Advance search

บ้านเปลือย

ชุมชนท้องถิ่นที่คนในชุมชนมีความขยันในการดำรงชีพโดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง 

หมู่ที่ 10
บ้านเปลือยดง
ขามเฒ่าพัฒนา
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
ไกรวิทย์ นรสาร
29 ก.ค. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
31 ก.ค. 2023
ไกรวิทย์ นรสาร
1 ส.ค. 2023
บ้านเปลือยดง
บ้านเปลือย

ที่มาของชื่อ เปลือยดง สืบเนื่องมาจาก เมื่อครั้งตั้งชุมชนขึ้นโดยคนหมู่บ้านโปโล อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ได้อพยพมาพื้นที่บริเวณนี้ เมื่อก่อนเป็นป่าทึบมีต้นเปลือย (ต้นตะแบก) เป็นจำนวนมาก จึงให้ชื่อว่า “บ้านเปลือย” ต่อมาจึงเพิ่มชื่อหมู่บ้านเป็น “บ้านเปลือยดง”


ชุมชนชนบท

ชุมชนท้องถิ่นที่คนในชุมชนมีความขยันในการดำรงชีพโดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง 

บ้านเปลือยดง
หมู่ที่ 10
ขามเฒ่าพัฒนา
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
44150
16.31266917
103.3052963
องค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่าพัฒนา

ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 24 ประมาณ 150 ปีเศษ มีราษฎรจากบ้านโปโล อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด นำโดย จารย์คำ ทับสีลา และครอบครัวอื่นอีกประมาณ 10 ครัวเรือน เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่พื้นที่นี้ สาเหตุเนื่องจากหมู่บ้านโปโลศาลาเกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำนาไม่ได้ผลผลิต จึงอพยพหาแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ไปเรื่อย ๆ จนได้ที่ตั้งที่เหมาะสมและอุดมสมบูรณ์ มีป่าไม้เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นต้นเปลือย มีสัตว์ป่าและแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ ในการเดินทางมาจากบ้านโปโลเป็นการเดินทางโดยใช้เกวียนและเดินเท้าในการอพยพมาในครั้งนี้

บริเวณพื้นที่ที่เลือกตั้งถิ่นฐาน คือพื้นที่ใกล้กับดอนปู่ตา ผู้คนได้ทำการถางป่าเพื่อสร้างบ้านเรือนในละแวกนั้นและได้ขยายกันออกไปเรื่อย ๆ สาเหตุเลือกบริเวณนี้เนื่องจากเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตร การเพาะปลูก และยังมีต้นเปลือยจำนวนมากที่สามารถตัดเพื่อนำเอาไม้มาสร้างบ้านเรือนได้ แต่ในปัจจุบันต้นไม้ประจำหมู่บ้านมีเหลือให้เห็นน้อยมากเพราะมีการตัดถางเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของผู้คน ปัจจุบันเหลือต้นเปลือยใหญ่ในหมู่บ้านไม่ถึง 5 ต้น นอกจากนี้ชุมชนยังเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงโคกระบือ

ช่วงราว ทศวรรษที่ 2500 เป็นต้นมา จากนโยบายของรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ผู้คนปลูกพืชเศรษฐกิจ คนในชุมชนประมาณ 80% หันไปปลูกปอ และปอทำให้ทรัพยากรของชุมชนเปลี่ยนแปลง ผู้คนนิยมปลูกปอบริเวณห้วยตา แล้วนำปอไปขายที่ ร้านสุภาพรหรืออยู่บริเวณสามแยกกาฬสินธุ์ในปัจจุบันและมีรถรับซื้อมีคนรับไปขาย ชื่อ เริง วาศรี กับ เพ็ง วาศรี ไปขายให้กับโรงงานผลิตกระสอบ ส่วนเมล็ดทางโรงงานเป็นฝ่ายจัดหามาให้ ราคาซื้อขายปอในช่วงนั้นเริ่มต้นที่กิโลกรัมละ 50 สตางค์ถึง 1 บาทสูงสุดที่ 10 บาท หลังที่จากปลูกปอผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้นเริ่มมีรถจักรยาน

ในชุมชนเริ่มตั้งโรงเรียนขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2517 หลังจากตั้งโรงเรียนแล้ว จึงมีการขยายตัวของผู้คน ใน พ.ศ. 2518 คนในชุมชนเริ่มขยายตัวออกไปในทางทิศเหนือเพราะเป็นที่ดอนออกไปทางบ้านเหล่าและทิศตะวันออก จึงมีถนนเส้นใหม่ขึ้นคือ เส้นทางเกวียน อาชีพของผู้คนส่วนมากในช่วงนี้ไปรับจ้างขุดหลุม ขุดหนองคู เนื่องจากมีการขยายถนนทางการจึงมาจ้างวานผู้คนไปขุดหลุมทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2521 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้นทำให้ผู้คนต้องเลิกปลูกปอเพราะปอไม่มีราคาและโรงงานเลิกผลิตกระสอบจากเส้นใยปอ

