Advance search

บ้านต่อแพ

ชุมชนบ้านต่อแพเป็นหนึ่งชุมชนชาวไทใหญ่ ที่ยังคงรักษาไว้ซึ่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีที่งดงามและยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีไว้คู่กับชุมชน อย่างเหนียวแน่น ชุมชนสามารถนำต้นทุนด้านแหล่งโบราณสถาน แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ นำมาสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

แม่เงา
ขุนยวม
แม่ฮ่องสอน
ปวินนา เพ็ชรล้วน
13 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
28 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
28 ก.ค. 2023
บ้านต่อแพ

คำว่า ต่อแพ มาจากการที่ชาวบ้านใช้ไม้ไผ่ต่อเป็นแพที่หมู่บ้านนี้ เพื่อเป็นพาหนะบรรทุกสินค้าไปค้าขายใน อ.แม่สะเรียง


ชุมชนบ้านต่อแพเป็นหนึ่งชุมชนชาวไทใหญ่ ที่ยังคงรักษาไว้ซึ่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีที่งดงามและยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีไว้คู่กับชุมชน อย่างเหนียวแน่น ชุมชนสามารถนำต้นทุนด้านแหล่งโบราณสถาน แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ นำมาสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

แม่เงา
ขุนยวม
แม่ฮ่องสอน
58140
ชุมชนต่อแพ โทร. 08-1980-7743
18.80000821
97.9029917
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงา

บ้านต่อแพ แต่เดิมบ้านต่อแพนี้ไม่มีชื่อ แต่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์มาก จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการทำนาทำสวน ต่อมาได้มีชาวต่างถิ่นเข้ามาจับจองที่ทำกิน จากหมู่บ้านอื่น จึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นที่บ้านหลวง ซึ่งปัจจุบันได้แยกออกเป็นหมู่ที่ 8 หลังจากการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรซึ่งมีผลผลิตจำนวนมากโดยเฉพาะข้าว การคมนาคมไม่สะดวกไม่มีแหล่งจำหน่าย ดังนั้นชาวบ้านจึงไปตัดไม้ไผ่มาผูกเป็นแพเพื่อบรรทุกข้าวไปขายที่เมืองยวม (อำเภอแม่สะเรียง) โดยล่องแพไปตามน้ำยวม เมื่อมีการผูกแพทำแพบ่อยเข้า ก็เลยเรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านต่อแพ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2465 เป็นต้นมา

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์หลายหมู่บ้านมีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบเหมาะแก่การทำการเกษตร ดังนั้น ประชากรส่วนใหญ่ จึงประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม  เช่น  ทำนา  ทำไร่  เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น มีอาณาเขตติดต่อ คือ

ทิศเหนือ        ติดต่อกับ  ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม

ทิศใต้          ติดต่อกับ  ตำบลเมืองปอน – ตำบลแม่กิ๊ อำเภอขุนยวม

ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ  ตำบลแม่กิ๊ อำเภอขุนยวม – สหภาพเมียนมาร์

ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ  ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม

ประชากรบ้านต่อแพเป็นชาวไทใหญ่ สันนิษฐานว่าเข้ามาพร้อมกับพระยาสิงหนาทราชา (ขานกะเล) ที่มีเชื้อสายชาวไทใหญ่ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2369 ที่เมืองจ๋าม รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2399 ได้เกิดเหตุการณ์สู้รบขึ้นในรัฐฉาน นายชานกะเลจึงอพยพเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านปางหมูโดยอาศัยอยู่กับพะก่าหม่อง ด้วยความที่ชานกะเลเป็นคนขยัน กล้าหาญ ฉลาด อดทน และซื่อสัตย์ จึงได้ช่วยพะก่าหม่องทำงานเป็นอย่างดีจนพะก่าหม่องรักใคร่เหมือนบุตรและยกบุตรสาวชื่อนางใสให้เป็นภรรยา จากนั้นชานกะเลได้อพยพครอบครัวพร้อมกับรวบรวมผู้คนไปตั้งหมู่บ้านใหม่ขึ้นชื่อว่า  "บ้านกุ๋นยวม" (อำเภอขุนยวมในปัจจุบัน) ชาวบ้านเห็นชานกะเลเป็นคนดี มีความสามารถและมีลักษณะเป็นผู้นำจึงยกย่องให้เป็น นายบ้านกุ๋นยวม ต่อมาบ้านกุ๋นยวมได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นเมือง ชานกะเลจึงได้รับการสถาปานาเป็นเจ้าเมืองกุ๋นยวมเป็นคนแรก ชานกะเลปกครองเมืองและสร้างความเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลา 8 ปี จวบจนปี พ.ศ. 2417 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองแม่ฮ่องสอน และพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าครองนครเชียงใหม่ ได้ยกบรรดาศักดิ์ชานกะเลให้เป็นพระยาสิงหนาทราชาและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก

ไทใหญ่

มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การต้องลาย เป็นปานซอยลายแบบศิลปะไทใหญ่ผสมพม่า มีร้านค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP นวัตวิถี เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นฝีมือของสมาชิกในชุมชนไว้จำหน่าย เช่น กุ๊ปไต เครื่องจักสานหลากหลายแบบ เสื้อผ้าชุดไทใหญ่ ทั้งของผู้ชายและผู้หญิง      รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ของใช้ในบ้านที่ทำจากไม้ไผ่ ซึ่งมีออเดอร์สั่งทำตลอด สร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกในชุมชนด้วย

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีการนับถือผี มีปฏิทินประเพณีความเชื่อต่างๆ ดังนี้

กุมภาพันธ ์ - ปอยขาวยะกุ๊ (ถวายข้าวใหม หลังการเก็บเกี่ยวในรอบปี)

