ้นในพื้นที่แห่งนี้และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านอัมพวัน ซึ่งมีความหมายว่า ป่ามะม่วง เหตุเพราะว่าพื้นที่ดังกล่าวมีต้นมะม่วงขึ้นอยู่จำนวนมากและยังมีต้นมะม่วงขนาดใหญ่จำนวนสองต้นขึ้นอยู่บริเวณกลางหมู่บ้าน และจุดนี้เชื่อกันว่าจะเป็นที่เก็บซ่อนอะไรบางอย่างในอดีต เพราะจากหลักฐานที่คนรุ่นหลังเก็บได้มักระบุไว้ว่าอยู่ทางทิศตะวันตกของต้นมะม่วงใหญ่บ้าง ทางทิศตะวันออกของต้นมะม่วงใหญ่บ้าง จากหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มาก่อน ก่อนที่กลุ่มนายวันจะอพยพมาและถูกรุกรานจากกลุ่มคนหรือชาติใดชาติหนึ่งอย่างแน่นอน จึงต้องถอยหนี ทิ้งและเก็บสิ่งของบางอย่างซ่อนไว้โดยหวังไว้ว่าสักวันหนึ่งข้างหน้าจะได้กลับมา ปัจจุบันบริเวณที่ต้นมะม่วงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่นั้นอยู่บริเวณ เลขที่ 87 หมู่ที่ 8 ซึ่งเป็นบ้านของ นายไพบูลย์ เสมอใจ ในปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2414 ชาวบ้านอัมพวันได้รวมตัวกันสร้างอารามขึ้นในหมู่บ้านตั้งชื่อว่า วัดอัมพวัน โดยมี พระอภิวงศ์ ไม่ทราบฉายาเป็นเจ้าอาวาสและได้แต่งตั้งผู้นำหมู่บ้านขึ้นเป็นคนแรกคือ ขุนคามณี ในปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฏที่หมู่บ้านได้เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านสันป่าม่วง

สิ่งเดียวที่บรรพบุรุษยังคงหลงเหลือไว้ให้ลูกหลานเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นคนที่สืบเชื้อสายของคนหมู่บ้านอัมพวันในอดีตก็คือ นามสกุล มีนามสกุลที่เป็นนามสกุลดั้งเดิมของหมู่บ้านอัมพวันอยู่ 3 นามสกุล คือ

  1. นามสกุล เพียรทำ เป็นนามสกุลที่กลุ่มคนแรกคือกลุ่มนายวันได้มาแต่งงานอยู่กินกับคนในพื้นที่ดั้งเดิมและใช้ นามสกุลว่า เพียรทำ
  2. นามสกุล มหามิตร เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าอดีตมีกลุ่มชนชาติเงี้ยว (ไตใหญ่) ได้เข้ามารุกรานกลุ่มคนในพื้นที่ดั้งเดิมและกลุ่มชนชาติเงี้ยวบางคนไม่กลับคืนบ้านเมืองเดิม ได้ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ จึงมีกลุ่มญาติและเพื่อน ๆ ออกติดตามหาและได้มาแต่งงานอยู่กินกับคนในพื้นที่ดั้งเดิมและได้ตั้งนามสกุลของตัวเองขึ้นว่า มาหามิตร ซึ่งมีความหมายว่า มาตามหาเพื่อนและต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น มหามิตร และได้ใช้สืบทอดต่อกันมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
  3. นามสกุล นันทาทอง กลุ่มชาติเงี้ยวคนหนึ่ง ชื่อว่า ส่างนันตา ได้แต่งงานกับคนในพื้นที่ ชื่อว่า นางขันคำ ซึ่งมี ความหมายว่า ทอง จึงใช้ชื่อของตัวเองคือ นันตา รวมกับชื่อของภรรยาคือ คำ หรือ ทอง ตั้งนามสกุลของตัวเองว่า นันตาทอง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น นันทาทอง และใช้สืบทอดกันมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อขุนคามมุณีได้เสียชีวิตลง บ้านสันป่าม่วง ได้ย้ายไปขึ้นกับตำบลบ้านต๋อมในปี พ.ศ. 2480 โดยมี นายเดช เดชใจ๋ หรือ (ขุนเดช) เป็นกำนันคนต่อมาและต่อจากนั้นมาได้มี นายใจ๋ เตชะยอด เป็นกำนันคนต่อมาเมื่อ นายใจ๋ เตชะยอด เสียชีวิตลง ได้แต่งตั้ง นาย ชุม ทิวาศิริ เป็นกำนันจนกระทั่งเกษียณอายุ ได้แต่งตั้งนาย กันทา เลาสัตย์ เป็นกำนัน

