Advance search

บ้านบือแนบูเก๊ะ

 อู่น้ำอู่ข้าว ลุ่มแน่น้ำสายบุรี

หมู่ที่ 4
บือแนบูเก๊ะ
ตะโล๊ะหะลอ
รามัน
ยะลา
อับดุลเลาะ รือสะ
15 ก.พ. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
26 มี.ค. 2023
อับดุลเลาะ รือสะ
30 ส.ค. 2023
บ้านบือแนบูเก๊ะ
บ้านบือแนบูเก๊ะ

บ้านบือแนบูเก๊ะ คำว่า "บือแน" หมายถึง ทุ่งนา "บูเก๊ะ" หมายถึง ภูเขา ซึ่งมีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและทุ่งนาสลับกับที่ราบลุ่มริมคลอง มีหนองน้ำหลายแห่ง


ชุมชนชนบท

 อู่น้ำอู่ข้าว ลุ่มแน่น้ำสายบุรี

บือแนบูเก๊ะ
หมู่ที่ 4
ตะโล๊ะหะลอ
รามัน
ยะลา
95140
6.49731874796676
101.483372300863
องค์การบริหารส่วนตำบลตะโล๊ะหะลอ

บ้านบือแนบูเก๊ะ มาจากคำว่า บือแน หมายถึง ทุ่งนา บูเก๊ะ หมายถึง ภูเขา ซึ่งมีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและทุ่งนาสลับกับที่ราบลุ่มริมคลอง มีหนองน้ำหลายแห่ง ได้แก่ คลองแม่น้ำสายบุรี ลักษณะพื้นที่ของหมู่บ้านจะมีน้ำท่วมขังได้ง่ายเนื่องจากติดกับหนองน้ำ ลำคลองหลายสายเป็นที่ลุ่ม มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ 

บ้านบือแนบูเก๊ะอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอรามัน ประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 37 กิโลเมตร การเดินทางมายังชุมชนบ้านบือแนบูเก๊ะสามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารสองแถว

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านสะโต หมู่ที่ 6 ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านจือแร อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านบือเล็ง หมู่ที่ 4 ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านกือเม็ง หมู่ที่ 2 ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา  

สภาพพื้นที่กายภาพ

สภาพทั่วไปของบ้านบือแนบูเก๊ะ มีลักษณะพื้นที่เป็นสภาพภูเขาและที่สูง เป็นพื้นที่ป่าทึบหนาแน่นสลับกับที่ราบลุ่มริมคลองและมีบึงน้ำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีที่นาและที่ทำมาหากินติดกับแม่น้ำสายบุรีและมีลุ่มน้ำสายบุรีติดกับภูเขาล้อมรอบ ปัจจุบันหนองน้ำที่เคยมีอยู่ในอดีตยังคงมีอยู่และสามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือน และประชากรชุมชนบ้านบือแนบูเก๊ะ จำนวน  290 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 1,343 คน แบ่งประชากรชาย 651  คน หญิง 692 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู คนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวที่มีความหลากหลายช่วงวัย มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยว จากรากฐานความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้ผู้คนในสังคมมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน

มลายู

ผู้คนในชุนชนบือแนบูเก๊ะ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ปลูกต้นยาง ทุเรียน ลองกอง พื้นที่ลุ่มบางส่วน ชาวบ้านจะใช้ทำนาในฤดูน้ำหลาก รองลงมาประกอบอาชีพค้าขายและรับราชการ 

การวมกลุ่มในชุมชน ได้แก่ กลุ่มที่เป็นทางการ

  • กลุ่มกองทุนแม่ เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางการสร้างวินัยในการออมเงินเพื่ออนาคตโดยทางกลุ่มจะเก็บเงินคนละ 1 บาท/วัน ซึ่งจะรวบรวมไว้ที่กลุ่มเพื่อกองทุนช่วยเหลือในอนาคต

ในรอบปีของผู้คนบ้านบือแนบูเก๊ะ มีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นดังต่อไปนี้

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

  • วันรายอแนหรือรายอหก ความหมายรายอแน คือ คำว่า รายอ ในภาษามลายูแปลว่า ความรื่นเริง และ คำว่า แน คือ หก ในทางปฏิบัติ เมื่อถึงวันตรุษ อีฎี้ลฟิตรี จะเฉลิมฉลองวันอีดใหญ่และวันต่อมาชาวบ้านมักจะถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเชาวาลต่อเนื่องไปเลย จนครบ 6 วัน เมื่อเสร็จสิ้นการถือศีลอด คนในพื้นที่จะถือโอกาสนี้เฉลิมฉลองวัน วันรายอแน โดยจะเดินทางไปทำบุญให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับที่กุโบร์หรือสุสาน

