ชุมชนตั้งอยู่เป็นบริเวณดินภูเขาไฟ เกษตรกรจึงรวมกลุ่มตั้งเป็นกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ อีกทั้งยังมีปราสาทหินเมืองต่ำ มีผ้าไหมทอลายผักกูดอันเป็นเอกลักษณ์ และยังมีกิจกรรมโฮปบายละเงียด(อาหารเย็น) ที่มีการจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญและการแสดงรำอัปสรา
คำว่า “โคกเมือง” มาจากทำเลที่ตั้ง โดยชุมชนบ้านโคกเมืองอยู่บนที่เนิน ที่ดอน หรือที่ราบสูง ชาวบ้านที่อพยพมาตั้งแต่ก่อตั้งหมู่บ้านจึงเรียกว่า “โคก” ส่วนคำว่า “เมือง” นำมาจากปราสาทเมืองต่ำที่เป็นเมืองในสมัยก่อน จึงมีการเรียกรวมกันว่า “โคกเมือง”
ชุมชนตั้งอยู่เป็นบริเวณดินภูเขาไฟ เกษตรกรจึงรวมกลุ่มตั้งเป็นกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ อีกทั้งยังมีปราสาทหินเมืองต่ำ มีผ้าไหมทอลายผักกูดอันเป็นเอกลักษณ์ และยังมีกิจกรรมโฮปบายละเงียด(อาหารเย็น) ที่มีการจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญและการแสดงรำอัปสรา
ชุมชนบ้านโคกเมืองมีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2480 ได้มีครอบครัวราษฎรจากตำบลต่างๆ อพยพย้ายมาต้ังถิ่นฐานหาทำเลที่ต้ังทำมาหากิน โดยมีครอบครัวของนายเพชร นางจรุง โพธิ์นวนศรี ย้ายถิ่นฐานมาจากตำบลตาจง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศใต้ของปราสาทหินเมืองต่ำ อพยพมาประมาณ 2-3 ครอบครัว แต่ไม่สามารถอยู่ได้ เนื่องมาจากในช่วงนั้นมีโจรชุกชุมจึงย้ายกลับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ได้มีกลุ่มนายฮ้อยที่เดินทางมาค้าขายผ่านเส้นทางนี้ได้เห็นทำเลในการทำมาหากิน ประกอบกับในช่วงนั้นมีการอพยพย้ายถิ่นฐานของชุมชนในแถบจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อหนีปัญหาน้ำท่วม ประชาชนจะทราบข่าวจากกลุ่มนายฮ้อยที่มีการเดินทางไปขายวัวควาย แล้วพบทำเลทำมาหากินที่เหมาะสม จึงทำการชวนญาติพี่น้องประมาณ 30-40 ครอบครัว มาอยู่ร่วมกัน และย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ชุมชนบ้านโคกเมืองในปัจจุบัน ทำให้ชุมชนนี้ที่เคยเป็นชุมชนเขมรได้ขยับขยายไปอยู่ชุมชนใกล้เคียง เช่น บ้านบัว กลุ่มชาวไทยอีสานก็ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น ในช่วงแรกที่มีการอพยพมาพื้นที่ตรงบริเวณนี้เป็นป่ารกทึบ ผู้นำชุมชนก็พาชาวบ้านวางแผนผังชุมชน โดยการนำชือกมาวางตีเส้น จึงทำให้เส้นแต่ละล็อกตรงกัน และจัดวางผังพื้นที่สาธารณะ ทำให้ชุมชนบ้านโคกเมืองมีแผนผังที่ค่อนข้างดีถ้าเทียบกับชุมชนใกล้เคียง ซึ่งในขณะนั้นการปกครองของชุมชนบ้านโคกเมืองขึ้นตรงกับบ้านบัวหมู่ที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2500 กรมการปกครองจึงได้ยกฐานะให้เป็นหมู่บ้าน โดยใช้ชื่อว่า บ้านโคกเมือง คำว่า “โคกเมือง” มาจากทำเลที่ตั้ง โดยชุมชนบ้านโคกเมืองอยู่บนที่เนิน ที่ดอน หรือที่ราบสูง ชาวบ้านที่อพยพมาตั้งแต่ก่อตั้งหมู่บ้านจึงเรียกว่า “โคก” ส่วนคำว่า “เมือง” นำมาจากปราสาทเมืองต่ำที่เป็นเมืองในสมัยก่อน จึงมีการเรียกรวมกันว่า “โคกเมือง” หลังจากน้ันจึงได้แยกมาเป็น หมู่ที่ 6 และเมื่อชุมชนเติบโตขึ้นก็ได้ขยายและแบ่งการปกครองมาเป็นหมู่ที่ 15 หมู่ที่ 18 ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2527 ชาวบ้านในชุมชนบ้านโคกเมืองได้ร่วมมือกันพัฒนาหมู่บ้าน โดยจัดตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) โดยมีผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ซึ่งในขณะน้ันมีแค่ 2 หมู่บ้าน ผู้นำชุมชนได้ให้ลูกบ้านท้ังสองหมู่ช่วยกันพัฒนาหมู่บ้าน จนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2529 และได้รับการยกย่องจากหน่วยงานราชการ ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า "หมู่บ้านแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง"