ในปี พ.ศ. 2536 ได้แยกออกจากตำบลบ้านต๋อมมาเป็นตำบลสันป่าม่วงอีกครั้งซึ่งมีนาย สมบัติ นันทาทอง เป็นกำนันจนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2548 นายสมบัติ นันทาทอง ได้ลาออกจากตำแหน่งจึงทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น นางผ่องศรี ปรีชาพงศ์มิตร ได้รับชัยชนะและได้เป็นกำนันหญิงคนแรกของตำบลสันป่าม่วง

ปัจจุบันสันป่าม่วงได้แยกตัวเป็นสามหมู่บ้านตามระเบียบฝ่ายงานปกครองคือ บ้านสันป่าม่วงเหนือ หมู่ที่ 5 บ้านสันป่าม่วงใต้ หมู่ที่ 4 และบ้านสันป่าม่วงกลาง หมู่ที่ 8 แต่ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาในอดีต ซึ่งปัจจุบันยังคงปฏิบัติร่วมกันเหมือนเดิมทุกอย่างเพื่อคงไว้สืบทอดไปยังลูกหลานต่อไป

สำหรับบ้านสันป่าม่วง หมู่ที่ 8 หลังจากนายสมบัติ นันทาทอง ลาออกและได้จัดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นใหม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน สองท่านคือ นายบุญเติง ทองทวี และนายอานนท์ ธีระพันธ์พิเชษฏฐ์ ผลการเลือกตั้งครั้งนั้น ปรากฏว่า นายบุญเติง ทองทวี ได้รับชัยชนะและดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาจนเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2553

เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ได้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นและมีผู้ลงสมัครเลือกตั้งเพียงคนเดียว คือ นายศรายุทธ บัวเทศ อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสันป่าม่วง เมื่อถึงกำหนดการเลือกตั้งและไม่มีผู้ใดลงรับสมัครแข่งขัน ฝ่ายงานปกครองอำเภอเมืองพะเยาจึงแต่งตั้งให้ นายศรายุทธ บัวเทศ เป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาจนเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2557

ในปีเดียวกันจึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นและมีผู้สมัครลงแข่งขัน สองท่าน ผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น ปรากฏว่า นายประสิทธิ์ เทพสืบ ได้รับชัยชนะและดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านสันปูเลย หมู่ 3 ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านสันบัวบก ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านสันป่าม่วงใต้ หมู่ 4 ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านสันป่าม่วงเหนือ หมู่ 5 ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ผู้ใหญ่บ้าน : นายประสิทธิ์ เทพสืบ

รายชื่อหัวหน้าคุ้ม

  • คุ้มธรรมคามมุณี : นายศรีมูล  กุ่นใจ
  • คุ้มอัมพวัน : นายศักดิ์ดา  เบาะสาร
  • คุ้มพลังเสรี : จ.ส.อ.สมมิตร  แสนคำมา
  • คุ้มพลังสามัคคี : นายบุญเติง  ทองทวี

รายชื่ออาสาสมัครเกษตร

  • นายสมบัติ นันทาทอง
  • นายศรีมูล กุ่นใจ

รายชื่ออาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  (อส.ม)