  • กิจกรรม ฟื่นฟูค่ำคืนนิสฟูซะห์บาน ค่ำคืนนิสฟูซะห์บานจะตรงตามปฏิทินอิสลาม วันที่ 14 เดือน ซะบาน โดยมีลักษณะกิจกรรม คือ มีการละหมาดฟัรดู อ่านอัลกุรอาน ซูเราะห์ยาซีน 3 จบ ซึ่งแต่ละจบจะมีดุอาร์ ขอพรจากอัลลอฮ์ เมื่อเสร็จพิธีการ จะมีการกินเลี้ยงร่วมรับประทานอาหาร และอาหารบางส่วนจะนำแจกจ่ายให้ชาวบ้านในหมู่บ้าน

  • เมาลิดินนบี เป็นวันคล้ายวันประสูติของศาสดามูฮัมหมัด (ซล.) ศาสดาแห่งมนุษยชาติ ผู้ศรัทธาในศาสนาอิสลาม จะมีการรำลึกถึงคุณงามความดี หรือประวัติของท่านในอดีตกาล ในบรรยากาศแห่งความรัก และรำลึกถึงท่านอย่างแท้จริง ซึ่งจะจัดในเดือน เราะบีอุลเอาวัล ซึ่งเป็นเดือนที่ 3 ในปฏิทินอิสลาม

  • วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า วันรายอปอซอเพราะหลังจากที่มุสลิมได้ถือ ศีลอดมาตลอด ในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ของศาสนาอิสลาม ก็จะถึงวันออกบวช ตอนเช้าจะมีการละหมาดร่วมกัน ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด สวยงาม และมีการจ่าย ซะกาตฟิตเราะฮ์

  • วันตรุษอิดิลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เนื่องจากมุสลิมทั่วโลกเริ่มประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จะมีการทำกุรบาน หรือการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่เพื่อนบ้านและคนยากจน เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ จะตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  • การถือศีลอด เป็นหลักปฎิบัติที่มุสลิมจำเป็นต้องถือศีลอด ในเดือนรอมฎอน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน มุสลิมที่มีอายุเข้าเกณฑ์ศาสนบัญญัติจะต้องงด การกิน ดื่ม การร่วมประเวณีตลอดจนทุกอย่าง ที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้น จนกระทั่งตกดิน ทุกคนต้องสำรวมกายวาจาใจ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีประเสริฐยิ่งของศาสนาอิสลาม ซึ่งในเดือนนี้ ชาวมุสลิมจะไปละหมาดที่มัสยิด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ปฏิบัติภายในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เรียกว่า ละหมาดตะรอเวียะห์

  • การละหมาด เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ ซึ่งเป็นที่ศรัทธา ของชาวมุสลิม ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าเป็นการเข้าเฝ้าผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ การแต่งกายต้องสะอาด เรียบร้อย มีความสำรวม พระองค์กำหนดเวลาละหมาดไว้วันละ 5 เวลา

  • การทำฮัจย์ อัลลอฮ์ทรงบังคับ ให้มุสลิมที่มีความสามารถด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ต้องไปทำฮัจย์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีขึ้นปีละครั้งชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางมารวมกัน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮห์ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร มีฐานะทางสังคมอย่างไรต้องมาอยู่ที่เดียวกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนมีฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮ์อย่างเท่าเทียมกัน จะตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  • การเข้าสุนัต เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม ถือกันว่ามุสลิมที่แท้จริงควรเข้าสุนัต ถ้าไม่ทำถือว่า เป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ การเข้าสุนัต คือการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศของผู้ชายออก เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด การเข้าสุนัตจะนิยมคลิปในช่วงเดือนเมษายนเนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคการเรียนการสอนของเด็กในพื้นที่ กิจกรรมจะมีการคลิปหนังหุ้มอวัยวะเพศ และมีการเตรียมอาหารเป็นข้าวเหนียวสีต่าง ๆ บ้างพื้นที่จะมีการคลิปเป็นหมู่คณะ จะมีเด็กในชุมชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

