Advance search

ชุมชนความรู้จากปรัชญาเศรษฐกิจ ทั้งเกษตรพื้นบ้านไร้สารเคมี เกษตรธรรมชาติ มีผลงานเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านที่เข้มแข็งกลายเป็นเครือข่ายองค์กรบ้านจำรุง ต่อมาปี พ.ศ. 2549 จึงจัดตั้งเป็น “มหาวิทยาลัยบ้านนอก” เพื่อการเรียนรู้ของสังคม 

เนินฆ้อ
แกลง
ระยอง
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
29 ส.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
8 ส.ค. 2023
บ้านจำรุง

ทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มทั้งยังมีทางน้ำเล็กๆไหลออกมาจากหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "คลองจำรุ" คำว่า “จำรุ” (ชาวบ้านอ่านว่า จำหรุ เสียงต่ำเหน่อตามภาษาคนชอง) นั้นเป็นภาษาชอง แปลว่าทางน้ำเล็กๆ คล้ายลำคลองซึ่งบางแห่งแคบมากผู้คนสามารถโดดข้ามไปข้ามมาได้ และปลายของคลองจำรุนั้นจะสลายหายไปกับท้องทุ่งนาและกลมกลืนกับท้องทุ่งนาจนเหมือนไม่มีลำคลองในบริเวณนั้น และมีความลึกของลำคลองไม่เกินหนึ่งเมตร (ผู้เขียนยืนยันเพราะผู้เขียนมีบ้านอยู่ใกล้ๆหมู่บ้านจำรุง และที่หมู่บ้านของผู้เขียนเองมี จำหรุ อยู่แห่งหนึ่งซึ่งทุกคนเรียกว่า จำหรุ เป็นสถานที่หาปู หาปลา ซ้อนกุ้ง หลังจากข้าวเริ่มเติบโต) แต่ต่อมาชาวบ้านอาจจะเรียกเพี้ยนหรือเขียนผิดจึงกลายมาเป็นคำว่า “จำรุง” และเรียกชื่อหมู่บ้านเป็น " บ้านจำรุง " เช่นในปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

ชุมชนความรู้จากปรัชญาเศรษฐกิจ ทั้งเกษตรพื้นบ้านไร้สารเคมี เกษตรธรรมชาติ มีผลงานเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านที่เข้มแข็งกลายเป็นเครือข่ายองค์กรบ้านจำรุง ต่อมาปี พ.ศ. 2549 จึงจัดตั้งเป็น “มหาวิทยาลัยบ้านนอก” เพื่อการเรียนรู้ของสังคม 

เนินฆ้อ
แกลง
ระยอง
21110
12.7095192
101.6212828
องค์การบริหารส่วนตำบลเนินฆ้อ

ย้อนไปในอดีตเมื่อประมาณ 150 ปีก่อน จำรุงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งจากการสอบถามและสืบค้นประวัติจากบุคลและหลักฐานต่างๆที่พอจะทราบว่า ผู้คนที่มาอยู่อาศัยในช่วงเริ่มต้น ได้อพยพจากบริเวณชายทะเล บริเวณบ้านถนนกระเพรา ตำบลเนินฆ้อในปัจจุบัน หลังจากเดินทางหลบหนีภัยสงครามมาจากจันทบุรีโดยพากันหลบหนีออกมาหาที่อยู่ใหม่จากการเข้ามายึดครองจันทบุรีและตราดของฝรั่งเศสเรื่อยลงมาจนถึงชายทะเลบริเวณบ้านถนนกะเพรา หลังจากนั้นจึงอพยพต่อไปเรื่อยๆโดยได้พากันย้ายถิ่นฐานเพื่อที่จะหาที่อยู่และที่ทำกินใหม่ ห่างจากที่เดิมมาประมาณ 6- 7 กิโลเมตร จนมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก มีบึงและน้ำขังตลอดปี จึงหยุดและสร้างถิ่นฐานโดยเรียกสถานที่แห่งนั้นว่า บ้านป่าเรไร ซึ่งบริเวณนี้เป็นบริเวณที่เหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอันมากเนื่องจากทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มทั้งยังมีทางน้ำเล็กๆไหลออกมาจากหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "คลองจำรุ" คำว่า “จำรุ” (ชาวบ้านอ่านว่า จำหรุ เสียงต่ำเหน่อตามภาษาคนชอง) นั้นเป็นภาษาชอง แปลว่าทางน้ำเล็กๆคล้ายลำคลองซึ่งบางแห่งแคบมากผู้คนสามารถโดดข้ามไปข้ามมาได้ และปลายของคลองจำรุนั้นจะสลายหายไปกับท้องทุ่งนาและกลมกลืนกับท้องทุ่งนาจนเหมือนไม่มีลำคลองในบริเวณนั้น และมีความลึกของลำคลองไม่เกินหนึ่งเมตร (ผู้เขียนยืนยันเพราะผู้เขียนมีบ้านอยู่ใกล้ๆหมู่บ้านจำรุง และที่หมู่บ้านของผู้เขียนเองมี จำหรุ อยู่แห่งหนึ่งซึ่งทุกคนเรียกว่า จำหรุ เป็นสถานที่หาปู หาปลา ซ้อนกุ้ง หลังจากข้าวเริ่มเติบโต) แต่ต่อมาชาวบ้านอาจจะเรียกเพี้ยนหรือเขียนผิดจึงกลายมาเป็นคำว่า “จำรุง” และเรียกชื่อหมู่บ้านเป็น "บ้านจำรุง" เช่นในปัจจุบัน

