Advance search

วัดเฟือยไฮ เป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นวัดที่ก่อตั้งแต่เมืองเวียงป่าเป้า

หมู่ที่ 1
บ้านเฟือยไฮ
บ้านโป่ง
เวียงป่าเป้า
เชียงราย
พงษ์พันธ์ นวลคำมา
7 ก.ค. 2023
พงษ์พันธ์ นวลคำมา
7 ก.ค. 2023
สุดารัตน์ ศรีอุบล
29 พ.ย. 2023
บ้านเฟือยไฮ

คำว่า “เฟือย” แปลว่า “กิ่งหรือปลาย” และ “ไฮ” แปลว่า “ต้นไฮ” หรือ “ต้นไทร”


วัดเฟือยไฮ เป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นวัดที่ก่อตั้งแต่เมืองเวียงป่าเป้า

บ้านเฟือยไฮ
หมู่ที่ 1
บ้านโป่ง
เวียงป่าเป้า
เชียงราย
57170
19.31864
99.51406
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง

บ้านเฟือยไฮ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยหมู่บ้านนี้ได้ตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านแรกของอำเภอเวียงป่าเป้า มีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ โดยมีวัดเฟือยไฮเป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นก่อนวัดใด ๆ ในอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ตามประวัติได้ระบุว่า หมู่บ้านนี้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม เดือน 6 เหนือ ขึ้น 11 ค่ำ วันพฤหัสบดี โดยคำว่า “เฟือย” แปลว่า “กิ่งหรือปลาย” และ “ไฮ” แปลว่า “ต้นไฮ” หรือ “ต้นไทร” ตามประวัติเล่าสืบกันได้มีชาวลาว ได้ล่องเรือผ่านหมู่บ้านนี้ พอถึงบริเวณทุ่งน้ำในหมู่บ้าน แพไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ จึงให้อธิฐานว่าหากพระพุทธที่ได้อันเชิญมาด้วยประสงค์จะสถิตย์ ณ หมู่บ้านนี้ หากทดลองนำพระขึ้นท่าก็ขอให้แพล่องต่อไปได้ หลังจากที่นำพระขึ้นจากท่าและได้ตัดกิ่งไฮคลุมไว้ปรากฏว่าแพสามารถแล่นต่อไปได้ จึงเป็นที่เรียกขาน ของหมู่บ้านนี้ว่า “เฟือยไฮ” สืบมา ส่วนพระพุทธองค์นั้น ในเวลาต่อมามีชาวบ้านมาพบและได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระวิหารวัดเฟือยไฮ จวบจนทุกวันนี้

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน บ้านเฟือยไฮ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

  1. นายแสง กันทาเป็ง ตั้งแต่ 2490 - 2510
  2. นายมาย บุญสง่า ตั้งแต่ 2510 - 2524
  3. นายสม พรมแสน ตั้งแต่ 2524 - 2531
  4. นายคำอ้าย แสนพุฒิ ตั้งแต่ 2531 - 2547
  5. นายสำเร็จ นวลคำมา ตั้งแต่ 2547 - 2552
  6. นายแดง กาบเงิน ตั้งแต่ 2552 - 2565
  7. นายพงษ์พันธ์ นวลคำมา ตั้งแต่ 2564 - ปัจจุบัน

ที่ตั้ง หรือ อาณาเขต

  • ทิศเหนือ จด แม่น้ำลาว หมู่ที่ 5 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า
  • ทิศใต้ จด บ้านทรายมูล หมู่ที่ 13 ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า
  • ทิศตะวันออก จด แม่น้ำลาว หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า
  • ทิศตะวันตก จด บ้านสัน หมู่ที่ 2 และบ้านโป่งเทวี หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า

จำนวนประชากร ชาย 248 คน  หญิง 268 คน  รวมทั้งสิ้น 516 คน  จำนวนครัวเรือน 236 ครัวเรือน

ประชากรหมู่บ้านเฟือยไฮ โดยส่วนมากเป็นคนดั่งเดิมที่ตั้งรกราก เมื่อปี พ.ศ. 2235 มีการอพยพจากพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาอยู่หรือการสมรส การย้ายติดตามมาอยู่บ้านเฟือยไฮเป็นครอบครัวใหญ่ และแยกเป็นครอบครัวใหม่บางส่วน ระบบเครือญาติจะเป็นคนชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) นับถือฃศาสนาพุทธ โดยมีวัดเฟือยไฮ เป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นวัดที่ก่อตั้งแต่เมืองเวียงป่าเป้า