ชุมชนบ้านโคกเมืองมีการจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน ซึ่งเป็นจุดแรกที่ชุมชนใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางมาถึงชุมชน โดยจุดนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในด้านต่างๆ รวมถึงใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของชุมชน เช่น การจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ ให้กับนักท่องเที่ยว หรือจัดการแสดงพื้นบ้านในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งถัดจากศูนยเ์รียนรู้ชุมชนเป็นศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ภายในมีผลิตภัณฑ์ผ้าไหม มีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากเสื่อกก ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อเพื่อนำกลับไปเป็นของฝาก ส่วนในด้านความปลอดภัย ภายในชุมมีโคบัง (ตำรวจชุมชน) เพื่อรักษาความปลอดภัย หรือเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน
ชุมชนบ้านโคกเมืองมีจุดเด่นทางการท่องเที่ยวที่นำเสนอออกมาผ่านกิจกรรม หรือฐานการเรียนรู้ที่ทางชุมชนบ้านโคกเมืองจัดทำขึ้น โดยเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วภายในชุมชน เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาหรือเป็นสิ่งที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีต เช่น การบายศรีสู่ขวัญ การทอเสื่อกก การทอผ้า ซึ่งสมาชิกในกลุ่มทอผ้าได้รับการฝึกฝนหรือเรียนรู้มาจากบรรพบุรุษ แต่เนื่องจากคนรุ่นใหม่หรือเยาวชนมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้การสืบทอดการทอผ้า หรือลวดลายบนผืนผ้าที่มีเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านโคกเมือง อาจจะเกิดการสูญหายไปในที่สุด จึงควรต้องมีการอนุรักษ์หรือ ส่งเสริมให้เกิดการคงอยู่ของภูมิปัญญาการทอผ้าและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเอาไว้
ทุนวัฒนธรรม
1.) ปราสาทเมืองต่ำ
ตั้งอยู่บริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากปราสาทพนมรุ้งมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือชุมชน จากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในละแวกนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เช่น ชุมชนบ้านโคกเมือง โคกยายคาน โคกสลองตอง เป็นต้น โบราณวัตถุที่ขุดพบ ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยชามเคลือบสีน้ำตาลและเคลือบสีเขียว เป็นจำนวนมาก
หลักฐานเหล่านี้แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มีอายุใกล้เคียงกับการสร้างปราสาท ซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบคลัง และบาปวน กำหนดอายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 หรือราว 1,000 ปีมาแล้ว ตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ อยู่บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา ขึ้นสู่ทางเหนือผ่านเทือกเขาพนมดงรัก ผ่านกลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ผ่านปราสาทเมืองต่ำสู่ปราสาทพนมรุ้ง ไปยังปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อาจกล่าวได้ว่าชุมชนโบราณที่ปราสาทเมืองต่ำมีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียง บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนคร สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
2.) พิธีบายศรีสู่ขวัญ
ชุมชนบา้นโคกเมือง มีการจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือเพื่อเรียกขวัญให้กับนักท่องเที่ยว โดยมีการให้ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนมาทำพิธีผูกแขนนักท่องเที่ยว นอกจากสามารถสร้างความประประใจให้นักท่องเที่ยว เกิดเป็นความรู้สึกว่าตนเป็นนักท่องเที่ยวคนสำคัญของชุมชน ยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนบ้านโคกเมืองที่ผูกพันกับความเชื่อดั้งเดิม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับผีและวิญญาณ ตามความเชื่อของพราหมณ์และความเชื่อทางพุทธศาสนา เช่น เชื่อว่าในธรรมชาติมีเทพเจ้า และมีภูติผีดูแลอยู่ จึงให้ความเคารพยำเกรง และยอมรับในสิ่งที่ธรรมชาติให้มา รู้จักรอคอยอย่างอดทน เป็นการรักษาความสมดุลของธรรมชาติ เกิดความมั่นใจในการประกอบพิธีกรรม เกิดจากการบูชา รู้จักตอบแทนคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุณของบิดามารดาและผู้มีพระคุณ และยังสามารถใช้เป็นสื่อในการแสดงออก เพื่อประโยชน์ของคนในชุมชนในการสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หลักธรรม รวมถึงวิธีคิดของคนในชุมชนให้มีความสามัคคี โดยสะท้อนผ่านพิธีกรรมการบายศรีสู่ขวัญ เพื่อสร้างความสุขกาย สบายใจ เกิดความภาคภูมิใจ และสามารถสืบทอดภูมิปัญญาต่อคนรุ่นหลัง โดยมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างบุคคลในครอบครัว เครือญาติชุมชนเข้ากับความเชื่อ และพิธีกรรมได้อย่างลงตัวเพื่อสร้างชุมชนให้มีความสามัคคี