มีนาคม - ปอยส่างลอง (บวชเณรภาคฤดูร้อน)

เมษายน - ปีใหม่เมือง (รดน้้าด้าหัวผูเฒ่าผู้แก่) - ขึ้นเจ้าเมืองประจ้าหมู่บ้าน (เชิญเจ้าเมืองมาทรงเจ้าเพื่อท้าพิธีถวายอาหาร และท้านายเหตุการณ์ของหมู่บ้านครั้งที่ 1)

พฤษภาคม - ปอยจะตี่ (ประเพณีเจดีย์ทราย ขนทรายเขาวัด เพื่อบูชาดิน น้้า ลม ไฟ) - สืบชะตาหมูบาน สืบชะตาแมน้้า/ฝาย - ปอยซอมต่อหลวง (ถวายข้าวมธุปรายาท ณ ศาลาวัด พระธาตุ เจดีย์ ต้นโพธิ์ จ้านวน 2 ครั้ง/ปี ในช่วงวันวิสาขบูชา และวันเข้าพรรษา)

สิงหาคม - ปอยจะกะ (ถวายทานให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่นอนวัดวันเขาพรรษา)

ตุลาคม - แฮนซอมกู่จา (ช่วงก่อนออกพรรษา เป็นการอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ) - จองพารา (วันออกพรรษาเป็นความเชื่อของชาวไทใหญที่ว่าพระพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์มายังหมู่บ้านทุกหลังคาเรือนจะสร้างที่ประทับ ไว้ที่บ้านเป็นเวลา 7 วันพร้อมภัตตาหารถวาย) - ขึ้นเจาเมืองประจ้าหมูบาน (หลังออกพรรษา เชิญเจาเมืองมาทรงเจ้าเพื่อ ท้าพิธีกรรมถวายอาหารและท้านายเหตุการณของหมู่บ้าน ครั้งที่ 2)

พฤศจิกายน - ปอยลองซอม (ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งตอนเช้าติดตอกัน 5 วัน) - ปอยสางกาน (ถวายผาจีวรแก่พระภิกษุสงฆ์)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

1.) วัดต่อแพ

เดิมเป็นวัดร้าง อายุมากกว่า 100 ปี  ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างเมื่อใด มีเจดีย์เก่าแก่ กองอิฐ ซากปรักหักพัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2461 (จ.ศ. 1280) มีพระธุดงค์ชาวไทใหญ่เดินทางมาจากพม่า ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น และมีพ่อค้าที่เดินทางไปค้าขายยังแม่สะเรียงและพม่าทำการล่องแพไปจากที่นี่       ได้ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างศาลาการเปรียญขึ้น บูรณะเจดีย์ด้วยการสร้างเจดีย์ใหม่ครอบและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์ และสร้างวิหารคู่กับองค์เจดีย์ ตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้าน 

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดเป็นที่พักของทหารญี่ปุ่น  (เดินทางไปพม่า) บริเวณวิหารเล็กด้านหน้าองค์เจดีย์ ใช้เป็นสถานที่พิมพ์ธนบัตร พื้นที่ใต้ถุนศาลาวัดใช้เป็นสถานพยาบาล ภายในวัดยังใช้เป็นสถานที่ฝังศพของทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยหรือการสู้รบ ปัจจุบันมีอนุสรณ์สถานของทหารญี่ปุ่นอยู่บริเวณกำแพงดานหน้าของทางเข้าวัด วัดต่อแพได้ขึ้นทะเบียนตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2461 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2525 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ

ศาลาการเปรียญ

สร้างโดยพ่อค้าและสล่า คือ ลุงจองเติ๊กอ่อง ลุงจองกูนะ ลุงจองคำ ลุงจองจาย สร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2463 บรรจุพระสารีริกธาตุของพระอรหันต์

สถาปัตยกรรมพม่าผสมไทใหญ่สวยงามที่สุดในอ.ขุนยวม ยังอยู่ในสภาพดี อาคารหันไปทางทิศตะวันออก ก่อด้วยไม้สักทั้งหลัง กว้างประมาณ 30  เมตร ยาวประมาณ 25 เมตร หลังคาเป็นชั้นๆลดหลั่นกัน ตกแต่งด้วยสังกะสีสลักลวดลายสวยงาม 

ผ้าม่านประดับทับทิม

ผ้าม่านผืนนี้ มีขนาดกว้าง 1.65 เมตร ยาว 3.80 เมตร ทำด้วยผ้ากำมะหยี่ประดับด้วยลูกปัด มุก และทับทิมแท้ จำนวน 164 เม็ด เย็บด้วยมือทั้งผืน อายุมากกว่า 150 ปี ทำขึ้นในพม่า มีศรัทธาสร้างถวายแก่พระธรรมทานิ เจ้าอาวาสองค์แรก เมื่อพ.ศ. 2460 เรื่องราวที่ปรากฏบนผืนผ้า เป็นเรื่องราวของเวสสันดรชาดกเสด็จฯประพาสอุทยาน ประโยชน์ของผ้าผืนนี้ ใช้เป็นผ้ากั้นในงานบุญมงคล เช่น ปอยส่างลอง 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ณปภัช รัตนาวรรณกร และสุรินทร์ มหาวรรณ์. (2557). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. (2)2. 179-187.

บุษบา กนกศิลปธรรม, ปวินนา เพ็ชรล้วน, จิรัสสา คชชาชีวะ, นุชนภางค์ ชุมดี และศุภพร สุวรรณภักดี. (2565). รายงานการวิจัยการยกระดับมรดกวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.).

สัญญา สะลอง. (2564). อัตลักษณ์ชนชาติไทใหญ่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.).