ไทยวน
  • การศึกษา มีศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง ส่วนโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่เคยมี ในชุมชน 1 แห่ง แต่ขณะนี้ได้ปิดดำเนินการเนื่องจากจำนวนนักเรียนน้อย ทำให้เด็กและเยาวชนต้องออกไปเรียนออกพื้นที่ คือในเมืองจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่
  • สาธารณสุข เนื่องจากชุมชนอยู่ใกล้สถานีอนามัยตำบล จึงไม่สามารถใช้บริการ อย่างสะดวก อย่างไรตามในชุมชนส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพ คือ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ชุมชนเป็นชุมชนที่มีความสงบสุข บางครั้งอาจมีปัญหาทะเลาะวิวาทบ้างเล็กน้อย จะมีกลุ่มเยาวชนมีการมั่วสุม รวมทั้งการขับขี่มอเตอร์ไซด์เป็น กลุ่มในลักษณะแก็งกวนเมือง เนื่องจากแหล่งที่ตั้งชุมชนอยู่ใกล้ถนนสายหลัก มีสถานบันเทิงร้าน
  • คาราโอเกะอยู่ในพื้นที่ 6 แห่ง
  • กลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนแม่บ้านเกษตร โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) กลุ่มอาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อฟพร) กลุ่มพัฒนาสตรี

1.นายคำปัน แปงปัญญา ปราชญ์ชาวบ้านบ้านเฟือยไฮ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 

เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2492 อายุ 73 ปี บ้านเลขที่ 130 หมู่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

มีความสามารถด้านฝีมืองานไม้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องใช้ต่าง ๆ งานจักสานไม้ไผ่ ตะกร้า ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาของหมู่บ้านด้านการบริหารงานของหมู่บ้าน การประปา การอาชีพ กองทุนต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับหมู่บ้านตลอดจน (มัคนายก) ปัจจุบันสามารถจักสานไม้ไผ่ ตะกร้า และได้นำมาประกอบอาชีพเสริม ได้อยู่กับครอบครัวภรรยาและลูก หลาน 

  • พ.ศ. 2499 : เข้าศึกษาโรงเรียนบ้านเฟือยไฮ จบปีการศึกษาเมื่อ 2504 (ประถมศึกษาปีที่ 4)
  • พ.ศ. 2507 หลังจากจบการศึกษา ได้ทำงานด้านอาชีพทำนา บ้านเฟือยไฮกับบิดามารดา เป็นเวลา 7 ปี
  • พ.ศ. 2514 ได้เข้ามาทำงานก่อสร้างถนน สะพาน  ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย - พะเยา
  • พ.ศ. 2516 ได้แต่งงานกับนางศรีนวล และได้หย่าร้างในปี พ.ศ.2516 และได้แต่งงานกับนางอัมพร มีบุตรด้วยกัน 2 คน
  • พ.ศ. 2518 เข้ามารับจ้างทำในพื้นที่หมู่บ้านเฟือยไฮ 
  • พ.ศ. 2528 รับจ้างเลื่อยไม้และสร้างบ้าน 
  • พ.ศ. 2533 สร้างบ้าน
  • พ.ศ. 2535 ประกอบอาชีพเป็นช่างไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบัน

  • ทุนกายภาพ หมู่บ้านเฟือยไฮ มีทรัพยากรพื้นที่ทำกินและอยู่อาศัย 3,500 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งหมด และพื้นที่เกษตรเพาะปลูก 500 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 500 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวถูกใช้ประโยชน์ในการเป็นที่อยู่อาศัย/พื้นที่ทางการเกษตร/แหล่งเรียนรู้ ผู้ที่มีบทบาท คือ คณะกรรมการหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง และที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า ช่องทางการเข้าถึง คณะกรรมการหมู่บ้านเฟือยไฮ
  • ทุนเศรษฐกิจ ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 3,000 บาทต่อคนต่อครัวเรือน สามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้งต่อปี โดยในการปลูกข้าวเฉลี่ยมีรายได้ประมาณ 10,000 บาท/ไร่ มีต้นทุนในการผลิตประมาณ 2,700 บาท/ไร่ การปลูกข้าโพดรายได้ประมาณ 6,000 บาท/ไร่ และการเพาะเห็ด มีรายได้ประมาณ 15,000 บาทต่อเห็ด 5,000 ก้อนต่อปี (การเพาะเห็ดสามารถทำได้ปีละครั้ง) สำหรับอาชีพรับจ้างได้รับค่าจ้างวันละ 150 บาท หากเป็นการรับจ้างทำงานในหมู่บ้าน นอกจากนี้ ชุมชนยังมีการออมทรัพย์ มีครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกองทุนต่าง ๆ จำนวน 150 ครัวเรือน อาจเป็นสมาชิกหลายกลุ่ม ได้แก่ ออมทรัพย์หมู่บ้านเฟือยไฮ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน กลุ่ม กข.คจ. บ้านเฟือยไฮ กลุ่มออมทรัพย์แม่บ้านเกษตรกร และประกอบอาชีพประกันชีวิต) 
  • ทุนวัฒนธรรม วัดเฟือยไฮ เป็นวัดที่เก่าแก่ สร้างขึ้นก่อนวัดใด ๆ ในอำเภอเวียงป่าเป้า ดังมีประวัติ ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2235 (วันที่ 15 มีนาคม เดือน 6 เหนือ ขึ้น 11 ค่ำ วันพฤหัสบดี) โดยมีเจ้าอินทริวชานนท์ เป็นผู้ครองนครเชียงใหม่ และได้แต่งตั้งให้พระยาไชยธรรมพร้อมประชาชนเชียงใหม่ และได้นิมนต์พระภิกษุ สามเณร จำนวนหลายรูปขึ้นมาพัฒนาเป็นบ้านเฟือยไฮ โดยมีพระอุบาคุตลักษณะท่าน มีหัวนิ้วเท้าขาดข้างหนึ่งตั้งแต่เกิด ท่านมีนิสัยไม่เกรงกลัวบุคคลใดเป็นผู้เคร่งครัดในวินัยมาก และเป็นพระที่ไสยศาสตร์ เดิมท่านอยู่บ้านไฮเชียงตุง พอพวกพระยาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ขยายอาณาเขตขึ้นมาตั้งบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ ก็ได้นิมนต์เอาพระรูปหนึ่งเป็นผู้ปกครองคณะสงฆ์ เดินทางมาถึงศูนย์กลางแห่งเมืองก็ได้มาพักถางหญ้าที่เป็นบ้างช่องคุ้มเจ้านายและวัดวาอารามขึ้น เมื่อสร้างได้เป็นรูปร่างบ้านเมืองแล้วทางเจ้าพระยา จึงได้ปรึกษาหารือกับพระอุบาคุตว่าจะตั้งบ้านใหม่ที่สร้างขึ้นมาว่าอย่างไร เมื่อพระอุบาลีก็มาคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนที่เคยอยู่มาก่อน คือ บ้านไฮ ก็เอามาผสมกับชื่อเจ้าพระยาไชยธรรมรงค์ (ต้นไม้ทางเหนือเรียกว่า ต้นไฮ) ก็ได้ตั้งชื่อว่า เมืองไฮหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเมืองเฟือยไฮ พออยู่มาไม่นานเจ้าพระยาก็มาคิดอยากได้ไม้ศรีมหาโพธิ์ เพื่อเป็นที่สักการะบูชา จึงได้นำท่านอุบาลี ไปเมืองเชียงใหม่พอดีกับเจ้าพระยาเมืองเชียงใหม่ ได้เตรียมนำไปปลูกที่เมืองฝาง พอรู้ข่าวเจ้าพระยาเมืองเฟือยไฮต้องการปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ จึงได้มอบให้พร้อมด้วยดวงแก้ว 3 ดวง และพระธาตุอีก 2 ดวง ใส่ผอบไว้แล้วก่อทับ จากนั้นก็ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2420 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีบุญเรือง ต่อมาก็เปลี่ยนกลับมาเป็นวัดเฟือยไฮตามเดิม เมื่อ พ.ศ. 2475

ชุมชนในหมู่บ้านเฟือยไฮ เป็นชนชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) ใช้ภาษาล้านนาเมืองเป็นภาษาพูดและเขียน ปัญหาในปัจจุบันภาษาเขียนได้มีการนำมาใช้น้อย ไม่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจึงสูญหายไปกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ เด็กนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ในหมู่บ้านรุ่นใหม่จะพูดได้แต่ไม่สามรถอ่านหรือเขียนได้


การมีส่วนร่วมของชุมชน/การรวมกลุ่ม ชาวบ้านมีส่วนร่วมและรวมกลุ่มในกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน โดยการริเริ่มของชุมชนเองในระดับที่น้อยมาก โดยการรวมกลุ่มมักเป็นเฉพาะกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นโดยราชการ เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ เป็นต้น


คุณภาพชีวิต จากข้อมูลระดับการพัฒนาหมู่บ้าน (กชช.2ค) ปี 2549 ระบุว่าเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3 โดยทุกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 20,000 บาทต่อคนต่อปี อย่างไรก็ตาม มีครัวเรือนที่ไม่ผ่านการชี้วัด 1 ข้อ คือ คนในครอบครัวมีความรู้การใช้ยาที่ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน


วัฒนธรรม ชุมชนยังคงสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญเหมือนกับพื้นที่ชุมชนอื่นของภาคเหนือ โดยทั่วไป ได้แก่ งานประเพณีตามวันของศาสนา งานสรงน้ำพระธาตุ งานยี่เป็ง การรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ ทั้งนี้ในชุมชนยังมี “พระเจ้าทองทิพย์” ที่เป็นศูนย์รวมใจของชุมชน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนยังมีการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น หลายอย่างที่โดดเด่น คือ การทำบายศรีสู่ขวัญ (ขันผูกมือ) การรักษาโรคโดยการเรียกขวัญ การเย็บถักร้อย การจักสานไม้ไผ่ และสานแห/ยอ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2565). หนังสือเรียนอักษรธัมม์ล้านนา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่