ไฟฟ้าในหมู่บ้านเริ่มเข้ามาใน พ.ศ. 2520 จากนั้นไม่นานผู้คนก็มีโทรทัศน์ 2 เครื่องแรกของหมู่บ้าน คือ แม่ดวงและพ่อนิยม ไชสงค์เมือง ได้เปิดให้คนในชุมชนดูฟรีเพราะอาศัยการขายของได้ด้วยในตัว เนื่องจากทั้งสองคนเปิดร้านขายของชำ ส่วนน้ำประปาเข้ามาในหมู่บ้านประมาณ ช่วง พ.ศ. 2532 ซึ่งก่อนหน้าที่น้ำประปาจะเข้ามาคนในชุมชนใช้น้ำจากบ่อน้ำหรือที่ผู้คนเรียกว่าน้ำส้าง โดยใช้บ่อน้ำของคุณแม่อาดกับคุณแม่นงมาโดยตลอด

ลักษณะสภาพแวดล้อมของชุมชนบ้านเปลือยดงมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตร การเพาะปลูก การปลูกข้าว และเลี้ยงสัตว์เลี้ยงโคกระบือ ถ้าปีไหนฝนตกน้อยผู้คนก็จะทำการเจาะน้ำบาดาลสาธารณะเพื่อนำมาใช้ในการเกษตรและทำการขุดสระน้ำประจำครอบครัวไว้รองรับน้ำฝน

ชุมชนบ้านเปลือยดงมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 105 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 364 คน แบ่งเป็นชาย 173 คน และหญิงจำนวน 191 คน

  • กลุ่มชำแหละหมู
  • กลุ่มสานตะกร้า
  • กลุ่มปลาส้มถอดก้าง

ชุมชนบ้านเปลือยดง ยังคงปฏิบัติตามวิถีเดิม คือ ยังคงรักษาขนบตาม ฮีต 12 คอง 14  ประเพณีที่สำคัญที่สุด คือ บุญเดือน 4 บุญเผวด หรือวันสงกรานต์ เป็นช่วงที่ลูกหลานที่ไปทำมาหากินในที่ต่าง ๆ จะได้กลับบ้านมาหาครอบครัวและทางหมู่บ้านก็จะจัดงานในเดือนนี้ใหญ่กว่าเดือนอื่น ๆ ส่วนสถานที่จัดงานก็จะเป็นศาลาอเนกประสงค์ดอนปู่ตาและบริเวณลานหน้าดอนปู่ตา นอกจากนี้ยังมีประเพณี บุญบั้งไฟ ชาวบ้านทั้งสองชุมชน คือ บ้านเปลือยดงและเปลือยทองจะมารวมตัวกันประดับประดาตกแต่งบั้งไฟเพื่อไปแข่งกับหมู่บ้านอื่น ๆ เพราะงานประเพณีบุญบั้งไฟทางส่วนอำเภอจะเป็นคนจัดขึ้นให้ชาวบ้านไปเข้าร่วมกิจกรรมทั้งอำเภอ  

1. แม่ละมุน ทองบุตร : ปราชญ์ชาวบ้าน (หมอฮมแมง)

ทุนภูมิปัญญา

  • ขนมถั่วตัด
  • ทอเสื่อกก
  • ตีมีด

ทุนทรพยากรมนุษย์

  • หมอฮมแมง
  • หมอเป่าตาแดง
  • หมอดู
  • หมอสูตขวัญ
  • หมอประสานกระดูก

ภาษาที่ประชาชนชาวบ้านเปลือยดงใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในหมู่บ้านคือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาประจำท้องถิ่น และมีการใช้ภาษากลางหรือภาษาไทยเป็นภาษาทางราชการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นางบุญเติม สิงห์เสนา (ผู้ให้สัมภาษณ์). ไกรวิทย์  นรสาร (ผู้สัมภาษณ์). สถานที่ศาลาประชาคมบ้านเปลือยดง-เปลือยทอง  เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564.

นางสาวสาลินี สิงวะราช (ผู้ให้สัมภาษณ์). ไกรวิทย์  นรสาร (ผู้สัมภาษณ์). สถานที่ศาลาประชาคมบ้านเปลือยดง-เปลือยทอง  เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564.

นางสมพร วิชาคำ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ไกรวิทย์  นรสาร (ผู้สัมภาษณ์). สถานที่ศาลาประชาคมบ้านเปลือยดง-เปลือยทอง  เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564.