ช่วงที่ระบบการค้าเริ่มต้นในชุมชนบ้านจำรุง เมื่อระบบทุนนิยมเริ่มขยายตัวเข้าสู่ หมู่บ้านจำรุง เนื่องจากการเข้ามาของถนนที่สามารถมีการขนส่งสินค้าและการคมนาคมได้อย่างทั่วถึง ซึ่งทำให้บ้านจำรุงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ผู้นำทางความคิดได้ซื้อรถไถนาคันแรกเข้ามาในทุ่งบ้านจำรุง    โดยให้เหตุผลว่ารถไถดูแลง่ายไม่จุกจิก แค่เติมน้ำมันก็สามารถทำงานได้ทั้งวัน ไม่เหน็ดเหนื่อย ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้มากสามารถทำให้สมาชิกในหมู่บ้านเกิดความคิดที่ว่า การเลี้ยงควายนั้นเป็นภาระ ต้องคอยกังวลไปเกี่ยวหญ้าหาน้ำมาให้กิน แต่เมื่อมีรถไถนำเข้ามา จึงทำให้ชำวบ้านไม่ต้องมีความกังวลเหล่านี้ ขณะที่ไฟฟ้าและถนนเข้าหมู่บ้านจำรุงทุกคนดีใจเห็นความเจริญของหมู่บ้าน แต่ผลกระทบจากการที่ไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้านจำรุงงนั้น ทำให้คนในหมู่บ้านต้องการที่จะมีเครื่องไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนของตน ซึ่งทำให้ทุกบ้านต้องมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนคนที่มีเงินมีพอจะซื้อก็สามารถซื้อได้ด้วยระบบเงินผ่อน ผู้คนในชุมชนเริ่มต่างคนต่างอยู่ การทำมาหากินเน้นเรื่องเงินเป็นหลัก การพึ่งพาช่วยเหลือกันแบบสมัยก่อนเหลือน้อยมาก การเข้ามาของถนนและไฟฟ้ามีผลทำให้วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจของบ้านจำรุงเปลี่ยนไป ซึ่งแต่เดิมนั้นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาจากการมีปัจจัย 4 กล่าวคือ หลังจากกสารเข้าของถนนและไฟฟ้าทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านจำรุงหันไปพึ่งสินค้าสมัยใหม่ ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค และเครื่องใช้ไฟฟ้าฟุ่มเฟือย ซึ่งจากการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของชาวบ้านมาสู่การดิ้นรนที่ต้องพึ่งพิงการผลิตเพื่อขายและเศรษฐกิจเงินตรา ภายใต้วงจรของระบบทุนนิยมทำให้ชาวบ้านประสบปัญหามากกว่าในอดีต ดังนั้น จึงมีผู้นำชุมชนหันไปใช้รูปแบบสหกรณ์ที่ร่วมไม้ร่วมมือกันแบบเดิม แต่การกระทำดังกล่าวก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก และเนื่องจากถนนและไฟฟ้าทำให้ชาวบ้านต้องหาเงินมากขึ้นจากการซื้อสินค้าในเมือง เช่น เครื่องปั๊มน้ำ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าเงินผ่อน เป็นต้น

ชุมชนบ้านจำรุงในปัจจุบัน เป็นชุมชนขนาดกลางที่คนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร ปลูก ยางพารา ทำสวนผลไม้ จึงทำให้เมื่อก่อนชุมชนประสบปัญหาในเรื่องของสารเคมีตกค้ำง เพราะคนในชุมชนได้พึ่งพาการใช้สารเคมีเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อมีการเข้ามาตรวจสุขภาพของสาธารณะสุข   พบว่าชาวบ้านจำนวนมาก มีสารเคมีตกค้างภายในปอด ทำห้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจกันมาก ต่อมาภายหลังชาวบ้านจึงได้เลิกใช้สารเคมี หันมาใช้ยาฆ่าแมลงที่มาจาก ธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ และหันมาทำเศรษฐกิจแบบพอเพียง พออยู่พอกิน ในระยะเวลาต่อมา ชุมชนบ้านจำรุงได้รับการยอมรับจากนักพัฒนาสังคมว่า เป็นชุมชนที่มีความน่าสนใจ น่าเรียนรู้ในมิติของชุมชนเข้มแข็งที่เป็นชุมชนต้นแบบ ที่ผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความเสียสละ และมีความรักสงบ โดยที่จะเห็นได้จากเรื่องของความขัดแย้งนั้นมีอยู่บ้างแต่ไม่ถึงขั้นที่รุนแรง เพราะคนในชุมชนมีความเป็นเครือญาติที่สามารถรอมชอมความขัดแย้งต่างๆ ได้ ทำให้ชุมชนนี้มีเกิดแนวทางในการพัฒนาของตนเองที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง 20 กว่าปี เหตุที่มีการพัฒนาถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานจากรุ่นสู่รุ่นมาจน ณ วันนี้นั้นเกิดกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอย่างมากมาย