3.) ข้าวภูเขาไฟ
ชุมชนบ้านโคกเมืองมีการปลูกข้าวหอมมะลิในท้องถิ่น ซึ่งมีแร่ธาตุจากแหล่งที่เคยเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว บนพื้นดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุอาหารที่ต้นพืชต้องการ และเมื่อใช้เป็นพื้นที่ทำนา จึงได้ผลผลิตดีมีคุณภาพที่ตลาดผู้บริโภคต้องการ ซึ่งข้าวหอมมะลิชั้นดีจากจังหวัดบุรี รัมย์อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ซึ่งข้าวหอมมะลิที่ได้จากดินภูเขาไฟเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมีการเพาะปลูกในพื้นดินภูเขาไฟที่มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์มากกว่าข้าวที่ปลูกในดินทั่วไป
4.) เสื่อกก
ภายในชุมชนบ้านโคกเมืองส่วนใหญ่จะนิยมปลูกกก หรือต้นไหลกันเป็นจำนวนมาก และความรู้การทอเสื่อกกก็ถูกสืบทอดมาตั้งแต่ ปู่ย่า ตา ยาย จึงมีการรวมกลุ่มทอเสื่อกกขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2545 เพื่อพัฒนารูปแบบการทอให้มีความสวยงามเป็นสัญลักษณ์ประจำหมู่บ้าน และเพื่อตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า จึงมีแนวคิดที่จะแปรรูปเสื่อกกเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น แจกัน ที่รองแก้ว กระเป๋า เป็นต้า ในปี พ.ศ. 2545 ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านโคกเมืองได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ระดับ 4 ดาว มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 104 ซึ่งชุมชนบ้านโคกเมืองได้มีการนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาทอเป็นลวดลายลงบนเสื่อกก อันได้แก่ เสื่อกกลายปราสาทเมืองต่ำ จนกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่น และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสื่อกกได้
5.) ผ้ามัดย้อมหมักโคลนบาราย
วิถีชีวิตของคนในชุมชนผูกพันกับปราสาทหินเมืองต่ำมานาน และเมื่อไม่กี่ปีมานี้โคลนที่อยู่ในบาราย หรืออ่างเก็บน้ำเก่าแก่ตั้งแต่สมัยขอมถูกนำมาใช้ในการหมักผ้าทอ ไม่เพียงให้สีสันที่สวยงามแต่ยังทำให้เนื้อผ้านุ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการย้อมผ้านี้ก็ได้กลายเป็นกิจกรรมผ้ามัดย้อมหมักโคลนบาราย 1,000 ปีเป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนาน และสร้างประทับใจ ให้กับนักท่องเที่ยวอยู่เสมอ เพราะนักท่องเที่ยวจะได้ลงมือทำเองตั้งแต่นำผ้าขาวมาผูกมัดเพื่อให้เกิดลวดลายแล้วใช้ไม้มาหนีบไว้ในลักษณะที่เรียกว่า แบบแซนด์วิช ลวดลายการมัดย้อมของที่นี่ไม่มีรูปแบบตายตัว อยากลองมัด หรือพับแบบไหนได้ตามความพอใจ แต่หากอยากไดล้ายเดียวกับที่ชาวบา้นแขวนไว้เป็นตัวอย่างก็สามารถเรียนรู้และทำตามที่ชาวบ้านสาธิตวิธีการหรือกระบวนการทำ โดยก่อนหน้านี้คนในชุมชนนำดินเขาปลายบัดมาหมักแล้วใช้ไม่ได้ หลังจากนั้นชาวบ้านไปลงหอยบริเวณบาราย ได้โคลนสีเหลืองติดมือมาจึงเอามาลองย้อมสีดูปรากฏว่าได้สีสวย ซึ่งเวลาที่จะไปนำโคลนมามัดย้อม ต้องนำขันธ์ห้าไปขอที่บารายตรงจุดหน้าศาลปู่ฤาษี
ชุมชนบ้านโคกเมือง. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/community/content/8/
ชุมชนบ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. (2565). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.chumchontongtiew.com/chumchontongtiew-preview-442791791795
รุ่งรัตน์ มณีสุวรรณ. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิสาหกิจกลุ่มชุมชนบ้านโคกเมือง. (2564). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.thailandvillageacademy.com/th/22-villages-th/ban-khok-muang-community-buriram-th/