  • ประเพณีการกวนอาซูรอ เป็นการรำลึกถึงความยากลำบากของศาสดา นบีนูฮ โดยเชื่อว่าในสมัยของท่านมีเหตุการณ์อุกทกภัยครั้งใหญ่ น้ำท่วมโลกเป็นระยะเวลานาน ศาสดานบีนูฮ ซึ่งล่องลอยเรืออยู่เป็นเวลานาน ทำให้อาหารที่เตรียมไว้หร่อยหรอน้อยลง จึงได้นำส่วนที่พอจะมีเหลือเอามารวมกันแล้วกวนกิน จึงกลายเป็นตำนานที่มาของขนมอาซูรอ

คำว่า อาซูรอ คือคำในภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม ในที่นี้หมายถึงการนำของที่รับประทานได้ทั้งของความและของหวานจำนวน 10 อย่าง มากวนรวมกัน ประเพณีจะจัดในวันที่ 10 ของเดือนมูฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของฮิจเราะห์ศักราชตามปฏิทินอิสลาม เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาปีใหม่ของมุสลิม ลักษณะกิจกรรมจะมีการรวมตัวของชาวบ้านโดยที่ชาวบ้านจะนำวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเผือก มัน ฟักทอง กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เครื่องปรุง ข่าตะไคร้ หอมกระเทียม เมล็ดผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ โดยวัตถุดิบทั้งหมดจะถูกกวนในกระทะเหล็กใช้เวลาเกือบ 6-7 ชั่วโมง โดยต้องกวนตลอด จะกระทั่งสุกแห้ง เมื่อเสร็จเรียบร้อยมีการแจกจ่ายแบ่งปันให้แก่ชาวบ้าน ภาพที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความสัมพันธ์และสามัคคีของคนในชุมชน

  • ประเพณีการกินนาซิบารู คำว่านาซิบารู หมายถึงข้าวสารใหม่ที่ได้ผ่านกรรมวิธีจาการลงแขกเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูทำนา เมื่อเสร็จการทำนา ข้าวเปลือกที่ได้จะนำไปโรงสีข้าวเพื่อเปลี่ยนมาเป็นข้าวสาร หลังจากนั้นชาวบ้านจะเชิญผู้รู้ทางศาสนาและคนในชุมชนมาร่วมรับประทานอาหารที่บ้านเพื่อเป็นการขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ทำนาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี 

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพของประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ สวนยางพารา สวนผลไม้ ค้าขาย บางส่วนรับราชการ เป็นต้น

1. นาย มะเซ็ง  เป็นหมอหนวดแผนโบราณที่ได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่และคนต่างพื้นที่กล่าวกันว่ามีคนมารักษาแทบไม่ขาดสาย ท่านได้เรียนรู้ศาสตร์ในด้านนี้จากบรรพบุรุษในตระกูล

อาหาร พื้นที่บือแนบูเกะมีลักษณะพื้นที่ใกล้ริมแม่น้ำสายบุรีซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบปลาน้ำจืดเป็นจำนวนมากจึงสามารถพบเห็นว่าชาวบ้านนำปลาหลากหลายชนิดมาขายในชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่นำปลามาปรุงอาหาร เช่น แกงเหลืองปลากระแห แกงส้มปลา เป็นต้น

ภาษามลายู หรือภาษามาเลย์ เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ซึ่งใช้ในดินแดนประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และภาคใต้ของประเทศไทย

ประเทศไทยมีจังหวัดที่มีประชากรพูดภาษามลายู คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและบางอำเภอของจังหวัดสงขลา โดยมักเรียกว่า ภาษาญาวี เนื่องจากประชากรที่นี้ส่วนใหญ่ใช้เขียนและบันทึกใช้อักษรยาวี จึงเป็นที่มาของคำว่า ภาษาญาวีที่นิยมใช้ในพื้นที่ ปัจจุบันการสื่อสารในชุมชนจะใช้ภาษามลายูท้องถิ่นเป็นหลัก


ความท้าทายของชุมชนบ้านบือแนบูเก๊ะเผชิญความท้าทายด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ เนื่องจากเป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนเป็นประจำทุกปี อย่างไรก็ตามปัญหาน้ำท่วมไม่ได้สร้างความเสียหายที่รุนแรง เพราะชาวบ้านมีการปรับวิธีชีวิตโดยการสร้างบ้านยกพื้นสูงเพื่อหลีกเลี่ยงจากน้ำท่วมสูง

ในชุมชน มีจุดน่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ สะพานบ้านบือแนบูเก๊ะ

ซูไรดา เจะนิ. (2559). การศึกษาภูมินามของหมู่บ้านในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา. ทุนอุดหนุนจาก งบประมาณการศึกษาประจำปี 2559. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

กรมการปกครอง. (2565). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/