  • นายศรีมูล กุ่นใจ : เป็นประธาน
  • นายศรายุทธ บัวเทศ
  • นายบุญเติง ทองทวี
  • นายชัย พันโสรี                             
  • นายศักดิ์ดา เบาะสาร
  • นายเจริญ เมียงเจียง                       
  • นายมนู เหล็กกล้า
  • นายเอกลักษณ์ ม่วงจอม                   
  • นายสนิท ไร่ทำ
  • นายศรีมูล กุ่นใจ                         
  • นางรุจินา เบาะสาร
  • นางบุญศรี คำมี                           
  • นางนิตาพร ผลทิพย์
  • นางสมศรี เทพสืบ                       
  • นายสมพาล เสมอใจ
  • นางปวีณา เพียรทำ
  • นางมาลัย เมืองงาม

กลุ่มในหมู่บ้านทั้งเป็นทางการและไม่ทางการ 

  • กลุ่มหัตถกรรมผักตบชวา : จำนวนสมาชิก  45 คน      
  • กลุ่มธนาคารข้าว : จำนวนสมาชิก 85 คน     
  • กลุ่มโรงสีข้าวชุมชน : จำนวนสมาชิก 85 คน     
  • กลุ่มน้ำดื่ม : จำนวนสมาชิก 85 คน     
  • กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ : จำนวนสมาชิก 228 คน     
  • กลุ่มออมทรัพย์สงเคราะห์ครอบครัว : จำนวนสมาชิก 51 คน     
  • กองทุนสวัสดิการชุมชน : จำนวนสมาชิก 85 คน     
  • กองทุนหมู่บ้าน : จำนวนสมาชิก 107 คน     
  • กลุ่มออมทรัพย์กองทุนหมู่บ้าน : จำนวนสมาชิก 50 คน     
  • กลุ่มแม่บ้าน : จำนวนสมาชิก 86 คน     
  • ศูนย์สงเคราะห์ประจำหมู่บ้าน : จำนวนสมาชิก 228 คน     
  • ประปาหมู่บ้าน : จำนวนสมาชิก 50 คน     
  • กลุ่มอาสาสมัครตำรวจบ้าน : จำนวนสมาชิก 16 คน     
  • กลุ่มผู้สูงอายุ
  • กลุ่ม อสม. : จำนวนสมาชิก 17 คน     
  • กองทุนปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ : จำนวนสมาชิก 73 คน

อาชีพหลักของครัวเรือน

  • เกษตรกรรม 73 ครัวเรือน
  • ค้าขาย 5 ครัวเรือน
  • ช่าง 1 ครัวเรือน
  • ข้าราชการ 3 ครัวเรือน
  • รับจ้าง/บริการ 3 ครัวเรือน
  • อาชีพเสริมหรืออาชีพรอง (รายได้เสริมของครอบครัวผลรวมจำนวนอาจมากกว่าครัวเรือนทั้งหมด)
  • หัตถกรรมในครัวเรือน จำนวน 74 ครัวเรือน

1. นางวาด ยาเย็น ศิลปินเมืองพะเยา นักออกแบบหัตถกรรมผักตบชวาแห่งเมืองพะเยา

  • กลุ่มหัตถกรรมจักสานผักตบชวา

ภาษาพื้นเมืองล้านนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศนัฎฐ์ชล สุ่มสมบูรณ์. (2561, 20 ธันวาคม). จังหวัดพะเยา เปิดหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village) บ้านสันป่าม่วง ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. ค้นจาก https://thainews.prd.go.th/

นักข่าวพลเมือง. (2559, 17 มิถุนายน). ป้าวาด : นักออกแบบหัตถกรรมผักตบชวาแห่งเมืองพะเยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก:  https://thecitizen.plus/

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2565). นางวาด ยาเย็น ศิลปินเมืองพะเยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก:  http://www.m-culture.in.th/album/197641