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มมีเนิน เหมาะแก่การทำนา ทำสวนผลไม้ เช่น สวนทุเรียน สวนเงาะ สวนมังคุด เป็นต้น สภาพของดินมีความอุดมสมบูรณ์ ในทุ่งนาดินจะมีลักษณะเป็นดินเหนียวสีดำ สภาพดินบนเนินมีสีแดงมันปู เหมาะแก่การทำสวนผลไม้และสวนยางพารา

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ      ติดต่อกับ  หมู่ที่ 5 บ้านหนองแพงพวย ตำบลเนินฆ้อ

ทิศใต้         ติดต่อกับ  หมู่ที่ 6 ตำบลชากโดน

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  หมู่ที่ 5 บ้านหนองแพงพวย ตำบลเนินฆ้อ

ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  หมู่ที่ 4 ตำบลชากโดน 

ประชากรในหมู่บ้านมีทั้งหมด 532 คน มีจำนวนทั้งหมด 166 ครัวเรือน ชาย 249 คน และหญิง 283 คน

ชอง

บ้านจำรุง รวมกลุ่มชาวบ้านเน้นพึ่งพาตนเอง ปรัชญาพอเพียง มีชุดการเรียนรู้แบบบ้านนอก จึงมีคนมาแวะชมศูนย์รวมกลุ่มกิจกรรมด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ เช่น กลุ่มธนาคารต้นไม้ กลุ่มเกษตรพื้นบ้าน กลุ่มตีมีด ธนาคารขยะ เป็นต้น เพื่อศึกษาวิถีแบบชาวบ้านภายในมีที่พักชุมชนลักษณะโฮมสเตย์ที่ได้รับมาตรฐานกรมการท่องเที่ยว / เป็นสภาองค์กรชุมชนระดับตำบล เน้นการพึ่งพาตนเองแบบยั่งยืน 

ศูนย์รวมผลผลิตทางการเกษตร คือ สินค้าของฝาก โอท็อปโบราณ ได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำปลาดีชั้นหนึ่ง ทุเรียนทอด พืชผัก สมุนไพรพื้นบ้าน รวมทั้งผลไม้ทั้งมังคุด เงาะ สละ แก้วมังกร มะยงชิด ลองกองที่ผิวไม่สวยแต่หวานกรอบ และปราศจากสารเคมี ทั้งยังมีแหล่งผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่ชาวบ้านร่วมมือกันผลิตใช้เองในหมู่บ้าน แบ่งการศึกษาเป็นโซนต่างๆ เช่น กลุ่มผลิตกะปิ-น้ำปลา กลุ่มเกษตรพื้นบ้าน กลุ่มชาวนา เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านจำรุง หมู่บ้านเศรษกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ภายใต้การนำของผู้ใหญ่ชาตรี ก่อเกื้อ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยองภายใต้การสนับสนุนของอำเภอแกลง จังหวัดระยองให้เป้นศูนย์ศึกษาดูงานด้าน  เศรษกิจพอเพียงของอำเภอแกลง บ้านจำรุงบ้านจำรุงได้มีโอกาสต้อนรับคณะที่เข้ามาศึกษาดูงานหลายร้อยคณะ จำนวนกว่า 15,000 คน จากทั่วประเทศ เราได้ย่อส่วนด้านเศรษกิจพอเพียงของบ้านจำรุงออกมาเป็นฐานกิจกรรม 10 ฐานกิจกรรม ได้แก่

ฐานที่ 1 กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน

ฐานที่ 2 กลุ่มแปรรูปปลาใส้ตัน

ฐานที่ 3 กลุ่มรวบรวมผลผลิตยางพารา

ฐานที่ 4 กลุ่มสวนผลไม้

ฐานที่ 5 บ้านพึ่งตนเอง

ฐานที่ 6 กลุ่มรวบรวมผลผลิตตะพาบน้ำ

ฐานที่ 7 สวนผสมผสานบ้านยายยอง

ฐานที่ 8 กลุ่มผลิตภันฑ์กะปิ

ฐานที่ 9 กลุ่มขยะแลกบุญ

ฐานที่ 10 โครงการหนึ่งไร่แก้จน

ฤทัยรัตน์ รัตนสร้อย. (2552). พลวัตทุนทางสังคมกับความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาบ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภิรมย์พร อินพุ่ม. (2551). แนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำ เภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มีอะไรในจำรุง. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.banjumrung.com/มอะไรในจำรง

วิธาน นัยนานนท์. (2552). ทุนทางสังคมกับกระบวนการสืบทอดผู้นำชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาบ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัมรินทรา ทิพย์บุญราช. (2552). กระบวนการการจัดการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาโดยชุมชน: กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้บ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.